แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาลแบบบ้านๆ

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #40517 โดย ntps
แก้วจ๋าขอออกตัวก่อนว่า ที่ตั้งกระทู้นี้ ไม่ใช่คิดว่า ตัวเองเป็นเซียนขึ้นศาล แค่ได้รับเกียรติจาก 11 เจ้าหนี้ยื่นฟ้องประมาณ 22 บัตรเครดิตและสินเชื่อเท่านั้นค่ะ แต่เห็นว่า ใครๆมักถามบ่อยเรื่องเกี่ยวกับหมายศาล ได้แล้วต้องทำตัวยังไงดี แก้วจ๋าจึงขอตั้งกระทู้นี้เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกเลือกไปพิจารณาปรับให้เข้ากับมูลหนี้และความสามารถของตัวเองนะค่ะ

แก้วจ๋าขอเน้นแนวทาง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะค่ะ ไม่เน้นข้อกฎหมาย ไม่เน้นทนาย แก้วจ๋าและชมรมฯ เข้าใจว่า ลูกหนี้ทุกคนมีความทุกข์มากพอแล้ว ไม่อยากให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มถ้าไม่จำเป็น เงินทุกบาททุกสตางค์ของคุณควรถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและในยามจำเป็นจริงๆค่ะ

ขอเกริ่นเรื่องระยะเวลาตามระบบก่อน โดยนับจากเดือนที่หยุดจ่ายค่ะ แต่ละท่านอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นไปด้วยดี สม่ำเสมอหรือเปล่าด้วยค่ะ ยิ่งลูกหนี้หนี ไม่รับ ไม่รู้ และมูลหนี้สูง ยิ่งส่งผลให้เจ้าหนี้เร่งส่งฟ้องก่อนหมดอายุความค่ะ

1-4 เดือน →ทวงหนี้ , 4-6เดือน→ เริ่มขอปรับโครงสร้างหนี้ , 6เดือนขึ้นไป→ เตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการฟ้องค่ะ

แก้วจ๋าเข้าใจความรู้สึกของทุกคน ที่ได้รับหมายศาลมาห้อยหน้าประตูหน้าบ้านครั้งแรกค่ะ มันเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีใครอยากได้อยากเจอสิ่งนี้หรอกค่ะ หน้าตาของหมายศาลค่ะ





แต่อยากให้คิดในทางบวกว่า สิ่งนี้ใช่ไหมที่ทำให้เราเครียดและกลัวจนนอนไม่หลับ และแล้วเราก็ได้มันมาแล้ว เราควรยิ้มรับดีใจ เพราะเป็นวันที่รอคอยมานาน ให้กำลังใจตัวเองเหมือนเรากำลังถูกรางวัล Jackpot ก็ได้ค่ะ
อยากให้นึกว่า หมายศาลไม่ใช่คำประหารชีวิต ไม่ใช่จุดจบของคำว่า หนี้ค่ะ ยังมีอีกมากมายที่ต้องเจอหลังจากนี้ค่ะ แล้วการไปขึ้นศาลไม่ใช่วันไปชำระหนี้ค่ะ เราไปศาลเพื่อไปไกล่เกลี่ย ดังนั้น อย่าเพิ่งรีบร้อน ตกใจกลัวหาเงินไม่ทันใช้เขาค่ะ ไม่ต้องพกเงินไปศาลมาก เอาแค่พอสำหรับเดินทางและทานอาหารทานน้ำค่ะ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, Pych
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #40518 โดย ntps
ความรู้สึกของแก้วจ๋าเมื่อได้รับหมายศาลแรก เป็นเคสของ Amex ที่ฟ้องหลังจากหยุดมา 6เดือน
วันนั้นแก้วจ๋าได้รับหมายศาลแรกเมื่อกลับจากที่ทำงาน กำลังนำรถเข้าจอด รปภ. ประจำสำนักงานของน้อง นำหมายศาลที่เปลือยเปล่ามายื่นให้ แก้วจ๋ารับด้วยความตกใจ ใจหายแม้จะเตรียมใจมาพอสมควร มองไปรอบตัวเห็นมีแต่สายตาความอยากรู้อยากเห็นว่า ทำไมคุณนายคุณหนูคนนี้ไม่เคยต้องไปเขตฯ ด้วยตัวเอง มีรถขับไปทำงานบริษัทฯระดับอินเตอร์ ถูกฟ้องเรื่องอะไร แก้วจ๋ารีบเดินจ้ำกลับเข้าบ้าน สมองยังมึน ไม่รู้จะจัดการยังไงกับหมายศาลข้างหน้านี้ เหมือนวินาทีนั้นชีวิตหยุดเดิน สติหลุดไปชั่วขณะ ถามว่า อายไหม ก็อายนะเข้าห้องมานั่งมองหมายศาลสักพักใหญ่ แล้วสูดหายใจให้เต็มปอด ขยับแว่นแล้วนั่งอ่านอย่างละเอียดและพยายามทำความเข้าใจแต่ละหน้า สรุป เมื่อพอเข้าใจ ก็ขอคำชี้แนะจากคุณอาค่ะ เอกสารทุกอย่างดูเหมือนถูกต้อง ขั้นตอนต่อไป คือ เดินหน้ารอวันไปศาลค่ะ คุณอาถามว่า ไปได้ไหม แก้วจ๋าอยากเรียนรู้ จึงตอบว่า ได้ค่ะ แม้ใจยังปอดๆ เอาน่า คงไม่มีอะไรน่ากลัวกว่าการรับโทรศัพท์ทวงหนี้อีกหรอกนะ เราสร้างหนี้เองก็ต้องมั่นใจเกิน 100 ที่จะจบหนี้ได้เองค่ะ ลุยเดี่ยวตั้งแต่เคสแรกค่ะ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #40519 โดย ntps
1 ครั้งแรกที่ได้รับหมายศาล

อยากแนะนำ ให้อ่านใบปะด้านหน้าอย่างเข้าใจ สำคัญที่สุด คือจำวันเดือนปี สถานที่ ที่ต้องไปขึ้นศาลค่ะ ตรวจดูชื่อเรา หมายเลขบัญชีหรือบัตรเครดิต ส่วนด้านในหมายศาลจะระบุคำฟ้อง ยอดฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้อยากได้คืน เอกสารเกี่ยวกับเจ้าหนี้ สำนักงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการฟ้อง ใบสมัครของเรา เอกสาร statement ตั้งแต่เริ่มใช้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อจนถึงวันหยุดชำระ และฟ้อง เอกสารหนังสือแจ้งการยกเลิกบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ ความหนาบางของหมายศาลขึ้นกับระยะเวลาการเป็นสมาชิก และปริมาณการใช้ค่ะ ของแก้วจ๋ามาเป็นอย่างหนาเกือบทุกบัตร

อย่าลืมตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองว่า เจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องคุณ

1 เกินกำหนดอายุความหรือไม่ โดย บัตรเครดิตอายุความฟ้อง 2 ปี ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลมีอายุความฟ้อง 5 ปี นับจากวันที่คุณผิดนัดชำระครั้งแรก..

2 การฟ้องถูกต้องหรือไม่ เช่น ฟ้องบัตรเสริมไม่ได้ ฟ้องศาลพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของคุณไม่ได้ (เนื่องจากคดีผู้บริโภคต้องฟ้องพื้นที่ที่จำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่เท่านั้น) เป็นต้น

หากเกิดกรณีดั่งข้างต้นนี้ สิ่งที่ควรกระทำคือ ต้องนำหมายศาลไปให้ทนายเขียนคำให้การแย้งว่าการฟ้องนี้ไม่ถูกต้อง และเป็นโมฆะค่ะ (แม้เจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้แต่ยังทวงหนี้ต่อได้นะค่ะ)

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #40522 โดย ntps
2 ขั้นที่สอง คือ การวางแผน

ต้องถาม และสำรวจตัวเองนับตั้งแต่วันที่หยุดชำระ จนถึงวันที่ฟ้อง มีการเตรียมตัวหรือเปล่า

2.1 คุณทำงานประจำ หรืองานส่วนตัว หรือตกงาน
2.2 ความสามารถในการหารายได้ และภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
2.3 จำนวนเงินออมเพื่อปลดหนี้มีถึงครึ่งของยอดฟ้องไหม (มีแต่ไม่ถึงครึ่ง หรือ ไม่มีเลย)
2.4 มีจำนวนเจ้าหนี้เท่าไร หยุดชำระพร้อมกันไหม (ใกล้จะฟ้องตามมาหรือไม่)
2.5 คุณมีทรัพย์สินชื่อคุณมากแค่ไหน (บัญชีเงินฝาก บ้าน รถ ที่ดิน และอื่นๆ ที่สามารถถูกอายัดได้ เป็นต้น ไม่ว่าจำนองหรือเป็นของตัวเอง)
2.6 ทัศนคติเกี่ยวกับการถูกอายัดเงินเดือน (หากมี) กับอายัดทรัพย์สิน
2.7 การขึ้นศาลที่กทม. และปริมณฑล หรือ ต่างจังหวัด (เพื่อทราบว่า คดีจะดำเนินการเร็วหรือช้า)


กรณี 1 ไม่มีทรัพย์สินเลย และตกงาน คุณสามารถเลือก

1 จะไปศาลเอง เพื่อทำให้ศาลเห็นเจตนาไม่หนี มีปัญหาเรื่องเงินจริงก็ได้ ศาลอาจเมตตาลดหย่อนดอกเบี้ยให้ค่ะ
2 ไม่ไปก็ได้ หากการเดินทางไปศาลมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ซึ่งแนะว่าควรเก็บเงินไว้ดีกว่า แล้วปล่อยให้ศาลพิพากษาตามฟ้อง ในกรณีนี้ อาจเสียเปรียบเจ้าหนี้ แต่ ณ วันนี้คุณควรเอาตัวเองให้รอดก่อน แล้วค่อยกลับมาเคลียร์กับเจ้าหนี้ทีหลังเมื่อพร้อม เพราะเจ้าหนี้ไม่สามารถดำเนินการอายัดใดๆ จากคุณได้ค่ะ


กรณี 2 ไม่มีเงินเดือนผ่านแบงค์ ไม่มีเงินออม แต่มีทรัพย์สินครอบครอง

คุณมีความเสี่ยงสูงหากไม่ไปศาลเลย เจ้าหนี้จะใช้สิทธิตามกฎหมาย ยื่นเรื่องไปขออายัดทรัพย์สินที่สืบได้ค่ะ แม้ทรัพย์สินนั้นจะถูกจำนองกับแบงค์อื่นค่ะ หรือมีชื่อผู้กู้ร่วมค่ะ การไปศาลจะช่วยชะลอการดำเนินการทางกฎหมายได้บ้างค่ะ เพื่อเลือกที่จะปล่อยทรัพย์สินด้วยตัวคุณเอง ดีกว่าให้เจ้าหนี้ยึดแล้วขายทอดตลาดในราคากลางค่ะ เพราะเงินที่ได้สามารถนำมาต่อรองเพื่อปิด ได้มากกว่า 1 เจ้าหนี้ค่ะ


กรณี 3 มีเงินเดือน มีทรัพย์สิน ไม่มีเงินออม

ในส่วนของบ้าน หากคุณไม่ได้ดำเนินการใดตั้งแต่ต้น ว่าด้วยเรื่องเปลี่ยนจากผู้เป็นเจ้าของ เป็นผู้อยู่อาศัย หรือ เปลี่ยนมือจากผู้กู้ คุณก็ไม่ควรดำเนินในวันที่ได้รับหมายศาลแล้วค่ะ เพราะจะกลายเป็นการอำพรางทรัพย์ มีโทษต่อคุณ ส่วนรถ เจ้าหนี้อายัดไม่ได้จนกว่า คุณจะผ่อนชำระจนครบค่ะ

ในกรณีนี้ แก้วจ๋าเห็นว่า คุณควรไปใช้สิทธิขึ้นศาล เพื่อ 1 ซื้อเวลารอวันที่พร้อม 2 แสดงเจตนาอยากชำระหนี้ถ้าพร้อม แม้คุณอาจเสียเปรียบเจ้าหนี้ในการต่อรอง แต่ไม่เสียสิทธิค่ะ คุณสามารถต่อรองได้ อาจได้รับข้อเสนอที่มีส่วนลดไม่มากเท่ากับคนที่มีความเสี่ยงสูง หรือคนไม่มีอะไรเป็นของตัวเองค่ะ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 8 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #40524 โดย ntps
3 ขั้นที่สาม

การไปศาลตามนัดสืบ ส่วนนัดไกล่เกลี่ย จะไปก็ได้ไม่ไปก็ได้ ในกรณีบางคนได้รับการนัดไปศาล 2 ครั้งค่ะ อยากให้อ่านลิงค์นี้ น้องเขาทำดีมาก เล่าถึงการบรรยากาศไปศาลที่ไม่น่ากลัว ตั้งแต่เดินเข้าประตูจนถึงออกค่ะ
www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=6&id=18108&Itemid=64

3.1 นัดแรก

เพื่อไปรับฟังข้อเสนอจากเจ้าหนี้ โดยทั่วไป ทนายโจทก์จะได้รับมอบหมายอำนาจจากเจ้าหนี้ให้เจรจาต่อรองได้ แต่บางคนก็ไม่มี ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม หากรับทราบข้อมูลแล้ว ไม่สามารถทำตามได้ อย่าด่วนใจร้อน ให้กลับมาตั้งหลักใหม่ คุณสามารถเลื่อนนัดศาลครั้งนี้ไปก่อน ด้วยเหตุผลว่า ขอเวลาทนายโจทก์และศาลในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้นอกรอบค่ะ การเลื่อนด้วยปากเปล่าอาจได้รับการเห็นชอบประมาณ 1 เดือน หรืออาจมากกว่านั้นแต่ไม่เกิน 2 เดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ศาลค่ะ ทำให้คุณมีเวลารวบรวมเงินเพื่อไปต่อรองกับเจ้าหนี้ แต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายโจทก์ยอมด้วยหรือไม่ค่ะ


3.2 ช่วงระหว่างรอการขึ้นศาลนัดที่ 2 คุณสามารถโทรสอบถามข้อเสนอจากสำนักงานที่ได้รับมอบหมายหรือเจ้าหนี้ตัวจริงได้ค่ะ และต่อรองยื่นข้อเสนอตัวเองได้เช่นกัน การเจรจาจะสำเร็จผลได้ ต้องเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ บางครั้ง การไม่มีอะไรเป็นของตัวเองทำให้คุณได้เปรียบในการต่อรอง (นี้คือที่มาของการปล่อยวางค่ะ ถ้าทำได้คุณจะไม่มีอะไรต้องเสีย) และบางทีเราต้องใช้จิตวิทยาในการเจราจา ทำให้เจ้าหนี้เข้าใจเจตนาของลูกหนี้ที่ดีว่า ไม่หนี แต่มีไม่พอ หรือ ไม่มีแต่อยากปิดใจจะขาดหากได้ตัวเลขที่ทำได้ จะนำมาถวาย 555 เทคนิคการเจรจา สำคัญที่เราต้องทำให้ตัวเองมั่นใจก่อน จึงสามารถโน้มน้าวเจ้าหนี้ได้ค่ะ อย่าผูกมัดตัวเองด้วยการรีบตกลงในสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือเป็นไปไม่ได้ค่ะ เพราะหากคุณผิดนัดชำระตามสัญญา เจ้าหนี้อาจคุยต่อยากขึ้น งอแงและเขี้ยวมากขึ้น อีกทั้ง เจ้าหนี้สามารถเร่งกระบวนการทางกฎหมายเร็วขึ้น (การอายัดเงินเดือน/ทรัพย์สิน)


ในการนี้ ข้อตกลงดังกล่าว สามารถกระทำได้ 2 กรณี

1 ส่งเป็นหนังสือหนังสือยืนยันหลักฐาน ไม่ว่าจะทาง FAX หรือ ทาง Email ไม่จำเป็นต้องรอบุรุษไปรษณีย์ค่ะ ก่อนนัดที่ 2 ในกรณีนี้ หากการชำระปิดหนี้เกิดขึ้นหลังจากนัดที่ 2 คุณต้องไปตามนัดที่ 2 เพื่อขอเลื่อนนัดอีกครั้ง จนกว่าการชำระจะเสร็จสิ้น แล้วทางเจ้าหนี้จะเป็นผู้ดำเนินการถอนฟ้องค่ะ
หรือ

2 เมื่อถึงนัดที่ 2 ไปศาล เพื่อเซ็นในเอกสารชื่อ สัญญาประนีประนอมยอมความหน้าศาลซึ่งจะระบุรายละเอียดตามที่คุณได้ตกลงกับเจ้าหนี้ก่อนหน้านี้ และถือว่าการฟ้องคดีเป็นอันสิ้นสุด หากคุณผิดนัดชำระ เจ้าหนี้จะดำเนินการเรียกเก็บดอกเบี้ย 15% ตามกฎหมายกับยอดหนี้ที่เหลือค่ะ
สิ่งสำคัญที่สุด คือ ขอให้ตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดว่า ตรงกับข้อตกลงที่คุยกันหรือไม่ หากมีข้อสงสัย สามารถแจ้งแก้ไขได้ค่ะ อย่าได้เกรงใจใคร


การทำสัญญาประนอมยอมความหน้าศาลนั้น ไม่แนะนำให้ทำหากเกินความสามารถของคุณ
คุณต้องประมาณการรายได้ตัวเองหลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และจำนวนเจ้าหนี้ที่เหลือให้รอบคอบ หากรับยอมความเกิน 30 % ของรายได้หลังหัก คุณอาจกลับไปสู่วังวนขั้นต่ำเหมือนเดิม

แก้วจ๋าใช้วิธียอมความหน้าศาลเกือบทุกเคส ยกเว้น Amex เพราะพิจารณาแล้วว่า ตัวเองรับไหว
และแก้วจ๋าได้ต่อรองจนถึงที่สุดแล้วด้วยค่ะ หากเจ้าหนี้ไม่ลดหนี้ให้ แก้วจ๋าขอผ่อนรายเดือนต่ำไว้ก่อน
แต่ต้องปลอดดอกเบี้ยเท่านั้น จึงจะคุ้มค่าค่ะ แล้วพอผ่อนมาระยะหนึ่ง จะได้ส่วนลดจากเจ้าหนี้ เพื่อปิดหนี้ที่เหลือค่ะ

ในความเห็นของแก้วจ๋า เมื่อใดที่เจ้าหนี้ได้คำพิพากษามาอยู่ในมือแล้ว ลูกหนี้จะเป็นรองในการต่อรองค่ะ เจ้าหนี้จะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมลด ไม่ยอมคุย ไม่มีนโยบาย เพราะเขาเล็งเห็นว่า เขาถือไพ่เหนือกว่า เขาสามารถส่งคำพิพากษาไปขออายัดเงินเดือน ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับเงินเดือนผ่านแบงค์ค่ะ แต่ข้อเสียสำหรับเจ้าหนี้ คือ เขาไม่ได้เงินทันที อีกทั้งคำพิพากษามักกำหนดให้จ่ายยอดเงิน (อาจตามคำฟ้อง) บวกกับดอกเบี้ยตามกฎหมายของเงินต้นนับตั้งแต่วันหยุดชำระ ในการนี้ ลูกหนี้ต้องจ่ายคืนในส่วนของดอกเบี้ยที่ค้างหมดก่อน เงินที่หัก 30% จึงมาหักเงินต้นทีหลัง ซึ่งแก้วจ๋าคิดเองว่า ไม่คุ้มเพราะแก้วจ๋าอยากลดหนี้ ไม่อยากได้หนี้เพิ่มค่ะ


3.3 เมื่อถึงกำหนดเวลานัดที่ 2 แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ไม่ว่าจะพยายามไกล่เกลี่ยกันหลายรอบแล้วก็ตาม คุณอาจตัดสินใจใช้วิธีสู้คดี ด้วยการเขียนคำให้การ ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ย แต่ขอให้นึกด้วยว่า หากสู้คดีในประเด็นนี้ คุณต้องทำใจว่า ผลที่ออกมาอาจไม่ชนะ ผู้พิพากษาบางศาลอาจเห็นพ้องกับคำให้การ เห็นด้วยกับตารางหนี้ที่ส่งให้ แต่ก็มีหลายท่าน ไม่เห็นด้วย ท่านอาจมองว่า การเป็นหนี้เกิดขึ้นจริงด้วยความสมัครใจ และเมื่อเป็นหนี้ต้องชดใช้หนี้ค่ะ

คุณสามารถยื่นคำให้การเมื่อขึ้นนัด 2 ศาลอาจให้เวลาก่อนนัดสืบพยาน 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานของศาลแต่ละแห่งค่ะ
คุณอาจใช้ช่วงเวลานี้เจรจากับเจ้าหนี้ หากผลตอบรับดี คุณอาจปิดหนี้ได้ก่อนนัดสืบ ทางฝ่ายทนายโจทก์และจำเลยก็จะดำเนินการถอนฟ้องค่ะ


3.4 นัดสืบพยาน หลังจากสืบพยานจบสิ้น ยังมีช่วงเวลารอคำพิพากษาอีกประมาณ 1 เดือน คุณอาจใช้โอกาสนี้ ถ้ายังไม่เห็นแววตกลงกันได้ พิจาณาทางเลือกว่า

1 จะยอมให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน หรือทรัพย์สินไหม (ถ้ามี) การอายัดเงินเดือนสามารถอ่านได้จากลิงค์นี้ค่ะ

ข้อดีจากการถูกอายัด คือ ถือว่าเป็นการจัดระเบียบเจ้าหนี้หากมีมากกว่า 1 ราย และลูกหนี้ยังไม่มีความสามารถชำระหนี้ได้ไม่ว่างวดเดียวหรือผ่อนชำระ

2 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาเป็นอีก 1 ทางเลือกค่ะ ถ้าฝ่ายโจทก์ชนะคดี และคำพิพากษานั้นออกมาทำให้คุณเสียเปรียบมาก การยื่นคำอุทธรณ์ต้องดำเนินการภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับคำพิพากษาค่ะ ในการยื่นอุทธรณ์นั้นมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ต้องพิจารณาให้ดีด้วยค่ะ แต่การยื่นอุทธรณ์จะทำให้คุณมีเวลาเก็บเงินอีกหลายเดือนค่ะ

3 หักคอจ่าย ซึ่งตัวแก้วจ๋าเองเคยหักคอจ่ายไปแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเจ้าหนี้ต้องการมากกว่าจำนวนเงินที่จ่ายไปแต่ละเดือน 1 เท่าตัว วิธีนี้ ใช้ได้กับเจ้าหนี้บางรายเท่านั้นค่ะ และควรพิจารณาจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้เหมาะสมกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยค่ะ

แก้วจ๋า ขออภัยหากมีตกหล่น เก็บตกจากศาลไม่ครบ และหากมีผู้ใดมีข้อมูลดีกว่า ก็มาแชร์กันนะค่ะ หวังว่าสิ่งที่แก้วจ๋าเล่ามา คงช่วยสมาชิกให้คลายกังวลไประดับ 1 และมีกำลังใจดีขึ้นเมื่อได้รับหมายศาลค่ะ
:สู้ๆ: :สู้ๆ: :สู้ๆ:

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #41353 โดย ntps
เป็นเรื่องธรรมชาติ อะไรที่เราไม่เคยเจอ ก็ต้องรู้สึกตกใจ และงงค่ะ

สูดลมหายใจลึกๆ แล้วบอกกับตัวเองว่า ฉันไม่กลัวค่ะ แล้วมันจะผ่าน

ไปค่ะ แก้วจ๋า เชื่อมั่นว่า วันพรุ่งนี้ย่อมดีกว่าวันนี้ค่ะ เราต้องทำได้ค่ะ

มีปัญหาเรื่องหมายศาล โทรหาคุณอาไพโรจน์ได้นะค่ะ ตามเบอร์ใน

สายด่วนค่ะ ท่านยินดีดำเนินการให้คำปรึกษาชี้แนะ และจัดการให้ค่ะ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #41510 โดย ntps
ขอบคุณสมาชิกที่เข้ามาอ่านค่ะ แก้วจ๋าแค่หวังให้ทุกคน หลุดพ้น ความกลัว

และมีข้อมูลมากพอ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ เมื่อได้รับ หมายศาลค่ะ

อย่าคิดว่า ทางออก มีแค่ 1 ทางค่ะ มีหลายประตูให้คุณเลือกเปิดใช้เพื่อเดินออกค่ะ

เหมือนเวลาเราขับรถ คุณพ่อของแก้วจ๋าสอนแก้วจ๋าเสมอว่า มือเราจับพวงมาลัยเรา

บังคับได้ ให้หันซ้ายหันขวา เท้าเราบังคับได้ให้เหยียบคันเร่ง หรือเบรค มือเราจับ

เกียร์ให้เดินไปข้างหน้า หรือ ถอยข้างหลังได้ เช่นเดียวกับชีวิตเราค่ะ เราสามารถบังคับ

ตัวเองให้เดินหน้าตรงๆ หรือเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปอีกทาง เมื่อมองแล้วอุปสรรคเยอะไป

หรือเราจะถอยหลัง เพื่อตั้งหลักใหม่ ทุกอย่างคุณเลือกได้ค่ะ การขอส่วนลดหรือทำ

Hair cut ทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน ขอให้เราพร้อมค่ะ

ความสุขและความทุกข์เป็นของคู่กับชีวิต ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจค่ะ

เมื่อทั้งสุขและทุกข์เข้ามาได้ ก็ย่อมออกไปได้ และก็กลับมาได้ด้วยค่ะ




ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #41710 โดย maruko
maruko ขอขอบคุณพี่แก้วจ๋าของพวกเรา..ในการแบ่งปันความรู้..แนวทางในขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก..และเป็นขั้นตอนที่พวกเราหวั่นเกรงกัน..ว่าจะตกเป็นฝ่ายเพลี้ยงพล้ำ..ด้วยความไม่ประสีประสาในการขึ้นโรงขึ้นศาล..ที่มีหมากเกมส์กลลวง..สาระพัด ทั้งที่เราอาจไม่สมควรรับการตัดสินให้เป็นอีกแบบที่เราไม่ปราถนา..พวกเราแค่ต้องการรักษาสิทธิ์เท่าที่เรามีครับพี่..เราไม่คิดจะชนะคะคานเจ้าหนี้โดยที่ไม่ถูกไม่ควร..ตามหลักแห่งศิลธรรม..และระเบียบของบ้านเมือง..คือกฎหมาย..ทางกลับกัน..เราก็ไม่ชอบที่จะให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบ..โดยอาศัยความสัตย์ซื่อ..ความเป็นผู้มีคุณสมบัติของคนดีของพวกเรา...มาคอยกอบโกย..อย่างที่เกิดกับพวกเรา..ในขณะนี้..พวกเราแค่ต้องการจะรักษาสิทธิ์ของพวกเราเท่านั้น...ก่อนหน้านี้ไม่รู้จักชมรมฯมันมืดแปดด้านจริงๆครับ..ตอนนี้หูตาสว่างขึ้นมากมองเห็นแสงทอง..ที่ปลายอุโมง..แล้วครับ..ด้วยการช่วยเหลือจากพี่ๆทุกคน..พวกเราขอคาระวะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #41772 โดย pompam
ขอบคุณคุณแก้วจ๋าเช่นกันค่ะที่ให้ความกระจ่างค่ะ เพราะคงได้รับหมายศาลจาก UOB เร็วๆนี้เหมือนกันเพราะหยุดมา 3 เดือนแล้วค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #42690 โดย goon
กรณีผ่อนบ้าน อยู่ แล้วเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านไม่ใช่เราๆเป็นผู้อาศัย แต่ชื่อเราเป็นผู้กู้ทำสัญญากับแบงค์ จะต้องโดนยึดทรัพย์หรือไม่
แล้ว จะไปดำเนินการอย่างไรบ้าง
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #42694 โดย Rider V1

goon เขียน: กรณีผ่อนบ้าน อยู่ แล้วเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านไม่ใช่เราๆเป็นผู้อาศัย แต่ชื่อเราเป็นผู้กู้ทำสัญญากับแบงค์ จะต้องโดนยึดทรัพย์หรือไม่
แล้ว จะไปดำเนินการอย่างไรบ้าง
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


ถ้าเจ้าหนี้สืบทรัพย์เจอก็มีโอกาสถูกยืดทรัพย์ ว่าแต่ไม่เป็นเจ้าบ้านแล้วก็น่าจะย้ายไปไกลๆหน่อยน่าจะดีกว่านะครับ (o_O) (o_O)

ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นแนะนำให้โทรปรึกษา ท่านประธานนกกระจอกเทศครับ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
10 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #42695 โดย ntps
คุณเด็กหญิงส้มโอเคยตอบคำถามนี้แล้วในบอร์ดว่า


การอายัดทรัพย์สินต้องผ่านกระบวนการขึ้นศาลมาแล้วนะค่ะ

และหากหลังจากขึ้นศาลแล้ว การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ

เจ้าหนี้อาจเลือกที่จะส่งคำพิพากษาไปกรมบังคับคดีเพื่อทำการ

อายัดเงินเดือน หากไม่มี ก็อายัดทรัพย์ที่สามารถสืบหาได้ค่ะ


1 การที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้านจะทำให้เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สิน

ในบ้านที่มูลค่ารวมกันเกิน 50000 บาทขึ้นไปค่ะ (แต่ขอบอกว่า

มีเจ้าหนี้ทำแบบนี้จำนวนน้อย ยกเว้นจะทำไปเพื่อขู่ เพราะการ

ไปยึดทรัพย์สินในบ้านเล็กๆน้อยๆ แล้วนำไปขาย คงใช้เวลานาน

และได้เงินอาจไม่พอปิดหนี้ เพราะมีค่าเสื่อม แถมเสียค่าใช้จ่ายใน

การดำเนินการอีก ไม่คุ้มค่ะ ยกเว้นลูกหนี้เป็นคนสะสมของมีค่า

โบราณวัตถุ เป็นต้นค่ะ) ดังนั้น เราจึงมักบอกว่า มาเป็นลูกบ้านดี

กว่าค่ะ


2 การที่ลูกหนี้มีชื่อในโฉนด หรือ มีชื่อเป็นผู้กู้หลักเดี่ยว หรือกู้ร่วม

ถือว่า เป็นเจ้าของบ้านค่ะ ดังนั้น เจ้าหนี้มีสิทธิยึดบ้านได้แม้บ้านจะ

ติดจำนองกับแบงค์อื่นค่ะ เขายึดมาขายทอดตลาดแล้วหากขายได้

เขาจะจ่ายเงินให้กับแบงค์ที่ปล่อยกู้บ้านก่อน ที่เหลือจึงยึดเพื่อชำระ

หนี้ที่ลูกหนี้ติดค้างค่ะ หากหนี้ยังปิดไม่หมด ก็จะตามมาทวงเงินที่ขาด

กับลูกหนี้ต่อค่ะ

ในกรณีนี้ ถ้ายังไม่มีหมายศาลมาถึง และลูกหนี้คิดว่า ไม่มีทางที่จะหา

เงินมาชำระหนี้ได้เลย เราแนะนำให้ปล่อยด้วยการประกาศขาย หรือหา

คนอื่นมากู้ต่อด้วยการเปลี่ยนชื่อคนกู้ค่ะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายแบงค์

ที่ปล่อยกู้ด้วยค่ะ

แต่หากได้รับหมายศาลแล้ว การขายบ้านหรือการหาคนอื่นมากู้แทนที่

ไม่ใช่การทำธุรกรรมอำพราง แต่เพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้ สามารถกระทำได้ค่ะ


อย่างไรก็ตาม เรื่องบ้าน ลูกหนี้ต้องคำนึงถึง ส่วนต่างของบ้านลูกหนี้มาก

ไหม มากแค่ไหนค่ะ เช่น บ้านลูกหนี้ราคาประเมิน หรือตามตลาดสูงเพราะ

อยู่ทำเลทอง ก็ต้องพึงระวัง เพราะเจ้าหนี้คงหมายตาไว้ค่ะ จะทำให้การต่อ

รองเป็นไปได้ลำบาก เจ้าหนี้มักงอแง ไม่ยอมลดหนี้ให้ค่้ะ

แต่ถ้าตรงกันข้าม ถ้าบ้านในละแวกเดียวกัน ปล่อยขายเป็นปี ยังไม่มีใครสน

ก็ทำใจร่มๆ ได้ค่ะ แต่อย่าประมาทค่ะ

การอายัดและขายทอดตลาดบ้าน ไม่ได้ทำกันง่ายๆ ต้องใช้เวลานานพอสมควร

กว่าจะประมูลได้ดั่งใจค่ะ

ลองนำสิ่งที่แนะไปพิจารณา และปรับใช้กับตัวลูกหนี้นะค่ะ การตัดสินใจอยู่ที่

ลูกหนี้ค่ะ ไม่ใช่เราจะแนะว่า ปล่อยขายบ้านหลักล้าน เพื่อปลดหนี้หลักหมื่น

หลักแสนนะค่ะ แต่การเป็นลูกหนี้ที่ดี คือ การอยู่อย่างพอเพียง พอดี การไม่มี

ถือว่า เป็นลาภอันประเสริฐค่ะ อย่ารอจนถึงวันที่ต้องเสียหลักล้าน แถมยังต้อง

ถูกตามทวงหนี้ต่อเพราะไม่พอปิดหนี้ค่ะ










ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Thanyanan, Rider V1
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.758 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena