ขอคำแนะนำกรณีคุณพ่อเสียพร้อมหนี้บัตรเครดิต5ธนาคาร

3 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #115546 โดย Dolaporn
ขอคำแนะนำปิดบัตรเครดิต กรณีคุณพ่อเสียชีวิตกระทันหันเดือน เมษายน 63 ที่ผ่านมา และพบว่าท่านมีหนี้บัตรเครดิต 5 ธนาคารจำนวนกว่า 400,000 บาท

รายการยอดหนี้แต่ละธนาคาร ดังนี้

1. UBO / 81,507 บาท
สถานะบัญชีปกติ ส่งเอกสารมรณบัตรเพื่อทำการหยุดดอกเบี้ยแล้ว ธนาคารรอดำเนินการขอส่วนลด

2. กสิกร / 99,989 บาท
สถานะบัญชีปกติ ส่งเอกสารมรณบัตรเพื่อทำการหยุดดอกเบี้ยแล้ว

3. กรุงศรี / 142,520 บาท
สถานะบัญชีปกติ ส่งเอกสารมรณบัตรเพื่อทำการหยุดดอกเบี้ยแล้ว

4. KTC / 80,410 บาท
สถานะบัญชีปกติ ส่งเอกสารมรณบัตรเพื่อทำการหยุดดอกเบี้ยแล้ว

5. TMB / 92,488 บาท
สถานะบัญชีปกติ ส่งเอกสารมรณบัตรเพื่อทำการหยุดดอกเบี้ยแล้วที่ธนาคาร รอดำเนินการ

คุณพ่อสมรสกับคุณแม่และจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมาย

คุณพ่อมีสินทรัพย์ และเป็นสินสมรส (ซื้อหลังจากจดทะเบียน) ดังนี้
1. บ้านทาวเฮาส์ 1 หลัง ผ่อนหมด ราคาประเมิณ 2.7 ล้านบาท กู้ร่วมกับคุณลุง (แต่คุณพ่อผ่อนคนเดียว) ยังไม่ได้โอนเป็นเชื่อพ่อ
2. บ้านเดี่ยว 1 หลัง กู้ร่วมกับดิฉัน 4.1 ล้านบาท TMB (ผ่อนเดือนละ 22,000 บาท เริ่มผ่อนตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2562) ยอดเหลือประมาณ 400,000 บาท ทำประกันชีวิตไว้เป็นชื่อดิฉัน
3. รถยนต์เชฟโรเลตเทรลเบลเซอร์ คุณพ่อทำประกันชีวิตไว้ เงินประกันนำมาปิดรถได้หมด 4 แสนบาท คุณแม่ดิฉันใช้งาน
4. รถยนต์มาสด้า 2 เหลือยอดผ่อนประมาณ 400,000 บาท ยอดผ่อน 8,000 บาท น้องชายิฉันใช้งาน
5. รถยนต์ซีวิค FD2008 ผ่อนหมด ดิฉันใช้งาน

ตอนนี้คุณแม่ให้อัยการเขียนคำร้องเพื่อขึ้นเป็นผู้จัดการ มรดก ไว้ตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 แต่ศาลไม่เปิดให้ขึ้นบัลลังก์เนื่องจากสถานการณ์โควิด19ค่ะ

จากการประเมิณเบื้องต้น แม้จะเป็นสินสมรสครึ่งหนึ่ง ก็เพียงพอที่จะนำมาปลดหนี้ทั้งหมดได้ เนื่องจากมรดกของคุณพ่อมีมากกว่าหนี้สินที่ต้องชำระ ดิฉันจึงไม่อยากให้เรื่องดำเนินไปถึงขั้นตอนของกฏหมาย สืบทรัพย์และบังคับขาย จึงเข้าแจ้งกับธนาคารเพื่อทำเรื่องขอลดหนี้และปิดบัญชี

ดิฉันจึงอยากขอคำปรึกษากับพี่ๆทุกท่านในกรณีที่คุณพ่อเสียชีวิตเช่นนี้ว่า ดิฉันมีโอกาสต่อรองเรื่องหนี้ที่จะชำระกับธนาคารได้ขนาดไหนคะ หากดิฉันแสดงเจตนาที่จะชำระหนี้ แต่เนื่องด้วย ดิฉันอายุ25 เพิ่งเรียนจบและทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง ตอนนี้เป็นเพียงคนเดียวที่ต้องหารายได้เข้าบ้าน คุณแม่เป็นแม่บ้าน(กำลังหาช่องทางทำธุรกิจอยู่ และน้องชายเพิ่งเข้าเรียนมหาลัย) รายได้ของดิฉันไม่มากพอที่จะชำระ และดิฉันยังต้องผ่อนบ้านต่อ แต่เรามีกำลังสามารถชำระปิดบัญชีประมาณ 30% ของยอดหนี้ได้ ดิฉันสามารถเจรจากับธนาคารได้หรือไม่คะ เนื่องจากดิฉันได้ตามอ่านและพบว่า หากเป็นหนี้เสียธนาคารจะขายหนี้ให้กับบริษัททวงถามหนี้ในมูลค่าไม่ถึง20% หากเป็นเช่นนั้น ที่ดิฉันเสนอปิดที่30% ควรเป็นไพ่ที่เก็บไว้เจรจาช่วงไหน หรือไม่ควรอย่างไร รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

ในกรณีที่ธนาคารไม่ยอม เขาสามารถฟ้องร้องเพื่อขอสืบทรัพย์และบังคับขายสินทรัพย์ได้หรือไม่คะ ดิฉันมีวิธีเลี่ยงอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณมากค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #115550 โดย Badman
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ

จากที่เห็นคุณพ่อยังมีทรัพย์สินในตอนนี้ยังไม่ควรตั้งผู้จัดการมรดกครับ ควรตั้งผจก.มรดกหลังจากหนี้เคลียร์จบแล้ว

1.หนี้ 5 รายการควรทำแฟ้มเอกสารการแจ้งการเสียชีวิตไว้ทั้งหมดทั้งทางอีเมล์และ จดหมายลงทะเบียน
เพื่อเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้าในกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องทายาทโดยธรรมเกิน 1 ปีจะได้มีหลักฐานในการสู้คดีต่อไป

จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ระบุไว้ดังนี้
 
มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

หากทายาทได้แบ่งมรดกไปแล้ว เจ้าหนี้ต้องฟ้องเอากับทายาททุกคนที่ได้รับการแบ่งมรดก จะฟ้องเฉพาะทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้
เพราะทายาทแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้เท่ากับหรือไม่เกินมรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดก

หากเจ้ามรดกมีคู่สมรส และมีหนี้สินร่วมกันซึ่งสร้างภาระไว้ก่อนเสียชีวิต หนี้สินร่วมนั้นจะถูกแบ่งครึ่งระหว่างเจ้ามรดกและคู่สมรส
โดยหนี้สินในส่วนของเจ้ามรดกจะตกทอดสู่ทายาททันที (เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก)

กล่าวโดยสรุป หากเจ้ามรดกมีหนี้สิน หนี้ถือว่าเป็นมรดก โดยที่เจ้าหนี้สามารถทวงเงินกับทายาทได้เพียงเท่ากับมรดกที่ได้รับเท่านั้น
หากมีหนี้มากกว่านั้น ทายาทก็ไม่ต้องจ่าย โดยเจ้าหนี้กองมรดกต้องฟ้องทายาทให้ชำระหนี้กองมรดกภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เจ้าหนี้ได้ทราบหรือ
ควรทราบถึงความตายของเจ้ามรดก หรือภายในกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และต้องฟ้องทายาททุกคน
จะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้

ดังนั้นเวลาที่คุณรับมรดกมา ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าจะต้องรับภาระหนี้สินของผู้ตายมาด้วย
ทายาทจึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามรดกที่ได้เป็นทรัพย์สิน และหนี้สินอะไรบ้าง

บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร


2. KTC ไม่มีส่วนลดเงินต้นใดๆเลยแม้ลูกหนี้เสียชีวิตแล้วก็ตาม TMB อาจจะลดนิดเดียวไม่มากนักต้องดูข้อเสนอของเจ้าหนี้

3. รายการทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์  ถ้าเจ้าหนี้สืบทรัพย์เจออาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
เรื่องรถยนต์แนะนำว่ายังไม่ต้องไปทำอะไรในเวลานี้

4. ถ้ามีประกันสังคมควรทำเรื่องเบิกกับประกันสังคมกรณีเสียชีวิตยื่นหลักฐานทั้งหมดใช้เวลา 45 วันถึงจะได้รับผลประโยชน์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.383 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena