ถูกพิพากษาให้ล้มละลาย...ต้องทำอย่างไร? โดยคุณ pikolo

12 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #2546 โดย 0834368962
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
หมวด 1 กระบวนพิจารณาตั้งแต่ขอให้ล้มละลาย จนถึงปลดจากล้มละลาย
ส่วนที่ 1 การขอให้ล้มละลายและการสั่งพิทักษ์ทรัพย์

มาตรา 7 ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ถ้า ลูกหนี้นั้นมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ ว่าด้วยตนเอง หรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภาย ในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น
มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(1) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอก ราชอาณาจักร
(2) ถ้าลูกหนี้โอน หรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนา ลวง หรือโดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
(3) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตน หรือก่อให้เกิดทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใดขึ้นเหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการ ให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
(4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ เพื่อประวิงการ ชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคง อยู่นอกราชอาณาจักร
ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป หรือโดยวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ
ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล
ง. ยอมตนให้ต้องคำพิพากษา ซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควร ต้องชำระ
(5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้
(6) ถ้าลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใด ๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
(7) ถ้าลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่า ไม่สามารถ ชำระหนี้ได้
(8) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อย กว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันและลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว หรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็น นิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึง กำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
มาตรา 10 ภายใต้บังคับ มาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ
(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วจะยอมสละหลักประกันเพื่อ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับ จำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เป็น จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
*หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉ.5) พ.ศ.2542
มาตรา 11 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาล เป็นจำนวนห้าพันบาทในขณะยื่นคำฟ้องคดีล้มละลาย และจะถอนคำฟ้อง นั้นไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
ศาลมีอำนาจเรียกให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ได้ตามที่เห็นสมควร
*หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉ.5) พ.ศ.2542
มาตรา 12 ถ้ามีคำฟ้องหลายรายให้ลูกหนี้คนเดียวกันล้มละลายก็ดี หรือ ให้ลูกหนี้ร่วมกันแต่ละคนล้มละลายก็ดี ศาลมีอำนาจสั่งให้รวมการพิจารณาได้
มาตรา 13 เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว ให้กำหนดวันนั่ง พิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยัง ลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน
มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาล ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 9 หรือ มาตรา 10 ถ้า ศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแต่ ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
มาตรา 15 ตราบใดที่ลูกหนี้ยังมิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดจะฟ้องลูกหนี้นั้นเป็นคดีล้มละลายอีกก็ได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งในคดี หนึ่งคดีใดให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้จำหน่ายคดีล้มละลายซึ่ง เจ้าหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนั้น
มาตรา 16 เมื่อศาลได้รับฟ้องคดีล้มละลายแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มี คำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง และโจทก์นำสืบได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้
ก. ออกไปหรือกำลังออกไปนอกเขตอำนาจศาล หรือได้ออกไปก่อนแล้ว และคงอยู่นอกเขตอำนาจศาล โดยเจตนาที่จะป้องกันหรือประวิงมิให้เจ้าหนี้ ได้รับการชำระหนี้
ข. ปกปิด ซุกซ่อน โอน ขาย จำหน่าย หรือยักย้ายทรัพย์สินดวงตรา สมุดบัญชี หรือเอกสาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในการดำเนินคดีล้มละลายให้พ้นอำนาจศาล หรือกำลังจะกระทำการดั่งกล่าวนั้น
ค. กระทำหรือกำลังจะกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ หรือกระทำหรือกำลัง จะกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งมีโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลมีอำนาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้
(1) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปในเคหะสถาน หรือที่ทำการ ของลูกหนี้ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจสอบ ทรัพย์สินดวงตรา สมุดบัญชีหรือเอกสารของลูกหนี้ และให้มีอำนาจสอบสวน ลูกหนี้หรือออกหมายเรียกลูกหนี้มาสอบสวนได้
(2) ให้ลูกหนี้ให้ประกันจนพอใจศาลว่า ลูกหนี้จะไม่หลบหนีไปนอก อำนาจศาลและจะมาศาลทุกคราวที่ศาลสั่ง ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถให้ประกัน ศาลมีอำนาจสั่งขังลูกหนี้ได้มีกำหนดไม่เกินครั้งละหนึ่งเดือน แต่เมื่อรวมกัน แล้วต้องไม่เกินหกเดือน
(3) ออกหมายจับลูกหนี้มาขังไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลาย หรือจนกว่าศาลจะยกฟ้อง หรือจนกว่าลูกหนี้จะให้ประกัน จนพอใจศาล
มาตรา 17 ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที
ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูล ก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว แต่ก่อนจะ สั่งดั่งว่านี้ จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ให้ประกันค่าเสียหายของลูกหนี้ตามจำนวน ที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา 18 ถ้าคำสั่งตาม มาตรา 16 หรือ มาตรา 17 นั้น มีเหตุอัน สมควรจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยศาลเห็นเองก็ดี หรือลูกหนี้ได้มีคำขอขึ้น มาก็ดีศาลมีอำนาจถอนคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา 19 คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือเสมือนว่า เป็นหมายของศาลให้เจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และ บรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่ง ได้ในคดีล้มละลาย
ในการยึดทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้ หรือที่ลูกหนี้ได้ครอบครองอยู่ และมีอำนาจหักพังเพื่อ เข้าไปในสถานนั้น ๆ รวมทั้งเปิดตู้นิรภัย ตู้หรือที่เก็บของอื่น ๆ ตามที่จำเป็น ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ยึดไว้ตามมาตรานี้ห้ามมิให้ขายจนกว่าศาลจะได้มีคำ พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เว้นแต่เป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะ เป็นการเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สินนั้น
มาตรา 20 เมื่อศาลเห็นเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีทรัพย์สินของลูกหนี้ ซุกซ่อนอยู่ในเรือนโรง เคหะสถาน หรือสถานที่อื่นอันมิใช่เป็นของลูกหนี้ ศาลมีอำนาจออกหมายค้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงาน อื่นของศาลให้มีอำนาจดำเนินการตามข้อความในหมายนั้น
มาตรา 21 ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้หน่วยงานหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับไปรษณีย์โทรเลขหรือการสื่อสารอื่นใด ส่งโทรเลข ไปรษณียภัณฑ์ จดหมาย หนังสือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือข้อมูลทางการสื่อสารอื่นใด ที่มีถึงลูกหนี้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หมายเหตุ :- มาตรา 21 แก้ไขโดยพรบ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547
มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) จัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้ กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่ง ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้
มาตรา 23 เมื่อลูกหนี้ได้รับทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอันเกี่ยวกับ ทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น
มาตรา 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 25 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจ งดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา 26 ตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้า หนี้จะฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ได้ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติในมาตราก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 27 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้จะขอ รับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แม้ จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้ว แต่คดี ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาก็ตาม
มาตรา 28 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โฆษณาคำสั่งนั้นในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่ง ฉบับ ในคำโฆษณานั้นให้แสดงการขอให้ล้มละลายวันที่ศาลมีคำสั่ง ชื่อ ตำบล ที่อยู่ และอาชีพของลูกหนี้
ในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
มาตรา 29 ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหนี้แกล้งให้ศาลใช้อำนาจดั่งกล่าว ไว้ใน มาตรา 16 หรือ 17 เมื่อลูกหนี้มีคำขอโดยทำเป็นคำร้องศาลมีอำนาจ สั่งให้เจ้าหนี้ชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่เห็นสมควรให้ลูกหนี้ ในกรณีเช่นนี้ หากเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับเจ้าหนี้นั้นเสมือนหนึ่งว่า เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา

กรรมการชมรมไม่ใช้เทวดา
ชี้ได้แต่เส้นทาง สมาชิกต้องกระทำเอง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #2547 โดย 0834368962
ส่วนที่ 2 คำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
มาตรา 30 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ ดั่งต่อไปนี้
(1) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้นลูกหนี้ ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ถ้ามีให้การระบุชื่อและตำบลที่อยู่ของห้าง หุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(2) ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้น ลูกหนี้ต้องไป สาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์ สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์ แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และ หนี้สิน ชื่อตำบลที่อยู่ และอาชีพของเจ้าหนี้ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกัน แก่เจ้าหนี้และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นประกันรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน อันจะตกได้แก่ตนในภายหน้าทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคล อื่นซึ่งอยู่ในความยึดถือของตน
ระยะเวลาตาม มาตรา นี้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจขยายให้ได้ตามสมควร
ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถทำคำชี้แจงตาม มาตรา นี้ได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทำแทน หรือช่วยลูกหนี้ในการทำคำชี้แจงแล้วแต่กรณี และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจจ้างบุคคลอื่นเข้าช่วยตามที่เห็นจำเป็น โดยคิดหัก ค่าใช้จ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

กรรมการชมรมไม่ใช้เทวดา
ชี้ได้แต่เส้นทาง สมาชิกต้องกระทำเอง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #2548 โดย 0834368962
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติคือ...
- เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีหมายเรียกหรือหมายนัดให้ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- นำหมายนัดไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกำหนดวันเวลาที่ระบุในหมายโดยเคร่งครัด
- นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้โดยมีรูปกำกับหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วยทุกครั้ง

สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้...
1. ต้องไปสาบานตัวและให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินพร้อมทำบัญชีแสดงกิจการและทรัพย์สิน
2. ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี ดวงตราห้างฯหรือบริษัทและเอกสารต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
3. ขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการ และทรัพย์สินหรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดให้หรือขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายภายในเวลาที่กำหนด
4. ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งเมื่อได้รับแจ้งกำหนดวันนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. ไปให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเมื่อได้รับแจ้งวันกำหนดนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
6. ทำบัญชีรับ-จ่ายทุก 6 เดือน นับแต่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกครั้งเมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
7. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรต้องขออนุญาตจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามความจำเป็นและสมควรแก่ฐานะ
8. ขอค่าเลี้ยงชีพจากเงินได้มาในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามความจำเป็นและสมควร
9. อาจขอให้ปลดตนเองจากการล้มละลายหรือยกเลิกการล้มละลายตามวิธีการและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
10. รับเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือคืนเมื่อหลุดพ้นจากการล้มละลาย

กรรมการชมรมไม่ใช้เทวดา
ชี้ได้แต่เส้นทาง สมาชิกต้องกระทำเอง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #2549 โดย 0834368962
ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการล้มละลายได้อย่างไร?
1. ขอประนอมหนี้
ลูกหนี้อาจขอประนอมหนี้ได้ 2 ช่วง คือ
1.1 ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
ลูกหนี้อาจยื่นคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินหรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดให้ ซึ่งคำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สินและรายละเอียดแห่งหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี)โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคำขอนั้นหรือไม่และเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้แล้วก็ยังต้องให้ศาลเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้นั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
- กรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ ศาลจะพิพากษาให้ ลูกหนี้ล้มละลาย และแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเพื่อดำเนินการ ตาม อำนาจหน้าที่ต่อไป
- กรณีที่ลูกหนี้ไม่ไปให้ศาลไต่สวน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแถลงให้ศาลออกหมายจับลูกหนี้และขอให้ศาลงดการไต่สวนโดยเปิดเผย โดยถือว่าลูกหนี้ไม่ติดใจในการประนอมหนี้แล้วพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไป
- เมื่อลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้หรือผิดนัด ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
1.2 การประนอมหนี้หลังล้มละลาย
ลูกหนี้มีสิทธิขอประนอมหนี้ภายหลังที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วได้อีก แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้วห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
- กรณีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ศาลจะสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน
- กรณีที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิก การประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

2. การปลดจากล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว บุคคลล้มละลายอาจได้รับการปลดจากล้มละลายได้ 2 กรณี
2.1 ศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายตามมาตรา 71 ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า
1) ได้แบ่งทรัพย์สินชำระให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และ
2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
2.2 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 81/1 กฎหมายบัญญัติให้บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่
1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้วและยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็น 5 ปี
2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม(3)ให้ ขยายระยะเวลาเป็น 10 ปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนด 10 ปี ตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้
3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนให้ขยายระยะเวลาเป็น 10 ปี
ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนี่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว

ข้อพึงระวังของลูกหนี้...
บุคคลล้มละลายที่มิได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวม ทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลจะมีคำสั่งหยุดนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอหรือวันที่ศาลมีคำสั่ง จนถึงวันที่ศาลกำหนดโดยจะกำหนดเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้เมื่อรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกิน 2 ปี

3. ยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอตามมาตรา 135 (1) ถึง (4) ต่อศาลว่ามีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผลเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายหรือวางเงินประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้อง และไม่มีเจ้าหนี้อื่นที่สามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าวแล้วภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขัดขืนหรือละเลยนั้น
(2) ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย
(3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
ถ้าลูกหนี้ปฏิเสธหนี้สินรายใด แต่ลูกหนี้ยอมทำสัญญาและให้ประกันต่อศาลว่าจะใช้เงินให้เต็มจำนวนกับค่าธรรมเนียมด้วยก็ดีหรือถ้าหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ แต่ลูกหนี้ได้นำเงินเต็มจำนวนมาวางต่อศาลก็ดี ให้ถือว่าหนี้สินรายนั้นได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
(4) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุดหรือไม่มี ทรัพย์สินทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนดเวลา 10 ปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย

กรรมการชมรมไม่ใช้เทวดา
ชี้ได้แต่เส้นทาง สมาชิกต้องกระทำเอง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.812 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena