ว่าด้วยเรื่อง ไอคอน แคปปิตอล

8 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #76581 โดย Ironman58
สวัสดีครับผม สมาชิกใหม่ครับ.
ขอเล่าแบบรวบลัดนะครับ จาก12 เจ้าหนี้ ตอนนี้ เหลือ ชาร์เตอร์ 2 บัญชี(ขายหนี้เน่าให้ ไอคอน ไปแล้ว) สินเชื่อบุคคล ยอด 44000 หยุดจ่ายตอน ปี 2004 วิ่งไป 110000 , วงเงินพิเศษส่วนบุคคล ยอด 66000 หยุดจ่ายตอน ปี 2007 วิ่งไป 170000.ขอถามหน่อยครับ

1 มีท่านใดเคยโดน ไอคอนฟ้องบ้างครับ
2 ช่วงนี้ไอคอน โทรจิกมาก หลังจากหายไปนาน....ท่านอื่นเป็นไงบ้างครับ
3 เรื่องอายุความ ทั้งสองตัว คือ 5 ปีใช่มั๊ยครับ.
4 บริษัทบริหารสินทรัพย์ของต่างด้าวนี่ ตอนจดทะเบียนนี่ 49:51 หรือป่าวครับ ??????? อิอิ

ตาม พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พุทธศักราช 2541
มาตรา ๑๐ ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์อาจเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเดิมได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ณ วันที่รับโอนมา แต่ถ้าสัญญาเดิมได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัวและไม่มีฐานในการคำนวณของสถาบันการเงินเดิมให้อ้างอิงได้ ให้คำนวณอัตราดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ให้ลูกหนี้ตามสัญญาเดิมกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินที่รับโอน ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ตามอัตราที่ตกลงกัน
การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำมาตรา ๖๕๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับ แต่จะเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมิได้

ทำไม ไอคอน แจ้งว่า คิดดอกที่ 28 % หุหุหุ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #76614 โดย sandy
ดิฉันก็โดนเหมือนกันจิกน่าดู รออ่านด้วยค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #76899 โดย Pheonix
วัสดีครับผม สมาชิกใหม่ครับ.
ขอเล่าแบบรวบลัดนะครับ จาก12 เจ้าหนี้ ตอนนี้ เหลือ ชาร์เตอร์ 2 บัญชี(ขายหนี้เน่าให้ ไอคอน ไปแล้ว) สินเชื่อบุคคล ยอด 44000 หยุดจ่ายตอน ปี 2004 วิ่งไป 110000 , วงเงินพิเศษส่วนบุคคล ยอด 66000 หยุดจ่ายตอน ปี 2007 วิ่งไป 170000.ขอถามหน่อยครับ

สินเชื่อบุคคล ยอด 44000 หยุดจ่ายตอน ปี 2004 วิ่งไป 110000 , ขาดอายุความแล้วครับ

วงเงินพิเศษส่วนบุคคล ยอด 66000 หยุดจ่ายตอน ปี 2007 วิ่งไป 170000.ขอถามหน่อยครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10262/2550
ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นางสาวนฤวรรณ หรือนางกชมน หมวดเตี้ยหรือถิระรัตนโสภณ จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) และมาตรา 856
แม้สัญญาให้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตโจทก็กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่า จำเลยต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อให้จำเลยใช้บัญชีดังกล่าวเบิกถอนเงิน โดยการใช้เช็คที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้และมีข้อตกลงให้โจทก์หักทอนเงินในบัญชี เพื่อการชำระหนี้ใดๆ ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาใช้เงินสินเชื่อข้อ 11 ระบุไว้ว่า หากผู้กู้นำเงินสดและ/หรือเช็คเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวันที่ผู้กู้เปิดไว้โดยผู้กู้ไม่มีหน้าที่ ต้องชำระหนี้ใดๆ แก่ธนาคาร ผู้กู้ยอมให้ธนาคารโอนเงินจำนวนดังกล่าวหรือที่เรียกเก็บได้ตามเช็คเข้าฝาก ในบัญชีเงินฝากประเภทไม่มีดอกเบี้ยที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นทันที ทั้งนี้ ผู้กู้ตกลงและรับทราบว่าในเวลาใด ๆ เวลาหนึ่ง ยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีกระแสรายวันจะมีจำนวนเท่ากับศูนย์ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามบัญชี กระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน ทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีก็ปรากฏว่าจำเลยใช้เช็คที่โจทก์มอบให้เบิกถอนเงิน จากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเพียงช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยเบิกถอนเงินโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ในการคิดดอกเบี้ยเนื่องจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยแบบทบต้นแต่อย่างใด บัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้จึงเป็นเพียงบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเรดดี้เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกัน โดยตรงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย และคงชำระหนี้แต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสประจำตัวให้แก่จำเลย เพื่อให้จำเลยใช้เบิกถอนเงินสดจากพนักงานของโจทก์ หรือจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์เท่านั้น ซึ่งหากจำเลยเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่นๆ โจทก์ก็ต้องออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อน อันเป็นการรับทำการงานแทนนั่นเอง ส่วนการมอบเช็คให้จำเลยไว้ใช้ในการเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย หรือการออกรหัสประจำตัวแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยสามารถใช้บริการสินเชื่อเรดดี้ เครดิต ผ่านทางซิตี้โฟนแบงก์กิ้งได้นั้น ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลย เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2546 ตามที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งพ้นกำหนด 2 ปี แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
- - - - - - - - - - - - - - -
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 57,537.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 35,174 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 41,936.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 35,174 บาท นับแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 อันเป็นความผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดดังกล่าวจนถึงวันที่ 25 เมษายน 2548 อันเป็นวันฟ้องต้องไม่เกิน 11,000.30 บาท คำขออื่นให้ยก
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่าตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับการ งานต่างๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไปคืนจากจำเลยจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) หาใช่กรณีที่ไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะอันจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปี ไม่ คดีนี้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาล อุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 และ 247 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็น นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ เมื่อประมาณปี 2539 โจทก์ได้เปิดให้บริการสินเชื่อประเภทหมุนเวียนแก่ประชาชนทั่วไปภายใต้ชื่อ "ซิตี้แบงก์ เรดดี้เครดิต" ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยได้ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกซิตี้แบงก์เรดดี้เครดิตเพื่อขอรับบริการสินเชื่อเครดิตจากโจทก์ โจทก์รับจำเลยเป็นสมาชิกโดยอนุมัติวงเงินสินเชื่อจำนวน 30,000 บาท ให้แก่จำเลย และจำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 140 - 163180 - 1 ต่อมาโจทก์เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่จำเลยเป็น 36,000 บาท โจทก์มอบเช็คจำนวน 1 เล่ม มีเช็คจำนวน 12 ฉบับ ให้แก่จำเลย และออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสให้แก่จำเลย เพื่อให้จำเลยนำไปใช้เบิกถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แต่จำเลยไม่สามารถนำบัตรที่โจทก์ออกให้ ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆได้ ตามใบสมัครซิตี้แบงค์เรดดี้เครดิตและสัญญาให้สินเชื่อ ต่อมาระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2546 จำเลยได้ใช้เช็คและบัตรเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันหลายครั้ง โจทก์ได้แจ้งยอดหนี้ที่ค้างให้จำเลยทราบตลอดมา จำเลยชำระหนี้ให้บางส่วน แล้วผิดนัดไม่ชำระ โจทก์จึงระงับการใช้วงเงินคำนวณถึงวันที่ 20 มีนาคม 2546 จำเลยค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 35,174 บาท ดอกเบี้ยจำนวน 6,762.91 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 4,600 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารโจทก์ เห็นว่า แม้สัญญาให้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลย ต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อให้จำเลยใช้บัญชีดังกล่าวเบิกถอน เงินโดยการใช้เช็คที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้และมีข้อตกลงให้โจทก์หักทอนเงินใน บัญชีเพื่อการชำระหนี้ใด ๆ ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาให้สินเชื่อข้อ 11 ระบุไว้ว่า หากผู้กู้นำเงินสด และ / หรือเช็คเข้าฝากในบัญชีกระแส รายวันที่ผู้กู้เปิดไว้โดยผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ใด ๆ แก่ธนาคาร ผู้กู้ยอมให้ธนาคารโอนเงินจำนวนดังกล่าวหรือที่เรียกเก็บได้ตามเช็คเข้าฝาก ในบัญชีเงินฝากประเภทไม่มีดอกเบี้ยที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นทันที ทั้งนี้ ผู้กู้ ตกลงและรับทราบว่าในเวลาใด ๆ เวลาหนึ่ง ยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีกระแสรายวันจะมีจำนวนเท่ากับศูนย์ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า จำเลยไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน ทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีก็ปรากฏว่าจำเลยใช้เช็คที่โจทก์มอบให้เบิกถอนเงิน จากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเพียงช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยเบิกถอนเงินโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ในการคิดดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแต่อย่างใด บัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้จึงเป็นเพียงบัญชีกระแสรายวัน ที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเรดดี้เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้น โดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยและคงชำระหนี้แต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 แต่การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อให้ จำเลยใช้เบิกถอนเงินสดจากพนักงานของโจทก์หรือจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์ เท่านั้น ซึ่งหากจำเลยเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่น ๆ โจทก์ก็ต้องออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อน อันเป็นการรับทำการงานแทนนั่นเอง ส่วนการมอบเช็คให้จำเลยไว้ใช้ในการเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย หรือการออกรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยสามารถใช้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตผ่านทางซิตี้โฟนแบงก์กิ้งได้นั้น ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว กรณีถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุริกจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลย เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2546 ตามที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น"
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น./
(สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ รัตน กองแก้ว สุรศักดิ์ สุวรรณประกร)
ฐิตินันท์ บุญอ่อน – ย่อ
กำพล ษมาคุณากร – ตรวจ
Website สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักวิชาการ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #76956 โดย Ironman58
ขอบคุณครับ อีกอย่างทีผมสงสัยก็คือ กรนี เป็น บริษัท บริหาร สินทรัพย์ ข้ามชาติ มา ปรกติไม่ค่อยมีนะ ดูจาก พรก แล้ว ทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย ค่อนข้างเข้มงวด เพราะการทำธรุกิจแบบนี้มันเอื้อต่อการฟอกเงิน แล้ว ที จดทะเบียนเป็นบริษัทในไทย คนไทยใครเป็นหุ้นส่วน หรือว่าเป็น นอมินี

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #78957 โดย Ironman58
สอบถามครับ ท่านสมาชิก วันนี้ทางไอคอน พยายามให้ผมส่งเอกสารจำพวก เอกสารแสดงรายได้ สำเนาบัตรประชาชน เค้าบอกว่าจะเอาไปพิจารณา เรื่องส่วนลดให้ จริงๆแล้ว เค้าจะเอาไปเป้นหลักฐาน การแสดงตัว ของเรา ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี เพื่อ ยืดอายุความใช่มั๊ยครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.622 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena