เช็คด่วน! ธปท.อุ้มลูกหนี้เฟส2 เปิดให้ขอ “พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-เพิ่มวงเงิน”

3 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #115723 โดย konsiam
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่าง ๆในเฟสแรก จะทยอยครบกำหนด ธปท. จึงได้หารือกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออกมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สาระสำคัญดังนี้
1) ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 – 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  (มีผลตั้งแต่1ส.ค.2563)
-บัตรเครดิต เพดานดอกเบี้ยเดิม18% ปรับลดเหลือ16%
-สินเชื่อบุคคล/บัตรกดเงิน  เพดานดอกเบี้ยเดิม28% ปรับลดเหลือ25%
-จำนำทะเบียน เพดานดอกเบี้ยเดิม28% ปรับลดเหลือ24%
2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ได้สิทธิ์ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวตั้งแต่1 ส.ค. 63-  31 ธ.ค.64
3) มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563) เป็นการขยายขอบเขตและระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และไม่เป็นหนี้เสีย (NPLs)ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกความช่วยเหลือขั้นต่ำให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ ดังนี้

“บัตรเครดิต”  สามารถเปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48
งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12 % ต่อปี  (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลืออยู่ตามความสามารถในการชำระหนี้)
“สินเชื่อบุคคล”ที่มีเงินหมุนเวียนเช่น “บัตรกดเงินสด”  สามารถลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำตามความสามารถในการชำระหนี้  หรือเปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว48งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
“สินเชื่อส่วนบุคคล”ที่ผ่อนชำระเป็นงวด และ “สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ”  สามารถลดค่างวดอย่างน้อย30% โดยคิดดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน22% 
“สินเชื่อเช่าซื้อ” รถยนต์และมอเตอร์ไซด์ (ไม่จำกัดวงเงิน) สามารถขอเลื่อนชำระค่างวด(เงินต้นและดอกเบี้ย3เดือน) หรือ ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้ 
“สินเชื่อบ้าน” (ไม่จำกัดวงเงิน) สามารถเลื่อนชำระค่างวดหรือพักหนี้(เงินต้นและดอกเบี้ย)3เดือน  หรือเลื่อนชำระเงินต้น 3เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามค่าเหมาะสม  หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
นายรณดลกล่าวว่า  พร้อมกันนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกหนี้ เช่น เปรียบเทียบภาระหนี้เดิมและหนี้ใหม่ จำนวนหนี้และจำนวนงวดที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพิ่มจากการขอเลื่อนชำระหนี้
โดยการรับความช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำ จะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จึงไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะชำระหนี้ก่อนกำหนด จะต้องไม่มีการคิดค่าเบี้ยปรับ  
นายรณดลกล่าวว่า   ลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือข้างต้นสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Call Center หรือส่งข้อความ SMS ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2563

4)  ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย และกรณีลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์
“ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 นี้ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ลดภาระหนี้และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง และมีวิธีปฏิบัติต่อลูกหนี้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด”
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu, nw2526, Dadada

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา - 3 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #115856 โดย Badman
ระเบิดเวลา “หนี้รายย่อย” 3.8 ล้านล้านทยอยครบกำหนดพักชำระหนี้ ก.ค. นี้


ก.ค. นี้ จะหมดเวลาพักชำระหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 1 ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยลูกหนี้รายย่อยที่ขอรับความช่วยเหลือไว้ ตั้งแต่เดือน เม.ย. – มิ.ย. 2563 มีจำนวนกว่า 15.2 ล้านรายรวมเป็นมูลค่าหนี้ราว 3.8 ล้านล้านบาทจะต้องเริ่มทยอยกลับมาจ่ายหนี้คืน ตั้งแต่เดือน ก.ค. – พ.ย. 2563ย้อนกลับไปช่วงปลายเดือน มี.ค. 2563ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
ที่มา www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2563/n1763t.pdf

โดยลดอัตราผ่อนขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตและให้พักชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อเช่าซื้อรถ สินเชื่อบ้าน รวมถึงสินเชื่อธุรกิจ SMEs เป็นเวลา 3 – 6 เดือนมาตรการดังกล่าว
มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2563 ดังนั้น เดือน ก.ค. นี้จึงครบกำหนดระยะเวลาพักชำระหนี้ขั้นต่ำ 3 เดือนที่ลูกหนี้จะต้องเริ่มกลับมาจ่ายหนี้คืน ตั้งแต่เดือน ก.ค. – พ.ย. 2563 ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เริ่มขอพักชำระหนี้และเงื่อนไขที่ได้รับจากธนาคารข้อมูลล่าสุดจาก ธปท. ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2563 ระบุว่ามีลูกหนี้รายย่อยที่ขอรับความช่วยเหลือทั้งสิ้น15,219,547 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 3,868,137 ล้านบาท แบ่งเป็น

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ช่วงเดือน เม.ย. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย.จำนวน 11,060,250 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 2,654,867 ล้านบาท

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ช่วงเดือน พ.ค. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ส.ค. – ต.ค.จำนวน 3,085,495 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 1,105,500 ล้านบาท

• ลูกหนี้ที่เริ่มพักชำระหนี้ช่วงเดือน มิ.ย. จะต้องทยอยกลับมาใช้หนี้ ช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย.จำนวน 1,073,802 ราย รวมเป็นมูลค่าหนี้ 107,770 ล้านบาทนอกจากนี้ เว็บไซต์ของธปท.
ที่มา www.bot.or.th/covid19/Pages/default.aspx

ยังระบุว่ามีผู้ประกอบการ SMEs1,142,683 ราย ที่ขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการของแบงก์ชาติเช่นกันเป็นมูลค่าหนี้ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท
และมีธุรกิจขนาดใหญ่อีก 5,028 ราย เป็นมูลค่าหนี้ประมาณ 7 แสนล้านบาท ปัจจุบันระบบธนาคารไทยจึงมีหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลืออยู่ทั้งสิ้น 6.84 ล้านล้านบาท
หรือกว่า 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งหมดหนี้ก้อนใหญ่จำนวนนี้ทำให้เกิดข้อกังวลที่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ตามปกติ

หลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้แล้วอย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 แบงก์ชาติออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2  
ที่มา www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2563/n3263t.pdf

มาเพิ่มโดยสั่งให้สถาบันการเงินภายใต้การกำกับ ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 2– 4% ต่อปี
รวมถึงขยายเวลาพักชำระหนี้บ้านและรถ (ไม่จำกัดวงเงิน)ออกไปอีก 3 เดือน มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563

“ต้องยอมรับว่าเมืองไทยไม่เคยเจอวิกฤติลูกหนี้รายย่อย” ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด กล่าวกับ workpointTODAY “ถ้าย้อนไปปี40 ก็เป็นวิกฤติของภาคเอกชนมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องล้มละลายในลักษณะของบริษัท”เขายกตัวอย่างว่า สมมติลูกหนี้แค่ 10%จากลูกหนี้ทั้งหมดที่ขอพักชำระหนี้อยู่ ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ตามปกติหลังครบกำหนด3 – 6 เดือน จะมีลูกหนี้มากถึง 1.5 ล้านคนผิดนัดชำระหนี้ จนถูกฟ้องล้มละลาย ถูกยึดบ้าน ยึดรถ และทรัพย์สินต่างๆ

ทำให้เกิดปัญหาครัวเรือน ปัญหาเศรษฐกิจ ตามมาเต็มไปหมด


แต่วิกฤตินี้ไม่ใช่ปัญหาของลูกหนี้เท่านั้น ดร.พิพัฒน์ บอกว่า “เจ้าหนี้ก็จะเหนื่อยด้วย”เพราะเมื่อเกิดปัญหาหนี้รายย่อย
จำนวนลูกหนี้จะเยอะมากๆทำให้หนี้เสียค้างอยู่ในระบบเป็นเวลานาน และสินทรัพย์ที่ยึดมาจะได้ราคาไม่ดี
“ถ้าลูกหนี้ 1.5 ล้านคนต้องเข้ากระบวนการล้มละลายพร้อมๆ กัน ยังนึกไม่ออกเลยว่าธนาคาร
ศาลจะเอากำลังตรงไหนไปทำงาน ยึดหรือ reprocess ให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับเข้าไปในระบบเศรษฐกิจได้”
“เราอาจต้องการกระบวนการที่เข้าไปแทรกแซงตรงนี้เช่น มีกองทุนที่เป็นเหมือน Warehouse Assets ซื้อสินทรัพย์จากธนาคาร
มาเก็บไว้ก่อนยอมที่จะไม่ได้รับการจ่ายคืนหนี้สัก 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้คนอยู่ยังอยู่ต่อได้ แล้วพอเศรษฐกิจฟื้นกลับขึ้นมาเขาเริ่มกลับมาจ่ายหนี้คืนได้ค่อยเอาทรัพย์สินกลับไป
ตอนนี้อาจต้องเป็นบทบาทของภาครัฐที่เข้ามาช่วยประสาน” ดร.พิพัฒน์กล่าว

ที่มา workpointtoday.com/household-debt/     
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.501 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena