สารพันสรรสาระ และข่าวสารเพื่อเพื่อนชาวหนี้ ปี 55-56

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25742 โดย อยากหลุดพ้น
ขอบคุณมากค่ะ ที่ทางชมรมช่วยชี้ทางสว่างให้กับบรรดาผู้ติดอยู่ในวังวนแห่งการเป็นหนี้ ซึ่งได้บุญมากมายเหลือเกินที่ช่วยคนที่ตกทุกข์ได้ยาก ได้พบแสงสว่างและมีกำลังใจต่อสู้ ซึ้งใจจริงๆค่ะ :love:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25747 โดย jackTs
กสทช.กำหนดค่าโทรมือถือในอัตรานาทีละ ไม่เกิน 99 สตางค์ มีผล 3 เม.ย.55

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช.ได้มีประกาศ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท เสียงภายในประเทศ พ.ศ.2555 เกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เก็บค่าโทรศัพท์จากผู้ ใช้บริการได้ในอัตรานาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.55 ที่ผ่านมา

สำหรับ ข้อดีของประกาศดังกล่าวจะมี 3 เรื่องด้วยกัน คือ


1.ทำให้ผู้บริโภคได้ ใช้บริการในราคาที่เป็นธรรม เนื่องจากต้นทุนการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกินนาทีละ 1 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการไม่ควรค้ากำไรเกินควร

2.ทำให้ค่าไอซี (ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) มีอัตราถูกลงและต่ำกว่า 50 สตางค์/นาที ซึ่งบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องไปหารือกันเพื่อ กำหนดอัตราค่าไอซีใหม่ ส่งผลให้ค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายถูกลงตามไปด้วย

และ 3. ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (พรีเพด) จะได้ใช้ค่าบริการในอัตราที่ถูกลง จากเดิมที่ผู้ให้บริการกำหนดค่าบริการประมาณนาทีละ 2 บาท เพื่อให้มีวันหมดอายุอยู่ได้ 1 ปี แต่เมื่อประกาศดังกล่าวบังคับใช้จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการมือถือเติมเงินได้ ใช้ค่าบริการในอัตราค่าโทรนาทีละไม่เกิน 99สตางค์ด้วย


"สาระสำคัญของประกาศดังกล่าว คือการให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในตลาดลดค่า บริการลงเหลือนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ เนื่องจากยิ่งมีลูกค้าจำนวนมากต้นทุนค่าบริการยิ่งถูก และเมื่อผู้ให้บริการรายใหญ่ลดค่าบริการลงจะส่งผลให้ผู้ให้บริการรายเล็ก ต้องแข่งขันเรื่องของราคาเช่นกันประโยชน์จึงตกอยู่กับผู้บริโภค" น.พ.ประวิทย์ กล่าว

น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า สำหรับโปรโมชั่นที่ออกมาก่อนที่ประกาศจะบังคับใช้ผู้ให้บริการสามารถเรียก เก็บค่าบริการตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับผู้ใช้บริการต่อไปจนกว่าสัญญา ดัง กล่าวจะสิ้นสุดลง แต่จะต้องไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2555 และห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตทำการขยายระยะเวลาของสัญญาหรือรายการส่งเสริมการ ขายที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 70 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบริการเติมเงิน(พรีเพด) 63.4 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 89.78% และรายเดือน (โพสต์เพด) จำนวน 7.22 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 10.22%

“ช่วงที่รอประกาศมีผลบังคับใช้ไม่ค่อยมี ประชาชนร้องเรียนเรื่องอัตรา ค่าบริการเพราะเป็นเรื่องของโปรโมชั่นที่เลือกใช้บริการกันเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะร้องเรียนเรื่องสายหลุดมากกว่า" น.พ.ประวิทย์ กล่าว


ปล. อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120404/445507/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9999%E0%B8%AA.%E0%B8%95..html

และ

สรุปความคิดเห็นสาธารณะและผลการ พิจารณาของ กสทช. ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท เสียงภายในประเทศ พ.ศ.๒๕๕๕
www.nbtc.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1194:2012-04-03-03-37-10&catid=8:2011-01-18-02-55-34&Itemid=10

พร้อมทั้งไฟล์แนบของ "ราชกิจจานุเบกษา" (ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕) ตามข้อ ๕ และ ข้อ ๙


หมายเหตุ : หากผู้ใช้บริการ(ประชาชนทั่วไป) ยื่นความจำนงค์ต่อ Call Center หรือศูนย์บริการมือถือในสังกัดค่ายที่ตนเองใช้งานอยู่
เพื่อขอใช้สิทธิ์ตามประกาศของ กสทช. แล้วได้รับการปฎิเสธหรือไม่ยอมปรับราคาค่าใช้บริการตามที่ประกาศกำหนด
สามารถโทรร้องเรียนได้ที่ (02)2710151-60 , (02)670-8888 หรือ 1200 กด 2
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)




ประกาศ กสทช. ในราชกิจจานุเบกษา
*** โปรดสังเกตุใน ข้อ ๕ และ ข้อ ๙ ***



ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์: Tel.pdf
ขนาดไฟล์:165 kb

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, ntps, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25750 โดย Ploylyly
ขอบคุณครับท่านประธานที่นำสาระต่างๆ มาฝาก :)

ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25796 โดย ntps
ก่อนเข้าข่าวดอกเบี้ยแบงค์ ขอนำเสนอข่าวทันโลกบ้างค่ะ เราชาวหนี้

ก็ต้องทันทุกข่าว เราไม่ใช่กบในกะลาค่ะ สดๆ ร้อน ผลคะแนนจาก

อเมริกา อาจดูเหมือนไกลบ้าน แต่ใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่

หรือคนเก่าต่อสัญญา ก็มีผลต่อประเทศเราไม่น้อยค่ะ สรุป คนเก่า

Mr. Obama ต่ออายุอีก 4 ปีค่ะ





ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25797 โดย ntps
เอชเอสบีซีชี้อานิสงส์คิวอี3 ทำทุนนอกทะลักเอเชีย ต่อให้ลดดอกเบี้ยก็ทานไม่อยู่ ชี้ไทยโชคดีไม่ผูกติดกับดอลล์ ทำให้ความเสี่ยงไม่เท่าสิงคโปร์-ฮ่องกง แนะธปท.ลดดอกเบี้ยอีกรอบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วค่อยปรับขึ้นครึ่งหลังปีหน้า หลังส่งออกฟื้น

นายอองเดร เดอ ซิลวา ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอัตราดอกเบี้ยตลาดเอเชีย ธนาคารเอชเอสบีซี ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดพันธบัตรเอเชียและตลาดไทย หลังมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 ของสหรัฐ (คิวอี 3) ว่าผลจากมาตรการคิวอี 3 จะส่งผลต่อเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากกว่าช่วงที่ใช้มาตรการคิวอี 1 และ 2 ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกไม่ได้มีเฉพาะสหรัฐอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาในกลุ่มประเทศยุโรปด้วย ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายต้องแสวงหาแหล่งลงทุนที่น่าสนใจคือ ภูมิภาคเอเชีย

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าแม้หลายประเทศจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลให้ปริมาณเงินทุนไหลเข้าชะลอเนื่องจากนักลงทุนมองในด้านปัจจัย พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าจะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นักลงทุนให้ความสนใจคือ เกาหลีใต้ มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณเงินทุนไหลเข้าหลัง 1 เดือนจากที่มีการประกาศใช้คิวอี 3 เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้าจะประกาศใช้คิวอี 3 ซึ่งในประเทศไทยเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นจาก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

"เงินทุนต่างประเทศจะไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรเป็น ส่วนใหญ่ซึ่งสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลโดยนักลงทุนต่างชาติของทั้ง 3 ประเทศ รวมประเทศไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยไม่ได้ผูกติดกับนโยบายสหรัฐโดยตรงมากเท่าฮ่องกงหรือสิงคโปร ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายฉับพลันก็อาจจะไม่เกิดขึ้นใน ประเทศไทย" นายเดอ ซิลวากล่าว

นายอองเดรกล่าวว่า ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 3% เหลือ 2.75% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น มองว่าหาก ธปท.ต้องการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงอีก 1 ครั้ง เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในที่ประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ในเดือนพฤศจิกายน นี้ หรือในการประชุมเดือนมกราคมปี 2556 อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะนิ่งขึ้นในปีหน้าจะช่วยให้ภาคการส่งออกเริ่ม ฟื้นตัวมากขึ้น และทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อจะเริ่มกลับมา ซึ่งมองว่าภายในครึ่งหลังของปี 2556 ธปท.อาจจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้

ที่มา : นสพ.มติชนรายวัน

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25816 โดย Mommyangel
นี่ก็ใกล้จะสิ้นปี...ถึงเวลาต้องยื่นแบบเีสียภาษีกันแล้วค่ะ...

น่ากลัวเนอะ...คำว่าเสียภาษี..แต่นั่นคือ "หน้าที่ของผู้มีเงินได้"

มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ชำระภาษี...

อ้าว..ถ้าอย่างงั้น...ไม่มีเงินได้ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีซิ...ถูกต้องค่ะ...


ในฐานะที่พี่ลีพอจะมีความรู้เรื่องภาษีอยู่บ้าง....

ก็อยากบอกกล่าวเกี่ยวกับภาษีให้น้องๆ ได้ศึกษากันไว้นะคะ...

เอาแต่เริ่มเลยดีมั๊ยคะ...


ณ ที่นี้ จะกล่าวถึงบุคคลธรรมดา เท่านั้นนะคะ...ไม่รวมนิติบุคคลค่ะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. บุคคลธรรมดา

2. ผู้ถึงแก่ความตาย (ม.57ทวิ)

3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง (ม.57ทวิ วรรค 2)

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล

5. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (ม.56 วรรค 2)

แล้วพวก เราๆ อยู่ในกลุ่มไหนละ...

พวกเราก็คือบุคคลธรรมดา นี่แหละคะ..

คราวนี้ เรามักจะได้ยินคำว่า เงินได้พึงประเมิน มันก็คือ เงินได้อันพึงเข้าลักษณะต้องเสียภาษีตามมาตรา 39 ได้แก่

1. เงิน เช่น เงินตรา เหรียญ การโอนเงินเข้าบัญชี

2. ทรัพย์สินที่คำนวณเป็นเงินได้

3. ประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้

4. ภาษีที่่่ออกให้

5. เครดิตเงินปันผล (มาตรา 47 ทวิ)


มาตรา 40 ตามประมวลรัษฎากร กล่าวว่า เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

แบ่งเป็น 8 ประเภท ดังนี้


(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่ โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่ โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

วันนี้ เอาสองข้อนี้ไปก่อน พรุ่งนี้จะมาต่อนะจ๊ะ...

อย่าเพิ่งปวดหัวนะ...มีอีกเยอะ...

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, ntps, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25826 โดย ntps
วันนี้วันพระ อ่านและแชร์ธรรมะ เป็นธรรมทาน

ใครหลายคนชอบคิดไปไกลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่เกิด

ความคิดนี่แหละ ที่บั่นทอนพละกำลังส่วนหนึ่งของความสุขที่

ควรจะเกิด ควรจะมีให้ลดน้อยลงไป ทำวันนี้ให้มีความสุข

ทำให้ดีที่สุดกับเวลานี้ที่มีโอกาสนี้ บางทีใครจะรู้ว่า

อะไรๆที่ไปกังวลนั้น อาจจะมาไม่ถึงก็ได้





ส่วนอันนี้ เห็นแล้ว อดนำมาให้ดูไม่ได้ค่ะ ถ้าเรายอมรับสภาพ

ความเป็นจริงตั้งแต่ต้น ใบแจ้งหนี้เป็นกิโล คงไม่เกิด :P



ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25848 โดย Champcyber99
ฉีกหน้ากากเครดิตบูโร:ใครติดแบล็กลิสต์เชิญทางนี้




กฎหมายเครดิตบูโร มีเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยสร้างภาพว่า เครดิตบูโรเป็นคนกลางที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดโดยรัฐบาลตัวแทนระบบทุนนิยมเท่านั้น จึงไม่ต่างจากการกำหนดโดยฝ่ายเจ้าหนี้ฝ่ายเดียว เกิดการมัดมือชก มีการฮั้วกันไม่ปล่อยสินเชื่อคนที่ติด“BLACK LIST” กฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่อะไรเลย นอกจาก รอยสักทาสยุคดิจิตอล เท่านั้น แต่บทความนี้มีแนวทางดัดหลังแก้เกม หากท่านติดแบล็กลิสต์ กู้ไม่ผ่าน หรือโดนตามทวงหนี้


โดย ประเวศ ประภานุกูล


เดิมทีบทความนี้ผมเริ่มเขียนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 และเขียนเสร็จเดือนสิงหาคม 2550 โดยต้องการวิเคราะห์และชำแหละให้เห็นธาตุแท้ของเครดิตบูโร

ซึ่งทุกวันนี้ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับกันทั่วไปให้อยู่คู่กับสังคมไทย โดยถูกสร้างภาพว่า เครดิตบูโรคือสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าของสถาบันการเงิน

แต่สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับเครดิตบูโรคือเครื่องมือข่มขู่ลูกหนี้ของพวกรับจ้างทวงหนี้ โดยคำขู่คลาสสิค คือ หากไม่จ่ายก็จะติด BLACK LIST ไม่สามารถกู้เงินหรือทำบัตรเครดิตได้อีก

บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการ ผู้เขียนขอรับผิดชอบเองแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปี 2549 เคยได้ยินคนเล่าว่า ตอนไปสมัครงาน บริษัทให้ไปตรวจข้อมูลเครดิตมาประกอบการพิจาณาใบสมัคร(ก็แล้วข้อมูลเครดิตมันเกี่ยวอะไรกับการเข้าทำงานวะ)

และผมก็ยังเคยได้รับโทร.ทวงค่าโทร.มือถือแทนเพื่อน คนโทร.แจ้งว่าจะส่งข้อมูลเครดิต(BLACK LIST) (แต่ทางเครดิตบูโรเคยแจ้งว่า กิจการโทร.มือถือไม่ใช่สมาชิกของเครดิตบูโร จึงส่งข้อมูลไม่ได้)

ต่อมาบริษัทรับจ้างทวงหนี้ของโทร.มือถือเหิมเกริมถึงขนาดส่งจดหมายทวงหนี้แจ้งว่าจะส่งเข้าระบบหนี้เสีย(BLACK LIST)

ทุกวันนี้พวกนายทุนสามานย์โดยรัฐพยายามรุกคืบเข้าควบคุมประชาชนอยู่แล้ว แม้แต่ข้อมูลสถานที่ทำงาน สำนักงานประกันสังคมยังเอามาขายเลยในราคา 20-50 บาทต่อราย

และยังได้รับคำยืนยันจากคนที่เคยยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตว่า ถ้ายื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตแล้ว คนอื่นที่มีข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนกับวันเกิด สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้

ก็เลยอยากจะเตือนไว้ในที่นี้เลยว่า อย่ายื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตเลยจะดีกว่า

แม้แต่พวกรับจ้างติดตามยึดรถของไฟแนนซ์(ได้ค่าจ้างตามการยึดรถได้ หากยึดไม่ได้ก็จะไม่ได้เงิน) ก็ยังจ้างด่านเก็บเงินทางด่วนให้เฝ้าดูรถยนต์คันที่ตามยึด โดยหากรถยนต์คันที่กำหนดผ่านด่านเก็บเงิน เมื่อกล้องของด่านเก็บเงินเห็นทะเบียน คอมพิวเตอร์ของด่านเก็บเงินก็จะส่งสัญญาณเตือน พนักงานเก็บเงินประจำด่านก็จะโทร.แจ้งผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างก็จะไปดักรอตามทางลงทางด่วน

แต่เรื่องนี้แก้ไม่ยาก แค่ติดทองเปลวที่เลขทะเบียนรถ คอมพิวเตอร์ของด่านเก็บเงินค่าผ่านทางด่วนก็จะไม่รู้ว่าเป็นรถคันที่ถูกจ้างให้เฝ้าดู

เหตุผลในการออก พรบ.การประกอบข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 (ดูหมายเหตุ พรบ.ดังกล่าว) สรุปได้ว่า เพื่อให้สถาบันการเงินมีข้อมูลการเป็นหนี้และการชำระหนี้ของลูกค้าเพียงพอแก่การพิจารณาให้สินเชื่อ รวมทั้งให้เป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูล

มาดูกันว่าผลจากกฎหมายฉบับนี้จะเป็นตามที่หมายเหตุไว้อย่างสวยหรูหรือเปล่า

เครดิตบูโร คือบุคคล หรือหน่วยงาน หรือองค์กร ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลมาเก็บไว้ โดยมุ่งหมาย(ตามที่เขาพยายามบอก)ให้เป็นองค์กรกลาง และให้บริการข้อมูลที่เก็บไว้แก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป ข้อมูลที่เก็บไว้(ตามที่เขาเรียกว่าข้อมูลเครดิต)

มี 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เขาเรียกว่าข้อมูลระบุตัว และข้อมูลการเป็นหนี้ ข้อมูลการเป็นหนี้นี้มี 2 แบบ คือ ข้อมูลที่เป็นกลางๆ และข้อมูลหนี้เสียที่เรียกกันว่า “BLACK LIST”

พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ในปี 2549 เบื้องต้นขอดูฉบับแรกก่อน แล้วเปรียบเทียบกับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ผมได้ พรบ.การประกอบข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 จากแผ่นดิสก์รวมกฎหมายเอื้อเฟื้อโดยคุณเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความคนปัจจุบัน(หมายถึงปี 2551) ที่ส่งให้หลายปีแล้ว

ส่วนฉบับแก้ไขเพิ่มเติมโดยความอนุเคราะห์ของวารสารกฎหมายใหม่(-ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย)โดยในส่วนของฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจะนำมาเปรียบเทียบไปพร้อมกับการวิเคราะห์ในตอนท้าย

โครงสร้างของเครดิตบูโร จะต้องเป็นบริษัท ห้ามผูกขาดการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต(เครดิตบูโรมีมากกว่า 1 บริษัทได้) ให้บริการกับสมาชิกและสมาชิกเท่านั้นที่ส่งข้อมูลเข้าไปเก็บได้

ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของเครดิตบูโรได้ จะต้องเป็นสถาบันการเงินเท่านั้น การส่งข้อมูล การใช้บริการ(ตรวจสอบข้อมูล) จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต การฝ่าฝืนมีโทษอาญา

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ให้บริษัทข้อมูลเครดิตเท่านั้นประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตได้ (ห้ามผูกขาด ?) ห้ามมิให้ผู้ใดประกาศหรือโฆษณาว่าแก้ไขข้อมูลได้ ห้ามมิให้ใครกีดกันหรือขัดขวางการให้ข้อมูลแก่บริษัทข้อมูลเครดิต (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “เครดิตบูโร”) หรือทำให้เกิดการผูกขาดการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต

การฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในส่วนของการให้ความคุ้มครองเจ้าของข้อมูล(ตามเหตุผลในการตรา พรบ.ฉบับนี้ เดี๋ยวค่อยมาดูกันว่าคุ้มครองเจ้าของข้อมูลได้จริงหรือไม่) เมื่อสมาชิกส่งข้อมูลแล้วต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วัน ฝ่าฝืน(ไม่แจ้ง)มีโทษจำคุณ 5-10 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

การส่งข้อมูลต้องส่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ ถ้ารู้ว่ามีความไม่ถูกต้องต้องแก้ไขและจัดส่งข้อมูลที่ถูกต้องให้เครดิตบูโร ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท และปรับอีกวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง(แต่เปรียบเทียบปรับได้)

ในกรณีที่มีการโต้แย้งข้อมูลเครดิต มาตรา 19 ได้กำหนดวิธีการแก้ปัญหาไว้ เดี๋ยวค่อยมาดูกันตอนท้าย

การเปิดเผยข้อมูลต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล เว้นแต่เป็นกรณีที่จำเป็นตามกฎหมาย เช่น คำสั่งศาล ฯลฯ เป็นต้น ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใช้บริการ(ที่ได้รับข้อมูลไป)ต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 20 เท่านั้น และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนผู้ที่ได้รับข้อมูลด้วยวิธีอื่น เช่น คำสั่งศาล ฯลฯ ต้องเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ (แต่มีข้อยกเว้น) ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิทราบข้อมูลของตนจากเครดิตบูโรได้ แต่เครดิตบูโรมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสอบข้อมูลได้ตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 200 บาท(ทุกวันนี้เก็บเต็มเพดานเลย คณะกรรมการช่างเห็นใจประชาชนเจ้าของข้อมูลเสียจริง)

มาดูการควบคุมดูแลเครดิตบูโรกันบ้าง คนที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง คือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ประกอบด้วย ผู้ว่า ธปท. เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ

ส่วนกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมทะเบียนการค้า อธิบดีกรมการประกันภัย อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวม 12 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

และให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งโดย ครม. 5 คนโดยกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า อย่างน้อยต้องเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 2 คน เชี่ยวชาญด้านการเงินและการธนาคาร 1 คน และด้านคอมพิวเตอร์ 1 คน(คุณสมบัติส่วนนี้ใช้บังคับกับอนุกรรมการด้วย โดยคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการจำนวน 3-5 คน)

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ 4 ปี ห้ามแต่งตั้งติดต่อกันเกิน 2 วาระ สุดท้ายตำแหน่งเลขานุการ วกกลับมาที่ ธปท. โดยให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ว่า ธปท. หรือ ผอ.อาวุโสของ ธปท. เป็นเลขานุการ

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ ธปท. เป็นผู้รับเรื่องราวร้องทุกข์ กำกับการทำงานของเครดิตบูโร ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล ในส่วนความรับผิดทางแพ่ง กำหนดให้เครดิตบูโรต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูลในกรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในกฎหมาย

เครดิตบูโรที่มีอยู่ทุกวันนี้ชื่อ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 เดิมชื่อบริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม 2543 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด วันที่ 19 พฤษภาคม 2548 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จนทุกวันนี้

ตอนที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้ควบรวมบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งประเทศไทย จำกัด เข้ามาด้วย พอเริ่มต้นก็เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ที่ห้ามผูกขาดการประกอบกิจการข้อมูลเครดิต อ้อ..กฎหมายให้ข้อยกเว้นไว้ว่า การควบรวมกิจการจะต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการก่อน การรวมบริษัทข้อมูลเครดิตอื่นเข้ามาก็เลยไม่ใช่การผูกขาด

และการประกอบกิจการธุรกิจข้อมูลเครดิตก็ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการก่อน ดังนั้น การที่คณะกรรมการไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นประกอบกิจการธุรกิจข้อมูลเครดิต ก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการ ทำให้ทุกวันนี้มีบริษัทข้อมูลเครดิตบริษัทเดียวเอง ไม่ใช่การผูกขาดการประกอบกิจการธุรกิจข้อมูลเครดิตซะหน่อย ทำไมถึงร่างกฎหมายห้ามผูกขาดการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต

แล้วทำไมถึงต้องควบรวมบริษัทข้อมูลเครดิตให้เหลือเพียงบริษัทเดียว ถ้ามีบริษัทข้อมูลเครดิตมากกว่า 1 บริษัท เช่นมี 2 บริษัท ก็จะมีปัญหาตามมาว่า บรรดาสถาบันการเงินจะต้องเป็นสมาชิกทั้ง 2 แห่งหรือไม่ หากเป็นสมาชิกเพียงแห่งเดียวได้ ข้อมูลของลูกหนี้ของบรรดาสถาบันการเงินก็จะกระจายไปตามบริษัทข้อมูลเครดิตตามที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นสมาชิก

เมื่อมีคนมาขอกู้เงิน ก็ต้องตรวจข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตทั้ง 2 แห่ง สร้างความยุ่งยาก แต่หากบังคับให้เป็นสมาชิกทั้ง 2 แห่ง บรรดาสถาบันการเงินก็ต้องเสียค่าสมาชิกเพิ่มเป็น 2 เท่า(เคยได้ยินมาว่าค่าสมาชิกสูงถึงเลข 6 หลัก) และก็ต้องส่งข้อมูลไปทั้ง 2 แห่ง แต่ได้ใช้ประโยชน์ด้วยการตรวจข้อมูลเพียงแห่งเดียวเ พราะตรวจข้อมูลที่ไหนก็ได้เหมือนกัน เท่ากับเสียค่าสมาชิกเพิ่มเปล่าๆ

ก็เลยได้ข้อสรุป 3 ฝ่าย คือ เครดิตบูโร นายทุนปล่อยกู้(สถาบันการเงิน) คณะกรรมการว่า ควรจะรวมบริษัทข้อมูลเครดิตทั้ง 2 แห่งเข้าเป็นบริษัทเดียวกัน พร้อมกับไม่มีการอนุญาตให้ตั้งบริษัทข้อมูลเครดิตอีกต่อไป การห้ามผูกขาดการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในกฎหมาย จึงเป็นเพียงการตบตาหลอกลวงประชาชนเท่านั้น

ชื่อของเครดิตบูโรก็บอกอยู่แล้วว่า จะต้องให้บริการเกี่ยวข้องกับเครดิตหรือข้อมูลเครดิต และจะต้องมีบุคคลอื่นมาเกี่ยวข้องเครดิตบูโรจึงจะดำเนินกิจการได้ คือ สมาชิก เพราะมีแต่สมาชิกเท่านั้นที่ส่งข้อมูลเข้าไปเก็บได้ ส่วนการใช้บริการ(ขอตรวจข้อมูล)ดูเหมือนจะไม่จำกัดแต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล

เพียงแต่กฎหมายจำกัดการใช้ข้อมูลว่าจะต้องใช้เพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเท่านั้น

อีกคนที่ขาดไม่ได้คือ เจ้าของข้อมูล ซึ่งก็คือลูกค้าหรือลูกหนี้ของสมาชิกนั่นเอง คนที่จะเป็นสมาชิกได้จะต้องเป็นสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งก็คือธนาคารพาณิชย์นั่นเอง(รวมทั้งพวกไฟแนนซ์กับลิสซิ่งด้วย)

แล้วบรรดาพวกน็อนแบงก์-non bank(สถาบันการเงืนที่ไม่ใช่ธนาคาร)ปล่อยกู้ง่ายดอกโหด เข้ามาเป็นสมาชิกได้อย่างไร คำตอบอยู่ในมาตรา 3 พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ได้ให้คำจำกัดความคำว่า “สถาบันการเงิน” ว่า นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในราชอาณาจักร ดังนี้..........(9) “นิติบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด”

พวกน็อนแบงก์ที่ปล่อยกู้ดอกโหด ก็เลยเป็นสมาชิกเครดิตบูโรได้(ตรงนี้ยังมีปัญหาข้อมูลยอดหนี้ที่น็อนแบงก์ส่งเข้าไป เป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่(ถ้าไม่จริงมีโทษ)เพราะรวมดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ใช่ประเด็นในที่นี้)

แต่ยังก่อนครับ ยังไม่จบแค่นั้น ในมาตรา 3 ยังให้คำจำกัดความคำว่าสินเชื่อว่า การให้กู้ยืมเงิน.................เป็นเจ้าหนี้เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้า........และธุรกรรมอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ทีนี้ก็ไม่น่าแปลกใจแล้วว่าทำไม AIS บริษัทมือถือทั้งหลาย ถึงได้กล้าส่งจดหมายข่มขู่ว่าจะส่งข้อมูลเข้า“BLACK LIST” เขาคงอยากผลักดันให้กิจการให้บริการโทรศัพท์รายเดือนเป็นสินเชื่อในความหมายของ ธุรกรรมอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

จากนั้นก็เป็นสถาบันการเงินในความหมายว่า นิติบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติตามที่คณะกรรมการกำหนด ทีนี้กิจการโทรศัพท์มือถือก็เป็นสมาชิกเครดิตบูโรได้ แล้วพอใครค้างจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือก็จะติด“BLACK LIST”

และถ้ารุกคืบเข้าไปในกิจการโทรศัพท์มือถือได้ อีกหน่อยกิจการที่ให้เครดิตลูกค้า เช่น ส่งสินค้าให้ก่อน จ่ายเงินทีหลัง(อาจจะกำหนดให้วางบิลเรียกเก็บเงินด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่นกำหนดให้จ่ายภายใน 1 เดือนหลังส่งสินค้า หรือจ่ายภายใน 1 เดือนนับแต่วางบิล)ก็ถือว่าเป็น นิติบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดได้

ผมไม่ใช่คนมองโลกในแง่ร้าย ผมเพียงแต่มองโลกตามความเป็นจริง จะเป็นไปได้อย่างไรที่สมาชิกเครดิตบูโรจะถูกขยายวงออกไป

ลองดูที่คณะกรรมการก็รู้ คณะกรรมการมีทั้งหมด 17 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 12 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตัดตำแหน่งเลขานุการ(เลือกจาก ธปท.ดังกล่าวข้างต้น)ออก

เริ่มที่หัวก่อน ประธานกรรมการคือ ผู้ว่า ธปท. เป็นคนออกประกาศเอื้อประโยชน์ให้น็อนแบงก์คิดดอกเบี้ยได้ถึง 28 % ผู้ว่า ธปท.คนปัจจุบัน(ขณะเขียนบทความนี้คือ นางธาริสา)

พอเข้ามาถึงก็ออกประกาศขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20 % กรรมการคนอื่นๆดูแล้วมาจากฝ่ายการเมืองหรืออิงกับฝ่ายการเมืองถึง 8 จาก 12 คน แค่นี้ก็เกินครึ่งแล้ว แต่คนร่างกฎหมายคงยังไม่ชัวร์ว่าจะคุมเสียงคณะกรรมการอยู่ ก็เลยกำหนดให้ฝ่ายการเมือง(คณะรัฐมนตรี)แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน

และในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวอีก มีข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ต้องไม่มีตำแหน่งหรือมีหน้าที่หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในเครดิตบูโรหรือผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล แต่เป็นตัวแทนจากสถาบันการเงิน(สมาชิกของเครดิตบูโร)ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำหนดไว้ว่าต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการธนาคาร 1 คน

เท่ากับให้เอานายแบงค์มาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชัดๆ และสามารถตั้งตัวแทนจากธนาคารได้ถึง 2 คนด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าของข้อมูลเลย เอาเป็นว่าคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตแบ่งโควต้ากัน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายสถาบันการเงินหรือก็คือสมาชิกเครดิตบูโรหรือฝ่ายเจ้าหนี้ที่ส่งข้อมูลเข้าไปเก็บ โดยมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นไม้ประดับ

เพื่อช่วยสร้างภาพให้กับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต จึงเป็นอันว่าฝ่ายการเมืองและนายทุนจากสถาบันการเงินคุมคณะกรรมการได้หมด

และก็อย่าลืมว่าพวกนายทุนเป็นผู้สนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายเลือกตั้งให้กับพรรคการเมือง(ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ถ้าจะพูดว่าผมมีอคติกับนักการเมือง ผมก็ยอมรับ เพราะตั้งแต่จำความได้ ผมยังไม่เคยเห็นนักการเมืองคนไหนทำอะไรเพื่อประชาชนเลย)

หลักการอีกอย่างของเครดิตบูโรคือให้บริการข้อมูลเพื่อให้สถาบันการเงิน ใช้ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ(ปล่อยกู้)

ข้อมูลที่ได้จากเครดิตบูโรจึงไม่ใช่ตัวตัดสินว่าจะกู้เงินจากธนาคารได้หรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติทุกวันนี้ ถ้าติด“BLACK LIST” ในเครดิตบูโรแล้ว ก็เลิกคิดกู้เงินหรือทำบัตรเครดิตจากธนาคารหรือนอนแบงก์ได้เลย เพราะทุกแห่งจะให้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ผ่าน(นี่คงเป็นคำตอบได้ดีว่าทำไม AIS ถึงอยากเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโร)

คนที่มาปรึกษาผม ในฐานะที่ผมเป็นทนายความหลายรายเจอปัญหานี้แล้ว(อันที่จริงก็มีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เอาไว้ว่ากันตอนท้าย)

ซ้ำข้อมูลการเป็นหนี้ที่เครดิตบูโรเก็บไว้ ก็เป็นข้อมูลที่เจ้าหนี้เป็นฝ่ายส่งเข้าไป แน่นอนละว่าเจ้าหนี้จะต้องส่งข้อมูลเข้าไปตามที่เขาคิดว่ายังเป็นหนี้อยู่ โดยไม่สนใจว่าเป็นหนี้ที่ชอบธรรมตามกฎหมายหรือไม่อยู่แล้ว ซึ่งก็รวมทั้งดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย หนี้ที่ฟ้องไม่ได้หรือถึงฟ้องศาลก็ยกฟ้องหรือตัดลดยอดหนี้ลง หนี้ที่ขาดอายุความแล้ว และข้อมูลก็จะถูกเก็บไว้จนกว่าครบ 3 ปีหลังลูกหนี้จ่ายหนี้หมด(ตามที่เจ้าหนี้คิด)

ตัวอย่างเช่น หากหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถฟ้องคดีได้ หรือถึงฟ้องแต่หากลูกหนี้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลก็จะต้องยกฟ้อง แต่ข้อมูลว่าคุณยังเป็นหนี้ก็ยังอยู่ และตราบใดที่คุณไม่จ่าย(หนี้ที่สิ้นผลบังคับตามกฎหมายหรือไม่สามารถฟ้องร้องได้ดังกล่าว)ข้อมูลว่าคุณยังเป็นหนี้ก็จะอยู่ไปจนครบ 3 ปีหลังจากคุณตาย

สรุปแล้ว เครดิตบูโรเป็นเพียงเครื่องมือทวงหนี้ของนายทุนเท่านั้น

สิบกว่าปีก่อนซิตี้แบงก์ได้เริ่มว่าจ้างสำนักงานทนายความให้ทวงหนี้แทน โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่ตามเก็บได้ โดยไม่คำนึงว่าจะตามทวงได้ด้วยวิธีไหน นั่นคือจุดเริ่มต้นของวิธีการทวงหนี้นอกระบบ โดยพัฒนามาเป็นสำนักงานรับจ้างทวงหนี้(ในชื่อสำนักงานกฎหมาย)

สำนักงานพวกนี้จะมีลักษณะเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่อยู่อย่างหนึ่งคือ เจ้าของหรือหัวหน้าสำนักงานไม่ใช่ทนายความ ไม่ได้จบนิติศาสตร์ด้วยซ้ำ ก็เลยจ้างพนักงานมาอบรมวิธีการทวงหนี้ออกอาละวาดได้โดยไม่อยู่ในกำกับของสภาทนายความ และทุกวันนี้ดูเหมือนสำนักงานพวกนี้จะระบาดเข้าไปรับงานในธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดก็ตาม(วันหลังถ้ามีโอกาสผมจะลองรวบรวมวิธีการทวงหนี้ของสำนักงานพวกนี้ดู)

แต่วิธีการทวงหนี้ของสำนักงานพวกนี้ก็ยังมีจุดอ่อน หากลูกหนี้ไม่กลัวตามที่ถูกขู่ ก็คงทำอะไรไม่ได้ และสิ่งที่สำนักงานพวกนี้พยายามเลี่ยง คือ การฟ้องคดีต่อศาล(บางสำนักงานก็ดูเหมือนจะไม่มีทนายความประจำเลยด้วยซ้ำ บางสำนักงานก็พยายามกดทนายความลงเป็นมนุษย์เงินเดือนให้ทำตามคำสั่งอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพกันแล้ว) จึงต้องมีเครดิตบูโรขึ้นมาช่วยเสริมอีกแรง

ถ้าพูดโต้ตอบกัน เครดิตบูโรก็คงปฏิเสธว่าไม่ใช่เครื่องมือทวงหนี้ โดยอ้างเหตุผลสวยหรูต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ และก็อ้างว่ามีมาตรการให้ความคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอยู่แล้ว แต่ถ้าดูบทกำหนดโทษในกฎหมายแล้ว การส่งข้อมูลไม่ตรงตามจริงมีโทษเพียงปรับ แม้ว่าจะปรับค่อนข้างสูง(300,000 บาท และอีกวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง)

แต่กฎหมายก็ให้อำนาจคณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง(มาจากฝ่ายการเมืองอีกแล้ว) มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งก็หมายความว่า จะปรับน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่าไรก็ได้ ซึ่งผิดหลักกฎหมายอาญา เพราะโทษขนาดนี้เกินกว่าลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบปรับได้ก็ต้องเป็นความผิดลหุโทษเท่านั้น

การกำหนดโทษไว้สูงจึงเป็นเพียงการตบตาประชาชนว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองเจ้าของข้อมูลเท่านั้น โดยผู้ออกกฎหมายไม่คาดว่าจะมีการลงโทษตามที่กำหนดไว้ ส่วนเรื่องที่กำหนดโทษไว้สูง อย่างเช่น การไม่แจ้งเจ้าของข้อมูลทราบถึงการส่งข้อมูล และข้อมูลที่ถูกส่งไป

การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล มีโทษจำคุก 5-10 ปี หรือปรับ 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าพลาดอยู่แล้ว จึงเป็นการเขียนไว้หลอกชาวบ้านเท่านั้น

ส่วนเรื่องที่เครดิตบูโรมีโอกาสพลาด คือ การเปิดเผยข้อมูลโดยเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมซึ่งอันที่จริงก็ไม่น่าจะพลาดได้อยู่แล้ว เพราะเวลาไปขอกู้บรรดาสถาบันการเงินก็จะบังคับให้เซ็นหนังสือยินยอมให้ตรวจข้อมูลและส่งข้อมูล และลูกหนี้ก็ต้องเซ็น เพราะไม่มีทางเลือก ซึ่งเดิมกำหนดโทษไว้สูงเช่นกัน แต่เครดิตบูโรก็ไม่อยากเสี่ยง ก็เลยออกกฎหมายแก้ไขโทษให้เหลือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งดูน่าจะยังสูงอยู่
แต่ทีเด็ดอยู่ตรงที่พอลดโทษแล้วก็ให้เปรียบเทียบปรับได้ทั้งที่มีโทษจำคุกสูงถึง 3 ปี เอาเป็นว่าช่วยเหลือพวกเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมายเลย แต่ก็ต้องกำหนดโทษให้สูงเข้าไว้ก่อนเพื่อเป็นข้ออ้างว่า ให้ความคุ้มครองกับเจ้าของข้อมูลแล้วนะ


นอกจากนี้การผูกขาดการประกอบกิจการมีโทษสูงเช่นกัน แต่การควบรวมบริษัทโดยความยินยอมของคณะกรรมการไม่ใช่การผูกขาดนี่ อีกบริษัทเขาอยากเข้ามารวมเองและคณะกรรมการก็เห็นชอบด้วย แล้วหากมีคนยื่นขอตั้งบริษัทข้อมูลเครดิตเพิ่ม คณะกรรมการก็ไม่อนุญาตเอง ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเครดิตบูโรซะหน่อย จะมาว่าผูกขาดได้อย่างไร

ส่วนการคุ้มครองเครดิตบูโร คือ การห้ามมิให้ผู้ใดประกาศหรือโฆษณาว่าแก้ไขข้อมูลได้ ห้ามมิให้ใครกีดกันหรือขัดขวางการให้ข้อมูลแก่เครดิตบูโร ยังคงกำหนดโทษไว้สูงและเปรียบเทียบปรับไม่ได้

สรุปได้ว่าในส่วนการคุ้มครองเจ้าของข้อมูลซึ่งผู้กระทำความผิดคือสถาบันการเงิน เปรียบเทียบปรับได้ ส่วนการคุ้มครองเครดิตบูโรและสถาบันการเงิน เปรียบเทียบปรับไม่ได้ คงไม่ต้องบอกแล้วว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งคุ้มครองใครกันแน่ ทำไมรัฐถึงได้เอาใจเครดิตบูโรมากนัก รายชื่อกรรมการเครดิตบูโรคงจะให้คำตอบได้

กรรมการของเครดิตบูโรมี 11 คน(ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2549) คือ 1.นายสมใจนึก เองตระกูล 2.นายธีระ อภัยวงศ์ 3.นายชาติชาย ศรีรัศมี 4.นายสุจิน สุวรรณเกต 5.นายมินทร์ อิงค์ธเนศ 6.นายแลรี่ คีธ ฮาวล์ 7.นายขรรค์ ประจวบเหมาะ 8.นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร 9.นายโชติศักดิ์ อาสถวิริยะ 10.นายจารึก กังวานพณิชย์ 11.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ทั้ง 11 คนนี้มีกี่คนที่คนทั่วไปไม่รู้จัก

ในส่วนความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายกำหนดไว้เพียงว่าให้รับผิดทางแพ่งด้วย ไม่ได้กำหนดให้ความรับผิดเป็นพิเศษหรือไม่ได้กำหนดอัตราค่าเสียหายไว้ให้ ซึ่งแม้จะไม่กำหนดให้ ก็ต้องรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดอยู่แล้ว การกำหนดไว้เช่นนี้ จึงไม่ต่างจากการไม่เขียนไว้เลย การบัญญัติให้มีความรับผิดทางแพ่งจึงเป็นแค่การเขียนหลอกประชาชนเท่านั้น

ถ้าพลาดไปติด“BLACK LIST”เข้า ก็พอมีทางแก้ไขตามกฎหมายอยู่ อย่างเช่น ถ้าข้อมูลการเป็นหนี้ในเครดิตบูโรมีดอกเบี้ยที่เกินกว่าอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย(เช่นพวกน็อนแบงก์) ก็สามารถโต้แย้งข้อมูลตามมาตรา 19 ได้ แต่ตามความเห็นผม น่าจะฟ้องเป็นคดีอาญาโดยฟ้องเองมากกว่า เพราะหากโต้แย้งไปที่เครดิตบูโรตามมาตรา 19 เครดิตบูโรก็จะต้องสอบสวน ก็สอบถามไปที่เจ้าหนี้คนแจ้งข้อมูลนั่นแหละ แล้วผลสอบจะเป็นอย่างไรก็คงเดาได้ไม่ยาก(อย่าลืมว่าพวกสถาบันการเงินเป็นคนจ่ายเงินค่าสมาชิกให้กับเครดิตบูโร)

หรือหากจะไปแจ้งความ ก็อย่าลืมว่าคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ แล้วหากเครดิตบูโรหรือพนักงานสอบสวนเห็นว่าการแจ้งข้อมูลหนี้ชอบแล้ว เรื่องก็จบ การฟ้องคดีเองจึงเป็นการดีที่สุดเพราะคดีขึ้นศาลเลย เป็นการดักทางไม่ให้คณะกรรมการกล้าเปรียบเทียบปรับด้วย


ในกรณีที่ต้องการกู้เงินจากธนาคารแต่ติด“BLACK LIST” ก็เล่นไม่ยาก ก่อนอื่นตรวจข้อมูลของตนก่อน แล้วดูว่ามีทางโต้แย้งข้อมูลอย่างไรได้บ้าง เช่น ชำระหนี้หมดแล้ว ฯลฯ เสร็จแล้วก็ไปยื่นเรื่องกู้พร้อมกับไปโต้แย้งข้อมูลที่เครดิตบูโร ตรงนี้ต้องกะเวลาให้ดี ให้โต้แย้งข้อมูลก่อนธนาคารตรวจสอบข้อมูลเล็กน้อย หรือจะโต้แย้งข้อมูลก่อน แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยไปขอกู้ก็ได้ เมื่อโต้แย้งข้อมูลแล้ว เครดิตบูโรจะต้องสอบสวนด้วยการแจ้งให้เจ้าหนี้ชี้แจง

ในระหว่างนี้มาตรา 19 กำหนดให้บันทึกข้อมูลไว้ตามที่มีการโต้แย้ง เช่น ถ้าโต้แย้งว่าชำระหนี้ครบแล้ว ก็ต้องบันทึกข้อมูลว่า บัญชีปิดแล้ว และเมื่อธนาคารที่ท่านขอกู้เข้าไปตรวจสอบข้อมูล(หลังจากท่านโต้แย้งข้อมูล 1 วัน) ก็จะพบข้อมูลว่าบัญชีหนี้ของท่านปิดแล้วหรือชำระครบถ้วนแล้ว

นี่เป็นวิธีการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายหาประโยชน์เข้าตัว ซึ่งว่าที่จริงแล้ววิธีการแบบนี้ก็ไม่ค่อยจะถูกต้องตามจรรยาบรรณเท่าไหร่ แต่ในเมื่อกฎหมายมุ่งหมายกดหัวประชาชนการหาช่องโหว่ก็น่าจะเป็นการแสวงหาความยุติธรรมมากกว่าการผิดจรรยาบรรณ

พรบ.การประกอบข้อมูลเครดิต มีเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยสร้างภาพว่า เครดิตบูโรเป็นคนกลางที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดโดยรัฐบาลตัวแทนระบบทุนนิยมเท่านั้น จึงไม่ต่างจากการกำหนดโดยฝ่ายเจ้าหนี้ฝ่ายเดียว

และในบทนำของ พรบ.ฉบับนี้ก็ระบุเองว่า มีบทบัญญัติบางส่วนเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิ แต่ในกระบวนการออกกฎหมาย ประชาชนไม่ได้รับรู้เลยจนกระทั่งออกมาเป็น พรบ.แล้ว ไม่มีแม้แต่การทำประชาพิจารณ์ และที่น่าตลกจนผมหัวเราะไม่ออกก็คือ กฎหมายฉบับนี้ บังคับให้นำข้อมูลส่วนตัวของประชาชนที่ไม่มีส่วนในการออกกฎหมายฉบับนี้ ไปให้บุคคลอื่นเก็บ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน แล้วก็บอกว่าเป็นการเก็บข้อมูลเครดิต ไม่ใช่เก็บข้อมูลส่วนตัว โดยไม่ได้พูดถึงเจ้าของข้อมูลเลย ทำเหมือนเจ้าของข้อมูลไม่ใช่คนหรือเป็นทาสที่นายทุนสั่งการได้ตามใจชอบ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือการฮั้วกันไม่ปล่อยกู้ให้กับคนที่ติด“BLACK LIST” โดยไม่คำนึงว่าหนี้ที่มีอยู่นั้นมีความชอบธรรมหรือไม่ และก็ไม่ได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเครดิต แต่เป็นเงื่อนไขข้อแรก หากติด“BLACK LIST” ก็ไม่รับพิจารณา เป็นการสร้างระบบใหม่ขึ้นมา

ระบบที่มีอำนาจในการบังคับมากกว่าศาลเสียอีก เพราะศาลจะบังคับให้เฉพาะหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ในระบบนี้หากคุณเป็นหนี้แล้วไม่จ่ายก็ไม่ต้องผุดต้องเกิดกันอีกแล้ว

อย่างเช่น หากคุณยังมีหนี้ค้างชำระอยู่ แต่หนี้นั้นขาดอายุความแล้ว หรือคุณชำระหนี้เช่าซื้อพร้อมค่าปรับจนครบแล้ว แต่เจ้าหนี้ของคุณบอกว่า คุณยังค้างค่าปรับอยู่ เพราะมีบางงวดที่คุณชำระไม่ตรงตามกำหนดและค่าปรับที่คุณจ่ายยังน้อยกว่าที่เขาคิด กรณีเช่นนี้หากฟ้องศาล

หากหนี้ขาดอายุความและคุณยื่นคำให้การสู้คดีว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว ศาลก็จะยกฟ้อง หรือในกรณีค้างค่าเช่าซื้อ หากศาลพิจารณาว่าค่างวดและค่าปรับที่คุณชำระพอสมควรแล้ว ศาลก็จะยกฟ้องเช่นกัน แต่ในระบบการฮั้วกันเช่นนี้ ไม่มีทางต่อรองกับเจ้าหนี้ได้เลย ถ้าต้องการปลด“BLACK LIST” ก็ต้องจ่ายตามความพอใจของเจ้าหนี้อย่างเดียวเท่านั้น

ล่าสุดธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง เหิมเกริมถึงขนาดส่งข้อมูลหนี้ที่ขาดอายุความไปกว่า 10 ปีแล้วซึ่งเกิดขึ้นและลูกหนี้ผิดนัดก่อนมีการตั้งบริษัทข้อมูลเครดิตเสียอีก เข้าไปเก็บในเครดิตบูโร และบรรดาสมาชิกเครดิตบูโรก็รวมหัวกันไม่ปล่อยกู้ แม้แต่จะซื้อรถยนต์เงินผ่อนยังไม่ผ่าน ทั้งๆที่มียอดหนี้เพียงสองหมื่นกว่า และเกิดขึ้นมา 10 กว่าปีแล้ว ระบบนี้จึงมีอำนาจบังคับในทางปฏิบัติเหนือกว่าอำนาจศาลเสียอีก

จากลักษณะการมัดมือชก บังคับให้ส่งข้อมูลส่วนตัวของคนที่ไม่มีส่วนรู้เห็นการออก พรบ.ประกอบข้อมูลเครดิต ให้เครดิตบูโรเก็บ การฮั้วกันไม่ปล่อยสินเชื่อคนที่ติด“BLACK LIST”

ผมจึงรู้สึกว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่อะไรเลย นอกจาก รอยสักทาสยุคดิจิตอล เท่านั้น
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25854 โดย น้ำมนต์
[b]อ่านบทความเกี่ยวกับ เรื่องเครดิตบรูโรแล้ว อยากตะโกนดังๆ ว่า

เมื่อไรประเทศไทย จะพัฒนาระบบการศึกษาเสียที.......

จนตอนนี้ เวียดนามนำหน้าเราไปหลายก้าวแล้ว.....

อีกหน่อย เขมร, ลาว, พม่า ก็คงอยู่ล้ำหน้าเราอีกเช่นกัน....

แต่คิดว่า....ไม่มีรัฐบาลไหนที่จะเข้ามาแก้ระบบการศึกษาไทยหรอก.....

เพราะมันต้องการให้พวกเราโง่.....ขอให้แมร่งไปนรกให้หมด....

มันคิดได้แค่ออก Lap top ให้นักเรียนอนุบาล ประถม.....

ฮ่วยยยยย....ขอบ่นหน่อย.....ไม่ได้มีอารมณ์นี้มานานนนมากแล้ว....

กรูล่ะเบื่อโคตรเลย......
:-( [/b]

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25859 โดย Lyncns31
อ้าว..อ้าว..ของขึ้นซะแล้ว... :upset: :upset:

ทำใจเหอะ..ทำใจ....ประเทศสารขัณฑ์ก็เงี้ย.....ทำไงล่ะ..

ฝรั่งก็เป็น...เปลี่ยนตำราทุกปี..เงินมันไม่เข้าใครออกใคร.สมัยเราเด็ก..ใช้กันจนขาดคามือ...

ต้องห่อปกอย่างดี..ส่งต่อกันหลายรุ่น..จะให้หนีไปไหนล่ะเรา...???

ทนๆไปก่อน...อามิตพุทธ...!!! อย่าเพิ่งโกรธไปเลย..555

................................... :pray: :pray: :pray:

และแล้ว...หนี้ข้าก็สิ้นสุด..อิสรภาพมาถึงแล้ว.

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25912 โดย ntps
วันนี้ (8 พ.ย. 2555) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานเปิดงานเสวนาพิเศษในหัวข้อ “รวมพลังกำลัง 2 เพื่อการศึกษาและกีฬา” ณ ห้องพระอุเทน 1 กรมสรรพากร ซึ่งมีผู้เสวนาประกอบด้วย ดร.สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และนายสุรพันธ์ ภาษิตนิรันดร์ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมฟังกว่า 500 คน



นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “รัฐบาล มีนโยบายส่งเสริมการศึกษาและการกีฬา และมีมาตรการภาษีให้สิทธิประโยชน์พิเศษแก่เอกชนที่ช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา ให้ใช้สิทธิได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาค ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เห็นชอบกับมาตรการนี้แล้ว สิทธิประโยชน์พิเศษนี้ จะมีผลกับการบริจาคในช่วงปี 2556 – 2558 และจะได้มีการทบทวนผลของมาตรการต่อไป


อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ที่บริจาคเพื่อการศึกษาสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าอยู่แล้ว แต่จะมีเงื่อนไขว่าจะต้องบริจาคเพื่อสร้างอาคาร จัดหาอุปกรณ์การศึกษา จัดหาครูอาจารย์หรือเป็นทุนนักเรียนเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงการบริจาคในกรณีอื่นๆ เช่น การบริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่ครู


ส่วนการบริจาคเพื่อการกีฬานั้น เดิมหักได้เท่าเดียว ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอให้ใช้สิทธิได้ 2 เท่า และตัดเงื่อนไขด้านวัตถุประสงค์การบริจาคออก เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและกระตุ้นให้มีการบริจาคมากขึ้น โดยบุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ ส่วนบริษัทจะสามารถบริจาคเงินหรือทรัพย์สินก็ได้ และตัดรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25927 โดย Mommyangel
วันนี้ ต่อเรื่องเงินได้อีก 2 ประเภท..

มาตรา 40(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปี อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

มาตรา 40(4) ได้แก่
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

(ง) เงินลดทุนของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน

(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มา หรือเงินที่กันไว้รวมกัน

(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเ็ป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน


แค่นี้..ก็...ง้ง....งงงง

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25928 โดย Mommyangel
ต่อที่เหลืออีก 4 มาตรา

มาตรา 40(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว


มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

มาตรา 40(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว

"เงินค่าภาษีอากรตามวรรค์หนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใด หรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น"

เงินได้หลัก มี 8 ประเภทตามที่กล่าวมา

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25950 โดย Mommyangel
วันนี้ มาต่อกันเลย...

แล้วพวกเรามีเงินได้ประเภทไหนกันบ้างละ ตั้งแต่ มาตรา 40(1) ถึง (8) แค่ให้จำก็ยากแล้ว...แต่อย่างน้อยเราก็รู้แล้วละว่า เรามีเงินได้จากอะไร...แต่อยู่วงเล็บอะไรนะ มีผลกับการใช้แบบที่จะยื่น ดังนี้

1. ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) เพียงวงเล็บเดียว...ใช้แบบ ภ.ง.ด.91

2. ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง (8) ใช้แบบ ภ.ง.ด.90

3. ผู้มีเงินได้ทั้ง (1) และ (2) ถึง (8) ใช้แบบ ภ.ง.ด.90

เรื่องการใช้แบบ...แค่นี้ก่อน


ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25956 โดย Mommyangel
คราวนี้เรารู้แล้วว่าเงินได้ของเราอยู่ มาตรา 40 วงเล็บไหน? เราก็มาดูเรื่องเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นกันนะคะ

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้าง หรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมด โดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือการกลับถิ่นเดิมเมื่อการรับจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสินห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง

(4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างเ็ป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

(5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ

(6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล

(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอช ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

(9) การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรื่อที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ

(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด

(12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด

(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์

(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม

(15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง

(16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ

(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง

(18) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย

(19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ

(20) (21) (22) ยกเลิก

(23) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม

(24) เิงินได้จากกองทุนรวม

(25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผุ้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

เห็นมั๊ย...เงินได้ที่ได้รับยกเว้น....มีตั้งเยอะ...

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, ntps, น้ำมนต์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25962 โดย Mommyangel
ตอนนี้เรารู้แล้วนะว่าเงินได้ของเราคือประเภทใด ได้รับยกเว้นหรือไม่ แล้วก็ใช้แบบอะไรในการเสียภาษี

คราวนี้ เรามาดูกันว่า เงินได้ของเรา จะหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่

มาตรา 42 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีสามี ภรรยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

มาตรา 42 ตรี เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีสามี ภรรยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง

มาตรา 43 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 12 ดูพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11)

มาตรา 44 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 12 ดูพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11)

มาตรา 45 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(7) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 12 ดูพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11)

มาตรา 46 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(8) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 12 ดูพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11)

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, ntps, น้ำมนต์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25963 โดย Mommyangel
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจาก
เงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)
พ.ศ. 2502




ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2502
เป็นปีที่ 14 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรเสียใหม่

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 และมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไป

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2496 และพระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2497

มาตรา 4 อัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป

มาตรา 5 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

(1) การให้เช่าทรัพย์สิน

(ก) ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี

(ข) ถ้าเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 20 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี

(ค) ถ้าเป็นที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรมในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 15 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี

(ง) ถ้าเป็นยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี

(จ) ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิมหรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี

เว้นแต่ผู้มีเงินได้ตาม (ก) ถึง (จ) จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์

(2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 20

(3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ร้อยละ 20

“มาตรา 6 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาดังต่อไปนี้

(1) เงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะให้หักค่าใช้จ่ายในการเหมาร้อยละ 60

(2) เงินได้จากวิชาชีพอิสระนอกจาก (1) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30

เว้นแต่ผู้มีเงินได้ตาม (1) หรือ (2) จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์

มาตรา 7 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนะโลมแต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้ ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฏีกา (ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2520 เป็นต้นไป)

มาตรา 8 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังต่อไปนี้
(1) การเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่าง ๆ ร้อยละ 65

(2) การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70

(3) การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่ มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล ร้อยละ 70

(4) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้หรือ หนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70

(5) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70

(6) การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70

(7) การทำกิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร หรือ การปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย ร้อยละ 70

(8) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย ร้อยละ 70

(9) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง ร้อยละ 70

(10) การทำวรรณกรรม ร้อยละ 75

(11) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 75

(12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาลเฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 75

(13) การโม่หรือย่อยหิน ร้อยละ 75

(14) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้นร้อยละ 80

(15) การขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 80

(16) การทำบล็อก และตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 80

(17) การทำเหมืองแร่ ร้อยละ 80

(18) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเครื่องดื่ม ร้อยละ 80

(19) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา ร้อยละ 80

(20) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 80

(21) การทำน้ำแข็ง ร้อยละ 80”

“(22) การทำกาว แป้งเปียกหรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง ร้อยละ 80”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 89) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2522 เป็นต้นไป)

“(23) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป ร้อยละ 80

(24) การซักรีด หรือย้อมสี ร้อยละ 80

(25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ร้อยละ 80

(26) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 80

(27) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากหรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ร้อยละ 85

(28) การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่น ที่มิใช่ยางสำเร็จรูป ร้อยละ 85

(29) การฟอกหนัง ร้อยละ 85

(30) การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล ร้อยละ 85

(31) การจับสัตว์น้ำ ร้อยละ 85

(32) การทำกิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 85

(33) การกลั่นหรือหีบน้ำมันร้อยละ 85

(34) การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ร้อยละ 85

(35) การทำกิจการโรงสีข้าว ร้อยละ 85

(36) การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ ร้อยละ 85

(37) การอบหรือบ่มใบยาสูบ ร้อยละ 85

(38) การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 85

(39) การฆ่าสัตส์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 85”

“(40) การทำนาเหลือ ร้อยละ 85”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 89) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2522 เป็นต้นไป)

“(41) การขายเรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ ร้อยละ 85

(42) การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 61”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 131) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2525 เป็นต้นไป)

“(43) การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ

(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60

(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40

การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 134) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2525 เป็นต้นไป)

เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมิน และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่า มีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2520 เป็นต้นไป)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.120/2545 )

“มาตรา 8 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่10) พ.ศ. 2496 ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2506 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
(แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 155 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2515 เป็นต้นไป)

มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ส. ธนะรัตน์
นายกรัฐมนตรี

[/color]

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, ntps

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #25964 โดย Mommyangel
เดี๋ยวว่างๆ จะมาต่อเรื่องค่าลดหย่อนนะคะ..

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: ntps

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26005 โดย ntps
ขออนุญาติคั่นเวลา ฝากข่าวเกี่ยวกับแบงค์ ๆ นะค่ะ


คลังสั่ง2แบงก์รัฐแก้ตามแผนธปท. "เคลียร์หนี้-ปล่อยกู้-บริหารเสี่ยง"ก่อนใส่เงินเพิ่มทุน

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้วางเงื่อนไขการเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในปีนี้ว่า แต่ละธนาคารจะต้องจัดทำแผนแก้ปัญหาหนี้ ปรับปรุงกลไกการปล่อยสินเชื่อ ตลอดจนแผนบริหารความเสี่ยงตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เสร็จก่อนคลังจึงจะใส่เงินเพิ่มทุนให้

ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประสบปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นสูงจนทำให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ลดลงไปต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และอยู่ระหว่างให้คลังพิจารณาเพิ่มทุน ได้แก่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ซึ่งกรณีไอแบงก์นั้นทางธนาคารยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในไม่เกินสิ้นปีนี้

นายอารีพงศ์กล่าวว่า ในกรณี ธพว.แม้จะประสบปัญหา แต่กลไกการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังสามารถเดินหน้าไปได้ โดยมีการหันไปเพิ่มบทบาทการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มากขึ้น ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ธพว.ก็ต้องเร่งแก้ไข แต่ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ปัญหาได้เห็นผลทันที

"แบงก์รัฐแต่ละแห่งต้องเดินไปตามบทบาทของตัวเอง ซึ่งก็มีกำหนดไว้อยู่แล้ว หลังจากนี้ ต้องดูเรื่องความคล่องตัวของการปล่อยสินเชื่อที่ต้องมีมากขึ้น ต้องปรับเข้าหาโปรไฟล์ของผู้กู้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้มีอาชีพอิสระต่าง ๆ" นายอารีพงศ์กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในเร็ว ๆ นี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะประชุมร่วมกับทางไอแบงก์ เพื่อพิจารณาแผนที่ธนาคารไปจัดทำมา ซึ่งคงต้องพิจารณาร่วมกันว่าปัญหามีอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร ทั้งเรื่องเอ็นพีแอล และการบริหารงานที่เป็นปัญหา

ส่วน ธพว.นั้นต้องรอให้คณะกรรมการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์ฟื้นฟูกิจการ ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร เป็นประธาน สรุปแผนทั้งหมดตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ 90 วันเรียบร้อยก่อน จากนั้นจะมีการประชุมร่วมกับทาง สศค.เพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป

ล่าสุด ธพว.มีระดับบีไอเอสลดลงเหลือที่ประมาณ 5% โดยเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท จากช่วงต้นปีที่มีประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าถึงสิ้นปีนี้อาจจะสูงกว่า 3 หมื่นล้านบาท หากไม่เร่งดำเนินการแก้ปัญหาใด ๆ ส่วนไอแบงก์มีบีไอเอสลดต่ำลงไปเหลือประมาณ 4% เนื่องจากต้องตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทางธนาคารกำลังเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้กลับมาเป็นหนี้ดี

สำหรับปีงบประมาณ 2556 คลังได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับใช้เพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวม 3 แห่ง เป็นเงินรวม 1,755 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้รับจัดสรร 750 ล้านบาท 2. ธพว.ได้รับจัดสรร 555 ล้านบาท และ 3.ไอแบงก์ได้รับจัดสรร 445 ล้านบาท

ขณะที่นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. คาดว่าในปีนี้จะมีการเพิ่มทุนประมาณ 2,200 ล้านบาท โดยเป็นการใช้เงินงบประมาณปี 2556 จำนวน 750 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินปันผลของธนาคารปีก่อน ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าวจะทำให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) เพิ่มขึ้นเป็น 10.5% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 9.66%

"การเพิ่มทุนอีก 2,200 ล้านบาทจะเพียงพอรองรับการเติบโตของ ธ.ก.ส. เพราะจะปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า และจะทำให้บีไอเอสเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 10%" นายลักษณ์กล่าว

อย่างไรก็ดี ธนาคารจะต้องเสนอแผนการขยายทุนเรือนหุ้นจาก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 6 หมื่นล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งก่อน โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จะเป็นผู้เสนอในเร็ว ๆ นี้

หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอแล้วมีข้อทักท้วง ซึ่งต่อมา สคร.ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นที่เข้าใจถึงความจำเป็นร่วมกันแล้ว

นายลักษณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ ผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ในรอบ 7 เดือน ของปีบัญชี 2555 (เม.ย.-ต.ค. 2555) มีกำไรสุทธิ 5,015 ล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ 74,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.66% ทำให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ 850,887 ล้านบาท ขณะที่ยอดเงินฝากอยู่ที่ 944,000 ล้านบาท สินทรัพย์รวมอยู่ที่ 1,125,280 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5.37%

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานดังกล่าว แยกต่างหากจากการปล่อยสินเชื่อรักษาเสถียรภาพราคาผลผลิต ที่มีการแยกบัญชีตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 364,737 ล้านบาท

ผู้จัดการ ธ.ก.ส.คาดว่า ปีนี้ ธนาคารน่าจะทำกำไรสุทธิได้ประมาณ 6,500 ล้านบาท และปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขณะนี้ปล่อยไปกว่า 7 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยทั้งปีน่าจะปล่อยได้ 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ผลจากโครงการพักหนี้อาจทำให้ความสามารถในการทำกำไร (ROA) ลดลงไปประมาณ 0.6-0.7% จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.81%

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26008 โดย ntps
พี่ลีบอกว่า จะกลับมาคุยเรื่อง ลดหย่อน แก้วจ๋าอ่านเจอข่าว โปรโมชั่นเรื่อง

ลดหย่อนภาษี ขอนำเสนอก่อนพี่ลีจะลงรายละเอียดนะค่ะ



เหลือ อีกแค่ 2 เดือนก็จะสิ้นปีมังกรแล้ว บรรดานักลงทุนต่าง ๆ ที่หวังประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ต้องเล็งหาสินทรัพย์ที่จะลงทุนกัน บ้างแล้ว ช่วงนี้มีหลายค่ายขนสินค้ามาให้เลือกลงทุนกันไม่น้อย ทั้งในรูปประกันชีวิต หรือเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมลงทุนหุ้นระยะยาว (LTF)

ค่ายทิสโก้ส่งโปรโมชั่นแรง ท้ายปีมาให้เลือกลงทุนเหมือนกัน "ทิสโก้ คอมโบ้ เงินฝาก 10%" เริ่มแล้ววันนี้ถึงสิ้นปี จัดเป็นแพ็กเกจลงทุนประหยัดภาษี ได้แก่ กองทุน LTF/RMF และประกันชีวิต รวมกับผลิตภัณฑ์เงินฝากของทิสโก้ มี 3 แพ็กเกจดังนี้

แพ็กเกจ "คอมโบ้ 1" เมื่อลูกค้าลงทุนในกองทุน LTF หรือ RMF จำนวน 1 แสนบาท และซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เบี้ยประกัน 49,000 บาท จะได้รับสิทธิ์เงินฝากประจำคอมโบ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี ในวงเงิน 2 แสนบาท

แพ็กเกจ "คอมโบ้ 2" ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เบี้ยประกัน 49,000 บาทเพียงอย่างเดียว จะได้รับสิทธิ์เงินฝากประจำ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี ในวงเงิน 2 แสนบาท

แพ็กเกจสุดท้าย "คอมโบ้ 3" ลงทุนในกองทุนรวม LTF/RMF จำนวน 1 แสนบาท เพียงอย่างเดียว จะได้รับสิทธิ์เงินฝากประจำ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ในวงเงิน 2 แสนบาท ซึ่งลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์คุ้มค่าถึง 2 ต่อ ทั้งการประหยัดภาษีและรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 10% เป็นผลตอบแทนสูงสุดในตลาดช่วงโค้งท้ายปีนี้ สนใจติดต่อได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา

มาที่ฝั่งแบงก์ออมสินมาแรง ผ่านสาขากว่า 900 แห่งทั่วประเทศ ด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษ "เทศกาลลดหย่อนภาษี กับเงินฝาก...คุ้มครองชีวิต" ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต หรือเงินฝากคุ้มครองชีวิต 11 รูปแบบให้เลือกช็อปปิ้ง ได้แก่ ออมสินคู่ขวัญ (เฉพาะระยะเวลา 10 ปี คุ้มครอง 15 ปี), ออมสินสบายใจ, ออมสินเงินได้รายเดือน, ออมสินเกษียณสุข, ออมสินสะสมทรัพย์ 50/10, ออมสินทรัพย์อนันต์ 99, ออมสินบำนาญ 90/60, ออมสินคู่ใจ 10/10, ออมสินสุขใจ 12/6, ออมสิน 10/1 และออมสินเพื่อบัณฑิต แต่ละรูปแบบล้วนให้สิทธิประโยชน์คุ้มครองชีวิต เงินปันผลและยังหักลดหย่อนภาษีได้อีก

"ในช่วงระหว่างปีที่ผ่านมา บางคนอาจยังไม่วางแผนว่าจะเปิดกรมธรรม์เพื่อนำไปหักลดหย่อนภาษี แต่เมื่อเข้าช่วงปลายปีอย่างนี้คงจะมาดูรายได้กับรายจ่าย เพื่อเตรียมยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีบุคคลธรรมดา จะทำให้รู้ว่าต้องหารายการที่จะช่วยลดหย่อนภาษี และเงินออมคุ้มครองชีวิตจะเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่สำคัญ" นางพรรณี สถาวโรดม ประธานกรรมการธนาคารออมสินระบุ

จากนี้จะยังมีอีกหลายค่ายที่ขนมานำเสนออีกเพียบ ต้องติดตามกันให้ดี

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, Lyncns31, น้ำมนต์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 1.557 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena