กรณีเป็นหนี้ แต่่มีชื่อกู้ซื้อคอนโดร่วมกัน

10 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #45714 โดย cartoon04
คือว่า คุณพ่อมีหนี้บัตรเครดิตประมาณ 160K ตอนนี้มีหมายศาลให้ไปพบค่ะ แต่คุณพ่อไม่มีทรัพย์สินของตัวเองค่ะ แต่มี บ้านที่มีชื่อร่วมกับคุณอา(บ้านผ่อนหมดแล้ว) และคอนโดของพี่สาวที่ใช้ชื่อคุณพ่อกู้ร่วมกัน แต่พี่สาวเป็นคนผ่อน (ยังผ่อนไม่หมดค่ะ)

อยากทราบว่า ศาลจะสั่งสามารถยึดทรัพย์สินได้รึเปล่า ที่เป็นชื่อร่วมกันกับบุคคลในบ้าน กรณีถ้าคุณพ่อไม่มีเงินจ่ายค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา - 10 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #45719 โดย jackTs
.
เจ้าหนี้ขอยึดบ้านที่ดินฯ ของลูกหนี้ติดจำนองธนาคารได้หรื​อไม่?

ความรู้เสริมเพิ่มเติม

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&%3bItemid=10&%3bfunc=view&%3bcatid=2&%3bid=9039

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&%3bItemid=10&%3bfunc=view&%3bcatid=2&%3bid=7589

สรุป

บ้าน/ที่ดิน ที่ยังผ่อนอยู่ สามารถยึดได้ เพราะผู้ที่ผ่อนชำระกับธนาคาร

มีชื่อเป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้ว ตั้งแต่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย

ธนาคารเป็นเพียงผู้ให้กู้เงิน ในฐานะ"ผู้รับจำนอง"เท่านั้น...แต่มิใช่เจ้าของ

(สามารถดูชื่อเจ้าของได้จาก สำเนาโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าว)

หากผู้ที่ผ่อนชำระเป็นลูกหนี้(จำเลย)ตามคำพิพากษาของศาล

แล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดันไปสืบเจอว่า บ้าน/ที่ดิน ดังกล่าว ลูกหนี้เป็นเจ้าของที่แท้จริง
(ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของในฐานะ "ผู้กู้บ้าน" หรือ "ผู้กู้ร่วม" ก็ตาม)

และถึงแม้จะยังคงต้องจ่ายค่าผ่อนจำนองอยู่กับธนาคารก็ตาม...ไม่มีผลในทางกฏหมาย

เจ้าหนี้(โจทก์)ก็จะไปแจ้งหลักฐานต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี

ให้มายึดเอา บ้าน/โฉนดที่ดิน ไปขายใช้หนี้ได้ตามกฏหมาย




สุปก็คือ บ้านที่ยังผ่อนอยู่ก็สามารถยึดได้ครับ...ยึดแล้วก็ทำการแปลงสภาพทรัพย์สินให้เป็นเงินสด โดยการนำไปประมูล"ขายทอดตลาด"ที่กรมบังคับคดี

- ถ้าเป็นบ้านที่ไม่ติดผ่อนหนี้อยู่กับใคร

พอขายบ้านได้เงินมาแล้ว ทางกรมบังคับคดีก็จะทำการยึดเงินจำนวนนี้ จำนวน"ครึ่งหนึ่ง" เพื่อเอาไปใช้หนี้ตามคำพิพากษาของศาล(พวกเจ้าหนี้ที่เป็น"บัตรเครดิต"ทั้งหลาย ที่ฟ้องศาลแล้ว) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ ก็แบ่งคืนให้ผู้กู้ร่วมที่เหลือ(ที่ไม่ได้เป็นหนี้ใดๆ)


- แต่ถ้าเป็นบ้านที่ยังติดผ่อนหนี้อยู่กับธนาคาร

พอขายบ้านได้เงินมาแล้ว ทางกรมบังคับคดีก็จะทำการเรียกให้"เจ้าหนี้บ้าน"(ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์) ให้มาเอาเงินค่าหนี้บ้านที่ยังผ่อนค้างอยู่ ว่ามีเหลือค่าหนึ้บ้านอยู่ที่เท่าไหร่?(จะเหลืออีกผ่อนอยู่อีก กี่แสน กี่ล้าน ก็ตาม ให้มารับเอาเงินจำนวนนี้ไปก่อนเป็นเจ้าแรก)

หากเจ้าหนี้บ้านเอาเงินไปแล้ว ถ้ายังมีเงินทอนเหลืออยู่อีก ทางกรมบังคับคดีก็จะทำการยึดเอาเงินทอนที่เหลือจำนวนนี้ อีก"ครึ่งหนึ่ง" เพื่อเอาไปใช้หนี้ตามคำพิพากษาของศาล(พวกเจ้าหนี้ที่เป็น"บัตรเครดิต"ทั้งหลาย ที่ฟ้องศาลแล้ว) ส่วนเงินอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ ก็แบ่งคืนให้ผู้กู้ร่วมที่เหลือ(ที่ไม่ได้เป็นหนี้ใดๆ)


แต่ถ้าหากเจ้าหนี้บ้านมาเอาเงินแล้ว...ปรากฏว่าเงินที่ได้จากการขายบ้าน ไม่เพียงพอกับมูลค่าหนี้ของบ้านที่ยังผ่อนอยู่(ขายบ้านได้ในราคาที่ต่ำ หรือขายแล้วขาดทุน) ทางเจ้าหนี้บ้านก็จะรับเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านในครั้งนี้ ไปจนหมดเกลี้ยงเพียงแต่ผู้เดียว(ไม่มีเงินทอนเหลือแบ่งไว้ให้ใคร)
แล้วหลังจากนั้น ทางฝ่ายเจ้าหนี้บ้านก็จะทำการยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อบังคับให้"ผู้กู้บ้าน"และ"ผู้กู้ร่วม" เป็นจำเลยต้องชดใช้หนี้ในส่วนต่างที่ยัง"ขาดทุน"ในส่วนนี้ ต่อไป


นอกจากนี้ ทางฝ่ายเจ้าหนี้ทั้งหลายแหล่ ทุกราย(ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้บ้าน หรือเจ้าหนี้บัตรเครดิตก็ตาม) ยังสามารถยึดทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย ที่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลได้อีกด้วย

กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สิน ภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=2194&Itemid=64

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #45756 โดย ฺBEER
ผมตอบแบบง่ายฯ คือ ถ้าเป็นหนี้ถึงขั้นฟ้องศาล ผมคิดว่าไม่ควรจะมีชื่อในการกู้ผ่อนบ้านหรือทรัพย์สินอะไรทั้งสิ้น ผมว่าปลอดภัยที่สุด

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.370 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena