จะจัดการยังไงกับค่าทวงถาม แสนสาหัส

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #66995 โดย jjh1984
รบกวนสอบถามครับ :เฮ้อ:
ผมหยุดจ่ายหนี้มา 22 เดือนแล้ว กับ 4 สถาบันการเงิน เพราะต้องการจ่ายหนี้นอกระบบให้หมดก่อน
สาเหตุเนื่องมาจาก ผมออกจากงานบริษัทในปี 56 เพื่อนำเงินที่เก็บสะสมจากการทำงานบริษัท มาทำธุรกิจส่วนตัว(ค้าขาย) ระหว่างนั้นรายรับค่อนข้างลุ่มๆดอนๆ ออกไปทางขาดทุน ทำให้ต้องหยุดจ่ายหนี้ กับ 4 สถาบันการเงิน และยังเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมาเพื่อลงทุน จนธุรกิจไปไม่รอด (ต้นปี57)จนกลับมาเข้าทำงานบริษัทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อต้องการเก็บเงินจ่ายหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูง จนปัจจุบันนี้ผมจ่ายหนี้นอกระบบทั้งหมดนั้นจะครบแล้ว
ปัญหาของผมคือ หนี้กับสถาบันการเงิน ทั้ง 4 แห่ง คือ 1.กรุงศรีเฟิสช้อย 2.อีซีบาย 3.โพรมิท 4.บัตรกดเงินสดธนชาต
ซึ่งทั้ง 4 แห่งก็โทรติดตามหนี้มาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของผมคือการหยุดจ่ายหนี้แบบนี้ ยังคงมีค่าติดตามทวงถามเดือนละ 200-250 บาท อยู่ทุกเดือนในทุกสถาบัน และไม่ฟังเหตุผลผมเลย ยังคงมีค่าติดตามทวงถามอยู่ทุกเดือน และไม่มีทีท่าจะหยุด จนเกือบจะเท่าเงินต้น ลำพังแค่ดอกเบี้ยรายปีตามข้อกำหนด คงไม่สามารถทำให้ยอดหนี้รวมสูงจนทบต้นได้ ผมจึงหยุดรับฟังการแจ้งยอดหนี้โดยเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ แต่สถาบันต่างๆยังสามารถติดต่อผมได้ผ่านเบอร์โทรศัพท์ของแม่ผม แต่ผมไม่ได้รับเอง ปัจจุบันนี้ผมใกล้จะพร้อมจ่ายหนี้ในบางสถาบันการเงินแล้ว คำถามก็คือ
1.ยอดชำระหนี้ที่สถาบันการเงินนั้น รวมค่า เงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และค่าทวงถาม ซึ่งผมจะต้องทำอย่างไรกับค่าอื่นๆ (ค่าธรรมเนียมต่างๆ กับค่าทวงถามแสนแพงที่เกือบทบต้น) อยากจะให้คงเหลือแค่เพียง เงินต้นกับดอกเบี้ยจริง ที่ ผมสามารถจะจ่ายได้
2.ทางแพ่ง ถ้าสถาบันการเงินจะนำเรื่องส่งฟ้องศาลให้บังคับเราจ่ายหนี้ จะทำให้สามารถ ลดค่าธรรมเนียมต่างๆจากสถาบันการเงิน และค่าทวงถาม ออกไป คงเหลือเพียงแต่เงินต้นและดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมศาล นั้นจริงหรือไม่
3.การที่สถาบันการเงินจ้างหน่วยงานเร่งรัดหนี้สิน และหน่วยงานเร่งรัดหนี้สินนั้น ติดต่อเราไม่ได้ จนท.สามารถค้นหาประวัติเราจากทะเบียนราษฎร์ หรือค้นหาที่อยู่ที่ทำงานจากสนง.ประกันสังคม และขอที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อโทรมารังควาญที่ทำงานนั้น ทำได้หรือไม่ (เพราะย้ายที่ทำงานมา 2 ที่แล้ว บริษัทแรก ก็ตามเจอ บริษัทที่ 2 ปัจจุบันที่ทำงานอยู่ก็ยังโทรมาได้อีก) จนท.เร่งรัดหนี้สินมีอำนาจทำได้หรือไม่อย่างไร
4.จากคำถามในข้อ 3 เมื่อจนท.เร่งรัดหนี้สิน โทรมาที่ทำงาน และผมได้แจ้งเบอร์ที่ติดต่อได้กลับไป แต่ก็ยังคงโทรมาทวงถามที่บริษัทอีก ซึ่งผมได้แจ้งไปแล้วว่าห้ามโทรมาเบอร์นี่อีกเพราะเป็นเบอร์ฝ่ายบุคคลของบริษัท ผมสามารถทำอย่างไรได้บ้าง แบบนี้เรียกว่า"ละเมิดสิทธิ" ไหมครับ
รบกวนสอบถามเท่านี้ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับผู้มาตอบข้อข้องใจของผม :bye:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #66999 โดย Pheonix
ค่าติดตามทวงถามหนี้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ว่า เจ้าหนี้จะต้องจ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุ คำว่า จ่ายไปจริง หมายความว่า จ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ทวงหนี้ ถ้าทวงหนี้โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทเอง เรียกจากลูกหนี้ไม่ได้ครับ จ่ายไปจริงต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อศาล ไม่เช่นนั้นเรียกไม่ได้ครับ ส่วนคำว่าพอสมควรแก่เหตุ การเรียกไม่หยุดหย่อน ไม่เป็นการพอสมควรแก่เหตุครับ
นอกจากนี้เมื่อลูกหนี้หยุดชำระหนี้แล้ว เท่ากับลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งตามสัญญาให้สินเชื่อจะมีข้อตกลงว่า ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดลง เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ทั้งจำนวน ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดขำระหนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือว่าสัญญาสิ้นสุดลงโดยปริยาย เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหนี้ไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเรียกดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันในอัตราร้อยละ 20 หรือ 28 ต่อปี และเรียกค่าติดตามหนี้ได้อีก ค่าติดตามหนี้ 250 บาท ถ้าคิดจากวงเงิน 30,000 บาท เท่ากับร้อยละ 10 ต่อปี รวมเป็นร้อยละ 30 หรือ 38 ต่อปี จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนอันสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดลงให้ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร
ปัจจุบัน ต้นทุนเงินฝากประจำ 12 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี หากหคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะมีกำไรขั้นต้นร้อยละ 18.5 ต่อปี คิดเป็นกำไรขั้นต้น 1,233.33 ของต้นทุุนเงินฝากร้อยละ 1.50 ต่อปี
ปัจจุบัน ต้นทุนเงินฝากประจำ 12 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี หากหคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 28 ต่อปี ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะมีกำไรขั้นต้นร้อยละ 26.5 ต่อปี คิดเป็นกำไรขั้นต้น 1,766.67 ของต้นทุุนเงินฝากร้อยละ 1.50 ต่อปี
เมื่อถูกฟ้องก็ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี ในประเด็นเหล่านี้ เพื่อหาความถูกต้องและยุติธรรม ขอมูลเพิ่มเติม ปรึกษาคุณอาไพโรจน์ Hot line สายด่วน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #67005 โดย jackTs

jjh1984 เขียน: 1.ยอดชำระหนี้ที่สถาบันการเงินนั้น รวมค่า เงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และค่าทวงถาม ซึ่งผมจะต้องทำอย่างไรกับค่าอื่นๆ (ค่าธรรมเนียมต่างๆ กับค่าทวงถามแสนแพงที่เกือบทบต้น) อยากจะให้คงเหลือแค่เพียง เงินต้นกับดอกเบี้ยจริง ที่ ผมสามารถจะจ่ายได้

ถ้าคุณสามารถ Haircut ได้สำเร็จ ยังไงก็ได้ผลต่างที่กำไร มากเกินกว่าค่าทวงถามหนี้รายเดือน

ใครที่ยังไม่เข้าใจว่า Hair cut คืออะไร?...กรุณาเข้ามาอ่าน
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=749&Itemid=64



jjh1984 เขียน: 2.ทางแพ่ง ถ้าสถาบันการเงินจะนำเรื่องส่งฟ้องศาลให้บังคับเราจ่ายหนี้ จะทำให้สามารถ ลดค่าธรรมเนียมต่างๆจากสถาบันการเงิน และค่าทวงถาม ออกไป คงเหลือเพียงแต่เงินต้นและดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมศาล นั้นจริงหรือไม่

จริง...ถ้าคุณสามารถต่อสู้คดีให้ชนะได้

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=9240&Itemid=64



jjh1984 เขียน: 3.การที่สถาบันการเงินจ้างหน่วยงานเร่งรัดหนี้สิน และหน่วยงานเร่งรัดหนี้สินนั้น ติดต่อเราไม่ได้ จนท.สามารถค้นหาประวัติเราจากทะเบียนราษฎร์ หรือค้นหาที่อยู่ที่ทำงานจากสนง.ประกันสังคม และขอที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อโทรมารังควาญที่ทำงานนั้น ทำได้หรือไม่ (เพราะย้ายที่ทำงานมา 2 ที่แล้ว บริษัทแรก ก็ตามเจอ บริษัทที่ 2 ปัจจุบันที่ทำงานอยู่ก็ยังโทรมาได้อีก) จนท.เร่งรัดหนี้สินมีอำนาจทำได้หรือไม่อย่างไร

คุณสามารถดำเนินคดีเอาผิดกับประกันสังคมได้...ว่าแต่...คุณมีหลักฐานหรือเปล่าล่ะครับ? ว่าประกันสังคมได้เปิดเผยข้อมูลของคุณ ให้กับเจ้าหนี้มันได้รู้

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40826&Itemid=64#48041



jjh1984 เขียน: 4.จากคำถามในข้อ 3 เมื่อจนท.เร่งรัดหนี้สิน โทรมาที่ทำงาน และผมได้แจ้งเบอร์ที่ติดต่อได้กลับไป แต่ก็ยังคงโทรมาทวงถามที่บริษัทอีก ซึ่งผมได้แจ้งไปแล้วว่าห้ามโทรมาเบอร์นี่อีกเพราะเป็นเบอร์ฝ่ายบุคคลของบริษัท ผมสามารถทำอย่างไรได้บ้าง แบบนี้เรียกว่า"ละเมิดสิทธิ" ไหมครับ


กฎหมายฉบับใหม่ (พรบ.ทวงถามหนี้) ยังไม่มีผลบังคับใช้ครับ
ต้องรอไปอีก 180 วัน (6 เดือน) นับตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

โปรดเกล้าฯ ก.ม.ทวงหนี้ฉบับใหม่ ห้ามข่มขู่ ดูหมิ่น ก่อความรำคาญ (ชมคลิป)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=42576&Itemid=64

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: windebt, jjh1984

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #67032 โดย jjh1984
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างครับ

แต่ยังข้องใจว่า จนท.ทวงหนี้ ได้เบอร์มาอย่างไร หลังจากที่ผมออกจากงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในปี 56 เพื่อมาทำธุรกิจส่วนตัว(เป็นช่วงที่หยุดชำระหนี้)หลังจากไม่ประสบความสำเร็จ ก็กลับมาเข้าทำงานกับบริษัทใหม่ ในช่วงต้นปี 57 จนถึงกลางปี ช่วงระหว่างนี้ มีจนท.ทวงหนี้ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท กรุงศรีเฟริสช้อย โทรเข้ามาเบอร์ฝ่ายบุคคลของบริษัท ตามตัวผม โอนสายมาจนเจอผมได้รับนะ(ช่างพยายามจริงๆ) หลังจากนั้นผมออกจากบริษัทนี้ และได้งานที่บริษัทใหม่ที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ยังพบว่าจนท.ทวงหนี้ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท กรุงศรีเฟริสช้อย โทรตามผมได้อีก ได้ทั้งเบอร์มือถือของบริษัท ทั้งเบอร์ 02-xxxxxxx ของบริษัท ผมจึงสงสัยว่า ไปเอาเบอร์มาได้ยังไง จึงถามกับไปว่าเอาเบอร์มาจากไหน เค้าตอบมาว่า "ทางบริษัท เฟริสช้อยให้มา"(ตอบได้โกหกไม่เนียนเลย)

ใครพอจะทราบมั้ยครับ ว่าพวกนี้ได้เบอร์มาจากไหน ผมเดาว่าได้มาจากประกันสังคมแต่หาหลักฐานไม่ได้
เฮ้อออ ทำยังไงดีครับ ทั้งที่บอกไปแล้วว่าให้โทรมาเบอร์ไหน และเบอร์ที่โทรเป็นเบอร์ส่วนของหน่วยงานห้ามโทร ก็ยังโทรอีก ไม่รุ้จะพูดยังไงเลย

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #67034 โดย jjh1984
เข้าไปอ่านตามกระทุ้ของ admin แล้วครับ ทราบแล้วครับ ว่ามันได้เบอร์ไปยังไง
แย่จังครับ เมื่อไหร่เมืองไทยจะหมดเรื่องส่วยซักที คอรัปชั่นครองทุกวงการและ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #67064 โดย windebt
สุ้เท่านั้นค่ะ เดินพลาดมาเส้นทางนี้แล้ว ก็ต้องไปต่อ ตรงนี้มีเพื่อน ^ ^ หลายคน
เราไม่ตายเพราะหนี้หรอกเนอะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.510 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena