กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สิน ภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)

12 ปี 2 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #2194 โดย jackTs
.
กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)



- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี(จพค.) ทำการตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็น “เจ้าบ้าน”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ หากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตู หรือถูก Lock อยู่ จพค.สามารถใช้อำนาจในการเปิดบ้าน เพื่อทำการยึดทรัพย์ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ได้ เนื่องจากกฏหมายระบุไว้ว่า หากผู้ใดที่มีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”ก็ให้สันนิษฐานว่าทรัพย์สินใดๆที่อยู่ในบ้านของเจ้าบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านเอาไว้ก่อนเป็นหลัก ดังนั้นหากลูกหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”หลังใด ก็สามารถยึดทรัพย์ที่อยู่ภายในบ้านหลังนั้นได้ ถึงแม้นว่าจะถูกปิดประตูอยู่ก็ตาม
โดยอาศัยขั้นตอนให้เจ้าหนี้แถลงความรับผิดชอบ เชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นสักขีพยาน , ตามช่างกุญแจมา ไข/งัด/หรือทุบทำลาย วัสดุที่ใช้ Lock บ้าน , มีการบันทึกภาพถ่ายหรือวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน , ลงบันทึกประจำวัน




- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี(จพค.) ตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นแค่ “ผู้อาศัย”

จพค.ก็อาจไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆได้ เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่า หากลูกหนี้อาศัยอยู่ที่ไหน ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ควรอยู่กับลูกหนี้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย แต่ถ้าหากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตูหรือ ถูก Lock อยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่สามารถ ไข/งัด/หรือทุบทำลาย สิ่งที่ใช้ Lock บ้าน ในการเปิดบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ได้เลย ไม่เหมือนกับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้าน เพราะบุคคลที่อยู่ในฐานะ“เจ้าบ้าน” ก็ได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เจ้าบ้านก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในบ้านเช่นกัน และมีน้ำหนักหลักฐานที่ดีกว่าทางฝ่ายลูกหนี้ ที่เป็นฐานะผู้อาศัยภายในบ้าน

ในกรณีนี้ หาก จพค.จะทำการเข้าไปตรวจสอบหรือยึดทรัพย์ภายในบ้านหลังนั้น จะต้องได้รับการ“อนุญาต”จากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”เสียก่อน เพราะผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แถมยังมีน้ำหนักแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้าน สูงมากกว่าผู้อาศัย

ดังนั้น...
หากเจ้าบ้านอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าไปในตัวบ้านได้ แล้วหลังจากนั้นมีการโต้แย้งจากทางเจ้าหนี้ว่า ทรัพย์ที่ตรวจพบภายในบ้าน เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีหลักฐานมาแสดงยืนยัน โดยผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านไม่มีหลักฐานโต้แย้งกลับ ก็ให้ทำการยึดทรัพย์นั้นๆ

แต่ถ้าหาก“เจ้าบ้าน”ออกมาแสดงตน พร้อมกับหลักฐานความเป็น“เจ้าบ้าน”ต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ.ที่หน้าบ้านของตนเอง พร้อมกับยืนยันว่า ทรัพย์สินทุกอย่างภายในบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านแต่เพียงผู้เดียว...“ผู้อาศัย”(ลูกหนี้)ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้านแต่อย่างใด แค่มาอาศัยอยู่เท่านั้น
ให้ถือว่า“เจ้าบ้าน”เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวตามที่แจ้ง และให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี “งดยึด” แล้วทำรายงานต่อไปยังศาล เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดชอบการยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 ต่อไป

***หมายเหตุ***
หากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”(ที่มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ยังไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกอื่นใดเข้ามาในตัวบ้าน แต่บุคคลภายนอกอื่นใดเข้าไปภายในอาณาบริเวณพื้นที่ครอบครองของ“เจ้าบ้าน” โดยที่ยังไม่ได้รับการ“อนุญาต” จะต้องมีความผิดในข้อหา“บุกรุกเคหสถาน”





กรณีที่ได้เข้าไปตรวจสอบยึดทรัพย์สินภายในบ้านแล้ว ถ้าหากลูกหนี้มีทรัพย์สินจำพวก เครื่องนุ่มห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณราคารวมกันไม่เกิน 50,000 .- บาท จะถูกจัดว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี“ไม่ยึด” พร้อมกับรายงานศาลขอปลดเปลื้องความรับผิด ป.วิแพ่ง ม. 283

สรุปความก็คือ เครื่องใช้สอยภายในบ้าน ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันโดยปกติ ดังนี้

- อุปกรณ์เครื่องนอน เช่น ที่นอน , หมอน , มุ้ง , ผ้าห่ม

- อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น ถ้วย , จาน , ชาม , ช้อน , กระทะ , กะละมัง , ขัน , หม้อ , เตา

- อาภรณ์สวมใส่ เช่น เสื้อ , กางเกง , กระโปรง , ถุงเท้า , รองเท้า , กกน.

- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตทั่วไปที่ควรมี เช่น ถังแก๊สสำหรับใช้ทำอาหารในครัว , หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบเล็กๆ , พัดลมตั้งโต๊ะเก่าๆเอาไว้ใช้คลายร้อน , โทรทัศน์รุ่นเก่าขนาดเล็กๆ + วิทยุเครื่องเล็กๆ เอาไว้ใช้ติดตามฟังข่าวสาร , ตู้เย็นเก่าๆขนาดเล็กๆ เอาไว้ใช่แช่เย็นถนอมอาหาร…เป็นต้น

ตัวอย่างต่างๆเหล่านี้ ถ้าเอาทั้งหมดมากองรวมกัน แล้วประเมินราคารวมกันแล้วไม่เกิน 50,000.-บาท...ก็ไม่ยึด (แต่อย่าลืมนะครับ ว่าการประเมินราคาดังกล่าว จะกระทำโดย จพค.เป็นผู้ประเมิน ดังนั้น อย่าหัวหมอโดยการประเมินราคาเข้าข้างตัวเอง)




กรณีที่เจ้าหนี้ขอยึดเครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็น ในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ ราคารวมกันประมาณไม่เกิน 100,000.- บาท เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี“ไม่ยึด” ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับรายงานศาลปลดเปลื้องความรับผิด ป.วิแพ่ง ม. 283

สรุปความก็คือ อุปกรณ์/เครื่องมือ ของลูกหนี้ที่จำเป็นต้องมี เพราะเป็นอาชีพของลูกหนี้มาแต่ดั้งเดิม หากมีมูลค่าไม่เกิน 100,000.-บาท ห้ามยึด เช่น

- สว่านไฟฟ้า , ไขควง , ประแจ , คีม , เครื่องเจียรตัดเหล็ก , ตู้เชื่อมไฟฟ้า(ตู้อ๊อกเหล็ก) , กล่องเครื่องมือช่าง
เครื่องมือเหล่านี้ หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพเป็น ช่างซ่อมเครื่องยนต์ , ช่างซ่อมรถยนต์ หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ในการประกอบอาชีพ

- เครื่องถ่ายเอกสารเก่าๆเพียงไม่กี่เครื่อง หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพรับจ้างถ่ายเอกสาร

- เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมฯ หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพรับจ้างเขียนโปรแกรมขาย , รับ ซื้อ-ขาย สินค้าผ่านทาง Internet , รับแปลและพิมพ์งานเอกสาร เป็นต้น




อุปกรณ์/เครื่องมือ ของลูกหนี้ ที่จำเป็นต้องมีเพื่อการดำรงชีวิตลูกหนี้ (เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับความอันตราย หรือความ เป็น-ตาย ของลูกหนี้) ห้ามยึด ไม่ว่าจะมีมูลค่าสูงแค่ไหนก็ตาม เช่น เครื่องช่วยหายใจ , เครื่องฟอกไตประจำบ้าน , เครื่องช่วยชีวิต , เครื่องวัดชีพจร , เครื่องวัดความดัน , แขนเทียม , ขาเทียม , รถเข็นสำหรับผู้พิการ...เป็นต้น





คำถาม-คำตอบ ส่งท้าย

ถาม : หากกรณีลูกบ้านเป็นลูกหนี้ แต่ลูกหนี้เป็นคู่สมรส(สามี/ภรรยา)กับเจ้าบ้าน โดยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง ตามกฏหมายแล้วสามารถยึดทรัพย์สินภายในบ้านได้หรือไม่ ถ้าหากเจ้าบ้าน(สามี/ภรรยา)ไม่ยอมให้ยึด โดยอ้างว่าเจ้าบ้านเป็นผู้ที่ซื้อหาทรัพย์มาเอง

ตอบ : ถ้าเป็นกรณีที่เป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ให้ถือว่าทรัพย์สินภายในบ้านเป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิ์นำชี้แถลงยืนยันต่อ จพค. พร้อมนำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ได้ หากทรัพย์ภายในบ้านเป็นสินสมรสจริง



*** หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถไปอ่านต่อได้จากในเวปไซด์ของกรมบังคับคดี ***
test.led.go.th/faqn/SARA.ASP?nomod=c
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Skynine

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 9 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #6981 โดย jackTs
.
ตัวอย่าง : กระทู้ที่ถามว่า "เจ้าหนี้สามารถมายึดทรัพย์ภายในบ้านเช่าได้ไหมคะ?"

ถาม : ตอนนี้ดิฉันเช่าบ้านอยู่คะ ถ้าเจ้าหนี้จะมายึดทรัพย์ภายในบ้าน สามารถทำได้ไหมคะ อ่านกระทู้ต่างๆ เจอแต่กรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้าน และ ผู้อาศัย
ส่วนบ้านหลังที่เช่าอยู่ไม่มีเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน เป็นทะเบียนบ้านว่างเปล่ามีแต่เลขที่บ้านไม่มีทั้งเจ้าบ้านและผู้อาศัย ชื่อเจ้าของจริงๆมีอยู่แต่ในโฉนดที่ดิน แล้วสัญญาเช่าบ้านหลังนี้ดิฉันเซ็นต์สัญญาเช่ากับภรรยาของเจ้าของ แบบนี้เจ้าหนี้สามารถเข้ามายึดทรัพย์ได้ไหมคะ
ตอบ : การไปยึดทรัพย์ภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้) เขาจะไปตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ตามบัตรประชาชนของจำเลย
ถ้าคุณอยากรู้ว่าเจ้าหน้าที่เขาจะตามไปยึดทรัพย์ของคุณที่บ้านหลังไหน?...คุณก็หยิบเอาบัตรประชนของตัวคุณเองออกมาดูสิครับ ...นั่นแหละ...พวกเขาจะไปตามที่อยู่ในนั้นแหละ


***ยกเว้นแต่ทางเจ้าหนี้มันรู้ และมันมีหลักฐานว่าคุณมาเช่าบ้านอยู่ที่นี่ (เช่น มันมี"สัญญาเช่า"ที่คุณเคยทำเอาไว้ตอนที่เช่าบ้านหลังนี้ แต่เอกสารฉบับนี้ดันไปตกอยู่ในมือของมัน) มันก็จะมาที่บ้านเช่าหลังนี้ด้วย***



ถาม : ขอถามเรื่องฟ้องอีกเรื่องนึงคะ ทะเบียนบ้านดิฉันอยู่ต่างจังหวัด แต่ทำงานที่กรุงเทพฯ หากมีการฟ้องร้องหมายศาลจะถูกส่งไปที่ภูมิลำเนาเกิด แต่ถ้าทางบ้านไม่ยอมส่งมาให้เรา หรือว่าติดต่อบอกเรา (สาเหตุเพราะว่าทะเบียนบ้านตอนนี้เป็นชื่ออา ซึ่งสมัยก่อนเป็นของย่า แต่ย่าเสียชีวิต พ่อกับแม่ไม่ยอมย้ายชื่อออกมา แล้วดันมาทะเลาะกันอีก ไม่ยอมคุยกันเลย เฮ้อ....) ทำให้ไปขึ้นศาลไม่ทันเวลาที่นัด ศาลจะตัดสินให้เจ้าหนี้ชนะความเลยใช่ไหมคะ
ตอบ : ใช่ครับ



ถาม : ถ้าเป็นแบบนี้เราจะแก้ไขอย่างไรดีคะ
ตอบ : ต้องย้ายชื่อออกมาอย่างเดียวครับ...ไม่มีวิธีอื่น



ถาม : เราสามารถเช็คที่ไหนได้ไหมคะว่ามีรายชื่อเรานัดขึ้นศาลหรือเปล่า
ตอบ : เช็คได้ที่ศาล ตามที่โดนหมายฟ้องอย่างเดียวครับ...ไม่มีวิธีอื่น

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #54671 โดย jackTs
.
ข้อสังเกตุ กรณีความเป็นเจ้าของบ้าน(เจ้าบ้าน)

และความเป็นเจ้าของที่ดิน(เจ้าของโฉนด)



ผู้ที่เป็น"เจ้าบ้าน"ในทะเบียนบ้าน จะมีชื่อเป็นคนเดียวกันกับ"เจ้าของโฉนด"...หรือเป็นจะคนละคนกันก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น นายสมศักดิ์ไปเช่าที่ดินว่างเปล่าของนางราตรี โดยทำเป็นสัญญาเช่าระยะยาว(30ปี) เพื่อสร้างเป็นบ้านพักอาศัย และทำธุรกิจเล็กๆภายในบ้านของตัวเองด้วย

พอสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายสมศักดิ์ก็ไปติดต่อที่ อำเภอ/เขต เพื่อขอเลขที่บ้านและเล่มทะเบียนบ้าน โดยนายสมศักดิ์แจ้งว่าตนเองเป็น"เจ้าของบ้าน"หลังดังกล่าว

นายสมศักดิ์ จึงมีชื่อเป็น"เจ้าบ้าน "ในเล่มทะเบียนบ้านหลังนี้

- นายสมศักดิ์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกอย่างที่มีอยู่ภายในบ้าน(รวมทั้งตัวอาคารบ้านด้วย)
แต่ นายสมศักดิ์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งบ้านของนายสมศักดิ์ปลูกสร้างอยู่

- ส่วนนางราตรีเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีบ้านของนายสมศักดิ์ ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของตน
แต่ นางราตรีไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน(อาคารที่ปลูกสร้างเป็นบ้าน) รวมทั้งทรัพย์สินต่างๆที่อยู่ภายในบ้านของนายสมศักดิ์

ดังนั้น ถ้าหากนายสมศักดิ์เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ จนกระทั่งถูกฟ้องร้องต่อศาลหมดแล้ว นายสมศักดิ์อาจต้องถูกยึดทรัพย์สินภายในบ้าน ภายใต้ข้อกฎหมายที่กำหนด
แต่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหมดของนายสมศักดิ์ จะไม่สามารถไปยึดที่ดินของนางราตรีได้ เพราะนางราตรีไม่ได้เป็นหนี้ใคร


ในมุมกลับกัน...ถ้าหากนายสมศักดิ์ไม่ได้มีปัญหาเรื่องหนี้ใดๆ แต่นางราตรีกลับมีหนี้สินเยอะแยะมากมาย จนกระทั่งถูกฟ้องศาลเสร็จแล้ว นางราตรีอาจต้องถูกเจ้าหนี้ยึดเอาโฉนดผืนนี้ไปขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้

เมื่อมีผู้ยกมือให้ราคาสูงสุดในการประมูลขายทอดตลาด ในที่ดินของนางราตรีเสร็จสิ้น เจ้าของที่ดินรายใหม่นี้(ผู้ที่ซื้อที่ดินได้) ก็มีสิทธิ์ที่จะขับไล่นายสมศักดิ์ให้ออกไปจากที่ดินของตนได้ตามกฎหมาย พร้อมกับมีสิทธิ์ยึดเอาบ้าน(ตัวอาคารบ้าน)ของนายสมศักดิ์อีกด้วย โดยที่นายสมศักดิ์ไม่มีสิทธิ์ร้องคัดค้านแต่อย่างใด

หากนายสมศักดิ์ไม่พอใจ นายสมศักดิ์ก็ต้องไปฟ้องร้องเรียกเอาเงินค่าเสียหายจากนางราตรีต่อไป เนื่องจากยังไม่ครบสัญญาเช่า(30ปี) แต่กลับต้องมาถูกฟ้องขับไล่จากเจ้าของที่ดินรายใหม่


*** ดังนั้น...ถ้าหากลูกหนี้รายใดที่มีหนี้สินเยอะมากแบบประเภท"หนี้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ***
แล้วยังมีชื่อเป็น"เจ้าบ้าน"และมีชื่อเป็น"เจ้าของโฉนด"อีกด้วย
หากถูกศาลฟ้องแล้ว และไม่มีหนทางไปเคลียร์หนี้สินตามที่ศาลพิพากษาได้

ก็อาจถูกยึดทรัพย์ได้ทั้งสองอย่างเลย (ยึดทั้งทรัพย์สินภายในบ้านและก็โฉนดที่ดินด้วย)
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 2 เดือน ที่ผ่านมา #54672 โดย jackTs
.
เจ้าหนี้สามารถยึด บ้าน/คอนโด/ที่ดิน ของลูกหนี้

ที่ยังติดผ่อนจำนองอยู่กับธนาคารฯได้หรื​อไม่?



บ้าน/ที่ดิน ที่ยังติดผ่อนอยู่ สามารถถูกยึดได้

เพราะผู้ที่ผ่อนชำระหนี้ กับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้บ้าน

ได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้ว ตั้งแต่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย บ้าน/คอนโด/โฉนดที่ดิน

ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้บ้าน เป็นเพียงผู้ให้กู้เงิน ในฐานะ"เจ้าหนี้จำนอง "เท่านั้น...แต่มิใช่เจ้าของ

(สามารถดูชื่อเจ้าของได้จาก สำเนาถ่ายเอกสารโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าว ซึ่งจะมีรายชื่อ"เจ้าของที่ดิน " อยู่ในด้านหลังของโฉนด...อย่างชัดเจน)

ผู้ที่ผ่อนชำระเป็นลูกหนี้(จำเลย)ตามคำพิพากษาของศาล ไม่ว่าจะเป็นคดีบัตรเครดิตหรือคดีหนี้เงินต่างๆ

หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในคดีของบัตรเครดิตหรือคดีหนี้เงินต่างๆเหล่านั้น

มันดันไปสืบเจอว่า บ้าน/คอนโด/ที่ดิน ดังกล่าวนี้ มีชื่อของลูกหนี้เป็นเจ้าของ

(ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของในฐานะ "ผู้กู้หลัก" หรือ "ผู้กู้ร่วม" ก็ตาม)

และถึงแม้จะยังคงต้องจ่ายค่าผ่อนหนี้จำนองอยู่กับธนาคารใดๆก็ตาม...ก็ไม่สามารถปฏิเสธจากการถูกยึดไปได้

เจ้าหนี้บัตรต่างๆ(โจทก์)สามารถไปแจ้งหลักฐาน ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี

ให้มายึดเอา บ้าน/คอนโด/โฉนดที่ดิน ไปขายใช้หนี้ได้ตามกฏหมาย



กระทู้ตัวอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการยึด บ้าน/ที่ดิน

โดนยึดบ้านราคา 3ล้านบาท จากคดีบัตรเครดิต หนี้เงินแค่ 25,000 บาท
www.debtclub.consumerthai.org/odebt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=0&func=view&id=9039&view=flat&catid=2

www.debtclub.consumerthai.org/odebt/index.php?option=com_fireboard&func=view&id=9039&view=flat&catid=2&limitstart=6


ได้รับหมายบังคับคดี จากซิตี้คอร์ป
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=41762&Itemid=64


ตอนนี้มีหมายศาลยึดบ้านจากกรมบังคับคดี
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=41352&Itemid=64


โดนบังคับคดีสินเชื่อส่วนบุคคล
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=42751&Itemid=64


โดนยึดบ้านขายทอดตลาดเพราะเป็นหนี้บัตรเครดิต
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=30725&Itemid=64#30725


บ้านโดนยึดแล้วค่ะ
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=5&id=16915&Itemid=64&view=topic#16915




แฟนเป็นหนี้บัตรเครดิต มีบ้านที่กู้ร่วมกันอยู่ แต่ยังผ่อนไม่หมด สามารถมายึดบ้านหลังนี้ได้ไหมคะ?





โดนฟ้อง ยึดทรัพย์ บ้านที่อาศัยอยู่โดนประกาศขาย เราจะอยู่บ้านหลังนี้ได้อีกนานแค่ไหนครับ?




ความรู้เสริมเพิ่มเติม
www.led.go.th/datacenter/pdf/e-book_SaranaruPang.pdf

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #55599 โดย jackTs
.
กระทู้ตัวอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการยึดรถ

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=2247&Itemid=52#2249

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=7238&Itemid=52

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=7414&Itemid=52


สรุป

รถที่ยังผ่อนอยู่ ยึดไม่ได้ เพราะรถยังมีชื่อของ ไฟแนนซ์/ลิสซิ่ง เป็นเจ้าของอยู่

(สามารถดู"ชื่อเจ้าของรถ"ได้จาก สำเนาสมุดจดทะเบียนรถคันดังกล่าว)

จนกว่าจะจ่ายค่าผ่อนจนหมด แล้วเปลี่ยนชื่อจากผู้ที่จ่ายผ่อนชำระ ให้เป็นเจ้าของรถที่แท้จริง

เมื่อนั้นแหละ...ผู้ที่ผ่อนชำระเป็นลูกหนี้(จำเลย)ตามคำพิพากษาของศาล ถึงจะได้มีชื่อเป็นเจ้าของรถที่แท้ตามกฏหมาย แล้วก็จะได้สมุดเล่มทะเบียนรถตัวจริงเอากลับไปครอบครองด้วย

หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดันไปสืบเจอว่ารถคันนี้ ลูกหนี้ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้ว

เจ้าหนี้(โจทก์)ก็จะไปแจ้งหลักฐานต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้มายึดรถไปขายใช้หนี้ได้ตามกฏหมายต่อไป

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #57746 โดย jackTs

Lalada เขียน: สวัสดีทุกๆท่านในชมรมนี้ค่ะ
ดิฉันมีข้อมูลสอบถามค่ะ ยังไงรบกวนด้วยนะคะ ถ้าคำถามนี้เป็นการรบกวนหรือเป็นคำถามซ้ำ
ดิฉันต้องกราบขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ
ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้ค่ะ ในกรณีของดิฉันมีหนี้บัตรเครดิตและศาลได้มีคำพิพากษาให้ดิฉันต้องชำระหนี้
บัตรเครดิตให้กับเจ้าหนี้ แต่ดิฉันไม่ได้ชำระ จนได้มีการบังคับคดี แต่เนื่องจากดิฉันไม่ได้ทำงานประจำ
จึงไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ แต่ดิฉันมีผ่อนรถยนต์อยู่1คัน ดิฉันขอถามดังนี้ค่ะ
-ตอนนี้รถคันนี้ผ่อนมาได้ 1 ปี 6 เดือน ดิฉันตั้งใจผ่อนจนหมดอยู่แล้ว เหลืออีก 4 ปี 6 เดือน
ถ้าดิฉันผ่อนหมด ดิฉันจะมีเวลาโอนเปลี่ยนชื่อหรือขายได้ทันก่อนที่เจ้าหนี้จะมายึดรถไปชำระหนี้บัตรเครดิตไหมคะ ( รถคันนี้ไฟแนนเป็นของธนาคารธนชาติ และดิฉันก็มีหนี้บัตรกับธนาคารนี้ด้วยค่ะ)
ขอขอบพระคุณสำหรับคำตอบนะคะ


จากประสบการ์ณในการให้คำปรึกษาเรื่องหนี้ตลอด กว่า10ปี ที่ผ่านมา
ผมมักเจอปัญหาจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาถาม ทางสาย Hotline อยู่เสมอ...อาทิเช่น

- ดิฉันมีหนี้บัตรเครดิตกับ ธ.ธนชาติ แล้วก็มีหนี้ที่ต้องผ่อนรถอยู่กับ ธ.ธนชาติ ด้วย เมื่อหยุดจ่ายหนี้บัตรเครดิตทุกใบแล้ว(ซึ่งรวมของของ ธ.ธนชาติด้วย) แต่ยังคงผ่อนหนี้รถไปเรื่อยๆจนหมด
พอผ่อนหนี้รถจนหมดแล้วเราต้องการโอนรถให้เป็้นชื่อของเรา ธนชาติกลับไม่ยอมโอนให้ โดยอ้างว่ายังติดหนี้บัตรเครดิตอยู่ ถ้าอยากจะให้ทำการโอนรถให้ ก็ต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดเสียก่อน โดยไม่มีส่วนลดเลย(ไม่มี Hair cut)...ต้องทำยังไงดีคะ?


- มีหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดหลายใบ(จ่ายไม่ไหว หยุดจ่ายหมดแล้ว) แต่ก็มีหนี้สินเชื่อเงินกู้กับ ธ.ธนชาติที่ยังไม่หยุดจ่าย และก็ยังผ่อนหนี้รถกับธนชาติอยู่(ยังไม่หยุดจ่าย)
พอดิฉันรู้ว่าขืนผ่อนหนี้รถต่อไปจนหมด หนี้บัตรเครดิตใบอื่นๆที่หยุดจ่ายไป ก็คงฟ้องศาลและมายึดเอารถไปแน่ๆ จึงอยากทำเรื่องขายรถคันนี้ให้กับพี่สาวในตอนนี้ซะก่อน แล้วให้พี่สาวไปผ่อนต่อที่เหลือกับธนชาติเอาเอง แต่ธนชาติกลับไม่ยอมให้ โอน ขาย หรือเปลี่ยนมือได้เลยค่ะ
ทางเขาอ้างว่าถ้าจะเปลี่ยนมือ ก็ต้องจ่ายหนี้เงินกู้ให้หมดเสียก่อน ไม่งั้นก็ไม่ยอมทำสัญญาใหม่ให้...ช่วยแนะนำด้วยค่ะ


- ผมมีหนี้บัตรเครดิตกับ UOB และก็ยังผ่อนบ้านอยู่กับ UOB ด้วย และผมก็หยุดจ่ายหนี้บัตรเครดิตหมดทุกใบแล้ว รวมทั้งบัตรเครดิตของ UOB ด้วย แต่สำหรับหนี้บ้านผมยังผ่อนอยู่นะครับ
พอมาทราบข้อมูลจากชมรมฯว่า บ้านที่ยังผ่อนอยู่ เจ้าหนี้บัตรเครดิตใบอื่นๆก็สามารถยึดได้ทั้งๆที่ยังผ่อนอยู่ก็ตาม ผมก็เลยคิดว่าควรรีบขายบ้านไปซะตั้งแต่ตอนนี้ ดีกว่าถูกยึดบ้านในอนาคต
ตอนนี้ผมหาผู้ซื้อบ้านได้แล้วครับ แต่พอผมไปติดต่อขายบ้านโดยให้ UOB ต้องมาเซ็นต์ชื่อร่วมด้วย ทาง UOB กลับไม่ยอมเซ็นต์ชื่อโอนให้ครับ ทางผู้ซื้อก็ซื้อต่อไปไม่ได้ เพราะ UOB มีสถานะเป็น"เจ้าหนี้จำนอง" ถ้าหากไม่ยอมเซ็นต์ชื่อมอบโอนให้ ก็จะทำการ ซื้อ-ขาย บ้านกันไม่ได้เลย
ทาง UOB อ้างอย่างเดียวว่าผมยังติดหนี้บัตรเครดิตอยู่ ถ้าไม่ยอมใช้หนี้บัตรเครดิตให้หมด ก็จะไม่ยอมเซ็นต์ชื่อให้ ผมก็เลยขอต่อรองส่วนลดหนี้บัตรเครดิตกับ UOB ดู (ขอ Hair cut) ปรากฏว่ามันไม่ยอมลดหนี้ให้แม้แต่บาทเดียวเลยครับ เล่นตัวตลอด โดยมันอ้างว่า UOB มีฐานะเป็น"เจ้าหนี้จำนอง"ถ้าผมไม่ยอมจ่ายหนี้บัตรต่างๆของ UOB ให้หมด มันก็จะยึดบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์...ผมจะทำยังไงได้บ้างครับ?



นี่เป็นเพียง"ตัวอย่าง"ที่ผมได้รับทราบปัญหา ผ่านทางสาย Hotline ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ผู้ทีมีหนี้บัตรเครดิตและหนี้ทรัพย์สินที่ยังผ่อนอยู่ เป็นเจ้าหนี้"รายเดียวกัน"

มักจะมีปัญหาและเสียเปรียบเสมอ เนื่องจากมีทรัพย์เป็นตัวประกัน


ดังนั้น...ลูกหนี้ในกรณีเช่นนี้

จะใช้วิธีหยุดจ่าย แล้วขอส่วนลด(Hair cut)ไม่ได้ครับ

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

9 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #63764 โดย jackTs
.
โดยปกติแล้ว เรื่องของหนี้เงินจัดเป็นเรื่อง"ส่วนตัว"ของใครของมัน คู่รักที่รักกัน ถึงจะอยู่กินด้วยกันฉันสามี/ภรรยา แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หนีสินของแต่ละคน ก็ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดชอบกันเอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล จะไม่สามารถไปทำการยึดทรัพย์ของอีกฝ่ายได้

แต่หากวันใดก็ตาม เมื่อคู่รักตามที่ว่านี้ ไปทำการจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ในทางกฎหมายจะถือว่าคู่รักทั้งสองคนนี้ เป็นบุคคล คนเดียวกันในทางกฎหมายทันที

ดังนั้นทรัพย์สินใดๆก็ตาม(เช่น บ้าน , รถยนต์ , โฉนดที่ดิน)ที่หาซื้อมาในระหว่างที่จดทะเบัยนสมรสกันแล้ว สามี/ภรรยาตามทะเบียนสมรส จะมีความเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นๆคนละครึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าในสองคนนี้ ไมว่าใครก็ตามจะเป็นผู้ออกเงินซื้อทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว คู่สมรสอีกฝ่ายไม่ได้ควักกระเป๋าช่วยจ่ายเงินซื้อเลยแม้แต่บาทเดียวก็ตาม คู่สมรสที่ไม่ได้ช่วยจ่ายเงินซื้ออีกฝ่าย ก็มีความเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ซื้อมานั้นครึ่งหนึ่งในทางกฎหมาย (คู่สมรสจะมีความเป็นเจ้าของทรัพย์กันคนละครึ่ง ถึงแม้จะออกเงินซื้อจากคนใดคนหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวก็ตาม) เพราะกฎหมายจะถือว่าทรัพย์นั้นๆเป็นสินสมรส

ทรัพย์ใดๆก็ตาม ที่ได้มาภายในช่วงระยะเวลาที่คู่สามี/ภรรยาจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ตามกฎหมายถือว่าเป็นสินสมรส แต่...ทรัพย์ใดๆก็ตาม ที่ได้มาก่อนทำการจดทะเบียนสมรสกัน หรือได้มาภายหลังจากที่จดทะเบียนหย่าขาดจากกันแล้ว ทรัพย์นั้นๆก็ไม่ใช่เป็นสินสมรส

สินสมรสทุกอย่าง ถึงแม้จะมีชื่อของ"คู่สมรส"ของลูกหนี้ เป็นเจ้าของ"เพียงคนเดียว"ก็ตาม(ไม่ได้มีชื่อของลูกหนี้เป็นเจ้าของเลย) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ก็สามารถยึด/อายัดได้กึงหนึ่ง(ครึ่งนึง)ตามกฎหมาย หากสืบได้ว่าทรัพย์นั้นๆ หาได้มาหรือซื้อมาในระหว่างที่ยังจดทะเบียนสมรสกันอยู่

ยกเว้นเงินเดือนของแต่ละคน เพราะเงินเดือนของแต่ละคนที่หามาได้ เป็นของใครของมัน ถึงจะจดทะเบียนสมรสกันแล้วก็ตาม เพราะเงินเดือน ไม่ถึอว่าเป็นสินสมรส เงินเดือนของแต่ละบุคคล...เป็นของใครของมัน
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ไม่สามารถอายัดเงินเดือนของอีกฝ่ายได้


ตัวอย่าง

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=5&id=36134&Itemid=64&view=topic#36134

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=41129&Itemid=64&limitstart=20#51447

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=41059&limitstart=20&Itemid=64#51490

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.712 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena