โดนธนาคารธนชาตทวงหนี้

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6766 โดย KRITDDT
วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ธนชาตแจ้งว่าเรื่องของคุณทางธนาคารยืนฟ้องเรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างขั้นตอนการอายัดเงินเดือนคงไม่เกิน 2 เดือนนี้ ไม่ทราบว่าจะแก้ไขยังไงผมก็เลยบอกไปว่าคงไม่มีปัญญาชำระให้หรอกตอนนี้ก็ผ่อนเดือนล่ะ 1000 บาทให้ทางธนาคารยูโอบีอยู่ เขาบอกว่าตอนนี้ต้องขอเจรจากับลูกหนี้ก่อนที่จะส่งอายัดเงินเดือนไม่ทราบว่าไหวที่เท่าไหรอย่างเช่นเดือนล่ะ 5000 บาท ผมก็บอกไม่ไหวหรอก ยูโอบีเขายังให้ผ่อนเลยเดือนล่ะ 1000 บาท เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่อยากจะแนะนำเพราะยอดเงินที่จ่ายมายังไม่พอตัดยอดดอกเบี้ยเลยแต่ยังไงจะคุยให้ว่าคุณไหวที่ 1000 บาท/เดือน แล้วจะโทรมาแจ้ง อยากสอบถามพี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกคนดังนี้ครับ

1. ไม่ทราบว่าหลังจากที่ศาลพิพากษาแล้วว่าลูกหนี้ต้องชดใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ระหว่างรออายัดเงินเดือนลูกหนี้ยังต้องเสียดอกเบี้ยอยู่หรือครับ

2. ถ้าเราจะให้เขา่ส่งเรื่องอายัดเงินเดือนไปที่กรมบังคับคดีลูกหนี้ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่อีกหรือเปล่าครับเพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่ายังไงดอกเบี้ยก็เดินตลอดแม้ว่าคดีถึงที่สุดให้บังคับคดีแล้ว

3. ผมมีหนี้สินอยู่หลายธนาคารอยู่แล้วจะค่อย ๆ ตามกันมาอีกแน่นอน ผมควรจะทำยังไงดีครับ รบกวนพี่ๆทุกคนด้วยครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6770 โดย Ly89

KRITDDT เขียน: วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ธนชาตแจ้งว่าเรื่องของคุณทางธนาคารยืนฟ้องเรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างขั้นตอนการอายัดเงินเดือนคงไม่เกิน 2 เดือนนี้ ไม่ทราบว่าจะแก้ไขยังไงผมก็เลยบอกไปว่าคงไม่มีปัญญาชำระให้หรอกตอนนี้ก็ผ่อนเดือนล่ะ 1000 บาทให้ทางธนาคารยูโอบีอยู่ เขาบอกว่าตอนนี้ต้องขอเจรจากับลูกหนี้ก่อนที่จะส่งอายัดเงินเดือนไม่ทราบว่าไหวที่เท่าไหรอย่างเช่นเดือนล่ะ 5000 บาท ผมก็บอกไม่ไหวหรอก ยูโอบีเขายังให้ผ่อนเลยเดือนล่ะ 1000 บาท เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่อยากจะแนะนำเพราะยอดเงินที่จ่ายมายังไม่พอตัดยอดดอกเบี้ยเลยแต่ยังไงจะคุยให้ว่าคุณไหวที่ 1000 บาท/เดือน แล้วจะโทรมาแจ้ง อยากสอบถามพี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกคนดังนี้ครับ

1. ไม่ทราบว่าหลังจากที่ศาลพิพากษาแล้วว่าลูกหนี้ต้องชดใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ระหว่างรออายัดเงินเดือนลูกหนี้ยังต้องเสียดอกเบี้ยอยู่หรือครับ

ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่ศาลประทับรับฟ้องไปจนกว่าจะใชเหนี้คืนเขาหมดตามคำพิพากษา

2. ถ้าเราจะให้เขา่ส่งเรื่องอายัดเงินเดือนไปที่กรมบังคับคดีลูกหนี้ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่อีกหรือเปล่าครับเพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่ายังไงดอกเบี้ยก็เดินตลอดแม้ว่าคดีถึงที่สุดให้บังคับคดีแล้ว

ตอบเหมือนข้อหนึ่งครับ

3. ผมมีหนี้สินอยู่หลายธนาคารอยู่แล้วจะค่อย ๆ ตามกันมาอีกแน่นอน ผมควรจะทำยังไงดีครับ รบกวนพี่ๆทุกคนด้วยครับ

ก็ให้เจ้าหนี้ต่อคิวกันอายัดเงินเดือน30%ไปสิครับ เงินเดือนเกินหมื่นหรือเปล่า....
ระหว่างนั้นคุณก็ค่อยๆเก็บเงินไว้สำหรับปิดบัญชีไปที่ละเจ้า ต่อรองขอส่วนลดให้ต่ำที่สุด
แต่คุณต้องไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นนะครับ และไม่เป็นเจ้าบ้านด้วย

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6771 โดย Ly89
แนะนำให้อ่านกระทู้ปักหมุดนะครับ...อ่านนะครับ...



แล้วก็ห้องรู้ทันกฏหมายหนี้ด้วยครับ....อ่าน....

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=showcat&catid=7&Itemid=2
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6772 โดย KRITDDT
ขอบคุณมากครับผมจะค่อย ๆ ศึกษาไปครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6842 โดย Ly89

KRITDDT เขียน: ขอบคุณมากครับผมจะค่อย ๆ ศึกษาไปครับ


หายไปไหนแล้ว...กลับมาเล่ารายละเอียดเลยครับ... :upset:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6875 โดย Skynine
o_) o_) o_) การอายัดเงินเดือนเป็นการใช้หนี้คืนอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไม่น่าวิตกอะไร พี่อังก็โดนอายัดเงินเดือนแล้ว สิ้นปีนี้หมดกับเจ้าแรก หลังประเมินดูแล้วหากจ่ายหนี้ตามยอมความหน้าศาลมันเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนแน่นอน และมีเจ้าหนี้ที่ยังไม่ได้ฟ้องอีกหลายเจ้าด้วย ก่อนหน้านั้นทำการแฮร์คัตได้เพียง 2 เจ้า ทางออกหนึ่งซึ่งพี่อังคิดว่าดีที่สุดสำหรับพี่อังเองและบาดเจ็บน้อยที่สุด คือ ปล่อยให้อายัดเงินเดือนดีกว่า และหากคุณไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง ก็ไม่น่าวิตกเมื่อโดนอายัดเงินเดือน และเรายังสามารถทำการแฮร์คัตได้ด้วย (แฮร์คัตทำได้ตลอดชีพ) ไม่ว่าก่อนขึ้นศาล ขึ้นศาลแล้ว แม้กระทั่งโดนอายัดเงินเดือน
[/color]

ทุกอย่างเมื่อสติมา ปัญญาเกิด หนี้หมดอย่างถูกวิธี เป็นกำลังใจให้ พี่อัง สวยประหาร o_) o_) o_)




ศึกษาตามข้างล่างนี้ด้วย ...

เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน
การถูกยึดทรัพย์

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน
(ขอให้มียอดเข้าไปหลังมีคำพิพากษาภายในช่วงเวลานี้ คือ จ่ายคืนบางส่วนก็ได้ ไม่ใช่จ่ายเต็ม)
เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้
โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป

1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น
โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา
ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้

หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน


การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ

หากศาลตัดสินแล้ว เราควรติดต่อทนายโจทก์ว่าจะจ่ายอย่างไร จะผ่อนชำระหรือจ่ายงวดเดียวก็แล้วแต่จะตกลงกัน
แต่หากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ติดต่อ ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือตกลงเรื่องการจ่ายเงินไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำ้ไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ
.........................................................

เกณฑ์การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %

*** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้

*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท

เช่น

- ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด
- ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท
- ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท

***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้

*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้

2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %

3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %

4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง
*** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร���

5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้

6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้

7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้

8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน

9. หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้

10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้

11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท
---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล
ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด
.........................................................

การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท
.........................................................

การอายัดเงินเดือน ลูกหนี้จะถูกอายัดจากยอดเงินเดือนเต็ม
หากลูกหนี้ผู้ถูกอายัดเงินเดือนมีภาระที่ต้องจ่ายเงินกู้ให้แก่ หน่วยงานอื่น เช่นสหกรณ์ต่างๆ
ลูกหนี้จะต้องคำนวณว่า เงินเดือนที่เหลือจากการถูกอายัดมีเพียงพอ
ที่จะใช้จ่ายประจำวันตลอดเดือน และเหลือพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนให้สหกรณ์หรือไม่
- หากลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้ว ยังมีเงินพอใช้และเหลือเก็บบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล
- แต่หากถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้วเงินเหลือไม่พอใช้จ่าย
ก็ควรหาทางแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ไขมันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการหมุนจ่ายแบบเดิมอีกรอบ
ทำให้แก้ไขปัญหาหนี้ไม่หมดสักที โดยลูกหนี้ควรจะ...

1 .เจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระ
ให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ)

2. อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
และอายัดเงินเดือนต่อไป (วิธีนี้อาจสร้างปัญหาให้กับสหกรณ์ได้)
ลูกหนี้ยังสามารถใช้วิธีที่ 3 คือ

3. ลูกหนี้สามารถนำยอดเงินที่ถูกหักจ่ายคืนให้สหกรณ์มาขอ ลดหย่อนเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ (ขอลดหย่อนได้สูงสุด 50% เท่านั้น)
หมายความว่า ให้ลูกหนี้นำยอดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลูกหนี้ต้องจ่ายรวมทั้งเงินที่ต้องชำระคืนแก่
สหกรณ์มารวมยอดและขอลดยอด การอายัดเงินเดือน ไม่ให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจาก ยอดเต็มถึง 30 % ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในการขอลดยอดการถูกอายัดจะขอลดยอดได้มากที่สุด คือให้กรมบังคับคดีอายัดไม่ต่ำกว่า 15%

***วิธีที่สามนี้เป็นวิธีที่น่าทำที่สุด*** :wo: :wo: :wo: :wo: :wo:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #70234 โดย zadayu
ธนชาตมีส่วนลดให้มั้ยคะ เป็นหนี้แบงค์นี้อยู่ 80000

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.655 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena