คนมีเคราะห์

11 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #23757 โดย ntps
คุณ topgun10 ค่ะ คุณกำลังมีเคราะห์ แก้วจ๋าอยากเคาะคุณ ให้อ่าน

มากๆ เลยค่ะ

คุณนกกระจอกเทศเขาบอกให้คุณไปอ่าน ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล


ในห้องนี้ค่ะ



แก้วจ๋านำมาลงเฉพาะบางส่วน ไม่ทราบว่า คุณอ่านหรือยัง อ่านแล้ว

ไม่เข้าใจตรงไหนค่ะ


การไปขึ้นศาล มีอยู่ 3 แนวทาง...ดังนี้


1. ไปศาลเพื่อไปต่อสู้คดี เพื่อให้รู้ผล แพ้-ชนะ คดี กันไปข้างหนึ่ง ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่งแนวทางนี้ จะต้องเขียน คำให้การในการต่อสู้คดี โดยใช้แบบฟอร์มของศาลที่มี“ตราครุฑ” ๑๑(ก.) สำหรับคดีแพ่ง หรือแบบฟอร์ม ผบ.๓ สำหรับคดีผู้บริโภค โดยเขียนคำให้การต่อสู้เป็นภาษากฏหมาย ซึ่งถ้าเขียนเองไม่เป็น ก็ต้องจ้างทนายช่วยเขียนให้

ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้

หากจำเลยไม่เขียนคำให้การไปยื่นต่อศาล...ศาลจะถือว่าจำเลยมีเจตนา“ไม่ต้องการสู้คดี” ต่อให้จำเลยมีหลักฐานอันแน่นหนาว่า โจทก์โกง , โจทก์ผิดกฏหมาย , โจทก์ฉ้อฉล , คดีขาดอายุความไปแล้ว...ฯลฯ ศาลท่านก็จะไม่พิจารณาตามหลักฐานดังกล่าวเลย เพราะถือว่า จำเลยไม่ยอมปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของศาล


2. ไปศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมยอมความกับทนายโจทก์ เช่น ถูกหมายฟ้องให้ชดใช้หนี้เป็นจำนวนเงิน xx,xxx บาท แต่ฝ่ายจำเลยยังไม่มีเงินก้อนที่จะสามารถชำระหนี้ให้ได้ในตอนนี้ จึงขอไกล่เกลี่ยกับทนายโจทก์ว่า อยากจะขอผ่อนต่อนับจากนี้เป็นต้นไป ซึ่งเงื่อนไขที่จะสามารถตกลงกันได้บนชั้นศาลนี้ ทางฝ่ายโจทก์มักจะไม่ยอมให้ผ่อนต่อในระยะเวลายาวๆอีกต่อไป ส่วนมากก็จะบังคับให้ผ่อนให้หมดภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี (แต่บางรายอาจขอได้นานสูงสุดถึง 3 ปี) โดยในช่วงที่ผ่อนอยู่นี้ โจทก์อาจขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อนนี้ด้วย ซึ่งก็ต้องมาพูดคุยตกลงกันอีกว่า จะยอมให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนที่เท่าไหร่? ก็จะมีตั้งแต่ 15% , 13% , 10%...หรือบางรายอาจขอได้ 0%(ไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อน ก็มี) ทั้งนี้ก็แล้วแต่ฝีปากและเทคนิคในการเจรจาต่อรองของแต่ละราย

แต่...ตัวเลขยอดหนี้ที่จะตกลงผ่อนกันใหม่นี้ จะเป็นตัวเลขตามที่โจทก์ยื่นฟ้องมาในหมายศาลแบบ"เต็มๆ" โดยแทบจะไม่มีส่วนลดอะไรให้กับลูกหนี้เลย (เรียกได้ว่า เขียนฟ้องมาเท่าไหร่ ก็เอาตัวเลขอันนั้นแหละ มาทำสัญญาผ่อนกันใหม่)

เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ทำการร่างสัญญาที่ตกลงกันเอาไว้ ลงในแบบฟอร์ม“สัญญาประนีประนอมยอมความ”(ตราครุฑ ๒๙) พร้อมกับเซ็นต์ลงนาม ชื่อโจทก์ , ชื่อจำเลย และชื่อของผู้พิพากษาอีก 2 ท่าน(ในฐานะเป็นพยาน)
วิธีการนี้ เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้“เพียงรายเดียว”เท่านั้น...หรือ เหลือเจ้าหนี้แค่รายนี้“เป็นรายสุดท้าย”
โดยที่ตัวของลูกหนี้ จะต้องมีความมั่นใจเป็นอย่างสูงว่า หากเซ็นต์ชื่อลงในสัญญาแล้ว จะต้องปฎิบัติให้ได้ตามข้อตกลงในสัญญา เพราะในสัญญาฉบับนี้ มีลายเซ็นต์ของผู้พิพากษาลงนามเป็นพยานถึง 2 ท่าน หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายตามข้อตกลงได้ สัญญาทั้งหมดจะถือว่าเป็น“โมฆะ” และจะถูกย้อนให้กลับไปใช้ตัวเลขมูลหนี้ทั้งหมด ในอัตราสูงสุดของหมายฟ้องในครั้งแรกทันที

อีกทั้ง ทางฝ่ายโจทก์สามารถยื่นเรื่องผ่านไปที่“กรมบังคับคดี”ได้เลย โดยไม่ต้องฟ้องซ้ำอีกแล้ว และจำเลยก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ด้วย เพราะถือว่าจำเลยได้ทำการ“ตระบัดสัตย์”ต่อศาลไปแล้ว
ดังนั้น...ถ้าหากลูกหนี้ทำการประเมินตัวเองแล้ว คาดว่าในภายภาคหน้าอาจจ่ายชำระตามข้อตกลงในสัญญาไม่ไหว ก็อย่าไปตกลงทำสัญญาดีกว่าครับ หันมาใช้วิธีการตามในแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 3 จะดีกว่า


3. ไปศาลเพื่อร้องขอความเมตตากรุณาจากศาล โดยขอให้ท่านช่วยตัดลดมูลหนี้บางอย่างลงมาให้บ้าง...เช่น ดอกเบี้ย , ค่าล่าช้า , ค่าทวงถาม , ค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายโจทก์ด้วย ซึ่งจะได้ลดมากหรือลดน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเมตตาจากท่าน (ต้องไปวัดดวงเอาเอง) แต่สำหรับ หนี้เงินต้น นั้น ศาลท่านไม่สามารถช่วยปรับลดให้ได้ (ตามข้อกฏหมาย)...ฉะนั้นอย่าไปขอท่านในส่วนนี้เป็นอันขาด

สรุปก็คือ

ศาลแพ่งหรือศาลผู้บริโภค มีหน้าที่แค่พิจารณาหนี้ไปตาม คำร้อง/คำโต้แย้ง ของคู่ความเท่านั้น
โดยใช้ข้อกฏหมาย(มาตราต่างๆ)เป็นตัวพินิจพิเคราะห์

และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วก็จะออกเป็นคำสั่ง“พิพากษา”เพื่อบังคับให้ใช้หนี้ระหว่างกัน โดยเสียดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด (อาจเป็นร้อยละ 7.5 , 10 , 12 , 15 ต่อปี...แล้วแต่ศาลเป็นผู้พิจารณา)
และเมื่อศาลพิพากษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็หมดสิ้นหน้าที่ของศาล เรื่องต่างๆต่อจากนี้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับศาลอีกต่อไปแล้ว จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการชดใช้หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยอาจมีกรมบังคับคดีมามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากมีการร้องขอให้ทำการอายัดใดๆของจำเลย...ตามที่โจทก์ไปยื่นคำร้องไว้ที่กรมบังคับคดี

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากในกระทู้นี้

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=969

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=3037&view=flat&catid=2


อ่านแล้วดีขึ้นไหมค่ะ แจ่มในความคิดหรือยังค่ะ

คุณจะทำทั้ง 3 แนวทางในเวลาเดียวกันได้ยังไงค่ะ คุณต้องเลือกว่า คุณจะใช้

แนวไหนค่ะ
ขึ้นอยู่กับความสามารถุ ภาระหนี้ของคุณค่ะ ความ

เสี่ยงของคุณ ในการถูกอายัด

หากไปครั้งแรก คุณไม่เจอศาลเจอแต่ทนาย ฟังเขาแล้วยังไม่ตกลง คุณก็

ขอเลื่อนนัดไปครั้งหน้า เพื่อขอไปคุยกับแบงค์อีกรอบ การเลื่อนนัดสามารถ

กระทำโดยไม่มีผู้พิพากษาลงศาลค่ะ ถ้าทั้งคุณและทนายโจทก์ยินยอมเลื่อน

ก็เซ็นขอเลื่อนเท่านั้นค่ะ (เซ็นเอกสารอะไร ต้องอ่านก่อนเซ็น)


ถ้าไม่ลำบาก อาทิตย์ไปหาคุณอาที่สวนลุมให้ท่านเป่าคุณสักครั้งจะได้เก๊ต

บ้างค่ะ เอาหมายศาลไปให้ท่านดูและขอคำชี้แนะนะค่ะ
:sweat:

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.372 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena