กรณีศึกษา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๒๒/๒๕๖๑

4 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #113422 โดย Badman
คุณอาไพโรจน์แจ้งมาให้ลงคำพิพากษาศาลฎีกานี้ไว้ศึกษาคุณอาไพโรจน์แจ้งว่าบัตรกดเงินสดอายุความ 10 ปีหลังพิพากษาไปแล้วบังคับคดีอีก 10 ปีเท่ากับ ติดหนี้ไป 20 ปี  โหดมาก ท่านแนะนำว่าอย่าไปเป็นหนี้บัตรกดเงินสดเด็ดขาด

สมาชิก  ควรเช็คเครดิตบูโรเก็บข้อมูลไว้ทุกปีเพื่อทราบข้อมูลว่าชำระครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
เอกสารหนี้ทุกตัวเก็บเข้าแฟ้มและทำตารางหนี้เก็บไว้ด้วยกันลืมครับ ถ้าถูกฟ้องมาหลักฐานข้อมูลเครดิตบูโรช่วยท่านได้เรื่องการนับอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๙๒๒/๒๕๖๑
วันที่    ๑๗     เดือน    พฤษภาคม    พุทธศักราช  ๒๕๖๑
 ความแพ่ง              
บริษัทเจ  เอ็ม ที  เน็ทเวอร์ค  เซอร์วิสเซ็ส จำกัด  (มหาชน)         โจทก์
นายพิสิษฐ์  ประไพรัตน์                                                                 จำเลย

เรื่อง             ยืม
จำเลยฎีกาคัดค้าน คำพิพากษา


ศาลอุทธรณ์ภาค ๕  ลงวันที่ ๒๗  เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
ศาลฎีการับวันที่ ๒๕  เดือน  ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๕๕๙


โจทก์ฟ้องว่า เดิมบริษัทสยาม เอ แอนด์ ซีจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จำเลยยื่นใบสมัครสินเชื่อเงินสดกับบริษัทสยาม เอแอนด์ ซี จำกัด กู้ยืมเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยได้รับเงินกู้ครบถ้วนแล้ว ตกลงชำระคืนในอัตราขั้นต่ำรายเดือน งวดละ๔,๘๐๐ บาท จำเลยชำระเงินกู้ยืมรวม ๑๑ งวด เป็นเงิน ๖๓,๐๑๒ บาท แล้วผิดนัดชำระหนี้งวดที่
๑๒ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๙ ตลอดมา 

ต่อมาบริษัทอีซี่บาย จำกัด(มหาชน) ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ 
โจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน
๙๗,๘๑๑.๕๗ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ๑๕ ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ๔๙,๖๓๓.๒๘ บาท
นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Amam, monsterangle

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #113423 โดย Badman
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารสินทรัพย์ โจทก์ซื้อทรัพย์สินเกี่ยวกับธุรกิจสินเชื่อกับบุคคลภายนอก
เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาสินเชื่อเงินสดเป็นข้อตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มีอายุความ ๕ ปี โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๔๙

โจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าห้าปี  ขาดอายุความและโจทก์เรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างชำระเงินกว่า ๕ ปี ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว  พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน ๔๙,๖๓๓.๒๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ๑๑.๑๖ ต่อปี นับแต่วันฟ้อง
(ฟ้องวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕) ย้อนหลังขึ้นไปเป็นเวลา  ๕ ปี ให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์
เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ ๓,๐๐๐ บาท 


จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายืนโจทก์ไม่แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยฎีกาโดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้จำเลยฎีกา
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: monsterangle

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #113424 โดย Badman
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เดิมโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาวันที่ ๑๙
เมษายน ๒๕๕๕ โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อว่า บริษัทเจ
เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)
มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจทางด้านกฎหมาย รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
หรือรับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ หรือผู้ล้มละลาย เพื่อนำมาบริหารหรือจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๑ บริษัทอีซี่บาย จำกัด
(มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด เดิมใช้ชื่อว่า บริษัทสยาม เอ แอนด์
ซี จำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการกู้หรือให้กู้ยืมเงิน ตามหนังสือรับรอง เอกสารหมาย
จ.๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ บริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสัญญาซื้อขายทรัพย์สินเกี่ยวกับธุรกิจสินเชื่อรวมทั้งภาระแห่งหนี้คดีนี้ให้แก่โจทก์

ตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้เอกสารหมาย จ.๔ และ จ.๕
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
จำเลยยื่นใบสมัครสินเชื่อเงินสดและทำสัญญาสินเชื่อเงินสดกับบริษัทสยาม เอ แอนด์ ซี
จำกัด เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐  บาทจำเลยได้รับเงินที่กู้ไปเรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญา มีข้อตกลงว่า
จำเลยจะชำระค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ ๓.๒๓ ต่อเดือน
และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๐.๙๓ ต่อเดือน โดยแบ่งชำระเป็นงวดรายเดือน ในอัตราขั้นต่ำเป็นเงิน
๔,๘๐๐ บาท กำหนดชำระงวดแรกวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๘ และงวดต่อไปทุกวันที่ ๒ ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบตามใบสมัครสินเชื่อเงินสดและสัญญาสินเชื่อเงินสดเอกสารหมาย จ.๗ หลังจากทำสัญญาจำเลยชำระค่างวดเงินกู้ให้แก่บริษัทสยาม
เอ แอนด์ ซี จำกัด หรือบริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑๑ งวด
รวมเป็นเงิน  ๖๓,๐๑๒ บาท แยกเป็นต้นเงินจำนวน๕๐,๓๖๖.๗๒ บาท ดอกเบี้ยเป็นเงิน ๑๐,๙๕๕.๗๖ บาท โดยจำเลยผิดนัดชำระหนี้ค่างวดเงินกู้ตั้งแต่งวดที่ ๑๒ เป็นต้นไปซึ่งถึงกำหนดชำระวันที่๒ มกราคม  ๒๕๔๙ ตลอดมาตามใบแจ้งยอดหนี้เอกสารหมาย จ.๘ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทอีซี่บายจำกัด(มหาชน) ให้จำเลยทราบ และมีหนังสือทวงถามแล้ว  แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ 
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: monsterangle

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #113425 โดย Badman
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาข้อแรกว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า สัญญาสินเชื่อเงินสดเอกสารหมาย จ.๗
มีลักษณะหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนคืนทุนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๙๓/๓๓ (๒)  ซึ่งมีอายุความ ๕ ปีเห็นว่า บริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน)
ได้รับอนุญาตให้ประกอบสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
ตามเอกสารท้ายฟ้อง
ซึ่งการให้สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง
การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้
ซึ่งตามสัญญาสินเชื่อเงินสดเอกสารหมาย จ.๗ ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลัง
และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวก็ตาม
แต่ตามสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระเงินค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ
๓.๒๓ ต่อเดือน โดยแบ่งชำระหนี้เป็นงวดรายเดือน ในอัตราขั้นต่ำจำนวน ๔,๘๐๐ บาท
ซึ่งสัญญากำหนดให้จำเลยชำระเพียงจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ แม้โจทก์จะนำไปหักชำระเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยบางส่วนก็ตาม
แต่หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาและภายในกำหนด
จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอันเป็นข้อตกลงว่า  จำเลยอาจชำระหนี้ในอัตราขั้นสูงเพียงใดก็ได้ และสัญญามิได้กำหนดให้จำเลยต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นเวลากี่งวด  ตามสัญญาสินเชื่อเงินสดจึงไม่มีลักษณะผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๓ (๒) ซึ่งมีอายุความห้าปี
แต่มีอายุความสิบปีตามมาตรา  ๑๙๓/๓๐และเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ตามสัญญาข้อ ๘ กำหนดไว้ว่า
ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมด ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ ทั้งหมดตามสัญญาฉบับนี้ได้โดยพลัน หรือใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
โดยผู้ให้กู้จะแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้ ให้แก้ไขเหตุผิดนัดภายในระยะเวลา ๑๕ วัน
เมื่อปรากฏว่า จำเลยผิดนัดชำระค่างวดเงินกู้งวดที่ ๑๒ ซึ่งถึงกำหนดชำระวันที่ ๒ มกราคม
๒๕๔๙ บริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน)
ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่จำเลยผิดนัดดังกล่าว
เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าว และฟ้องคดีนี้ในวันที่
๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
 
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: monsterangle

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #113426 โดย Badman
คดีมีปัญหาตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาข้อต่อไปว่าผู้โอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินรวมดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่โดยจำเลยฎีกาว่า ตามใบสมัครสินเชื่อเงินสดและสัญญาสินเชื่อเงินสดเอกสารหมาย จ.๗
มีข้อตกลงว่า  จำเลยจะชำระค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ๓.๒๓ ต่อเดือน และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๐.๙๓ ต่อเดือน รวมแล้วเกินอัตราร้อยละ ๑๕
ต่อปี โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  สำหรับปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๕แผนกคดีผู้บริโภคไม่ได้วินิจฉัย
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไป เห็นว่า โจทก์เป็นบริษัทจำกัด
ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน และได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อจำเลย
มาจากบริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ตามเอกสารท้ายฟ้อง บริษัทดังกล่าวเดิมใช้ชื่อว่า บริษัทสยาม
เอ แอนด์ ซี จำกัด เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จำเลยสมัครสินเชื่อเงินสดและทำสัญญาสินเชื่อเงินสดดังกล่าวเป็นเงิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งขณะที่จำเลยทำสัญญาสินเชื่อเงินสดจากบริษัทดังกล่าว
เป็นบริษัทจำกัดไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมาย
ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
ลงวันที่ ๒๐  มิถุนายน ๒๕๔๘อันเรียกดอกเบี้ยได้ตามข้อ ๔.๔ (๑) รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๒๘ ต่อปี  (Effective  rate) ดังนั้น การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา ๖๕๔ และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๓  ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี แม้ตามสัญญาสินเชื่อเงินสดเอกสารหมาย จ.๗ จะกำหนดให้คิดค่าธรรมเนียมการกู้เงิน ๕,๐๐๐ บาท
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๙๓ ต่อเดือน คิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ ๓.๒๓
ต่อเดือน ซึ่งรวมกันแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้รับเงินกู้
๑๐๐,๐๐๐ บาท จากบริษัทดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว บริษัทดังกล่าวคิดดอกเบี้ยกับจำเลยเพียงอัตราร้อยละ
๑๕ ต่อปี ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งจำเลยได้ชำระหนี้ให้บริษัทดังกล่าวรวม ๑๑ งวด คิดเป็นเงิน ๖๓,๐๑๒ บาท
และการสรุปยอดหนี้ค้างชำระและการคิดดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.๑๐ โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ
๑๕ ต่อปี ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าปรับ ซึ่งเป็นยอดชำระเงินต้น ๕๐,๓๖๖.๗๒
บาท ชำระดอกเบี้ย  ๑๐,๙๕๕.๗๖ บาท จึงเหลือเงินต้นที่จำเลยค้างชำระ๔๙,๖๓๓.๒๘ บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  ๑๕ ต่อปีจนถึงวันฟ้อง ๔๘,๑๗๘.๒๘ บาท รวมเป็นเงิน ๙๗,๘๑๑.๕๗ บาท โจทก์จึงมิได้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น


                  พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: monsterangle

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.497 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena