ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วทำยังไงดีครับ

12 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9392 โดย kero2203
ผมทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ของ อีซี่บาย และ powerbuy แต่ส่งไปได้สักพักไม่ไหว มาอ่านในหนังสือ "ล้างหนี้บัตรเครดิต ขั้นเทพ" ทางผู้เขียนไม่แนะนำให้ทำการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะโดนฟ้องเร็วขึ้น เจ้าหนี้ได้เปรียบเพราะ ศาลจะยึดสัญญาใหม่ที่ทำ ช่วยแนะนำด้วยครับ ถ้ารู้ข้อมูลก่อนคงไม่ทำครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9394 โดย Pych
ถึงจะปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว แต่ถ้าส่งไม่ไหว ก็หยุดส่งได้ครับ เพียงแต่ที่พี่ๆ แนะนำไว้ ก็เพื่อสำหรับคนที่ยังไม่ได้ทำ จะได้ไม่ไปหลวมตัวทำ ส่วนข้อเสียหลักๆ ก็คือ คุณจะสู้คดีได้ยากกว่า ตอนที่ยังไม่ปรับฯ ครับ เพราะ เจ้าหนี้ได้รวมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าทวงถาม ที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไปเป็นเงินต้น และนำมาคิดใหม่ เป็นสัญญาใหม่ ที่คิดดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้ เราจึงสู้คดีเรื่องดอกเบี้ยเกินไม่ได้ยังไงล่ะครับ

ส่วนเรื่องฟ้องเร็วหรือช้า มีหลายปัจจัยครับ ทั้งยอดที่ค้างสูงมากไหม นโยบายของแบงก์เป็นเช่นไร (เช่น อย่าง Citibank เนี่ย ถึงไม่ปรับโครงสร้างหนี้ ก็สามารถโดนฟ้องได้ตั้งแต่หยุดได้แค่ 4-6 เดือนครับ กรุงไทยจะไปฟ้องตอนใกล้ๆ จะสองปี) โทรติดต่อลูกหนี้แล้ว ดูเหตุผลหรือแนวโน้มจะหนีหรือชิงฆ่าตัวตายไหม, คดีที่เขตอำนาจศาล (ตามทะเบียนบ้านของจำเลย) มีคดีล้นศาลแค่ไหน, ฯลฯ

ถ้าคุณเก็บสัญญา หลักฐาน ใบแจ้งหนี้ต่างๆ ของสัญญาบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด/สินเชื่อส่วนบุคคลตัวก่อนปรับโครงสร้างหนี้ไว้ ก็ขอให้เก็บไว้ให้ดี เพราะคุณอาจะได้ใช้ในการต่อสู้คดี เมื่อมีการฟ้องร้อง เพราะถ้าเจ้าหนี้ฟ้องคุณ เขาจะเอาแต่สัญญาตัวใหม่ที่ปรับโครงสร้างหนี้ (ตัวที่ดอกเบี้ยถูกตามกฎหมาย) มาเป็นหลักฐานในการฟ้อง

กลับมาที่หนี้ตัวอื่นๆ ของคุณบ้าง คุณมีหนี้แค่สองตัวนี้เหรอครับ ถ้ามีมากกว่านี้ แล้วตัวอื่นหยุดจ่ายหรือยังครับ คุณเลือกแนวทาง SecondWay Out ใช่ไหมครับ อ่านกระทู้ปักหมุดในเว็บบอร์ดนี้อีกสักทีนะครับ เพราะมีทั้งความรู้ ข้อกฎหมาย และประสบการณ์ที่มากกว่าในหนังสืออีกครับ ขอแค่ขยันอ่านอย่างสม่ำเสมอครับ

สู้ๆ ครับ :สู้ๆ: :สู้ๆ:



[/color]

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9448 โดย tanakornpetjan
เผลอไปทำเหมือนกันคะ หลายใบด้วย :crying:
ตอนนี้สิ่งที่ทำคือ พยายามเก็บเงินไว้ให้มากๆคะ
เคลียร์บัตรอื่นที่ให้ส่วนลดที่พอใจไปก่อน


สู้ๆนะคะ o_)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 12 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9458 โดย ctizoo
www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=11662

ไม่ใช้เสียนาน เข้าลิงค์ไม่ได้
มีคนเคยเขียนไว้แบบนี้ครับ

- หลายท่านในเวปนี้ คงเคยทำพลาดโดยการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินและ Non Bank ไปแล้ว แต่..นั่นเป็นความรู้สึกของท่านเอง จริง ๆ แล้วผมยังไม่เห็นสถาบันการเงินไหน หรือ Non Bank ใด “ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้” กับท่านทั้งหลายจริง ๆ สักครั้ง (อย่างน้อย สถาบันการเงิน & Non Bank หรือ Outsource gเกือบทั้งหมด ก็อ้างว่าเป็นสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้) ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “สัญญาปรับปรังโครงสร้างหนี้” จริงๆแล้ว คือ อะไร และจะใช้เมื่อไร และควรต้องมีข้อมูลอะไรประกอบบ้าง
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสภาบันการเงิน ครั้งแรกตั้งแต่ตอนประเทศเราเริ่มเดียงเมื่อ กรกฎาคม 2539 จากอัตราแลกเปลี่ยน โดย ธปท. ไปลอกของฝรั่งมาเกือบ 100 % แล้วปรับปรุงเข้าไปเล็กๆน้อยๆพอเป็นพิธี ให้ดูเหมือนเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ แต่จริงๆแล้วมันกลับทำให้ “เจ้าหนี้” มีสิทธิแทบทุกอย่าง เหมือนเซ็นเช็คเปล่าไปให้ชาวบ้านเขากรอกเงินนั่นแหละ ยกตัวอย่าง PTI ไง คุณประชัย “แค้น” มาจนทุกวันนี้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
- วัตถุประสงค์ทำเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่กำหนดเงื่อนไขไว้ได้ตลอดสัญญากับสถาบันการเงินได้
- สถาบันการเงินต้องมีการรับทราบ [MOU] หือ ข้อตกลง หรือ บันทึกทำความเข้าใจ (แล้วแต่จะว่ากันไป) ว่าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นั้นต้องมีวิธีการอย่างไร เช่นมีมาตรฐานการวิเคราะห์งบการเงินอย่างไร ห้ามปล่อยสินเชื่อใหม่ไปชำระหนี้เดิม ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย เป็นต้น
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มี 9 วิธี เช่น ลดต้น ลดดอก ขยายระยะเวลาชำระหนี้ เปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว เป็นต้น โดยสามารถจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันก็ได้
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องมีการแสดงหนี้ตั้งต้นแต่ละประเภทว่าเป็นต้นเงิน ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยแขวน เท่าไร รวมทั้งหมดเท่าไร และที่สำคัญ หนี้ทั้งหมดนี้มาจากสัญญาใดบ้าง (**อันนี้สำคัญ**)
- ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาจริงของลูกหนี้โดยชัดเจน ว่าเป็นปัญหาระยะสั้น ระยะยาว และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
- ต้องจัดทำงบการเงิน โดยมีสมมุติฐานที่เชื่อถือได้รองรับเพียงพอเชื่อถือได้
- เมื่อได้รับอนุมัติก็จะมีสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะ แต่ไม่ว่าภายในมีข้อความอย่างไรก็ตามจะต้องมีการอ้างถึง “สัญญาเดิมทั้งหมดที่ปรับปรุงหนี้” และหากลูกหนี้ปฏิบัติไม่ได้ตามเงื่อนไขใหม่ ให้สถาบันการกลับไปคิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้เป็นหลัก (เห็นไหมอะไรๆก็สัญญาเดิม)
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นี้โดยปกติจะทำกันตั้งแต่ลูกหนี้ค้างชำระงวดแรกก็ได้ โดยไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสียก่อน (จำตรงนี้ไว้ให้ดีเพราะพวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกคอกมักจะนำมาใช้กับหลายๆท่านไปแล้ว)
- การปรับปรุงหนี้จะต้องมีการเพิ่มเงินกันสำรองตามเดือนที่ค้างชำระ หากเกิน 3 เดือนก็สำรอง 100 % ครับผม (พวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีตถึง “หน้ามืด” จนต้องหลบกฎเกณฑ์ข้อนี้กันเป็น “ลิง” เชียว จนถึงทุกวันนี้ไง)
- หากผิดนัดลูกหนี้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (แล้วแต่ความเข้ม บางสถาบันก็อาจปรับปรุงหนี้ใหม่ก็ได้)
- แต่หากลูกหนี้ถูกดำเนินคดีไปแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ก่อน แล้วจึงไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างถึงสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งผลของกรณีนี้ คือ ผิดนัดโดนบังคับคดีทันทีไม่มีผ่อนผันอีก
- อื่น ๆ อีกแต่ที่สำคัญและที่ท่านทั้งหลายควรรู้มีอยู่หมดแล้ว
- เมื่อถึงตอนนี้หลายท่านคงมาถึงบาง “อ้อ” แล้วว่า สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในความหมายของพวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีต นั้นมันใช่สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือไม่ ซึ่ง มันก็คือ การทำสัญญากู้ใหม่เพื่อมาชำระหนี้เดิม ซึ่งมาจากการนำดอกเบี้ยมาคิดดอกเบี้ยซ้อน การนำค่าปรับ ค่าธรรมเนียมผิดนัด ค่าติดตามทวงถาม มารวมไว้เป็น “ยอดหนี้” ใหม่ทั้งหมด ทำสัญญาใหม่ กำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมาย ขยายระยะเวลาออกไป ส่งให้น้อยลง แต่ส่งกัน 5 ชาติยังไม่หมดเลย และโอกาสผิดนัดผิดสัญญามีสูงมาก ซึ่งท้ายสุดท่านก็จะพบว่าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของพวกนี้ก็ คือ การทำสิ่งที่ผิดกฎหมายตามสัญญาเดิมให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายตามสัญญาใหม่นั่นเอง
- ข้อดีของการทำคือ หลบกฎเกณฑ์ของ ธปท.เกือบทั้งหมด ลดเงินกันสำรองที่ต้องสำรองไว้ที่ ธปท. ทำสิ่งผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นไง “แสบสันต์” ไหมท่านทั้งหลาย
** ทีนี้มาว่ากันว่า “ฉันหลวมตัว” ไปแล้วทำอย่างไร **
1. หากส่งได้ไม่เดือดร้อนก็ส่งไปตามเดิม
2. กรณีที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ลองร้องเรียนไปที่ ธปท. ขอให้สอบสวนกรณีดังกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ถูกกฎหมาย (สอบสวนจากแหล่งที่ไปของเงินกู้ใหม่ว่าใช้ไปที่ใด) ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นรายละเอียดหนี้ตั้งต้น หรือบางคนสัญญาก็ยังไม่เคยเห็นหรือได้รับเลย เป็นต้น ธปท. ไม่เคยพบเห็นหรือ โดยร้องเรียนพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากซิ เผื่อ ธปท.จะลืมตาขึ้นมาดูบ้าง ยิ่งผ่านสื่อหรือ “ผู้มีศักยภาพ” ละก็ สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีต เป็นได้เดือดร้อนชนิดหน้ามืดเลยทีเดียว
3. จาก 2. หาก ธปท. สอบสวนจริง ๆ จะพบว่าผิดจริง และต้องปรับยอดกันใหม่หมด “ลูกหนี้ได้เฮ” ลดหนี้โดยไม่ต้องส่ง และข้อสำคัญหากโดน ธปท.สอบสวน พวกนี้จะไม่มีเวลามาพัวพันกับท่านทั้งหลายอีก (สบายหูไปนานทีเดี๋ยวแหละ)
4. กรณีผิดสัญญาใหม่และถูกดำเนินคดีไปแล้ว กรณีนี้แก้ไขไม่ได้ตามความเห็นที่หลายท่านในเวปนี้ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้แล้วว่าดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้ผ่อนผันให้แล้ว ไม่มีเหตุอันควรต่อสู้ได้อีก...
5. แต่ผมขอเสนอแนวทางการต่อสู้คดีอีกแนวทางทางหนึ่งไม่ทราบว่าพอจะเป็นได้หรือไม่ กล่าวคือ เมื่อต่อสู้เรื่องดอกเบี้ยตามกฎหมายไม่ได้ ทำไมเราไม่เปลี่ยนเป็นต่อสู้ว่า “เราไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้” ละ เพราะเมื่อลูกหนี้อ้าง เป็นหน้าที่เจ้าหนี้ต้องนำสืบว่าลูกหนี้ “รับเงินไปแล้วจริง” ตามสัญญา ถึงตอนนี้เราก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้ ”เจ้าหนี้” แสดง Statement เดิม (เพราะ “เจ้าหนี้” พวกนี้มันไม่จ่ายเป็นเงินสด เพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานมันเอง) ในทางปฏิบัติเงินกู้จากสัญญาใหม่เมื่อไม่ได้จ่ายเป็น “เงินสด” ก็จะต้อง Transfer ไปที่ “บัญชี....ซึ่งก็คือสัญญาเดิมก่อนที่จะทำสัญญาใหม่นั่นเอง” ทีนี้แหละเป็นทีของเราบ้างแล้ว ร้องขอต่อศาลให้ “เจ้าหนี้” แจงรายละเอียดของหนี้ตั้งต้นตามสัญญาใหม่มากจากรายละเอียดอะไรบ้างของสัญญาเดิม โดยเน้นไปที่ยอด “ดอกเบี้ย” เดิมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่รวมแล้วเกินกว่าประกาศของ ธปท. โอยยยย...ผมนึกภาพไม่ออกเลย ว่าทนาย “เจ้าหนี้” และคนของ “เจ้าหนี้” จะทำหน้าอย่างไร.....
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, Mommyangel, kero2203

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9703 โดย kero2203
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ครับได้ความรู้เยอะเลยครับ ค่อยสบายใจขึ้นมาหน่อยที่ยังพอมีทางแก้อยู่บ้างครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9706 โดย Skynine
:pray: :pray: :pray: ทุกอย่างเมื่อสติมา ปัญญาเกิด หนี้หมดอย่างถูกวิธี เป็นกำลังใจให้ สู้ๆๆๆ นะ อย่าท้อ อย่าถอย พี่อัง สวยประหาร o_) o_) o_)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #9716 โดย jackTs

domonite เขียน: www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=11662

ไม่ใช้เสียนาน เข้าลิงค์ไม่ได้
มีคนเคยเขียนไว้แบบนี้ครับ

- หลายท่านในเวปนี้ คงเคยทำพลาดโดยการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินและ Non Bank ไปแล้ว แต่..นั่นเป็นความรู้สึกของท่านเอง จริง ๆ แล้วผมยังไม่เห็นสถาบันการเงินไหน หรือ Non Bank ใด “ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้” กับท่านทั้งหลายจริง ๆ สักครั้ง (อย่างน้อย สถาบันการเงิน & Non Bank หรือ Outsource gเกือบทั้งหมด ก็อ้างว่าเป็นสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้) ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “สัญญาปรับปรังโครงสร้างหนี้” จริงๆแล้ว คือ อะไร และจะใช้เมื่อไร และควรต้องมีข้อมูลอะไรประกอบบ้าง
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสภาบันการเงิน ครั้งแรกตั้งแต่ตอนประเทศเราเริ่มเดียงเมื่อ กรกฎาคม 2539 จากอัตราแลกเปลี่ยน โดย ธปท. ไปลอกของฝรั่งมาเกือบ 100 % แล้วปรับปรุงเข้าไปเล็กๆน้อยๆพอเป็นพิธี ให้ดูเหมือนเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ แต่จริงๆแล้วมันกลับทำให้ “เจ้าหนี้” มีสิทธิแทบทุกอย่าง เหมือนเซ็นเช็คเปล่าไปให้ชาวบ้านเขากรอกเงินนั่นแหละ ยกตัวอย่าง PTI ไง คุณประชัย “แค้น” มาจนทุกวันนี้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
- วัตถุประสงค์ทำเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่กำหนดเงื่อนไขไว้ได้ตลอดสัญญากับสถาบันการเงินได้
- สถาบันการเงินต้องมีการรับทราบ [MOU] หือ ข้อตกลง หรือ บันทึกทำความเข้าใจ (แล้วแต่จะว่ากันไป) ว่าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นั้นต้องมีวิธีการอย่างไร เช่นมีมาตรฐานการวิเคราะห์งบการเงินอย่างไร ห้ามปล่อยสินเชื่อใหม่ไปชำระหนี้เดิม ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย เป็นต้น
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มี 9 วิธี เช่น ลดต้น ลดดอก ขยายระยะเวลาชำระหนี้ เปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว เป็นต้น โดยสามารถจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันก็ได้
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องมีการแสดงหนี้ตั้งต้นแต่ละประเภทว่าเป็นต้นเงิน ดอกเบี้ยค้างรับ ดอกเบี้ยแขวน เท่าไร รวมทั้งหมดเท่าไร และที่สำคัญ หนี้ทั้งหมดนี้มาจากสัญญาใดบ้าง (**อันนี้สำคัญ**)
- ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาจริงของลูกหนี้โดยชัดเจน ว่าเป็นปัญหาระยะสั้น ระยะยาว และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
- ต้องจัดทำงบการเงิน โดยมีสมมุติฐานที่เชื่อถือได้รองรับเพียงพอเชื่อถือได้
- เมื่อได้รับอนุมัติก็จะมีสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะ แต่ไม่ว่าภายในมีข้อความอย่างไรก็ตามจะต้องมีการอ้างถึง “สัญญาเดิมทั้งหมดที่ปรับปรุงหนี้” และหากลูกหนี้ปฏิบัติไม่ได้ตามเงื่อนไขใหม่ ให้สถาบันการกลับไปคิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้เป็นหลัก (เห็นไหมอะไรๆก็สัญญาเดิม)
- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นี้โดยปกติจะทำกันตั้งแต่ลูกหนี้ค้างชำระงวดแรกก็ได้ โดยไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสียก่อน (จำตรงนี้ไว้ให้ดีเพราะพวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกคอกมักจะนำมาใช้กับหลายๆท่านไปแล้ว)
- การปรับปรุงหนี้จะต้องมีการเพิ่มเงินกันสำรองตามเดือนที่ค้างชำระ หากเกิน 3 เดือนก็สำรอง 100 % ครับผม (พวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีตถึง “หน้ามืด” จนต้องหลบกฎเกณฑ์ข้อนี้กันเป็น “ลิง” เชียว จนถึงทุกวันนี้ไง)
- หากผิดนัดลูกหนี้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (แล้วแต่ความเข้ม บางสถาบันก็อาจปรับปรุงหนี้ใหม่ก็ได้)
- แต่หากลูกหนี้ถูกดำเนินคดีไปแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ก่อน แล้วจึงไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างถึงสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งผลของกรณีนี้ คือ ผิดนัดโดนบังคับคดีทันทีไม่มีผ่อนผันอีก
- อื่น ๆ อีกแต่ที่สำคัญและที่ท่านทั้งหลายควรรู้มีอยู่หมดแล้ว
- เมื่อถึงตอนนี้หลายท่านคงมาถึงบาง “อ้อ” แล้วว่า สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในความหมายของพวก สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีต นั้นมันใช่สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือไม่ ซึ่ง มันก็คือ การทำสัญญากู้ใหม่เพื่อมาชำระหนี้เดิม ซึ่งมาจากการนำดอกเบี้ยมาคิดดอกเบี้ยซ้อน การนำค่าปรับ ค่าธรรมเนียมผิดนัด ค่าติดตามทวงถาม มารวมไว้เป็น “ยอดหนี้” ใหม่ทั้งหมด ทำสัญญาใหม่ กำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมาย ขยายระยะเวลาออกไป ส่งให้น้อยลง แต่ส่งกัน 5 ชาติยังไม่หมดเลย และโอกาสผิดนัดผิดสัญญามีสูงมาก ซึ่งท้ายสุดท่านก็จะพบว่าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของพวกนี้ก็ คือ การทำสิ่งที่ผิดกฎหมายตามสัญญาเดิมให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายตามสัญญาใหม่นั่นเอง
- ข้อดีของการทำคือ หลบกฎเกณฑ์ของ ธปท.เกือบทั้งหมด ลดเงินกันสำรองที่ต้องสำรองไว้ที่ ธปท. ทำสิ่งผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นไง “แสบสันต์” ไหมท่านทั้งหลาย
** ทีนี้มาว่ากันว่า “ฉันหลวมตัว” ไปแล้วทำอย่างไร **
1. หากส่งได้ไม่เดือดร้อนก็ส่งไปตามเดิม
2. กรณีที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ลองร้องเรียนไปที่ ธปท. ขอให้สอบสวนกรณีดังกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ถูกกฎหมาย (สอบสวนจากแหล่งที่ไปของเงินกู้ใหม่ว่าใช้ไปที่ใด) ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นรายละเอียดหนี้ตั้งต้น หรือบางคนสัญญาก็ยังไม่เคยเห็นหรือได้รับเลย เป็นต้น ธปท. ไม่เคยพบเห็นหรือ โดยร้องเรียนพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากซิ เผื่อ ธปท.จะลืมตาขึ้นมาดูบ้าง ยิ่งผ่านสื่อหรือ “ผู้มีศักยภาพ” ละก็ สถาบันการเงิน & Non Bank นอกรีต เป็นได้เดือดร้อนชนิดหน้ามืดเลยทีเดียว
3. จาก 2. หาก ธปท. สอบสวนจริง ๆ จะพบว่าผิดจริง และต้องปรับยอดกันใหม่หมด “ลูกหนี้ได้เฮ” ลดหนี้โดยไม่ต้องส่ง และข้อสำคัญหากโดน ธปท.สอบสวน พวกนี้จะไม่มีเวลามาพัวพันกับท่านทั้งหลายอีก (สบายหูไปนานทีเดี๋ยวแหละ)
4. กรณีผิดสัญญาใหม่และถูกดำเนินคดีไปแล้ว กรณีนี้แก้ไขไม่ได้ตามความเห็นที่หลายท่านในเวปนี้ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้แล้วว่าดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้ผ่อนผันให้แล้ว ไม่มีเหตุอันควรต่อสู้ได้อีก...
5. แต่ผมขอเสนอแนวทางการต่อสู้คดีอีกแนวทางทางหนึ่งไม่ทราบว่าพอจะเป็นได้หรือไม่ กล่าวคือ เมื่อต่อสู้เรื่องดอกเบี้ยตามกฎหมายไม่ได้ ทำไมเราไม่เปลี่ยนเป็นต่อสู้ว่า “เราไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้” ละ เพราะเมื่อลูกหนี้อ้าง เป็นหน้าที่เจ้าหนี้ต้องนำสืบว่าลูกหนี้ “รับเงินไปแล้วจริง” ตามสัญญา ถึงตอนนี้เราก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้ ”เจ้าหนี้” แสดง Statement เดิม (เพราะ “เจ้าหนี้” พวกนี้มันไม่จ่ายเป็นเงินสด เพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานมันเอง) ในทางปฏิบัติเงินกู้จากสัญญาใหม่เมื่อไม่ได้จ่ายเป็น “เงินสด” ก็จะต้อง Transfer ไปที่ “บัญชี....ซึ่งก็คือสัญญาเดิมก่อนที่จะทำสัญญาใหม่นั่นเอง” ทีนี้แหละเป็นทีของเราบ้างแล้ว ร้องขอต่อศาลให้ “เจ้าหนี้” แจงรายละเอียดของหนี้ตั้งต้นตามสัญญาใหม่มากจากรายละเอียดอะไรบ้างของสัญญาเดิม โดยเน้นไปที่ยอด “ดอกเบี้ย” เดิมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่รวมแล้วเกินกว่าประกาศของ ธปท. โอยยยย...ผมนึกภาพไม่ออกเลย ว่าทนาย “เจ้าหนี้” และคนของ “เจ้าหนี้” จะทำหน้าอย่างไร.....


เรียน กรรมการชมรมฯรุ่นใหม่ และสมาชิกทุกท่านโปรดทราบ

ข้อความตามเนื้อหาในข้างบนนี้ ถูกเขียนขึ้นมาโดยสมาชิกในอดีต(ประมาณ ปี พ.ศ.2550) โดยสมาชิกผู้นั้นใช้ชื่อของตนเองว่า st_suras ซึ่งเป็นสมาชิกทั่วๆที่ไม่ได้เป็นทนายความ และก็ไม่มีความรู้ทางด้านกฏหมายใดๆ
แต่ได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาจากความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ทั้งๆที่ไม่มีข้อกฏหมายมาตราใดๆมารองรับ (เรียกได้ว่า "คิดเอง เออเอง แล้วก็เขียนเอง") โดยในช่วงปีนั้น ได้มีการถกกันถึงแนวความคิดนี้กันอย่างกว้างขวาง
แล้วก็ได้ผลสรุปข้อเท็จจริงออกมาว่า "ไม่สามารถนำไปใช้ปฎิบัติได้จริง " ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ไม่เอาด้วยกับแนวความคิดนี้ หนำซ้ำยังสนับสนุนอีกว่า การปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวนั้น ถูกต้องและชอบด้วยกฏหมายแล้ว เนื่องจากเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในสัญญาตัวใหม่ให้ลดน้อยลงกว่าเดิม โดยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย(ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้ และลูกหนี้) ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะต้องสอบสวนกันใหม่อีก

2. ศาล(ผู้พิพากษา)ได้วินิจฉัยออกมาว่า นิติกรรมดังกล่าว จำเลย(ลูกหนี้)ได้รับทราบถึงผลแห่งการปรับปรุงสัญญาใหม่อย่างชัดแจ้งแล้วว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการสมยอมระหว่างโจทก์กับจำเลย ให้นำเอาเงินกู้ตามสัญญาฉบับใหม่ ไปชดใช้หนี้แทนสัญญาฉบับเดิม โดยมีโจทก์(เจ้าหนี้)เป็นนิติบุคคลเดิมรายเดียวกัน
ดังนั้น คำแย้งของจำเลย(ลูกหนี้)ที่อ้างว่า "ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้" จึงฟังไม่ขึ้น เพราะในสัญญาประนอมหนี้นั้น ไม่ได้ระบุให้ลูกหนี้ต้องได้รับเงินกู้เป็น"เงินสด" หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารอื่นใด เพื่อให้นำไปชำระหนี้ตัวเดิม คำแย้งนี้จึงขัดต่อเหตุผลและไม่มีเหตุอันควรแห่งการหยิบยกมาพิจารณา


และด้วยเหตุผลอันนี้เอง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมาชิกที่ใช้ชื่อว่า st_suras เกิดความขัดแย้งและบาดหมางกับกรรมการของชมรมฯในรุ่นก่อนๆในยุคนั้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งคุณ st_suras ต้องถูกอัปเปหิออกไปจากชมรมฯแห่งนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา จากหลักการณ์ที่หลงผิดโดยคิดเข้าข้างแต่ตนเองดังกล่าว...รวมทั้งอีกหลายๆเรื่อง

จึงเรียนมาเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน อันเนื่องมาจากการได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด
(ประชาสัมพันธ์ ณ.วันที่ 17/เม.ย./55)

นกกระจอกเทศ
(ประธานชมรมฯ)

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, Mommyangel, Pych, Skynine, ntps, Champcyber99, meawpung, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #82354 โดย kingsarisa
ถ้านำไปใช้ไม่ได้ แล้วกรณีที่เราปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว สามารถนำประเด็นไหน ไปต่อสู้ในศาลได้บ้างคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 8 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #82392 โดย jackTs

kingsarisa เขียน: ถ้านำไปใช้ไม่ได้ แล้วกรณีที่เราปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว สามารถนำประเด็นไหน ไปต่อสู้ในศาลได้บ้างคะ




ผมก็ได้เขียนอธิบายเอาไว้ชัดเจนแล้วนี่ครับ

- เป็นการแก้ไข“สัญญาที่ผิดกฏหมาย” เปลี่ยนให้มาเป็น“สัญญาที่ถูกต้องตามกฏหมาย
เหตุผลเพราะสัญญาฉบับเดิม เป็นสัญญาที่มีการคิด“ดอกเบี้ย”เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด (กฎหมาย ปพพ.ตามรัฐธรรมนูญ ให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี) แต่สัญญาในใบสมัครบัตรเครดิต มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 20% ต่อปี , สัญญาสินเชื่อ/เงินกู้ มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 28% ต่อปี , สัญญาบัตรกดเงินสด มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 28% ต่อปี...ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกินที่กว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด (เพราะในกฎหมายเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 15% ต่อปี)

แต่“สัญญานรก”ฉบับใหม่นี้ จะมีการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยให้ลงลด ไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจาก“ดำ”ให้เป็น“ขาว” / เปลี่ยนจาก“ชั่ว”ให้เป็น“ดี” / เปลี่ยนจาก“ผิด”ให้เป็น“ถูก”)...เพื่อที่เวลาสู้คดีกันที่ชั้นศาล เจ้าหนี้จะได้ชนะคดี โดยสามารถอ้างต่อศาลได้ว่า ในสัญญาคิดดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว ลูกหนี้ก็จะแพ้คดีไปโดยปริยาย


อ้างอิงข้อมูล
“สัญญา นรก”...คืออะไร?
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=6343&Itemid=64

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.601 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena