มีข้อสงสัยเรื่อง การอายัดเงินเดือนครับ

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52197 โดย Noel
หลังจากที่โดนฟ้องไปเมื่อ 3-4 ปีก่อน 2 หมาย และได้ลาออกไปประกอบอาชีพอิสระอยู่เกือบ 3 ปี
ณ ตอนนี้ เพิ่งกลับมาทำงานประจำ และเตรียมพร้อมในระดับนึงที่จะโดนอายัดเงินเดือน หรือจ่ายชำระกับเจ้าหนี้ให้หมดๆ หนี้สินกันไป

ทีนี้ ผมมีข้อสงสัยนิดนึงว่า

ถ้าเราเจรจากับธนาคารแรก เพื่อส่งเงินให้รายเดือน โดยไม่ต้องทำอายัดเงินเดือน เจ้าหนี้รายอื่นจะสามารถแทรกเข้ามาขออายัดตัดหน้าไปเลยได้หรือเปล่าครับ (ตามความคิดส่วนตัว คิดว่าได้ และโดนแน่ๆ)

หรือเราควรจะปล่อยให้อายัดเลย และเข้าคิวมาทีละแห่ง

ที่อยากจะทำจริงๆ คือ ไม่ต้องอายัดและส่งเงินให้ทั้ง 2 ที่เท่าๆ กันทุกเดือนจนกว่าจะหมด แต่ก็กลัวว่าจะตกลงกันไม่ได้

และ ณ ขณะนี้ ผมมีบัญชี 2 บัญชีที่ใช้งานอยู่ คือ
1. บัญชีเงินเดือน / บัญชีนี้ไม่มีปัญหาที่จะให้อายัด เพราะเป็นเงินส่วนตัว
2. บัญชีเงินหมุนเวียนของบริษัท ที่เบิกจ่ายในนามผม (ผมเป็นคนประสานงานกับพนักงาน และถือเงินสำรองจ่ายไว้คอย ให้พนักงานเบิกจ่ายในแต่ละวัน) / บัญชีนี้ ทางธนาคารจะอายัดได้หรือไม่ เพราะชื่อบัญชีเป็นของผม แต่ในความเป็นจริง เงินเป็นของบริษัทฯ ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52205 โดย jackTs

Noel เขียน: ถ้าเราเจรจากับธนาคารแรก เพื่อส่งเงินให้รายเดือน โดยไม่ต้องทำอายัดเงินเดือน เจ้าหนี้รายอื่นจะสามารถแทรกเข้ามาขออายัดตัดหน้าไปเลยได้หรือเปล่าครับ (ตามความคิดส่วนตัว คิดว่าได้ และโดนแน่ๆ)

ถูกต้องแล้วครับ...ได้...และโดนแน่ๆ

ย้ายที่ทำงานใหม่ไม่ได้แจ้งพวกเขาเลยว่าย้ายไปอยู่ที่ไหน (แต่ทำไมเขารู้ได้น่ะ)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40826&Itemid=64#48041



Noel เขียน: หรือเราควรจะปล่อยให้อายัดเลย และเข้าคิวมาทีละแห่ง

ถ้าคุณไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ที่ให้เจ้าหนี้มันสามารถมายึดได้เลย (เช่น บ้าน , รถยนต์ , โฉนดที่ดิน)
ในบางครั้ง การที่ลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน ก็อาจเป็นทางออกที่ดีนะครับ
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=41287&Itemid=64#52183



Noel เขียน: ที่อยากจะทำจริงๆ คือ ไม่ต้องอายัดและส่งเงินให้ทั้ง 2 ที่เท่าๆ กันทุกเดือนจนกว่าจะหมด แต่ก็กลัวว่าจะตกลงกันไม่ได้


มันจะทำข้อตกลงตกลง ขอผ่อนจ่ายกันอีกต่อไปไม่ได้หรอกครับ ถ้าหากมีหมายอายัดเงินเดือนส่งมาถึงที่ทำงานของคุณแล้ว

ถ้าคุณจะปิดบัญชีแบบ Hair cut ก็สามารถทำได้นะครับ แต่ส่วนลดอาจจะไม่ได้มากนัก เพราะทางเจ้าหนี้มันถือว่าได้เปรียบคุณในทางกฏหมายทุกประตูแล้ว...ว่าแต่...คุณมีเงินไปจ่ายปิดบัญชีแบบ“ก้อนเดียว”หรือเปล่าล่ะ?
ถ้าไม่มีตังค์ไปจ่ายจบเพื่อปิดบัญชี แต่จะขอผ่อนต่อแทน ขอบอกได้เลยนะครับว่า “ไม่มีเจ้าหนี้รายไหนมันยอมหรอกครับ

เพราะเรื่องมันไปถึงมือของกรมบังคับคดีแล้ว ถ้าหากจะผ่อนกันต่อกันเองใหม่อีกครั้ง โจทก์(เจ้าหนี้)จะต้องไปทำการถอนเรื่องอายัดที่กรมบังคับคดีเสียก่อน(ตามมาตรา 169/2 ว่าด้วยเรื่อง“การถอนการอายัด”) แล้วยังต้องไปจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการ"ถอนอายัด"ให้กับกรมบังคับคดีอีกด้วย
และถ้าหากโจทก์ไปทำเรื่องถอนออกมาจากกรมบังคับคดีแล้ว หากภายภาคหน้าจำเลยไม่ยอมผ่อนต่อตามข้อตกลงที่ไปตกลงทำกันเอง โจทก์จะไม่มีสิทธิ์ส่งเรื่องเข้าสู่การอายัดที่กรมบังคับคดีได้อีกแล้ว จะฟ้องศาลใหม่ก็ไม่ได้ด้วย เพราะศาลถือว่าได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว จะมาฟ้องใหม่ในคดีเดิมอีกไม่ได้

สรุปง่ายๆก็คือ หากเรื่องไปอยู่ในมือของกรมบังคับคดีแล้ว หากโจทก์(เจ้าหนี้)ไปทำเรื่องถอนการอายัดของจำเลยออกมา ในภายภาคหน้าจะไม่สามารถยื่นเรื่องในคดีเดิมดังกล่าวกลับเข้าไปใหม่ได้อีกเลย หรือจะทำเรื่องส่งฟ้องศาลใหม่อีกรอบก็ไม่ได้ เพราะศาลถือว่าเคยพิจารณาคดีนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว


อ้างอิงข้อมูลจาก
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=8403&Itemid=64#5082



Noel เขียน: บัญชีเงินหมุนเวียนของบริษัท ที่เบิกจ่ายในนามผม (ผมเป็นคนประสานงานกับพนักงาน และถือเงินสำรองจ่ายไว้คอย ให้พนักงานเบิกจ่ายในแต่ละวัน) / บัญชีนี้ ทางธนาคารจะอายัดได้หรือไม่ เพราะชื่อบัญชีเป็นของผม แต่ในความเป็นจริง เงินเป็นของบริษัทฯ ครับ

ถ้าชื่อเจ้าของบัญชีอันนี้เป็นชื่อของคุณ แล้วเจ้าหนี้มันดันไปรู้หรือไปสืบเจอ เงินในบัญชีที่เป็นชื่อของคุณดังกล่าว(ที่มิใช่บัญชีเงินเดือนเงินเดือน) จะต้องถูกอายัดเอาไว้ทั้งหมด 100% ไม่สามารถเบิกถอนออกมาได้เลย

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Noel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52227 โดย Noel

Noel เขียน: บัญชีเงินหมุนเวียนของบริษัท ที่เบิกจ่ายในนามผม (ผมเป็นคนประสานงานกับพนักงาน และถือเงินสำรองจ่ายไว้คอย ให้พนักงานเบิกจ่ายในแต่ละวัน) / บัญชีนี้ ทางธนาคารจะอายัดได้หรือไม่ เพราะชื่อบัญชีเป็นของผม แต่ในความเป็นจริง เงินเป็นของบริษัทฯ ครับ

ถ้าชื่อเจ้าของบัญชีอันนี้เป็นชื่อของคุณ แล้วเจ้าหนี้มันดันไปรู้หรือไปสืบเจอ เงินในบัญชีที่เป็นชื่อของคุณดังกล่าว(ที่มิใช่บัญชีเงินเดือนเงินเดือน) จะต้องถูกอายัดเอาไว้ทั้งหมด 100% ไม่สามารถเบิกถอนออกมาได้เลย


ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะครับ

ขอสอบถามเพิ่มเติมในกรณีนี้อีกนิดนึงนะครับ
ในกรณีนี้เราสามารถโต้แย้ง โดยนำหลักฐานการเบิกจ่าย (หลักฐานการเบิกเงิน, การโอนเงินเข้าโดยบริษัทฯ และโอนเงินออกไปยังพนักงานของบริษัทฯ ทุกวัน อย่างถูกต้อง) ไปยื่นคำร้องขอคัดค้านการอายัดนี้ได้หรือไม่ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52228 โดย jackTs

Noel เขียน: ในกรณีนี้เราสามารถโต้แย้ง โดยนำหลักฐานการเบิกจ่าย (หลักฐานการเบิกเงิน, การโอนเงินเข้าโดยบริษัทฯ และโอนเงินออกไปยังพนักงานของบริษัทฯ ทุกวัน อย่างถูกต้อง) ไปยื่นคำร้องขอคัดค้านการอายัดนี้ได้หรือไม่ครับ


สามารถยื่นได้ ...แต่เรื่องมันจะถูกเปลี่ยนจากคดีแพ่ง(หนี้เงิน) ให้กลายเป็นคดีอาญาแทน
โดยคุณและทางบริษัท จะถูกฟ้องให้เป็นจำเลยพร้อมด้วยกันทั้งคู่(จำเลยที่1และจำเลยที่2) ในข้อหาร่วมกันกระทำการ"ฟอกเงิน" ซึ่งถูกจัดเป็นคดีอาญาอันร้ายแรง


หลักการและสาระสำคัญของกฎหมายฟอกเงิน

การประกาศใช้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่จะปราบปรามการฟอกเงินและดำเนินการกับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สาระสำคัญของการฟอกเงินได้แก่

(1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังขณะการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ

(2) กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะ ที่แท้จริง การได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด



ความผิดอาญาฐานฟอกเงิน

กฎหมายนี้ได้ทำให้เกิดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ฐานฟอกเงิน ซึ่งเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้


มาตรา ๗ ในความผิดฐานฟอกเงิน ผูใดกระทําการอยางใดอยางหนึ่งดังตอไปนี้ตองระวางโทษเชน
เดียวกับตัวการในความผิดนั้น
(๑) สนับสนุนการกระทําความผิดหรือชวยเหลือผูกระทําความผิด กอน หรือขณะกระทําความผิด
(๒) จัดหาหรือใหเงินหรือทรัพยสิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใดๆ หรือกระทําการใดๆ เพื่อชวย
ให้ผู้กระทำความผิดหลบหนี หรือเพื่อมิใหผูกระทําความผิดถูกลงโทษ หรือเพื่อใหไดรับประโยชนในการ
กระทําความผิด
ผู้ใดจัดหาหรือใหเงินหรือทรัพยสิน ที่พํานัก หรือที่ซอนเรน เพื่อชวยบิดา มารดา บุตรสามี หรือภริยา
ของตนให้พนจากการถูกจับกุม ศาลจะไมลงโทษผูนั้นหรือลงโทษผูนั้นนอยกวาที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

มาตรา ๘ ผู้ใดพยายามกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ตองระวางโทษตามที่กําหนดไวสําหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับ ผูกระทําความผิดสําเร็จ

มาตรา ๙ ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแตสองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ตองระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กําหนดไวสําหรับความผิดนั้น
ถ้าไดมีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ไดมีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง ผูสมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไวสำหรับความผิดนั้น


ความผิดมูลฐาน

ความผิดฐานฟอกเงินต้องเป็นการกระทำต่อเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเพียงบางประเภทเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ความผิดมูลฐาน ได้แก่

1. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

2. ความผิดเกี่ยวกับเพศ (เช่น การค้าประเวณีหญิงและเด็ก)

3. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน

4. ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือการฉ้อโกงทางธุรกิจในสถาบันการเงิน

5. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ ในการยุติธรรม

6. ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชกหรือรีดทรัพย์

7. ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร

8. ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา


อ้างอิงโดย
พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=web&cd=4&cad=rja&uact=8&sqi=2&ved=0CEIQFjAD&url=http%3A%2F%2Fwww.ecpat-thailand.org%2Fth%2F1_7.pdf&ei=SIxQU7L_M8H68QXJmYL4CQ&usg=AFQjCNEsxe7xOauzdupRUOcnu6KIQEqcIw

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Noel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #55692 โดย Noel
จากที่อ่านๆ หลายกระทู้ จึงทำตามคำแนะนำ โดยไปเช็คเครดิตบูโรมา
มีข้อสงสัยจะรบกวนสอบถามเพิ่มเติมนิดนึงครับ

หลายๆ บัญชีที่อยู่ในมือสำนักงานกฎหมาย มีวันชำระครั้งสุดท้ายเป็น ปี 51 ซึ่งก็เป็นตามนั้นจริง
และมีสถานะเป็น 40 คือ อยู่ระหว่างการชำระสินเชื่อปิดบัญชี (ไม่เคยตกลงกับใครเลย...งง)

มีของกรุงไทย ขึ้นเป็น 30 อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งโดนฟ้องจริง คดีจบแล้ว รออายัดเงินเดือนสถานเดียว

แต่มีบัญชีของ Easy Buy ที่ขึ้นสถานะเป็น 30 อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งชำระครั้งสุดท้ายเป็นปี 51 เหมือนกัน แต่ไม่มีหมายศาลใดๆ ส่งมาที่บ้านเลย
จึงขอสอบถามว่า
1. เป็นไปได้มั๊ยครับ ว่าแจ้งสถานะว่าดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ หรือ
2. เป็นการดำเนินกระบวนการทางกฎหมายจริงๆ (โดยลักไก่ฟ้อง ทั้งๆ ที่เกินอายุความ เผื่ิอจะได้)

และสงสัยเพิ่มเติมคือ ถ้าโจทย์ลักไก่ ไม่ส่งหมายศาล จะมีความผิดหรือไม่ประการใด
เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าไม่พลาด เนื่องจากกลับบ้านบ่อย แต่ไม่เคยเจอหมายใดๆ มาติดไว้เลย

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.453 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena