ศาลพิพากษามาแล้ว เพราะเราไม่ได้ไปศาล ยังอุทธรณ์ได้มั๊ยครับ

2 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #121856 โดย FidoDido
ผมมีคำถาม อยากรบกวนผู้รู้ทั้งหลาย ดังนี้ครับ
1. ศาลพิพากษามาแล้ว เพราะเราไม่ได้ไปศาล ยังอุทธรณ์ได้มั๊ยครับ ถ้าเรามาพบว่าจริงๆ แล้วหนี้ที่พิพากษามา น่าจะหมดอายุความแล้ว
2. จากข้อ 1 ผมลองค้นหาข้อมูลดูเองก่อน อ่านเจอเหมือนว่าต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หลังศาลมีคำพิพากษา อันนี้ถูกต้องมั๊ยครับ

ถ้าถูก - ผมยังมีทางไหนอีกมั๊ยครับ หรือมีทางเดียวต้องจ่ายตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งมีการส่งคำร้องขออายัดเงินเดือนมาแล้วด้วยครับ
ถ้าไม่ถูก - ผมควรยื่นอุทธรณ์ ใช่มั๊ยครับ
                  ถ้าใช่ - มีขั้นตอนการยื่นอย่างไรบ้างครับ

ปล.จริงๆ ที่ผมไม่ไปแต่แรก เพราะตั้งใจว่าถ้าหลังศาลตัดสิน ถ้าพวกสำนักงานกฎหมายโทรมา ก็จะขอต่อรองในอัตราที่เราจ่ายไหวในครั้งเดียว ตอนสิ้นปี
       เลยไม่ได้คืดเรื่องหมดอายุความ แต่ไม่นึกว่าจะเล่นแบบอายัดเงินเดือนเลย
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #121857 โดย tulunu
ก็คงมีแค่ ติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อขอเจรจา อาจจะได้ส่วนลดนิดหน่อย มาถึงขั้น อายัดเงินเดือน แล้ว คงขั้นบังคับคดีแล้ว ซึ่งมันก็หมายถึง ตัดสินคดี เป็นระยะเวลา พอสมควร แล้ว // เคสหมดอายุความ มันต้องไปสู้คดีในศาล ก่อนการตัดสิน ยิ่งไม่ไปศาล แล้วตัดสิน ย่อมเสียเปรียบ และ ต้องชำระเงิน ทุกอย่าง อยู่แล้ว // เท่าที่เข้าใจนะคะ เพราะเคสคนรู้จัก ก็ทำอะไรไม่ได้ ติดต่อขอเจรจา จ่ายเงินก้อนเดียว เพื่อปิดคดี แต่ได้ส่วนลดนิดเดียว // เดี่ยวแอดมิน มาตอบคงได้ความกระจ่างทางกฎหมายนะคะ // เท่าที่เคยเจอ พลาดแล้วพลาดเลยค่ะ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: NB, FidoDido

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121858 โดย Badman
คุณต้องจ้างทนายความรื้อคดีภายใน 30 วันครับหรือภายใน 15 วันหลังจากมีคำบังคับออกมาแล้วมีค่าใช้จ่ายพอสมควร
แล้วยังต้องเขียนคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีอีกด้วย

การขอพิจารณาคดีใหม่คือ กรณีศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี โดยขาดนัดพิจารณา(ไม่ได้ไปศาล) แล้วต่อมา
จำเลยมาศาลภายหลังจากศาลตัดสินคดีแล้ว
 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 199 จัตวา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา
หรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใดๆ
เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน
จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว
ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับ
ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
   
คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล
ที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ
และในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย
 
จำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้น ภายในกำหนดเวลา ดังนี้
1 กรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับส่งคำบังคับตามคำพิพากษา
2 กรณีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่พฤติการณ์สิ้นสุดลง
3 อย่างไรก็ตาม ห้ามยื่นคำขอต่อศาลเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน
นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษา
หรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุดลง
 
» พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เช่น จำเลยไปอยู่ต่างประเทศ หรือจำเลยปล่อยบ้านให้ผู้อื่นเช่า ไม่ทราบว่าตนถูกฟ้อง เป็นต้น
 
การบรรยายคำขอ ต้องกล่าวโดยชัดแจ้ง ดังนี้
1 เหตุที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
2 ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า หากศาลให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ
3 ในกรณียื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการล่าช้านั้นด้วย
 
การไต่สวน
1 ถ้าโจทก์ไม่ค้านคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย ศาลสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ได้
2 การไต่สวนคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่จำต้องไต่สวนถึงเนื้อหาของคดีว่า รูปคดีนั้น จำเลยจะชนะคดีหรือไม่
3 การงดการบังคับคดีไว้ก่อน เป็นดุลพินิจของศาล
 
ศาลจะมีคำสั่งอนุญาต เมื่อปรากฏว่า
1 มีเหตุควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การนั้น มิใช่เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และ
2 ศาลเห็นว่า เหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้น ผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ และ
3 ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในเวลาที่กำหนด
 
ผลของคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ มีผลทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
และคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่นๆ ของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ในคดีเดียวกันนั้น
และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว
แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้นใหม่ ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
โดยให้จำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร
    ดังนั้น ในคดีที่ได้มีการบังคับคดีไปแล้ว การบังคับคดีนั้น ก็ต้องเพิกถอนไปในตัว
 
» คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ให้เป็นที่สุด
» กรณีไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยสามารถอุทธรณ์ได้ และคำสั่งศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
 
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น ย้ายที่อยู่ แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544
   จำเลยเคยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 213 จังหวัดชลบุรี
ตามฟ้องและจำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน ณ บ้านดังกล่าวตลอดมา
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์
ส่งได้โดยวิธีปิดหมายไว้ ณ บ้านดังกล่าว
แต่จำเลยไม่ได้อยู่อาศัยที่บ้านหลังนี้มากกว่า 10 ปีแล้ว
โดยไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 518/136 กับ บ้านเลขที่ 81/6 และไปๆ มาๆ
ระหว่างบ้าน 2 หลังนี้โดยไม่ได้กลับไปที่บ้านเลขที่ 213 อีกเลย
แต่ยังมิได้ย้ายทะเบียนออกจากบ้านหลังนี้
กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ดังนี้
แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้
ณ บ้านเลขที่ 213 ดังกล่าว จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม
แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่
เป็นคนละเรื่องกัน
เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์
และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องนี้
จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
 
ประเด็น คดีฟ้องหย่า เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ฐานะโจทก์จำเลยต้องกลับคืนมาเป็นสามีภริยาตามกฎหมายดังเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10770/2558
   
เดิมโจทก์ฟ้องว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะจดทะเบียนสมรสซ้อน
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเสนอคำฟ้องฉบับใหม่อ้างว่าโจทก์สมรสกับจำเลยเพราะถูกกลฉ้อฉลจึงขอบอกล้างโมฆียะกรรมเท่ากับว่าโจทก์สละหรือยกเลิกข้อหาในฟ้องเดิมและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ตามคำฟ้องฉบับใหม่แล้ว
ข้อหาตามคำฟ้องเดิมจึงเป็นอันยุติไป
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
    โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2550
ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ
เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไปทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย
จำเลยย่อมมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันจนถึงวันที่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย

การกระทำของโจทก์เป็นเหตุต่อเนื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยมิได้หยุดการกระทำหรือหมดสิ้นไป
จำเลยยังคงมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง
    โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2538
จนถึงวันฟ้องและฟ้องแย้งเป็นเวลาประมาณ 16 ปี
โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก
คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย
พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า
3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย
แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว
กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 1526
จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์
 
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ
1 จำเลยต้องส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่โจทก์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี 
2 ในคดีผู้บริโภค จำเลยในฐานะผู้บริโภคต้องเสียค่านำหมายด้วย
ที่มา thanulaw.com/index.php/retrialcase
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu, NB, Mamablue69, FidoDido

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121859 โดย tulunu
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ คุณBadman
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Badman

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121860 โดย Badman
ขอบคุณครับ ค่าใช้จ่ายในการรื้อคดีสูงมากครับหลักหมื่นบาทขึ้นไปก็ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้ที่มีด้วย
และในสถานการณ์ปัจจุบันต้องยื่นผ่านระบบอิเล็คทรอนิคส์ของศาล เจ้าของกระทู้ต้องไปสมัคร CIOS (ซีออส) ก่อนแล้วแต่งตั้งทนายอีกด้วย

ถ้าหนี้ถูกขายไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ชื่อดังเช่น J Asset, JMT, Resolution Way/เชษฐ์
ปกติจะต่อรองขอส่วนลดได้ยากอยู่แล้ว ลักษณะแบบนี้คุณต้องสู้เรื่องอายุความอย่างเดียวถ้าเช็คแล้วมันขาดอายุความไปแล้วจริงๆ

จากประสบการณ์ที่ให้คำปรึกษามาหลายปี ผมไม่เคยเห็นส่วนลดมากๆ เท่ากับตอนก่อนฟ้องหรือก่อนขายหนี้ออกไปให้บริหารสินทรัพย์เลยครับ
ยิ่งถ้าถูกฟ้องแล้วโจทก์หรือเจ้าหนี้จะมีต้นทุนการฟ้องเข้ามา การขอส่วนลดก็แทบไม่ได้เลย

ถ้าจะรื้อคดีต้องหาทนายและต้องแข่งกับเวลาแล้วล่ะครับ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: The future, FidoDido

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121861 โดย FidoDido
ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับข้อมูลและคำแนะนำ
ผมจะลองติดต่อหาทนายดู ว่า case แบบผม
ที่อายุความน่าจะหมดแล้วแน่ๆ เพราะเป็นสินเชื่อ easy buy จาายครั้งาดท้ายปี 2003
จะยังสามารถ ยื่นเรื่องเพื่อพิจารณาใหม่ ได้หรือป่าวครับ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Badman

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121866 โดย Badman
ปรึกษาคุณอาไพโรจน์ดูก่อนท่านจะแนะนำผู้เชี่ยวชาญ/ทนายความให้ครับ 087-0164541
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: FidoDido

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #121878 โดย FidoDido
ขอบคุณครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมลองโทรปรึกษาคุณอาไพโรจน์ดูครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.534 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena