รบกวนขอคำชี้แนะด้วยครับ

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #36134 โดย n316
สวัดดีครับ พี่ๆในชมรมครับพอดีมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการอายัดเงิน หรือยึดทรัพย์ประมาณนี้ครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ

คือว่าภรรยาผม(จดทะเบียน)มีหนี้บัตรเครดิตอยู่ประมาณ 1 ล้านบาท หนี้ต่อบัตรหนึ่งใบประมาณ 8 หมื่น ถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท และมีปิดไปบ้างแล้ว และบางที่ก็มีส่งฟ้องศาล ครับ (ถามในกรณีเลวร้ายสุดๆ)

คืออยากถามว่าถ้าขึ้นศาลแล้วไม่มีเงินจ่ายให้กับทุกธนาคารที่ฟ้อง เค้าจะไปบังคับคดีให้มาอายัดเงินเดือนหรือยึดทรัพย์ที่เป็นของผม(สามี)ได้หรือเปล่าครับ

ตอนนี้มีผ่อนซื้บ้านและรถอยู่ (แต่เป็นชื่อของผมทั้งหมดครับ)

ขอบคุณครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #36137 โดย debtman
จริงๆแล้วคำถามนี้ตอบง่ายครับ เป็นเรื่องของสินส่วนตัว และสินสมรส แต่ผมไม่กล้าแนะนำครับรอให้ท่านกรรมการชมรมที่เชี่ยวชาญมาตอบดีกว่าครับ กลัวจะแนะนำไปแล้วจะเป็นแบบผิดๆถูกๆครับ ^^

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #36157 โดย n316
ขอบคุณครับ

มีใครพอมีความรู้อีกบ้างไหมครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 9 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #36159 โดย jackTs
เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินเดือนของคุณ อายัดไม่ได้

แต่ทรัพย์สินของคุณ ที่ไปซื้อมาในระหว่างที่ยังสมรสกันอยู่ ถือว่าเป็น"สินสมรส" อายัดได้


ถ้าทรัพย์ที่ถุกยึดนั้นเป็นสินสมรส มิใช่สินเดิมแล้ว แม้หนี้ที่ภริยาก่อขึ้นเป็นส่วนตัวและไม่ได้รับความยินยอมจากสามี และเมื่อสามีได้บอกล้างแล้วหนี้นั้นจะไม่ผูกพันสินบริคณห์ก็ตาม แต่สินสมรสนั้นตราบใดที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ต้องถือว่าสามีและภริยาเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสนี้ร่วมกันอยู่ โดยแยกมิได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของส่วนไหนของสินสมรส ฉะนั้นเมื่อสินสมรสถูกยึดทั้งหมด สามีจึงไม่น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าของรวมซึ่งภริยามีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อภริยาถูกฟ้องแพ้คดี โจทก์ยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้ สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอกันส่วนของตนเท่านั้น พิพากษาฎีกาที่ 1792/2492 และ 1902/2494 ซึ่งวินิจฉัยว่าหนี้ที่ภริยาก่อขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้วนั้น เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ของภริยาตามมาตรา 1483 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ขอแบ่งแยก ศาลจะแบ่งมิได้ แนววินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าถูกทับโดยคำพิพากษาฎีกาฉบับหลัง ๆ แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้สามีจะร้องขัดทรัพย์สินสมรสที่ถูกยึดมิได้ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ของภริยาก็ไม่อาจได้รับชำระหนี้จากสินสมรสนั้นทั้งหมด (เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482) คงมีสิทธิเพียงร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1483 เท่านั้น ปัญหาจึงมีว่า การที่มาตรา 1483 ให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายขอแยกสินบริคณห์นั้น จะหมายความว่าให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนสัดเสียก่อนแล้วจึงจะยึดได้ หรือมีสิทธิยึดสินบริคณห์ทั้งหมดนำออกขายทอดตลาดแล้วจึงขอแยกตอนจะนำเงินที่ขายทอดตลาดได้นี้มาชำระหนี้ เฉพาะสินเดิมนั้น น่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้กล่าวมาแล้วว่าไม่ถือเป็นทรัพย์สินรวมของสามีหรือภริยา ฉะนั้นถ้าหนี้นั้นมิใช่หนี้ร่วมแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินเดิมของสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยมิได้ ถ้ายึดมา สามีหรือภริยาเจ้าของสินเดิมย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 460/2507 และ 6/2509 ดังกล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเป็นสินสมรส ก็จะเกิดปัญหาการแยกได้ว่า เจ้าหนี้จะต้องขอแยกก่อนยึดสินสมรสหรือไม่ ถ้าแปลความว่าเจ้าหนี้ต้องขอแยกก่อนยึดแล้ว หากไปยึดเสียก่อน สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยก็น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์เฉพาะส่วนของตนได้ แต่ถ้าแปลว่ามีสิทธิขอแยกตอนของรับชำระหนี้หลังจากขายทอดตลาดแล้ว สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วย ก็จะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอรับส่วนแบ่งของตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เท่านั้น

เนื่องจากมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2501, 928/2503 และ 541/2509 ดังกล่าวมาแล้วได้วินิจฉัยว่า สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ฉะนั้นหากจะแปลว่าการขอแยกสินสมรสต้องร้องขอก่อนยึดแล้ว ย่อมจะขัดกับคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว และถ้อยคำตามมาตรา 1483 ก็มิได้บัญญัติชัดแจ้งว่าต้องขอแยกก่อนยึดทรัพย์ เพราะใช้ถ้อยคำว่า (เจ้าหนี้อาจร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาได้) ฉะนั้นเมื่อมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวว่า สามีร้องขัดทรัพย์สินสมรสมิได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์จะทำได้แต่เฉพาะมีข้ออ้างว่า จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึดเท่านั้น เข้าหลักที่ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินรวมนั้นแล้วน่าจะต้องแปลมาตรา 1483 ว่า การร้องขอแยกสินสมรสของเจ้าหนี้นั้นอาจกระทำหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาด ตอนจะนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ ฉะนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยึดสินสมรสได้ โดยสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

แต่ถ้าสามีหรือภริยาได้หย่าขาดจากกัน และได้แบ่งทรัพย์สินก่อนที่จะมีการยึดทรัพย์แล้ว ก็ต้องถือว่สินสมรสได้แยกออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายโดยเด็ดขาด ไม่เป็นทรัพย์สินรวมอีกต่อไป หากเจ้าหนี้ไปยึดทรัพย์สินที่แบ่งไปแล้วของอีกฝ่ายหนึ่งเข้า เจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

การร้องขัดทรัพย์นี้ จะต้องร้องเสียภายในกำหนดเวลาตามที่มาตรา 288 บัญญัติไว้ มิใช่ว่าจะร้องตามชอบใจเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 288 ผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องร้องเสียก่อนที่จะเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ เพราะถ้าศาลขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้ทรัพย์สินนั้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โดยไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ฉะนั้นการที่จะร้องให้ปล่อยทรัพย์จึงต้องร้องเสียก่อน

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #36161 โดย jackTs
*หนี้ก่อนสมรส กรณีที่ชายหรือหญิงไปเป็นหนี้กับบุคคลภายนอก แต่ละฝ่ายก็ต้องรับผิดใช้ที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้นมาเป็นการส่วนตัว

*หนี้ก่อนสมรสของคู่สมรสฝ่ายใด ถือเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น เจ้าหนี้คงมีสิทธิฟ้องร้องและบังคับเอาแก่ทรัพย์สินคู่สมรสฝ่ายนั้น ได้แก่ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น รวมถึงสินสมรส (ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส) เฉพาะส่วนของคู่สมรสฝ่ายนั้น(หรือผฝ่ายของสามีคุณหญิงสาวนั้นเอง) เช่น ที่ดินที่ได้มาระหว่างสมรส เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์นำมาขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ แต่เมื่อขายแล้ว ต้องกันเงินกึ่งหนึ่งให้คู่สมรสอีกฝ่าย
หรือหนี้ในระหว่างสมรส โดยหลักแล้ว คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบกันเองเป็นการส่วนตัวเช่นกัน เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมกันหรือที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหนี้ร่วมกันแล้วจึงจะรับผิดชอบร่วมกัน

สำหรับหนี้ที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภริยานั้น จะมีผลทำให้ แม้จะมีชื่อคู่สมรส ฝ่ายใดเป็นลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายต้องรับผิดร่วมกันมีอยู่ 4 กรณี คือ

1. หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน จัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะ เลี้ยงดู การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตร ตามสมควรแก่อัตภาพ
หนี้เหล่านี้จะต้องมีจำนวนพอสมควรแก่อัตภาพของครอบครัว เพราะหากเกินสมควรแล้ว ส่วนที่เกิน ย่อมไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วม แต่กลายเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นได้ เช่น หนี้ที่สามีไปค้ำประกันการทำงานให้กับญาติพี่น้องหรือเพื่อน หรือผู้ใดเป็นส่วนตัว ภริยาย่อมไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องในเวลาต่อมา เป็นต้น
หนี้ตามข้อนี้หากสมควรแก่อัตภาพ แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนหย่าก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมทั้งสองฝ่ายเช่นกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เช่น กู้ยืมเงินมาซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส

3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
เช่น เปิดร้านขายของ ภริยาเป็นคนขาย สามีซื้อเชื่อของเข้าร้านหนี้ค่าซื้อเชื่อเป็นหนี้ร่วม, สามีทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน ภริยาก็ต้องรับผิดชอบในสัญญาที่สามีลงลายมือชื่อในสัญญาจะขาย ที่ดินจัดสรร ไว้คนเดียว ร่วมกับสามีด้วย,
สามีกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนเปิดห้างให้ภริยาดูแล สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่สามีทำกับธนาคาร โดยมีเงื่อนไข ให้ภริยาเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้

4. หนี้ที่สามีก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน
หนี้ประเภทนี้เดิมจะผูกพันแต่เฉพาะสามีภริยาฝ่ายที่ไปก่อหนี้ขึ้น แต่ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปให้สัตยาบัน ยอมรับหนี้ที่คู่สมรสของตนได้ก่อขึ้น การให้สัตยาบันจะมีผลให้หนี้ดังกล่าวนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส กลายเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา การให้สัตยาบันไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร ดังนั้น อาจจะให้สัตยาบันด้วยปากเปล่าไว้ หรือลงรายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส ให้คู่สมรสของตนกู้ยืมเงิน หรือจะลงรายมือชื่อในฐานะพยานในสัญญากู้ยืมเงินของสามี
แต่ถ้าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนสมรสแล้ว แม้ต่อมาภายหลังคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะให้สัตยาบัน ก็ยังเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสผู้ที่ก่อหนี้ การให้สัตยาบันหนี้ก่อนสมรสไม่ทำให้หนี้นั้นกลายเป็นหนี้ร่วม ระหว่างสามีภริยาไปได้

เหตุที่ต้องแยกเป็นหนี้ส่วนตัวหรือหนี้ร่วมเพราะถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่ว่าจะก่อขึ้นก่อนหรือระหว่างสมรส เจ้าหนี้จะต้องบังคับหนี้เอากับสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ก่อน

ถ้าไม่พอถึงจะไปบังคับหนี้ เอากับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ได้ ซึ่งหากมีการบังคับคดีหนี้สินส่วนตัวเอาจาก สินสมรสแล้วจะทำให้คู่สมรสที่ไม่ได้ก่อหนี้ก็มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนจากทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ในส่วนของตนครึ่งหนึ่งออกมาได้

แต่ถ้าเป็นหนี้ร่วม เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ชนะคดี จะยึดสินส่วนตัวก่อนหรือสินสมรสก่อนก็ได้ และการยึดสินส่วนตัวจะยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใดก็ได้ เพียงแต่ในการยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใด เจ้าหน้าที่จะต้องฟ้องคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเข้ามาด้วยกัน เพราะถ้าไม่ฟ้องเข้ามาด้วยกันก็จะไปยึดสินส่วนตัว ของฝ่ายที่ยังไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เนื่องจากคำพิพากษาให้ชำระหนี้ดังกล่าวไม่ผูกพันคู่สมรสที่ไม่ได้ถูกฟ้องคดี

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #36186 โดย n316
ขอขอบคุณพี่นกกระจอกเทศมากเลยครับ สำหรับคำแนะนำhttp://www.consumerthai.org/debtclub/components/com_kunena/template/default/images/emoticons/tongue.png
ผมขอถามต่ออีกนิดครับ

กรณีของภรรยาผมเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ไม่ได้เป็นหนี้ร่วม ถ้าผมจะตัดปัญหานี้โดยไปจดทะเบียนหย่ามันจะจบหรือเปล่าครับ(คือตอนนี้ก็ใช้เงินของผมส่วนหนึ่งไปช่วยจ่ายอยู่แล้วครับก็เลยไม่อยากให้หนี้ของภรรยามาวุ่นวายในส่วนของทรัพย์สินครับ และก็ไม่ลืมว่าเป็นหนี้ต้องจ่ายครับ แต่ถ้ารู้ว่าอาจจะจ่ายไม่ไหวก็ต้องหาทางเลือกเอาไว้ก่อนนะครับ) และถ้าจะต้องแยกสินสมรสจะแยกกันยังไงครับhttp://www.consumerthai.org/debtclub/components/com_kunena/template/default/images/emoticons/sad.png

ขอบคุณอีกคร้ังครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 9 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #36190 โดย jackTs

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.560 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena