สารพันสรรสาระ และข่าวสารเพื่อเพื่อนชาวหนี้ ปี 55-56

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26785 โดย Champcyber99




เป็นนายทุนมันดีแบบนี้นี้เองมีได้กับได้
แล้วคนที่ไม่รู้เรื่อง มีแต่กู้กับกู้ แล้วในที่สุด คดีก็มีมากถึงต้องเปิดศาลวันเสาร์เลยที่เดียว
รู้ก่อนจบก่อนแล้วบอกต่อ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26787 โดย Mommyangel
วันนี้มาถึงค่าลดหย่อน ข้อที่ 7 เบี้ยประกันชีวิต

7.1 การลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่มี่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ เฉพาะกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่สามารถยกเว้นภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยดังกล่้าวได้

(2) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

(ก) กรณีได้รับหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือ

(ข) กรณีได้รับหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ตามช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนด นอกจาก (ก) เช่น 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้่ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน หรือ

(ค) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ที่ไม่เป็นตาม (ก) หรือ (ข) ผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว


ทั้งนี้ เงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตาม (ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้รับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแล้ว แต่ผู้เอาประกันยังคงได้รับความคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประกันชีวิตหรือเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

ความใน (1) และ (2) ให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

7.2 การได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

(2) กรณี สามีหรือภริยามีเงินไ้ด้ฝ่ายเดียว ให้ได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษีสำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท


ในกรณี สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยา ฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

(3) ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้

(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับหักลดหย่อนและยกเ้ว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้สามีและภริยา ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26788 โดย Mommyangel
เบี้ยประกันชีวิต ยังมีอีก...ต่อนะคะ

7.3 การได้รับลดหย่อนและยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม หลักฐานตามวรรคหนึ่ง ต้องระยุจำนวนเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน

กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์หลักฐานตามวรรคหนึ่งต้องระบุเงื่อนไขตาม 7.1 (2) ด้วย

ความในวรรคสองและวรรคสาม ให้ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 เป็นต้นไป

7.4 กรณีผู้มีเงินได้ใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 7.2 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 7.1 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 7.2 และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้ เพื่อลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวก็อยู่ในข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26793 โดย Lyncns31

chaowalert เขียน:





เป็นนายทุนมันดีแบบนี้นี้เองมีได้กับได้
แล้วคนที่ไม่รู้เรื่อง มีแต่กู้กับกู้ แล้วในที่สุด คดีก็มีมากถึงต้องเปิดศาลวันเสาร์เลยที่เดียว
รู้ก่อนจบก่อนแล้วบอกต่อ


ไอ้ที่ตาย ก็ตายไป ที่เกิดใหม่ก็มากเหลือ...ทำยังไงให้คนรู้ทัน มีสติ ประเมินตน

นี่แหละเรื่องใหญ่ที่สุด..มิพักต้องกล่าวถึงหนทางแก้ ให้ไป นโยบายก็พร่ำไป ปฎิบัติอีกเรื่องนึง

เตรียมรับน้องกันเถอะ...จะมาอีกไม่ขาดสาย..

และแล้ว...หนี้ข้าก็สิ้นสุด..อิสรภาพมาถึงแล้ว.
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, Mommyangel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26821 โดย Wanlop
Replied by Wanlop on topic พรบ.บัครเครดิต
:upset:

วันนี้สภาฯได้เริ่มพิจารณาพรบ.บัตรเครดิตแล้ว จะทำให้มีการกำกับดูแลที่ดีขึ้น แต่คำถามที่สำคัญคือ สุดท้ายรัฐบาลจะใช้กฎหมายปกป้องสิทธิของผู้ประกอบการ หรือจะใช้กฎหมายปกป้องผู้ใช้บัตรเครดิตด้วย ข้อเท็จจริงคือคนรวยใช้บัตรเครดิตแล้วได้กำไร เพราะชำระหนี้เต็มจำนวนแล้วไม่มีภาระดอกเบี้ย แต่ได้ความสะดวก และได้ของแถมจากการสะสมแต้ม ส่วนคนจนทีใช้บัตรในทางที่ไม่ควร คือใช้เพื่อกู้ยืมเงิน ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่หนักม
ากและไม่เป็นธรรม เพราะจ่ายเงินต้นไปเท่าไรก็ตาม ตราบใดที่มีหนี้คงค้าง ก็ยังต้องชำระดอกจากวงเงินเดิม ซึ่งเป็นดอกที่แพงมากอีกต่างหาก

หรือปัญหาว่าคนๆหนึ่งมีบัตรได้ ห้าใบหกใบได้อย่างไร ทั้งๆที่เงินเดือนมีนิดเดียว

หรือการขายข้อมูลเจ้าของบัตรให้บริษัทต่างๆไปใช้ในทางพานิชย์

กฎหมายฉบับร่างของรัฐบาลไม่ได้ตอบโจทย์เหล่านี้ แต่การเสนอร่างกฎหมายก็ทำให้เราสามารถขอเติมประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์กับชาวบ้านได้ ขอให้เสียงข้างมากในสภาเปิดใจให้กว้างในการพิจารณาข้อเสนอของฝ่ายค้่านเท่านั้น เพราะหลายครั้งจริงๆเราได้'ค้าน แต่เสนอในสิ่งที่เราเชื่อว่าจะทำให้กฎหมายสามารถคุ้มครองประชาชนได้อย่างแท้จริง

ตรงนี้ผมได้สอบถามคุณกร ผ่าน Facebook ว่า พรบ.ทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมไปถึงไหนแล้ว ขยันๆสอบถามในสภาให้หน่อย

www.facebook.com/KornChatikavanijDP?fref=ts
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Champcyber99, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26822 โดย Champcyber99

สภารับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต วาระ 1
ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ที่ประชุมฯพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ...

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเสนอหลักการและเหตุผลด้วยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ มีบทบัญญัติที่แตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ฉบับที่ ครม. เสนอ คือ ในมาตรา 14วรรคสอง ระบุว่า ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายอื่นใด ให้คำนวณจากยอดต้นคงค้างที่ผู้ถือบัตรยังชำระไม่ครบจากยอดเงินต้นที่จ่ายผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาการติดหนี้บัตรเครดิตจำนวนมาก ทั้งนี้ถือประเด็นนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค นอกจากนั้นแล้วหากร่างกฎหมายดังกล่าวสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ และแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตได้

โดยที่ประชุมมีมติรับหลักการ ร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ...ในวาระที่ 1 ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 330 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 35 คน โดยใช้ร่างครม.เป็นหลัก จากนั้นนายวิสุทธิ์ ไชยณรึณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดประชุม ในเวลา 19.50น.
ฟังได้ที่

ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26836 โดย Mommyangel
ต่อ...เบี้ยประกัน..

7.5 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป

(2) เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไ้ว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร

(3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน

(4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ


ยังมีต่อ....

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26837 โดย Mommyangel
เบี้ยประกัน.....ต่อ...

7.6 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผุ้มีเงินได้ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และให้ยกเว้นเงินได้เพิ่มขึ้นอีกตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

(1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

กรณี ที่ผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน

(2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตแบบนำนาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของสามีหรือภริยา ซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

กรณี สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน

ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ดังกล่าว จะต้องใช้สิทธิในการหัดลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น เต็มจำนวน เงิน 100,000 บาท ก่อน ไม่ว่าจะมีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่นหรือไม่ก็ตาม แล้วนำจำนวนเงินที่เหลือ หลังหักเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น กรอกในช่องเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

7.7 การได้รับยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัย ซึ่งได้รับรองว่า เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ


7.8 กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 7.6 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 7.5 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 7.6 และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงสันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

จบเรื่องค่าเบี้ยประกัน...

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26838 โดย Mommyangel
ค่าลดหย่อน ข้อ 8. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ให้แสดงหักจากเงินได้)


ในกรณีคู่สมรสของผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมฯ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ตามเกณฑ์เดียวกัน

ข้อนี้ สั้นดีเนอะ....

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26839 โดย Mommyangel
สองข้อต่อไปนี้....หิน....ต้องระวังให้มาก

ข้อ 9. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RTF

ข้อ 10. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF




ตอนซื้อง่าย...แต่ตอนขาย...ยากคะ...

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26890 โดย Champcyber99
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บาแบกหาม
พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๑ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใด ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ ให้กลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร


มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.” ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.
ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.
รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการ กอ.รมน. มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการกำหนด
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนก็ได้

มาตรา ๖ ให้ กอ.รมน. เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง

มาตรา ๗ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๒) อำนวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น
(๓) อำนวยการ ประสานงาน และเสริมการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตาม (๒) ในการนี้ คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ กอ.รมน. มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดด้วยก็ได้
(๔) เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม
(๕) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๘ นอกจากการมอบอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นปฏิบัติแทนก็ได้

มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ตามพระราชบัญญัตินี้ให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน.ตามที่ผู้อำนวยการร้องขอและให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกันของหน่วยงานของรัฐนั้น จัดให้หน่วยงานของรัฐที่จัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ยัง กอ.รมน. มีอัตรากำลังแทนตามความจำเป็นแต่ไม่เกินจำนวนอัตรากำลังที่จัดส่งไป

มาตรา ๑๐ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรคณะหนึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลางและอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการและเลขาธิการ กอ.รมน. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการใน กอ.รมน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับ ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อ กอ.รมน. ในการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. รวมตลอดทั้งอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ กอ.รมน. กอ.รมน.ภาค และ กอ.รมน.จังหวัด
(๓) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลัง การพัสดุและการจัดการทรัพย์สินของ กอ.รมน.
(๔) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รมน. โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างน้อยให้ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหรือมีประสบการณ์ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี การรักษาความมั่นคงของรัฐ สื่อมวลชนและมีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น และให้คำปรึกษาตามที่คณะกรรมการหารือ
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๑๑ เมื่อมีกรณีจำเป็นในอันที่จะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพภาคใด คณะกรรมการโดยคำเสนอแนะของผู้อำนวยการจะมีมติให้กองทัพภาคนั้นจัดให้มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.ภาค” ก็ได้
ให้ กอ.รมน.ภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.ภาค” มีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพภาค รวมตลอดทั้งข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในเขตพื้นที่ให้มาปฏิบัติงานประจำหรือเป็นครั้งคราวใน กอ.รมน.ภาค ได้ตามที่ ผอ.รมน.ภาค เสนอ
ผอ.รมน.ภาค เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานใน กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.ภาค
การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.ภาค ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนดตามข้อเสนอของ ผอ.รมน. ภาค
ให้ กอ.รมน. และกองทัพภาคพิจารณาให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณและทรัพย์สิน ในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาค ตามที่ ผอ.รมน.ภาค ร้องขอ และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับ กอ.รมน.ภาค ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น ผอ.รมน.ภาค อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาคขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่เกินห้าสิบคนโดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น และให้คำปรึกษาตามที่ ผอ.รมน.ภาค ร้องขอ

มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ตามมาตรา ๑๑ ผอ.รมน.ภาค โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้อำนวยการจะตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จังหวัด” ขึ้นในจังหวัดที่อยู่ในเขตของกองทัพภาคเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค ก็ได้ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้นตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.จังหวัด” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.จังหวัด
การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.จังหวัด ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนด
ให้ กอ.รมน. และจังหวัดพิจารณาให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณและทรัพย์สินในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.จังหวัด ตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับ กอ.รมน.จังหวัด ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น ผอ.รมน.จังหวัด อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัดขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่เกินสามสิบคนโดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น และให้คำปรึกษาตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ

หมวด ๒
ภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร


มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป
ในกรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และให้นายกรัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว

มาตรา ๑๖ ในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๕ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๕
(๒) จัดทำแผนการดำเนินการตาม (๑) เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ
(๓) กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการหรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๒)
(๔) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด
ในการจัดทำแผนตาม (๒) ให้ กอ.รมน. ประชุมหารือกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย และในการนี้ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุในแต่ละสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ในกรณีที่มีคำสั่งตาม (๔) แล้ว ให้ กอ.รมน. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่นั้นไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจหรือหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐใดให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ใน กอ.รมน.เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนหรือมีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วย

มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา ๑๖ ในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้
โครงสร้าง อัตรากำลัง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามหรือบังคับบัญชาศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับกับศูนย์หรือหน่วยงานตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม โดยให้อำนาจของผู้อำนวยการเป็นอำนาจของผู้อำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงานนั้น

มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา ๑๕ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด
(๒) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
(๓) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด
(๔) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน
(๕) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
(๖) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน
ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การกำหนดดังกล่าวต้องไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

มาตรา ๑๙ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ (๑) ให้ผู้อำนวยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่และร่วมเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๒๐ ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. ตามมาตรา ๑๖ (๑) ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยค่าเสียหายตามควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๑ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กอ.รมน. ดำเนินการตามมาตรา ๑๕ หากปรากฏว่าผู้ใดต้องหาว่าได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นได้กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์และการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนของผู้ต้องหานั้น พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปให้ผู้อำนวยการ
ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นของผู้อำนวยการให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล หากเห็นสมควรศาลอาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการเพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือนและปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกำหนดด้วยก็ได้
การดำเนินการตามวรรคสอง ให้ศาลสั่งได้ต่อเมื่อผู้ต้องหานั้นยินยอมเข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
เมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดดังกล่าวแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นอันระงับไป

มาตรา ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ อาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๓ บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหมวดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การดำเนินคดีใด ๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหมวดนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนด ประกาศหรือคำสั่ง หรือกระทำการนั้น มาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงาน หรือแสดงเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย

หมวด ๓
บทกำหนดโทษ


มาตรา ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๑๘ (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล


มาตรา ๒๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการ พนักงานลูกจ้าง และอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๕/๒๕๔๙ เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มาเป็นของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๖ ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๗/๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26894 โดย june



ไม่มีข้อมูลมาให้นะคะ แต่อยากรู้ว่าคุณแก้วเธอเดินทางไปต่างประเทศหรือ :shy:

เห็นหายตัวไปนานแล้ว คิดถึงอ่ะค่ะ :cry2
:

รักษาเกียรติของคุณไว้
เมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างไม่สุภาพ...
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27144 โดย Mommyangel
เอาละ..มาว่าเรื่องค่าลดหย่อนกันต่อ...

ข้อ 9. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RTF

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้
เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ



อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544

ข้อ 2 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้งและต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้


ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 2
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี


ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 หรือข้อ 3 ในปีใด เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมตามข้อ 9 แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 และข้อ 3 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม การนับระยะเวลา
การถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้


ข้อ 5 กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทุพพลภาพ ผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไป หรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปีใดปีหนึ่ง และจะซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 2(1) และข้อ 3 วรรคสอง

ข้อ 6 กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้


ข้อ 7 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
กรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลกทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 700,000 บาท และในกรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วย ให้เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกิน 700,000 บาท”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 173) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)


ข้อ 8 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ข้อ 9 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 7 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 7 และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในการเสียภาษีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้วได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 10 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27145 โดย Mommyangel
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 173 )
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้
เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือ
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ


อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 700,000 บาท และในกรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วย ให้เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกิน 700,000 บาท”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27147 โดย Mommyangel
ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ


ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171 ) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคมพ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กรมสรรพากรจึงกำหนดหลักฐานที่จะใช้ในการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนี้

ข้อ 1 หลักฐานที่ผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องใช้เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้แก่ หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้

ในกรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนอื่น ต้องมีหลักฐานแสดงการโอน ได้แก่ หนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แนบพร้อมหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพด้วย

การลงชื่อของผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะใช้วิธีประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองดังกล่าวด้วยตรายางหรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้

ข้อ 2 หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และหนังสือรับรองการโอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษแต่ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับด้วย ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค

ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27150 โดย Mommyangel
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุน
คืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ



อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้งและต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนเฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1(1)
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3) ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุนและต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้


ข้อ 2 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 1
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี

ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 หรือข้อ 2 ในปีใด เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่ เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และข้อ 2 นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมการนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย

ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้


ข้อ 5 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยกเว้นสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวที่คำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
“กรณีการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งหากเป็นการขายหน่วยลงทุนที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ซื้อมาในปีภาษี 2551 ที่คำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 700,000 บาท ในปีภาษี 2551”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 174) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)


ข้อ 6 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงจำนวนเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ข้อ 7 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27151 โดย Mommyangel
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 174 )
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินหรือ
ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวม
เพื่อการเลี้ยงชีพ


อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“กรณีการขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการขายหน่วยลงทุนที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษี
เงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ซื้อมาในปีภาษี 2551 ที่คำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 700,000 บาท ในปีภาษี 2551


ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27153 โดย Mommyangel
กรณีซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท เว้นแต่จะมีการซื้อหน่วยลงทุนฯ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ด้วยจะได้รับยกเว้นทั้งหมดไม่เกิน 700,000 บาท

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนี้

วันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวนเงิน 500,000 บาท

วันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวนเงิน 50,000 บาท

เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 550,000 บาท


ตัวอย่างที่ 2 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวน 500,000 บาท

เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 350,000 บาท


ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวน 700,000 บาท

เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 550,000 บาท

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27176 โดย ntps
:sweat: ขอโทษที่ทำให้พี่ลี update อยู่คนเดียว แต่เรื่องภาษี ต้องพี่ลีเท่านั้น ^^

ของแก้วจ๋า มีแต่สารพันข่าว เล็กๆ น้อยๆ ไปตามวันและเวลา

เริ่มด้วย ข่าวแบงค์สีเหลือง จะเปลี่ยน CEO อีกแล้วค่ะ ปีหน้าคงมานโยบายใหม่

ให้เราทั้งหลายขบคิดหาทางแก้อีกค่ะ

ซีอีโอแบงก์กรุงศรีแจ้งขอลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 1 ม.ค.56

นายวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ส่งจดหมายแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 26 พ.ย.55 ว่า นายมาร์ค จอห์น อาร์โนลด์ ได้แจ้งความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการธนาคาร และตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.56 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ธนาคารจะดำเนินการตามแผนการสืบทอดตำแหน่งของนายมาร์ค จอห์น อาร์โนลด์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #27179 โดย ntps
เรื่องต่อไปค่ะ เพิ่งรู้ว่า แมวเรา ค่าตัวหลักแสน เฮีย ตัวที่หายไปจากบ้าน ถูกขโมยหรือเปล่า :laughing:

สถานการณ์ "แมวไทย"ตัวละ 2 แสนกว่าบาท แมวมงคลสูญพันธุ์ไปแล้ว 13 ชนิด เหลือเพียง 4..


จากวงเสวนา "แมวไทย อีกสัญลักษณ์หนึ่งของชาติไทย" ซึ่งจัดโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรีชา พุคคะบุตร เจ้าของ "บ้านแมวไทย" ศูนย์อนุรักษ์แมวไทยโบราณ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม บอกให้รู้ว่าแมวไทยทั้งหมดมี 23 ชนิด เป็นแมวมงคล 17 ชนิด แมวร้ายให้โทษ 6 ชนิด

แมวมงคล ประกอบด้วย 1.นิลรัตน์ 2.วิลาศ 3.ศุภลักษณ์ 4.เก้าแต้ม 5.มาเลศ 6.แซมเศวต 7.รัตนกัมพล 8.วิเชียรมาศ 9.นิลจักร 10.มุลิลา 11.กรอบแว่นหรืออานม้า 12.ปัดเศวตหรือปัดตลอด 13.กระจอก 14.สิงหเสพย์ 15.การเวก 16.จตุบท 17.โกนจา

แมวร้ายให้โทษ ประกอบด้วย 1.ทุพพลเพศ 2.พรรณพยัคฆ์หรือลายเสือ 3.ปีศาจ 4.หิณโทษ 5.กอบเพลิง 6.เหน็บเสนียด

แมวมงคลสูญพันธุ์ไปแล้ว 13 เหลือเพียง 4

แมวไทยสามารถเพาะพันธุ์จำหน่ายได้ ตลาดในญี่ปุ่นราคาซื้อขายตัวหนึ่งถึง 200,000 บาท

อิสรย รัตนะวีระวงศ์ เจ้าของฟาร์มศรี-สวัสดี ผู้เพาะพันธุ์แมวไทยสีสวาทหรือแมวโคราชเจ้าของ "บุญมาก" แมวพันธุ์สีสวาด ราคา 250,000 บาท

"ที่ราคาแพงเนื่องจากเลี้ยงด้วยเนื้อวัวสด และเลี้ยงในห้องแอร์ตลอด 24 ชั่วโมง"

แมวโคราชและแมววิเชียรมาศเป็นแมวที่ต่างประเทศให้การยอมรับเพราะเป็นแมวในระดับท็อปชั้นนำของโลกที่มีมูลค่าสูง

ลักษณะเด่นที่สุดของแมวไทยคือฉลาดที่สุดในโลกและค่อนข้างรักอิสระ

ปัจจุบัน ราคาค่าตัวแมวไทยยังไม่สูงมากนัก จะอยู่ที่ราคา 5,000-6,000 บาท แต่ถ้าแมวที่บ้านจะขายในราคา 20,000 บาท

ราคาส่งออกจะอยู่ที่ 2,000-25,000 ยูโร สำหรับแมวอายุ 4 เดือน

คิดเป็นเงินไทย 100,000-125,000 บาท ทั้งนี้ ไม่รวมค่าเครื่องบิน


ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 1.973 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena