-
Forum
-
webboard คนยิ้มสู้หนี้
-
ห้องถาม- ตอบปัญหาหนี้
-
ติดเครดิตบูโร เพราะกู้ร่วม
ติดเครดิตบูโร เพราะกู้ร่วม
-
Natpat
-
ผู้เขียนหัวข้อ
-
ผู้เยี่ยมชม
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35322
โดย Natpat
สุเจอปัญหาติดแบล็คลิสจากสินเชื่อบ้านค่ะ กู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน แต่มีปัญหาแยกทางกัน เลยรับภาระผ่อนคนเดียว โดนที่แฟนบอกว่าจะขายส่วนของเค้าให้ สุก้ผ่อนไปประมาณปีกว่าๆ เค้าก็ไม่ยอมเซ็นชื่อขายให้ สุเลยตัดสินใจไม่ผ่อน เพราะถ้าผ่อนไปเค้าก็ยังมีสิทธิ์ในบ้างหลังนั้น จนมาถึงขั้นตอนขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี สุก้ขอให้ญาติไปซื้อกลับมา แต่ถึงเวลาจิงๆ เค้าเลื่อนขายนัดต่อไป พอนัดต่อไป ให้ญาติไปยื่นเรื่องซื้ออีก ก็ซื้อไม่ได้อีก เค้าบอกว่าธนาคารซื้อกลับไปแล้ว (ราคาขายทอดตลาดขาย 750,000 บาท แต่หนี้เงินกู้ที่ติดธนาคารยอด 840,000 บาท) แต่สุก็ไม่ละความพยายามตามติดบ้านหลังนี้ตลอด จนให้ญาติไปประมูลซื้อกลับคืนมาได้ที่ราคาบ้าน 1,150,000 บาท แต่ก็ยังได้รับหนังสือจากธนาคารว่าเรายังติดหนี้ธนาคารอีก 298,476.49 บาท จึงอยากขอสอบถามว่า สุต้องจ่ายค่าอะไรอีกคะ แล้วถ้าต้องจ่ายเพื่อทำให้ประวัติของเราดี ไม่ติดบูโร สุสามารถขอส่วนลดจกธนาคารได้หรือป่าว แล้วจะลดได้มากสุดประมาณเท่าไร ถ่ายอดขนาดนั้นสุไม่มีปัญญาจ่ายแน่ๆ ใจนึงก็ไม่อยากจ่าย เพราะถ้าสุจ่ายไปแล้ว คนที่ได้รับผลประโยชน์ไปด้วยคือแฟนเก่าของสุ เค้าไม่ออกเงินสักบาทแน่นอน แต่สุคงต้องนอมจ่าย เพราะอนาคตก้อยากจะทำธุรกรรมบ้าง ไม่ใช่ติดบูโรอยู่เช่นนี้ หนี้ก้อนนี้เป็นปัญหาเรื้อรังตั้งแต่ปี 2547 ค่ะ วิธีใดที่จะได้ส่วนลดมากที่สุด รบกวนแนะนำด้วยนะคะ
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
น้อย
เพิ่มเติม
-
จำนวนโพสต์: 5911
-
ขอบคุณที่รับ: 2590
-
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35324
โดย jackTs
Natpat เขียน: สุเจอปัญหาติดแบล็คลิสจากสินเชื่อบ้านค่ะ กู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน แต่มีปัญหาแยกทางกัน เลยรับภาระผ่อนคนเดียว โดนที่แฟนบอกว่าจะขายส่วนของเค้าให้ สุก้ผ่อนไปประมาณปีกว่าๆ เค้าก็ไม่ยอมเซ็นชื่อขายให้ สุเลยตัดสินใจไม่ผ่อน เพราะถ้าผ่อนไปเค้าก็ยังมีสิทธิ์ในบ้างหลังนั้น จนมาถึงขั้นตอนขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี สุก้ขอให้ญาติไปซื้อกลับมา แต่ถึงเวลาจิงๆ เค้าเลื่อนขายนัดต่อไป พอนัดต่อไป ให้ญาติไปยื่นเรื่องซื้ออีก ก็ซื้อไม่ได้อีก เค้าบอกว่าธนาคารซื้อกลับไปแล้ว (ราคาขายทอดตลาดขาย 750,000 บาท แต่หนี้เงินกู้ที่ติดธนาคารยอด 840,000 บาท) แต่สุก็ไม่ละความพยายามตามติดบ้านหลังนี้ตลอด จนให้ญาติไปประมูลซื้อกลับคืนมาได้ที่ราคาบ้าน 1,150,000 บาท แต่ก็ยังได้รับหนังสือจากธนาคารว่าเรายังติดหนี้ธนาคารอีก 298,476.49 บาท จึงอยากขอสอบถามว่า สุต้องจ่ายค่าอะไรอีกคะ แล้วถ้าต้องจ่ายเพื่อทำให้ประวัติของเราดี ไม่ติดบูโร สุสามารถขอส่วนลดจกธนาคารได้หรือป่าว แล้วจะลดได้มากสุดประมาณเท่าไร ถ่ายอดขนาดนั้นสุไม่มีปัญญาจ่ายแน่ๆ ใจนึงก็ไม่อยากจ่าย เพราะถ้าสุจ่ายไปแล้ว คนที่ได้รับผลประโยชน์ไปด้วยคือแฟนเก่าของสุ เค้าไม่ออกเงินสักบาทแน่นอน แต่สุคงต้องนอมจ่าย เพราะอนาคตก้อยากจะทำธุรกรรมบ้าง ไม่ใช่ติดบูโรอยู่เช่นนี้ หนี้ก้อนนี้เป็นปัญหาเรื้อรังตั้งแต่ปี 2547
ค่ะ วิธีใดที่จะได้ส่วนลดมากที่สุด รบกวนแนะนำด้วยนะคะ
หนี้เงินกู้เพื่อซื้อ บ้าน/ที่อยู่อาศัย มีอายุความ 10 ปี (นับแต่ศาลพิพากษา) ตาม ปพพ.มาตรา 271 และมาตรา 698
อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1507/2538
ป.พ.พ. มาตรา 698, 733
ป.วิ.พ. มาตรา 271
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้ เช่นในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใดผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนแต่หนี้ที่น. ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2518 นางนิตยาอัศศิระกุล ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 40,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 10 กันยายน 2519 และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2518นางนิตยาได้กู้เงินโจทก์เพิ่มอีกจำนวน 25,000 บาท มีกำหนดระยะเวลา 24 เดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30290ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้นั้นด้วย ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องนางนิตยาและศาลแพ่งมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 13955/2521ให้นางนิตยาชำระเงินจำนวน 92,139.54 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 65,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่นางนิตยาไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 113223 แขวงประเวศเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ของนางนิตยาและนำออกขายทอดตลาดได้เงิน 101,000 บาท หักค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีแล้วคงเหลือเงินจำนวน 91,929 บาท ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์หักชำระดอกเบี้ย78,149.35 บาท คงค้างชำระต้นเงิน 51,220.35 บาท หลังจากนั้นนางนิตยาและจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวอีกเลย โจทก์บอกกล่าวทวงถามบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินและดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำนวน 43,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี ของต้นเงิน 25,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องเกิน10 ปี และโจทก์มิได้บังคับในคดีหมายเลขแดงที่ 13955/2521ให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา สิทธิการขอบังคับคดีหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานย่อมระงับไป จำเลยผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 43,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 25,000 บาท นับตั้งแต่วันที่9 มีนาคม 2533 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ถ้าจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30290 ตำบลในคลองบางปลากดอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดจำนวนแก่โจทก์โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาข้อ 5ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.7 อันเป็นการตกลงกันอย่างอื่นนอกเหนือจากบทบัญญัติตามมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับได้ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่า จำเลยได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 30290 ตำบลในคลองบางปลากดอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มาประกันหนี้ของนางนิตยา อัศศิระกุล จำนวน 25,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามหนังสือสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองตามเอกสารหมาย จ.7 มีนายพิสันต์ บุญญกาศลงลายมือชื่อแทนจำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.19 นางนิตยาถูกโจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้แล้วยังคงค้างโจทก์อยู่จำนวน 51,220.35 บาท เมื่อคิดถึงวันที่ 30เมษายน 2533 ตามบัญชีและรายการโอนชำระหนี้เอกสารหมาย จ.11,จ.12 ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระก่อนฟ้องในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน18,750 บาท และนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2533 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ เช่น ในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะอย่างใดไม่ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 168/2518 ระหว่างร้านสหกรณ์ร้อยเอ็ดจำกัด สินใช้ โจทก์ นายเสรี อิทธิสมบัติ กับพวก จำเลยนายเถียร นาครวาจา จำเลยร่วม แม้ปรากฎตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มีระบุไว้ในข้อ 5 ความว่าถ้าในการบังคับจำนองตามสัญญานี้ได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใด ผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนซึ่งหมายความว่า ถึงจะยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้หนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่น ๆ ของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบก็ตาม แต่หนี้ที่นางนิตยา อัศศิระกุล ลูกหนี้ ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยในผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 698 แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์จำนองซึ่งยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล"
พิพากษายืน
ซึ่งปีหน้า...ก็คือปี พ.ศ.2557
ก็จะ"
ขาดอายุความ
"ในการบังคับคดีกับ"
หนี้ส่วนต่างที่เหลือ"
(298,476.49 บาท) ตามที่กฏหมายกำหนดแล้วนี่ครับ
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=1296&Itemid=52
www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=readqa.php&qid=36459
.
อนณสุข ปรมาลาภา
ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
Last edit: 11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา by jackTs.
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: 0942860138
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
-
Natpat
-
ผู้เขียนหัวข้อ
-
ผู้เยี่ยมชม
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35351
โดย Natpat
แต่ว่าสุยังไม่เคยไปขึ้นศาลเลยนะคะ แบบนี้จะถือว่าอายุความหมดด้วยหรือคะ
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
น้อย
เพิ่มเติม
-
จำนวนโพสต์: 242
-
ขอบคุณที่รับ: 149
-
-
น้อย
เพิ่มเติม
-
จำนวนโพสต์: 5911
-
ขอบคุณที่รับ: 2590
-
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35399
โดย jackTs
Natpat เขียน: แต่ว่าสุยังไม่เคยไปขึ้นศาลเลยนะคะ แบบนี้จะถือว่าอายุความหมดด้วยหรือคะ
มันไม่เกี่ยวกับว่า คุณจะเคยขึ้นศาลหรือไม่
ต้องมาคุยความจริงกันว่า
คุณเคยถูกหมายศาลฟ้องหรือไม่?
เพราะถ้าไม่เคยถูกหมายศาลฟ้องเลย และไม่เคยถูกศาลพิพากษาในฐานะที่เป็นจำเลยในคดีมาก่อน
แล้วมันจะเข้าสู่การ ยึด/อายัด ในกระบวนการบังคับคดีได้อย่างไร?
ในเมื่อคุณก็เป็นคนเขียนเอาไว้เอง...ตามนี้ไง
จนมาถึงขั้นตอนขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี สุก้ขอให้ญาติไปซื้อกลับมา แต่ถึงเวลาจิงๆ เค้าเลื่อนขายนัดต่อไป พอนัดต่อไป ให้ญาติไปยื่นเรื่องซื้ออีก ก็ซื้อไม่ได้อีก เค้าบอกว่าธนาคารซื้อกลับไปแล้ว (ราคาขายทอดตลาดขาย 750,000 บาท แต่หนี้เงินกู้ที่ติดธนาคารยอด 840,000 บาท) แต่สุก็ไม่ละความพยายามตามติดบ้านหลังนี้ตลอด จนให้ญาติไปประมูลซื้อกลับคืนมาได้ที่ราคาบ้าน 1,150,000 บาท แต่ก็ยังได้รับหนังสือจากธนาคารว่าเรายังติดหนี้ธนาคารอีก 298,476.49 บาท
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=9240&Itemid=52
การที่ไม่ไปขึ้นศาล ทั้งๆที่ถูกหมายฟ้องแล้ว คุณจะมาปฎิเสธว่าคุณไม่ยอมรับผิด เนื่องจากคุณไม่เคยไปขึ้นศาลเลย
มิได้
.
อนณสุข ปรมาลาภา
ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: 0942860138
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
-
Natpat
-
ผู้เขียนหัวข้อ
-
ผู้เยี่ยมชม
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35782
โดย Natpat
เข้าใจค่ะ ว่าถือเป็นการยอมรับหนี้ แต่ที่ถามต่อ เพราะคิดว่าไม่ได้ไปขึ้นศาล อายุความก็ยังอยู่ ไม่คิดว่าจะหมดอายุความในปี 57 อ่ะค่ะ
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
น้อย
เพิ่มเติม
-
จำนวนโพสต์: 5911
-
ขอบคุณที่รับ: 2590
-
-
11 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #35790
โดย jackTs
.
อนณสุข ปรมาลาภา
ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา
-
Forum
-
webboard คนยิ้มสู้หนี้
-
ห้องถาม- ตอบปัญหาหนี้
-
ติดเครดิตบูโร เพราะกู้ร่วม
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.424 วินาที