หนี้เกือบ 2 ล้าน บทเรียนยิ่งใหญ่ในชีวิต

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93187 โดย siratirange
สวัสดีค่ะทุกคน

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณชมรมนี้มากๆ ค่ะ ในวันที่เราเปิด internet มาเจอชมรมนี้ คือวันที่เราสิ้นหวังที่สุด มันตันไปหมด ไม่รู้ว่าจะจบปัญหานี้ยังไง ไม่กล้าบอกใคร เพราะไม่มีใครที่จะคาดคิดว่าเราจะมาถึงจุดๆนี้ของชีวิตได้ การศึกษาสูงๆไม่ได้ช่วยอ่ะไรเลย ตอนนี้สำนึกแล้วค่ะ เคยคิดแม้กระทั่งอยากจบชีวิต เราหมกตัวอยู่ในห้องสองวันเต็มๆ หลังจากเจอชมรมนี้ เพื่อนั่งไล่อ่านทุกกระทู้ แล้วเราก็คิดได้ว่าเราไม่ได้มีปัญหาอยู่คนเดียว ในเมื่อเราสร้างปัญหานี้ขึ้นมาได้ เราก็ต้องหาทางแก้ไขมันให้ได้

สัญญาเลยค่ะ ถ้าหมดหนี้เมื่อไหร่จะไม่ลืมบุญคุณ และข้อความที่เป็นกำลังใจในชมรมนี้เด็ดขาดค่ะ

ด้านล้างเป็นตารางที่สรุปหนี้ของเรา ปิดไปได้แล้วบางตัว ก็เพราะชมรมนี้ค่ะ เราเริ่มหยุดจ่ายเดือน November 2016 เงินเก็บหลังจากหยุดจ่ายทุกอย่างเดือนละ ประมาณ 35,000 - 30,000 ค่ะ

รายละเอียดหนี้ตามแนบค่ะ


เรื่องที่อยากปรึกษาคือ หนี้ UOB และ TMB ของเราก้อนใหญ่มากค่ะ และคิดว่าไม่น่าจะหาเงินมาปิดได้เร็วๆนี้ ตอนนี้ทั้งสองธนาคารบอกว่ากำลังอยู่ในขึ้นตอนการส่งฟ้องแล้ว เราควรติดต่อขอประนอมหนี้ดีหรือไม่ค่ะ เพราะกลัวว่าถ้าไปขึ้นศาลจะโดนให้ผ่อนก้อนใหญ่แล้วจะผ่อนไม่ไหว

รบกวนแนะนำด้วยค่ะ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93188 โดย katai1984
คุณsiratirange เริ่มหยุดจ่าย 11/16. ทำไมได้ส่วนลดเร็วจังคะ ดีจังปิดไปหลายตัวเลย ดิฉันเริ่มหยุดมีนา เพิ่งเริ่มเก็บเงินเต็มที่ได้ไม่เกืนเดือนละหมื่น ท้อจัง :wake:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93218 โดย siratirange
ถ้าเทียบกับหนี้ที่เหลืออยู่ หนทางเรายังอีกยาวไกลค่ะ แล้วตอนนี้ก็โดนเจ้าหนี้รายใหญ่ๆทวงหนักมาก ค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93219 โดย siratirange
ใครมีประสบการณ์ ขึ้นศาล UOB / TMB แนะนำเราหน่อยน่ะค่ะ ยอดเยอะมากคิดไม่ออกเลยว่าจะประนอมหนี้หาือขึ้นศาลดีแบบไหนจะได้ผ่อนน้อยกว่ากัน ตอนนี้เรื่องใกล้ศาลมากแล้วค่ะต้องตอบเจ้าหน้าที่ภาย ในอาทิตนี้ :cry2:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93310 โดย siratirange
มาอัพเดทเพิ่มค่ะ ขนาดได้รับหมายศาลมาแล้ว เจ้าหน้าที่ uob ก็ยังโทรมาให้เราพยายามหาเงินมาปิดบัญชีก่อนวันขึ้นศาล พอถามว่าปิดก่อนจะมีส่วนลดให้เหรอ สรุป ปิดวันนี้ หรือวันขึ้นศาล ยอดปิดก็ตามตัวเลขในหมายศาลเลยไม่มีส่วนลดใดๆทั้งสิ้น แต่โทรมาเพราะเผื่อบ้างคนไม่กล้าไปศาลแล้วสามารถขวนขวายหาเงินมาปิดได้จะได้ไม่ต้องไป ผ่อนก็ไม่ได้ค่ะ ผ่อนได้แค่จนถึงวันขึ้นศาล
เจ้าหน้าที่ยังย้ำอีกว่า uob ไม่มีนโยบายลดให้หน้าศาลแน่นอนค่ะ
เห้ออออ ยอดเยอะซะด้วยกะเจ้านี้เครียดขั้นสุด
ใครเคยขึ้นศาล uob แนะนำหน่อยน่ะค่ะ อยากรุ้ว่าเข้าจะยอมให้ผ่อนกี่เดือน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93311 โดย Kigyakuza
เจ้านี้ฟ้องไวจังคะ :upset:
สู้ๆละกันนะคะ มาเป็นกำลังใจให้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93315 โดย Janenisa

siratirange เขียน: มาอัพเดทเพิ่มค่ะ ขนาดได้รับหมายศาลมาแล้ว เจ้าหน้าที่ uob ก็ยังโทรมาให้เราพยายามหาเงินมาปิดบัญชีก่อนวันขึ้นศาล พอถามว่าปิดก่อนจะมีส่วนลดให้เหรอ สรุป ปิดวันนี้ หรือวันขึ้นศาล ยอดปิดก็ตามตัวเลขในหมายศาลเลยไม่มีส่วนลดใดๆทั้งสิ้น แต่โทรมาเพราะเผื่อบ้างคนไม่กล้าไปศาลแล้วสามารถขวนขวายหาเงินมาปิดได้จะได้ไม่ต้องไป ผ่อนก็ไม่ได้ค่ะ ผ่อนได้แค่จนถึงวันขึ้นศาล
เจ้าหน้าที่ยังย้ำอีกว่า uob ไม่มีนโยบายลดให้หน้าศาลแน่นอนค่ะ
เห้ออออ ยอดเยอะซะด้วยกะเจ้านี้เครียดขั้นสุด
ใครเคยขึ้นศาล uob แนะนำหน่อยน่ะค่ะ อยากรุ้ว่าเข้าจะยอมให้ผ่อนกี่เดือน

ฟ้องไวมาก ไม่มีส่วนลดอีกแอบเครียดเลยเรา ยังไงก็สู้ๆน่ะค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93317 โดย Pheonix
ข้อ ๑. ตามคำฟ้องข้อ ๒. เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สินเชื่อ ทีเอ็มบี แคชทูโก กับโจทก์ โจทก์ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน ๔๒๗,๐๐๐ บาท ให้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ย CPR + ๒ เท่ากับร้อยละ ๒๐ ต่อปี (ในขณะทำสัญญาอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชี่อ
บุคคล (CPR) อยู่ที่ร้อยละ ๑๘ ต่อปี) โดยจำเลยตกลงจะผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นงวดรายเดือนจำนวน ๖๐ งวด งวดละ ๑๑,๓๒๐ บาท งวดแรกเริ่มชำระวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ และต้องชำระงวดต่อ ๆ ไปในทุก ๆ วันที่สิ้นเดือน ของเดือนถัดไป หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินจำนวนใด ๆ ที่ถึงกำหนดชำระ โจทก์มีสิทธิจะแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดตามสัญญาได้โดยพลัน และจำเลยจะต้องชำระหนี้ต้นเงิน ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามสัญญาแก่โจทก์โดยทันที รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำขอใช้บริการสินเชื่อ ทีเอ็มบี แคชทูโก พร้อมสัญญาให้สินเชื่อ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๕ ตามคำฟ้องข้อ ๓. หลังจากจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องข้อ ๒. แล้ว จำเลยได้ประพฤติผิดสัญญา กล่าวคือ จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งปรากฏยอดหนี้ทางบัญชี ณ วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ จำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ แยกเป็นต้นเงิน ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ดอกเบี้ยจำนวน ๑๓๕,๔๑๓.๖๗ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๒๒,๓๔๖.๐๓ บาท รายละเอียดปรากฏตามตารางคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งเป็นรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีสินเชื่อ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๖ ข้อ ๒. ตามรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๖ จำเลยได้จัดทำตารางสรุป รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๑ ปรากฎว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ จำนวนเงิน ๔๒๗,๐๐๐ บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปี ผ่อนชำระเดือนละ ๑๑,๓๒๐ บาท จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวนเงิน ๑๑,๓๒๐ บาท โจทก์นำไปหักชำระเงินต้นจำนวน ๔,๖๖๘.๑๖ บาท นำไปหักชำระดอกเบี้ย ๖,๖๕๑๘๔ บาท หักแล้ว เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ดอกเบี้ยคงค้าง ๔๖๗.๙๑ บาท หลังจากนั้น จำเลยผิดนัดชำระหนี้ติดต่อกันมา ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โจทก์ปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราผิดนัดร้อยละ ๒๘ ต่อปี และคิดดอกเบี้ยดังนี้ ๑) วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ นับจากชำระครั้งก่อนวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวน ๔๕๘ วัน เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน ๑๓๕,๙๔๕.๗๗ บาท (๓๘๖,๙๓๒.๓๖ ตูณ ๒๘ คูณ ๔๕๘ หาร ๓๖๕๐๐ เท่ากับ ๑๓๕,๙๔๕.๗๗) ๒) วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐ นับจากครั้งก่อนวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ จำนวน ๓๑๘ วัน เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน ๙๔,๓๙๐.๒๙ บาท (๓๘๖,๙๓๒.๓๖ ตูณ ๒๘ คูณ ๓๑๘ หาร ๓๖๕๐๐ เท่ากับ ๙๔,๓๙๐.๒๙)
เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท (๑๐๐%) ดอกเบี้ย ๒๘% ๒๙ ก.พ. ๒๕๕๙ ๑๓๕,๙๔๕.๗๗ บาท (๓๕.๑๓% ของเงินต้น) ดอกเบี้ย ๒๘% ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๐ ๙๔,๓๙๐.๒๙ บาท (๒๔.๓๙% ของเงินต้น) รวมเงินต้นและดอกเบี้ย ๒๘% ๖๑๗,๒๖๘.๔๒ บาท (๑๕๙.๕๓% ของเงินต้น) ระยะเวลา ๗๗๖ วัน หรือ ๒ ปี ๑ เดือน ๑๕ วัน ดอกเบี้ย ๒๘% เพิ่มมากถึง ๕๙.๕๓% จำเลยจะมีปัญญาจ่ายหนี้ให้โจทก์ได้อย่างไร ดอกเบี้ย ๒๘% ระยะเวลา ๔ ปี เป็นดอกเบี้ย ๑๑๒% ท่วมต้นแล้วครับ
ข้อ ๓. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๒ พิพากษาโดยท่านไพโรจน์ วายุภาพ ท่านปัญญา ถนอมรอด ท่านวรนาถ ภูมิถาวร วางหลักกฎหมายในเรื่องเบี้ยปรับไว้ว่า ส่วนการคิดดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น ตามสัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ.๓ ข้อ ๔ ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่ระบุในสัญญาข้อ ๒ ซึ่งหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ และในกรณีที่มีการผิดนัดแล้วเช่นนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว ในอัตราผิดนัดสูงสุดสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารหมาย จ.๑๕ ข้อ ๓ (๔) ดังกล่าวมาแต่อย่างใด สัญญาข้อ ๔ นี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม ความตามสัญญาข้อ ๔ นี้เป็นการกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสูงอันเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ และเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินรายนี้แล้ว เห็นว่าฯ อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามที่ระบุในสัญญากู้เงินข้อ ๔ ที่กำหนดไว้เป็นอัตราผิดนัดสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงมาก เช่น บางช่วงอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี และบางช่วงสูงถึงร้อยละ ๒๔ ต่อปี นับว่าเป็นเบี้ยปรับในลักษณะดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนไปมาก เห็นสมควรลดลงเหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี เท่านั้น ฯ จำเลยขอให้การตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวนเงิน ๔๒๗,๐๐๐ บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปี ผ่อนชำระเดือนละ ๑๑,๓๒๐ บาท จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์รวม ๙ เดือน ชำระตามสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวนเงิน ๑๑,๓๒๐ บาท โจทก์นำไปหักชำระเงินต้น ๔,๖๖๘.๑๖ บาท นำไปหักชำระดอกเบี้ย ๖,๖๕๑.๘๔ บาท หักแล้ว เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ดอกเบี้ยคงค้าง ๔๖๗.๙๑ บาท หลังจากนั้น จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตลอดมา ในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โจทก์ปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราผิดนัดร้อยละ ๒๘ ต่อปี ต้นเงินจำนวน ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ระยะเวลา ๔๕๘ วัน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน ๑๓๕,๙๔๕.๗๗ บาท และในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐ คิดดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ ๒๘ ต่อปี ต้นเงินจำนวน ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ระยะเวลา ๓๑๘ วัน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน ๙๔,๓๙๐.๒๙ บาท รวมระยะเวลา ๗๗๖ วัน โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ ๒๘ ต่อปี มาโดยตลอด และขอคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ ต่อปี จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์ เป็นการกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ ๒๘ ต่อปี อันเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ จำเลยกราบขอประทานศาลท่านได้โปรดเมตตา พิพากษาลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควร เพื่อให้โอกาสจำเลยสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๓ ยอดสินเชื่อคงค้าง ๓๓๗,๗๗๗ ล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๙๔,๕๗๗.๕๖ ล้านบาท คิดไปอีก ๔ ปี เป็นค่าดอกเบี้ยสะสม ๓๗๘,๓๑๐.๒๔ ล้านบาท คิดเป็น ๑๑๒% ของเงินต้น ๓๓๗,๗๗๗ ล้านบาท ถึงวันนั้น ทุกอย่างคงจบ ข้อ ๔. จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวนเงิน ๔๒๗,๐๐๐ บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปี ผ่อนชำระเดือนละ ๑๑,๓๒๐ บาท จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์รวม ๙ เดือน ชำระตามสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวนเงิน ๑๑,๓๒๐ บาท โจทก์นำไปหักชำระเงินต้น ๔,๖๖๘.๑๖ บาท นำไปหักชำระดอกเบี้ย ๖,๖๕๑.๘๔ บาท หักแล้ว เงินต้นคงค้าง ๓๘๖,๙๓๒.๓๖ บาท ดอกเบี้ยคงค้าง ๔๖๗.๙๑ บาท หลังจากนั้น จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลย เลิกต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ โจทก์และจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม วรรคสี่ การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๒ การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ แต่เป็นการเรียกกำไรเป็นจำนวนที่สูงมาก ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดาของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๔ ธนาคารทหารไทย กำหนดให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน แก่ผู้ฝากเงิน อัตราร้อยละ ๐.๗๕ - ๑.๐๐ ต่อปี เฉลี่ยเท่ากับอัตราร้อยละ ๐.๘๗๕ ต่อปี (๐.๗๕ บวก ๑ เท่ากับ ๑.๗๕ หาร ๒ เท่ากับ ๐.๘๗๕) ถ้าคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา ในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน เฉลี่ยร้อยละ ๐.๘๗๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๒๗.๑๒๕ ต่อปี (๒๘ ลบ ๐.๘๘ เท่ากับ ๒๗.๑๒๕) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำเฉลี่ยร้อยละ ๐.๘๗๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๓,๑๐๐ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๒๗.๑๒๕ หาร ๐.๘๗๕ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๓,๑๐๐) จึงเป็นกำไรขั้นต้นที่สูงมาก จึงไม่ใช่ค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๒ ถ้าคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน เฉลี่ยร้อยละ ๐.๘๗๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๑๔.๑๒๕ ต่อปี (๑๕ ลบ ๐.๘๗๕ เท่ากับ ๑๔.๑๒๕) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำเฉลี่ยร้อยละ ๐.๘๗๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๑,๖๑๔.๒๙ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๑๔.๑๒๕ หาร ๐.๘๗๕ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๖๑๔.๒๙) จึงเป็นกำไรขั้นต้นที่สูงมาก จึงไม่ใช่ค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๒ จำเลยจึงกราบขอความเมตตาเพื่อให้จำเลยสามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #93318 โดย siratirange
หมายถึงจ้างทนายสู้ในศาลเรื่องดอกเบี้ยเหรอค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93836 โดย siratirange
มีมีใครเป็นหนี สแตนดาตบ้างค่ะ เค้ากำลังจะขายหนี้ให้ทิสโก้ แล้วเราจะเป็นยังไงต่อไปค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93842 โดย Na99
หนักหนี้นอกระบบจริงๆ

TMB กับ UOB ลองดูกระทูผมครับ

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=43571&limitstart=40&Itemid=64

สู้ๆ ครับ :สู้ๆ: :สู้ๆ:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93843 โดย kichanchai

siratirange เขียน: มีมีใครเป็นหนี สแตนดาตบ้างค่ะ เค้ากำลังจะขายหนี้ให้ทิสโก้ แล้วเราจะเป็นยังไงต่อไปค่ะ


ได้รับข้อความคล้ายๆ ผมเลย แต่สุดท้ายหนี้ผมถูกขายหนี้ไปให้ บริหารสินทรัพย์ เจ ได้เรื่่องได้ความอย่างไรจะมา แชร์นะครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #93855 โดย Barcode910
หยุดจ่ายไปกี่เดือนครับ UOB :shy:


ของผมหนี้ 2 ใบ เหมือนกัน สินเชื่อกับบัตรเครดิต ใบละประมาณ 120000 บาทครับ :sweat:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93859 โดย siratirange
หยุดไปได้แค่ 4 เดือนเองค่ะ น่ากลัวมากเจ้านี้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93861 โดย siratirange

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93864 โดย Barcode910

siratirange เขียน: หยุดไปได้แค่ 4 เดือนเองค่ะ น่ากลัวมากเจ้านี้


เร็วมากๆ ครับ น่ากลัวจริงๆ

ตอนนี้ของผมจะเข้าเดือนที่ 3 แล้ว

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93915 โดย IndyGirL
:สู้ๆ: :สู้ๆ:

UOB อินดี้โดนฟ้อง ปิดได้ที่ยอดเงินต้น ก่อนหน้านี้ลดให้แต่ก็ไม่เยอะคะ หลังฟ้องก็ขอส่วนลดไปไม่เคยผ่าน มาจบที่เงินต้น จ่ายก่อนถึงนัดที่ 2 เนื่องจากอินดี้ขอเลื่อนศาล ทำยอมเจ้านี้ให้ 12 เดือนยอดฟ้องมาหารเลยโหดมากที่สุดอ่ะ ปิดปี 59

TMB เจ้านี้หยุดมา 2 ปีไม่ยอมฟ้อง ติดต่อไปเอง เสนอปิดแบบแบ่งชำระมาให้สูงสุดแค่ 12 งวด ยอดแบ่งจ่ายคือยอดเงินต้นหนักที่งวดแรกและงวดสุดท้าย ระหว่างทางก็ผ่อนเบาหน่อย เจตนาตอนแรกจะขอหนักที่งวดสุดท้ายแต่่เจ้าหนี้ไม่ยอมเลยคะ เพิ่งทำสัญญา จ่ายไปงวดแรกเดือนมีนา 60 นี้คะ

SCBT อันนี้ปิดบัตรเครดิต กับบัตรกดเงินสดได้ส่วนลดเยอะอยู่นะคะ 50% มีแบบแบ่งจ่าย ลดแล้วลดอีก แต่สินเชื่อลดน้อยมาก แต่จากที่คำนวนดอกเบี้ยเจ้านี้เหมือนดอกเบี้ยหยุดเดินตั้งแต่ปีแรกที่หยุดจ่า่ย ดอกไม่วิ่ง ยอดหนี้ไม่เพิ่มเท่าไหร่ ถึงลดไม่เยอะก็พอรับได้ ปิดไปตอนปี 59

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #94801 โดย siratirange
สอบถามค่ะ ถ้าตอนนี้ได้หมายศาลมาแล้ว แต่เรามีบ้านที่กู้ร่วมกับพี่ชาย จริงๆเปนของพี่ชายพี่เค้าผ่อนเองแต่ตอนนั้นมาให้เรากู้ร่วมเพื่อที่จะกู้แบ้งได้ ถ้าเราไปถอนชื่อกู้ร่วมตอนนี้ยังทันไหมค่ะ ความจริงตั้งใจไม่ทำยอมหน้าศาลไม่ได้ตั้งใจจะหนี แต่เผื่อไว้ก่อนเหตุการณ์ในอนาคตเผื่อโดนบังคับคดียึดบ้านเด่วพี่จะเดือดร้อนไปด้วยอ่ะค่ะ
สรุปถอนชื่อออกจากบ้านตอนนี้ยังทันไหมค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #94802 โดย siratirange
แล้วรถยนต์คันแรก ตอนนี้ผ่อนมาได้เกือบ4ปี แต่มันติดสัญญาห้ามขายห้ามโอนสิทธิ์ก่อน5ปี เจ้าหนี้มีสิททำเรื่องขายทอดตลาดไหมค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #94804 โดย jackTs

siratirange เขียน: สอบถามค่ะ ถ้าตอนนี้ได้หมายศาลมาแล้ว แต่เรามีบ้านที่กู้ร่วมกับพี่ชาย จริงๆเปนของพี่ชายพี่เค้าผ่อนเองแต่ตอนนั้นมาให้เรากู้ร่วมเพื่อที่จะกู้แบ้งได้ ถ้าเราไปถอนชื่อกู้ร่วมตอนนี้ยังทันไหมค่ะ ความจริงตั้งใจไม่ทำยอมหน้าศาลไม่ได้ตั้งใจจะหนี แต่เผื่อไว้ก่อนเหตุการณ์ในอนาคตเผื่อโดนบังคับคดียึดบ้านเด่วพี่จะเดือดร้อนไปด้วยอ่ะค่ะ

สรุปถอนชื่อออกจากบ้านตอนนี้ยังทันไหมค่ะ


ไม่น่าจะทันแล้วนะครับ


การที่ลูกหนี้ไปโอนรถหรือทรัพย์สินอื่นใดให้กับผู้อืน ภายหลังจากที่ลูกหนี้มีคดีความแล้ว(ถูกหมายศาลฟ้องแล้ว) จะมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 350 ฐานโกงเจ้าหนี้ โทษสูงสุดคือจำคุก 2ปี ปรับ 4,000 บาท โดยโทษนี้ ให้ลงโทษผิดทั้งผู้ที่โอนและผู้ที่รับโอน (ติดคุกด้วยกันทั้งคู่)

มาตรา ๓๕๐ ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



siratirange เขียน: แล้วรถยนต์คันแรก ตอนนี้ผ่อนมาได้เกือบ4ปี แต่มันติดสัญญาห้ามขายห้ามโอนสิทธิ์ก่อน5ปี เจ้าหนี้มีสิททำเรื่องขายทอดตลาดไหมค่ะ


คำถามที่คุณถามมาทั้งหมดนี้ มันมีคำตอบอยู่ในกระทู้นี้หมดแล้วครับ

กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สิน ภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=2194&Itemid=64#2194




ความรู้ต่างๆ มีอยู่ในนี้หมดแล้ว

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20


.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.820 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena