ประกาศ!! ลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน2หมื่นอายัดเงินเดือนไม่ได้ เกณฑ์อายัดเงินเดือนปี60

6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #95615 โดย Pheonix
09 กรกฎาคม 2560 9,739
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 ระบุลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท บังคับคดีอายัดเงินเดือนไม่ได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
สำหรับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ประกอบด้วย 1. เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละ 20,000 บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 2. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น 3. เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากนี้ ยังมีนายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000 บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
4. บําเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม, เป็นจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 5. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่น เป็นจํานวนตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/069/1.PDF
แชร์ข่าว :
Tags:
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อายัดเงินเดือน บังคับคดี www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/069/1.PDF
I-NEWSPAPER
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95616 โดย Pheonix
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 9/7/60
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95617 โดย somphol
ขอบคุณครับ ข้อมูล ที่เข้าใจคือว่า ผู้ที่ถูกอายัดก่อนหน้านั้นและถูกอายัดเรื่อยมาจนถึงเดือนปัจจุบัน กลุ่มนี้จะไม่โดนอายัด ใช่ไหมครับ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95623 โดย moshi191
สวัสดีครับ ถ้าเรามีรายได้จาก incentive อย่างเดียวไม่มีเงินเดือน บางเดือนรายได้เกิน20k
บางเดือนก็ไม่เกิน จะรอดไหมครับ ขอบคุณครับ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95624 โดย Pheonix
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 ระบุลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท บังคับคดีอายัดเงินเดือนไม่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปนี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

สำหรับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ประกอบด้วย 1.เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงินรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มีจํานวนไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 2.เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น 3.เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน

นอกจากนี้ ยังมีนายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร

4.บําเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม , เป็นจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร 5.เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่น เป็นจํานวนตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เป็นต้น

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า 9 ก.ค.2560
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95630 โดย kamao
ถ้าแบบนี้ เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท แต่มีทรัพย์สินอื่น เช่น บ้าน / ที่ดิน ก็ยังบังคับยืดทรัพย์ได้อยู่หรือไม่ครับ :shy:
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95642 โดย malila125
และถ้าเงินเดือน 20000 พอดีหล่ะค่ะ โดนไหม
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95670 โดย jackTs

malila125 เขียน: และถ้าเงินเดือน 20000 พอดีหล่ะค่ะ โดนไหม


กฎหมายราชกิจจานุเบกษา ก็เขียนเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วนี่ครับ

อยู่ในหน้า 22 มาตรา ๓๐๒ (๑)


ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/069/1.PDF


ไปอ่านดูให้ดีๆสิครับ
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95677 โดย Pheonix
วันนี้ (11 ก.ค. 60) – น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ในวันที่ 4 กันยายน 2560 เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ที่จะมีผลบังคับใช้โดยกฎหมาย ที่ระบุใจความสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา 302 ที่ กฎหมายได้ปรับรายได้หรือเงินเดือน

จากเดิมกำหนดว่า 1 หมื่นบาทแรก เป็น 2 หมื่นบาทแรก ไม่สามารถอายัดได้นั้น เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินไว้ดำรงชีพ และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป น.ส.รื่นวดีชี้แจงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการแก้ไขครั้งสำคัญในภาคบังคับคดี เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมดในส่วนการบังคับคดี เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนการบังคับคดีมีการใช้มานานกว่า 20 ปี จึงต้องปรับให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีการดูแลเรื่องพื้นฐานของลูกหนี้ด้วย ในส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ มาตรา 301 และมาตรา 302 โดยมาตรา 301 เป็นเรื่องของทรัพย์สิน ส่วนมาตรา 302 เป็นเรื่องของเงิน หรือสิทธิ์เรียกร้องที่เป็นเงินของลูกหนี้ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

นอกจากนี้ ในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มุ่งไปถึงการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ตามสมควรกับฐานะของลูกหนี้ กรณีเบี้ยเลี้ยงชีพ ซึ่งเดิมเบี้ยเลี้ยงชีพที่ไม่สามารถยึดบังคับคดีมีจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท แต่ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไป จึงปรับเป็นไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 302 (1)

ดังนั้น ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนไม่เกิน 20,000 บาท จะไม่ถูกบังคับคดี เพราะจะบังคับคดีได้เฉพาะส่วนที่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ บำเหน็จตกทอดทายาท เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ ตามมาตรา 302 (2) จะไม่ถูกบังคับคดี โดยไม่ต้องดูว่าเกินจำนวน 20,000 บาท หรือไม่ หรือคนทั่วไป ต้องเป็นเงินเดือนส่วนที่เกิน 20,000 บาท จึงจะบังคับคดีได้ แต่ถ้าเป็นข้าราชการ เงินเดือน เงินบำนาญ บังคับคดีไม่ได้ ส่วนคนที่ไม่ได้มีเงินเดือนประจำ แต่มีเงินได้ในลักษณะ 3-4 เดือน เป็นเงินก้อน เช่น 50,000 บาท ซึ่งเข้ามาตรา 302 (1) ในกรณีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณา ยกเว้นการบังคับคดีให้ได้ตามสมควรในส่วนที่เกิน 20,000 บาท

น.ส.รื่นวดีระบุว่า ในส่วนของทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ไม่ถูกบังคับคดี ตามมาตรา 301 ยังมีในส่วนของเครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท รวม 3 ประเภทเป็นเงิน 60,000 บาท ไม่ถูกบังคับคดี จากเดิมแค่ 50,000 บาท และในส่วนเครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งสัตว์ สิ่งของที่จำเป็น ขณะเดียวกัน กฎหมายยังเปิดช่อง หากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอก ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด สามารถร้องต่อศาลได้

ที่มา หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ 12 ก.ค.60
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #95695 โดย จอยสู้หนี้
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #96150 โดย Pheonix
10 ปีวิกฤต “ซับไพร์ม” โลกนี้ยังเต็มไปด้วย “หนี้” !!!
วันที่ 9 สิงหาคม 2560 - 21:27 น.
331
SHARES
Facebook331TwitterGoogle+Line

คนทั่วไปมักถือกันว่าจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลกเมื่อราว 10 ปีก่อน เริ่มต้นในทันทีที่ธนาคารมหึมาอย่าง เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มทั้งยืน ต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลายในปี 2008

สัญญาณหายนะทางการเงินโลกเริ่มต้นก่อนหน้านั้น มันเริ่มต้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคมเมื่อปี 2007 จุดแรกที่เกิดปรากฏการณ์ “ฟ้าผ่า” ไม่ใช่ในสหรัฐอเมริกา แต่เป็นในฝรั่งเศส เมื่อ “บีเอ็นพี พาริบาส์” ธนาคารใหญ่ของประเทศ ประกาศการ “อายัดทรัพย์สิน” ทั้งหมดของกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ 3 กองทุน ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปล่อยกู้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐอเมริกาอย่างหนัก

เหตุการณ์ลุกลามต่อเนื่องจนทำให้ในเวลาต่อมา ทางการสหรัฐอเมริกาต้องกระโดดเข้าอุ้ม “แบร์สเติร์นส์” กระนั้นก็ยังไม่สามารถยับยั้งปรากฏการณ์ในระดับทำลายล้างที่เกิดขึ้นตามมาได้ เมื่อ “เลห์แมน บราเธอร์ส” หนึ่งในกิจการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของวอลล์สตรีตล่ม ทุกอย่างก็กลายเป็นประวัติศาสตร์

หลังจากนั้นโลกก็ได้รับรู้ความจริงที่น่าสะพรึงกลัวภายในระบบการเงินโลก ได้รู้ว่าธนาคารทั้งหลายเต็มใจรับเอาความเสี่ยงเข้ามาอยู่กับตัวโดยที่ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แล้วเรียกกระบวนการสุ่มเสี่ยงนั้นว่า “นวัตกรรมทางการเงิน” โลกได้รู้ว่าบรรดาบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหลาย ก็ตกอยู่ในสภาพ “นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น” แม้แต่บรรดาผู้ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลทั้งหลายก็กลายเป็นเพียงตอไม้นิ่งเฉย

ผ่านไป 10 ปี หลังจากจุดเริ่มต้นของ”ดราม่าทางการเงิน” ครั้งใหญ่ดังกล่าว คำถามที่สมควรถามคือ ระบบการเงินและโลกทั้งใบปลอดภัยขึ้นหรือไม่และอย่างไร ?


นักสังเกตการณ์ระบบการเงินโลกให้คำตอบไว้ว่า ในห้วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ที่เป็นจริงในเวลานี้มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย มีทั้งที่พัฒนาไป และมีทั้งที่ยังต้องคอยวิตกกังวล

ข่าวดีก็คือวิกฤตใหญ่ในครั้งนั้นสอนบทเรียนล้ำค่าให้กับระบบการธนาคารของทั้งโลก ทำให้ธนาคารในยามนี้มีโฉมหน้าแตกต่างออกไปอย่างใหญ่หลวงจากสภาพเมื่อปี 2007 ตัวอย่าง เช่น ระบบธนาคารของหลาย ๆ ประเทศ มีทุนสำรองของตัวเองเป็นกันชนอยู่มากพอที่จะดูดซับปัญหาระดับที่เคยเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทางการอีกต่อไป

บรรดาผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารและการเงิน ในยามนี้มีพันธะที่ต้องใช้สมองครุ่นคิด พิจารณาและวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนตัดสินใจด้วยตัวเองว่า ธนาคารไหนจำเป็นต้อง “เพิ่มทุน” แทนที่จะปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามแบบจำลองตายตัวเหมือนก่อนหน้านี้

ความร่วมมือระหว่างนานาชาติเพื่อการนี้มีมากขึ้น และเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นกว่าเดิม นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง “คณะกรรมการเพื่อเสถียรภาพทางการเงิน” (เอฟเอสบี) ขึ้นเมื่อปี 2009 ความโปร่งใสในระบบเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน การซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำเป็นต้องดำเนินการผ่าน “องค์กรกลาง” ที่จะทำหน้าที่เคลียริ่ง แต่ในเวลาเดียวกันก็หมายความว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ที่เคยเกิดเป็นพิษขึ้นมาเมื่อก่อนหน้านี้ จะไม่ถูกปล่อยให้กลายเป็นฟองสบู่ขนาดมหึมา โดยที่ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครสังเกตพบอีกต่อไปแล้ว อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี

ข้อที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนพยายามย้ำให้ตระหนักกันไว้เสมอก็คือ ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากซากของวิกฤตเมื่อ 10 ปีก่อนนั้น “ยังไม่เคยผ่านการทดสอบ” ที่แท้จริงมาก่อน

ข้อพินิจพิเคราะห์และตัดสินใจของผู้ทำหน้าที่กำกับดูแล สามารถ “ไว้วางใจ”ได้หรือไม่ หากเกิดมีธนาคารขนาดใหญ่อีกสักแห่งตกอยู่ในอันตราย หรือถึงที่สุดแล้วก็ต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐ อันหมายถึงเงินภาษีอากรจากกระเป๋าของประชาชนคนเดินดินทั่วไปอีกครั้ง ?

ความจริงก็คือ เรื่องนี้ไม่มีวันพิสูจน์ได้จนกว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินใหญ่โตขึ้นมาอีกครั้ง ทุกคนได้แต่บอกเท่านั้นว่า สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปดีกว่าในช่วงระหว่างปี 2007-2009 มากมายนัก

ข่าวร้ายก็คือ หากพิจารณากันจริงจังและถี่ถ้วนมากขึ้น ปัจจัยบางอย่างที่ลึก ๆ แล้วเคยเป็นสาเหตุของวิกฤตเมื่อ 10 ปีก่อนก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน สาเหตุเป็นเพราะสิ่งที่นักการเงิน การธนาคารเรียกว่า “พาราดอกซ์ ออฟ โพลิซี” หรือความขัดแย้งกันเองเชิงนโยบาย ที่โลกนำมาใช้เพื่อแก้วิกฤตดังกล่าว

ประเทศส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงจนแทบไม่หลงเหลือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และป้องกันไม่ให้ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นจากวิกฤตกลายเป็นภาวะเงินฝืดที่แก้ไขได้ยากเย็น

ปัญหาก็คือ หนทางเยียวยาดังกล่าวควรเป็นนโยบายฉุกเฉิน ที่ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์บังคับระยะสั้น ๆ เท่านั้น แต่ 10 ปีผ่านไป อัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศยังต่ำเตี้ย บางประเทศอย่างญี่ปุ่น ถึงกับต้องงัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นแบบติดลบมาใช้ ในอังกฤษ อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ที่ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐอเมริกา ก็อยู่เพียงแค่ระหว่าง 1 เปอร์เซ็นต์ ถึง 1.25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ในเวลาเดียวกัน ภาวะหนี้สินกลับไม่ได้ผ่อนคลายลง สัดส่วนของเงินที่ครัวเรือนตัดสินใจกันไว้เพื่อการออมลดลงสินเชื่อแบบง่าย ๆ และถูก ๆ กลายเป็นเรื่องปกติสามัญ

พร้อม ๆ กับสภาวะดังกล่าวนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในระดับอ่อนแอเกินไป จนผู้ที่รับผิดชอบไม่เต็มใจเสี่ยงกลับไปใช้เงื่อนไขทางการเงินเหมือนที่เคยใช้กันในภาวะปกติโดยเร็ว

ทั้งหมดนั้นกลายเป็น “สูตรสำเร็จ” อันเป็นที่มาของสภาพที่ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินเรียกว่า “ฟองสบู่หนี้” ซึ่งเกิดขึ้นให้เห็นกันในหลายประเทศ ทั้งหนี้สินภาครัฐ หนี้สินภาคเอกชน หรือในบางกรณีเป็นหนี้สินครัวเรือน เพราะยังคงต้องอาศัย “หนี้สิน” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกันต่อไป ตราบใดที่หลายต่อหลายประเทศยังหาเครื่องจักรเศรษฐกิจที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีพอที่จะแทนที่หนี้สิน

ตราบนั้นวิกฤตโลกระลอกใหม่ ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา !
ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 11 ส.ค.60
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #96194 โดย Pheonix
เคทีซี ประกาศผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 1,519 ล้านบาท เติบโต 25% ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวสูงกว่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 6.8% ขณะที่ NPL ลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าอุตสาหกรรม และฐานสมาชิกรวมบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล เติบโตมากกว่า 3 ล้านบัญชี

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เคทีซี ยังคงความสามารถในการสร้างรายได้และการทำกำไร จากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เติบโต และจากยอดลูกหนี้ทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงยังสามารถควบคุมให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม โดยกำไรสุทธิ 6 เดือนเท่ากับ 1,519 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.89 บาท ส่วนไตรมาส 2/2560 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 787 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา 7% และเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2559 ซึ่งเท่ากับ 580 ล้านบาท ผลจากรายได้โต 12% มากกว่าค่าใช้จ่ายรวมที่เพิ่มขึ้น 8% จากค่าธรรมเนียมจ่ายให้แก่บริษัทภายนอก รวมถึงการตัดหนี้สูญ และสำรองหนี้สงสัยจะสูญ ที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของพอร์ต

โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 บริษัทฯ มีพอร์ตลูกหนี้การค้ารวมสุทธิเท่ากับ 61,645 ล้านบาท เติบโต 10% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ฐานสมาชิกรวม 3.0 ล้านบัญชี ขยายตัว 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นบัตรเครดิต 2,180,786 บัตร ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิรวม 40,991 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 850,383 บัญชี ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลสุทธิรวม 20,503 ล้านบาท ลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมอยู่ที่ 1.57% ลดลงจาก 1.91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย NPL บัตรเครดิต และ NPL สินเชื่อบุคคล อยู่ที่ 1.22% และ 0.88% ตามลำดับ

บริษัทฯ มีรายได้รวมไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 4,820 ล้านบาท เพิ่มจากการขยายตัวของพอร์ตลูกหนี้รวมที่เพิ่มขึ้น 10% ทำให้รายได้ดอกเบี้ย (รวมค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) เพิ่มที่ 13% และรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มที่ 9% ขณะที่ค่าใช้จ่ายการบริหารงานเท่ากับ 1,751 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ค่าธรรมเนียมจ่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารงานอื่นที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายการตลาดลดลงมาก ประกอบกับบริษัทฯ มีหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าค่าใช้จ่ายทางการเงินจะเพิ่มขึ้นที่ 8% แต่ฐานจำนวนเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นมากกว่า ทำให้ต้นทุนเงินทุนลดลงจาก 3.30% ในไตรมาส 2/2559 เหลือเพียง 3.23% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีนี้

ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2/2560 บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 24,890 ล้านบาท เป็นวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 18,030 ล้านบาท และจากธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ 6,860 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ มีต้นทุนการเงินครึ่งปีลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ 3.20% และมีอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 5.12 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า

สำหรับแผนงานของเคทีซี ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ จะเตรียมปรับกลยุทธ์รองรับเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าใหม่ที่เป็นเป้าหมาย เรามองว่า มาตรการใหม่นี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคคำนึงถึงความสำคัญของการมีวินัยในการบริหารค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของพอร์ตลูกหนี้ทั้งอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น และยังส่งผลดีต่อเนื่องให้กับพอร์ตลูกหนี้ของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังมีส่วนสนับสนุนให้สมาชิกมีความผูกพันกับแบรนด์ และบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดที่ถืออยู่มากขึ้น
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #96201 โดย Pheonix
มื่อคนกลุ่มหนี้“เจนวาย”ก่อหนี้สูงถึง 2.13ล้านล้านบาท อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้น และนับจากนี้อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมไทย...ในวัยเกษียณ
กลุ่มคนเจนวาย เป็นช่วงที่เกิดในปี พ.ศ.2523-2538 หรืออายุประมาณ 22-35 ปี ซึ่งกลุ่มนี้เกิดมาในช่วงกระแสของการบริโภคนิยม มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟื่อย ไม่มีการวางแผนทางการเงิน และสามารถเข้าถึงช่องทางการเงินได้ง่าย..และสิ่งที่ตามมาคือ รายได้ไม่พอรายจ่าย จนทำให้สถานการณ์กลุ่มหนี้ในปัจุจันกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในอนาคต

ข้อมูลบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร พบว่า ในไตรมาส 1/2560 คนเจนวาย 5.24 ล้านคน มีหนี้รวมกันสูงถึง 2.13 ล้านล้านบาท พบประวัติผิดนัดชำระหนี้ 1.1 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 29 ปี พบว่ามีหนี้สินต่อคนอยู่ที่ 150,000 บาท ในจำนวนนี้ 20% เป็นหนี้เสีย
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ นายสุรพล โอภาสเสถียร บอกว่า สาเหตุที่ทำให้คนเจนวาย มีหนี้เร็ว และยอดหนี้สูง เพราะ ไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนไปตามการเติบโตของสังคมเมือง โดยเฉพาะพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวเร่งพฤติกรรมการ ในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และช่องทางการเงินที่ง่ายที่สุดคือ บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ที่แต่ละธนาคาร ต่างก็แข่งออกโปรโมชั่นมากมายเพื่อตอบสนองลูกค้าในยุคปัจจุบัน
ตัวเลขล่าสุดของแบงก์ชาติ พบว่า หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงถึง 80% ของ จีดีพี ประเทศ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 3 สาเหตุหลักคือ 1.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ 2.มาตรการโครงการภาครัฐที่ผ่านมาไม่ว่าจะเรื่องรถ หรือบ้าน เป็นการกระตุ้นคนที่ไม่พร้อมให้ก่อหนี้ และ 3.การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ทำการตลาดเพื่อให้คนเข้าถึงง่าย และสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ให้กับลูกค้าในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านใบ ในจำนวนนี้ มี 1 ล้านใบหรือ 50% ออกให้คนเจนวาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการจับจ่ายใช้สอย
โดยตัวเลขหนี้สินต่อคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ประชาชนมีหนี้ต่อคนเฉลี่ย 70,000 บาท และในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท และยังพบว่าในระบบเครดิตบูโรมีลูกหนี้ค้างชำระหนี้ 20 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากร 60 ล้านคน
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ บอกว่า “คนอายุน้อยไม่ใช่ร้อยล้าน แต่คนอายุน้อยมีหนี้เป็นล้าน หรือคนอายุน้อยเริ่มเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เสียเร็วภาพต่อไปคือ คนอายุ 55 ปี อีก 5 ปีเกษียณรายได้จะต้องหายไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเขาควรจะมีหนี้ลดลง แต่กลับพบว่าหนี้ยังเยอะอยู่ดังนั้นชีวิตหลังเกษียณเรียกว่าถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีหนี้ ซึ่งเราไม่อยากเห็นภาพนั้น”
ขณะที่ ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ข้อมูลว่า คนเจนวายเป็นวัยที่เติบโตมากับกระแสการบริโภคนิยมกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายโดยขาดความระมัดระวัง ซึ่งส่วนใหญ่การก่อหนี้ของคนกลุ่มนี้นอกจากหนี้จากการบริโภค อุปโภคแล้ว ยังพบว่าความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ก็ทำให้การตัดสินใจเป็นหนี้เร็วและง่ายขึ้นด้วย
ดังนั้นคนเจนวาย จึงถือเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับความรู้ในเรื่องวินัยทางการเงินมากที่สุดเพื่อเตรียมการเข้าสู่วัยเกษียณมิเช่นนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในวันชราที่ต้องแบกรับทั้งภาระหนี้สินและการดูแลตนเองหลังเกษียณจากงานประจำ
ถ้าวันนี้ไม่เริ่มแก้ไขอย่างจริงจัง สิ่งที่จะเห็นในอนาคตคือ หนี้สินที่ตามไปถึงวัยเกษียณทำให้ภาวะ “แก่ไม่มีกิน” รุนแรงมากขึ้น
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ 16 ส.ค.60
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #96249 โดย faifreedom
ขอโทษนะคะ "เงินเดือนไม่เกิน20,000บาท" ไม่ทราบว่าดูจากฐานเงินเดือน หรือ รายได้ที่เราได้รับจริงๆ (หลังหักค่าใช้จ่าย เช่น ประกันสังคม,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,สินเชื่อธนาคารต่างๆที่หักเงินเดือน) ค่ะ


พอดีของเรา ฐานเงินเดือน 21,000 + ค่าคอมมิชั่น เดือนละ 4-5 พันบาท) แต่ รายได้สุทธิ(หลังหักทุกส่วน) ที่ปรากฎบนสลิปเงินเดือน จะอยู่ที่ประมาณ 15,000บาทค่ะ แบบนี้สามารถอายัติเงินเดือนเราได้ไหมค่ะ?
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #96280 โดย MKing
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #96386 โดย jackTs

faifreedom เขียน: ขอโทษนะคะ "เงินเดือนไม่เกิน20,000บาท" ไม่ทราบว่าดูจากฐานเงินเดือน หรือ รายได้ที่เราได้รับจริงๆ (หลังหักค่าใช้จ่าย เช่น ประกันสังคม,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,สินเชื่อธนาคารต่างๆที่หักเงินเดือน) ค่ะ


ตามกฏหมายเก่า(กฎหมายเดิม) การอายัดเงินเดือนจะสามารถอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายรับรวมทั้งหมด ของเดือนนั้นๆที่ได้รับ

ไม่ใช่ให้คิดมาจากฐานเงินเดือนเพียงอย่างเดียว


อ้างอิงข้อมูลจาก
ไขข้อข้องใจ “การอายัดเงินเดือน”
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=28147&Itemid=64



faifreedom เขียน: พอดีของเรา ฐานเงินเดือน 21,000 + ค่าคอมมิชั่น เดือนละ 4-5 พันบาท) แต่ รายได้สุทธิ(หลังหักทุกส่วน) ที่ปรากฎบนสลิปเงินเดือน จะอยู่ที่ประมาณ 15,000บาทค่ะ แบบนี้สามารถอายัติเงินเดือนเราได้ไหมค่ะ?


กฎหมายใหม่ : รายรับทั้งหมดในแต่ละเดือนของลูกหนี้ ในส่วนที่เกินกว่า 20,000 บาท

ให้ทำการอายัดทั้งหมด

โดยให้ลูกหนี้มีเงินเหลือเอาไว้ใช้ เพียงแค่เดือนละ 20,000 บาท(สองหมื่นบาท)...เท่านั้น


หมายเหตุ
กฏหมายอายัดเงินเดือนฉบับใหม่นี้ มาจากการพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แล้วพบว่า
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากลูกหนี้มีรายรับต่อเดือนเหลือน้อยกว่า 20,000 บาท จะทำให้ตัวของลูกหนี้ไม่สามารถดำรงชีวิต เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวของลูกหนี้ได้ (เนื่องจากค่าครองชีพต่างๆที่ปรับตัวสูงขึ้น)

ดังนั้น การอายัดเงินเดือนในแบบใดก็ตาม หากทำให้ลูกหนี้มีเงินรายรับต่อเดือนเหลือน้อยกว่า 20,000 บาทแล้ว จะทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถคำรงชีพอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจของปัจจุบันได้ จึงต้องทำการคุ้มครองรายรับต่อเดือนของลูกหนี้ ให้ต้องมีเงินเหลือเพื่อไว้ใช้ดำรงชีวิตไม่น้อยกว่า 20,000 บาท...เป็นหลัก


แต่...กฎหมายฉบับใหม่นี้ ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4/ กันยายน / 2560 เป็นต้นไป

ดังนั้น เมื่อหลังจากผ่านวันที่ 4/ก.ย./60 ผ่านไปแล้ว...ผมจะทำการไป Update แก้ไขข้อกฏหมายที่อยู่ในกระทู้ ไขข้อข้องใจ “การอายัดเงินเดือน ทั้งหมด ให้เป็นไปคามข้อกฎหมายฉบับใหม่ต่อไปอีกครั้งนะครับ




ความรู้ต่างๆ มีอยู่ในนี้หมดแล้ว

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20


.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #97005 โดย faifreedom
ขอบคุณมากๆค่ะ คุณนกกระจอกเทศ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #97117 โดย Pheonix
แบงก์รัฐกางยุทธศาสตร์บริหารหนี้เสีย หลังยอดหนี้เน่า สิ้น พ.ค.2560 พุ่งแตะ 2.46 แสนล้านบาท อึ้ง! เป็นหนี้ใหม่กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ด้าน ธอส. เตรียมเสนอบอร์ดตัดขายหนี้ 6.9 พันล้านบาท ส่วนเอสเอ็มอีแบงก์ลุยเจรจาในชั้นศาล หวังปรับโครงสร้างหนีได้ 90%

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานตัวเลขยอดสินเชื่อคงค้างในระบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ พ.ค.2560 มียอดรวมทั้งสิ้น 4.97 ล้านล้านบาท ส่วนยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับเงินฝาก 8 แห่ง อยู่ที่ 2.46 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้มีเอ็นพีแอลที่เกิดใหม่ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท และพวกลูกหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีก 1.54 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ จากภาพรวมเอ็นพีแอลกว่า 2.46 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุดกว่า 9.63 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยกว่า 5.56 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงอีกกว่า 3.61 หมื่นล้านบาท

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.นี้ จะเสนอให้คณะกรรมการธนาคารอนุมัติขายหนี้เอ็นพีแอล 6.9 พันล้านบาท จากยอดทั้งหมด 9.6 พันล้านบาท ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) ไปบริหาร ซึ่งจะทำให้สิ้นปี 2560 ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารจะปรับลดลงเหลือ 4.86% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.34%

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับแผนเรื่องการบริหารจัดการเอ็นพีแอลใหม่ จากเดิมตั้งเป้าหมายนำหนี้เอ็นพีแอล ออกมาจัดกองขายให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) แต่เนื่องจากขณะนี้ เหลือแต่ลูกหนี้ที่อยู่ในขั้นตอนฟ้องร้องและดำเนินการตามกฎหมาย หากไม่สามารถตกลงกันได้ในชั้นศาล ก็ให้สืบทรัพย์ขายทอดตลาดต่อไป ล่าสุดมีลูกหนี้ในกลุ่มที่ต้องเข้าสู่กระบวนการราว 2,500 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเจรจาได้ข้อยุติถึง 90%.
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97277 โดย Pheonix
ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๓ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น ๑๒.๔๘๙,๒๑๐ บัญชี มียอดสินเชื่อคงค้าง ๓๓๘,๘๙๘ ล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๙๔,๘๙๑.๔๔ ล้านบาท ถ้าระยะเวลาผ่านไป ๕ ปี ดอกเบี้ยสะสมจะเป็นเงินมากถึง ๔๗๔,๔๕๗.๒๐ ล้านบาท คิดเป็น ๑๔๐% ของเงินต้นคงค้าง ๓๓๘,๘๙๘ ล้านบาท ถึงวันนั้น ทุกอย่างคงจบ เพราะประชาชนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจประเทศไทยจึงฝืดเคืองมาก ทุนต่างชาติเอาค่าดอกเบี้ยจากประชาชนผู้บริโภคไปมาก ทำให้ไม่มีเงินไปบริโภค การคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ ปี ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ถึงวันนี้ เป็นเวลา ๑๒ ปี แล้ว คิดเป็นค่าดอกเบี้ยที่ผู้บริโภคต้องชำระมากถึง ๓๓๖% (๒๘ คูณ ๑๒ เท่ากับ ๓๓๖%) เศรษฐกิจของประเทศไทยถึงได้ฝืดเคืองมาก
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97315 โดย Pheonix
Irina Bokova เลขาธิการยูเนสโก ถวายคำสดุดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อหน้าในการประชุมใหญ่ประจำปีของ UNESCO เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ซึ่งเป็น World Peace Day (วันสันติภาพโลก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เดือนตุลาคมนี้เป็นเดือนสำคัญของชาวไทยและประเทศไทยที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คนไทยและคนทั่วโลกแสดงความอาลัยถึงพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดไม่ได้

จากในฐานะที่ผมเป็นกรรมการระดับชาติจากประเทศไทยสาขาสังคมศาสตร์ของ UNESCO ขอกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ Paris เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา UNESCO จัดพิธีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเลขาธิการ UNESCO คือคุณ Irina Bokova ได้กล่าวสดุดีพระองค์ท่านต่อหน้าในการประชุมใหญ่ประจำปีของ UNESCO และเป็นวันสำคัญคือเป็น World Peace Day (วันสันติภาพโลก)

ในระดับ UN กล่าวสดุดีพระองค์ท่านอย่างสมพระเกียรติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2559 ซึ่งในช่วงนั้น อดีตเลขาธิการ Ban Ki-moon ได้ทำหน้าที่กล่าวสดุดีพระองค์ท่าน

ก่อนหน้านั้น เลขาธิการ Irina Bokova ก็ยังได้เดินทางมาเมืองไทยมาแสดงความอาลัยด้วยความจงรักภักดีและวางพวงมาลาถวายพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ที่ UNESCO ถวายคำสดุดีพระองค์ท่าน ผมขอหยิบยกคำพูดบางตอนที่มีคุณค่าต่อคนไทยเพื่อจะได้จดจำและนำมาคิดปฏิบัติ

ประเด็นแรก ท่านเลขาธิการได้เน้นว่า ปรัชญาของพระองค์ท่านไม่ใช่มีคุณค่าต่อคนไทยเท่านั้น แต่มีคุณค่าต่อคนทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นแบบอย่างที่ดีต่อการดำรงชีวิตของคนในโลกเพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่น ความยากจน ปัญหาสงคราม อยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุข ความสงบอย่างพอประมาณของประชากรในแต่ละประเทศ

การยกย่องแนวทางนี้ทำให้เห็นถึงความลึกซึ้งของ UNESCO ที่เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างล้ำลึกของพระองค์ท่าน

ประเด็นที่ 2 พระองค์ท่านได้ทรงทิ้งมรดกไว้ให้แก่มนุษยชาติในโลกนี้ ภาษาอังกฤษคือ Legacy of Global Humanity แปลว่า ปรัชญาของท่านได้พระราชทานมรดกความคิดไว้ให้มนุษยชาติในโลกอย่างมีคุณค่าเป็นที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่งแก่คนไทย

ประเด็นที่ 3 ที่ท่านเลขาธิการได้พูดถึงคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เติบโตมาจากโลกตะวันออกซึ่งแตกต่างจากโลกตะวันตก พระองค์ท่านยังทรงทิ้งมรดกของพลังความดีให้โลกได้นำไปใช้ ซึ่งท่านเลขาธิการเรียกว่า “Soft Power” พลังที่วัดไม่ได้แต่มีคุณค่าต่อประเทศในโลก Soft Power เน้นที่จิตใจ ความดีงามมากกว่าพลังทางด้านการทหาร การห้ำหั่นโดยใช้อำนาจ หรือพลังที่เกิดจากความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจ GDP หรือวัตถุนิยม ซึ่ง Hard Power ของตะวันตกมีปัญหาขัดแย้งในโลกปัจจุบัน

ที่ผมภูมิใจมากที่สุดคือท่านเลขาธิการได้เน้นแก่นของ UNESCO ในเรื่อง Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งท่านได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ตลอดชีวิต พระองค์ทรงเรียนจากความจริงและนำความรู้ดังกล่าวไปช่วยคนที่อยู่ข้างล่างของพีระมิด คือคนที่เสียเปรียบในสังคมให้คนเหล่านี้พึ่งตนเอง Self-reliance ได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของการเทิดพระเกียรติของ UNESCO และในวันเดียวกันนั้น มีงานที่ผมได้รับเชิญจากดร.ปรารถนา ศรีสุข เป็นวิทยากรในโครงการ “UTK Share Learning for Postgraduate Student Exchange UNSIKA, Indonesia.” มีนักศึกษาปริญญาโทจากอินโดนีเซีย 60 คน ที่มาฟังบรรยายในเรื่อง การบริหารความยั่งยืนในระดับโลก Global Sustainability ซึ่งผมก็นำเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นตัวอย่าง และขอให้นักศึกษาอินโดนีเซียกว่า 60 คน ทำ Workshop ร่วมกัน

มีกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นของคนไทย คนในเอเชียจะได้ประโยชน์มากด้วยตรงกันข้ามกับปรัชญา “ทุนนิยมสามานย์” ของตะวันตกที่เน้นความโลภ ความร่ำรวย แต่ไม่คิดถึงคนยากจนและคนที่ไม่มีโอกาส

ซึ่งคำพูดเหล่านี้ได้เห็นแล้วว่า ถึงแม้พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่ปรัชญาต่างๆ ยังอยู่กับเราและคนในโลกแน่นอน

จึงอยากจะแบ่งปันให้ผู้อ่านได้ทราบว่าประเทศระดับอาเซียนก็เทิดพระเกียรติยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่น้อยไปกว่า UNESCO

จีระ หงส์ลดารมภ์

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หนังสือพิมพ์ แนวหน้า 30 กันยายน 2560
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 1.150 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena