หากเลื่อนศาลนัดฟังคำพิพากษา และมีข้อต่อสู้ทางคดี จำเป็นต้องใช้ทนายความหรือไม่

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52718 โดย art2527
เรียน กรรมการชมรมและสมาชิกทุกท่าน

ผมมีข้อข้องใจจะเรียนถามและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับคดีสินเชื่อของธนาคารทหารไทย โดยมีเรื่องราวดังนี้

เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 57 ผมได้หมายศาลของ TMB ให้ไปขึ้นศาลในวัน 24 เมษายน 2557 โดยในหมายระบุยอดฟ้องเป็นจำนวนเงิน 91,500 บาท (จากยอดเงินต้นที่กู้มาจำนวน 80,000 ผ่อนเดือนละ 2,400 จำนวน 60 เดือน ผ่อนไปแล้วจำนวน 15 เดือน) โดยในวันดังกล่าวผมได้ไปตามที่นัดในหมาย โดยไปถึงก็พบกับทนายโจทย์ เข้ามาก็ถามผมว่าจะยอมความไหม ผมเองแจ้งไปว่าคงขอต่อสู้ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ทางแบงค์คิดมา และผมก็แจ้งไปว่า ในเอกสารสมัครขอใช้สินเชื่อ แบงค์ได้ระบุมาว่า "อัตราดอกเบี้ยปีพิเศา 10%ในปีแรกและหลังจากนั้นเป็นไปตามประกาศของธนาคาร" ทนายโจทย์ก็อึ้งไปสักพักพร้อมนำเอกสารที่อยู่ในหมายเอาไปดูว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ ทนายก็หันมาถามผมต่อไปว่า แล้วคุณได้เขียนคำให้การมาไหม ผมก็ตอบกับไปว่าเขียนมา ทนายจึงขอไปดู แล้วก็บอกมาว่า คำให้การแบบนี้ใช้ไม่ได้ หากจะเขียนคำให้การต้องเขียนด้วยแบบฟอร์มที่เป็นของศาล (อันนี้เราไม่รู้จริงๆ จึงพิมพ์คำให้การลงในการดาษ A4) ทายก็บอกต่อไปว่าหากต้องการต่อสู้จริงๆ ให้กลับไปพิมพ์คำให้การใหม่ พร้อมตั้งทนายเข้ามาให้การแทนจำเลย ผมก็ตอบตกลง (เอาเป็นว่าทนายโจทร์บอกผมว่างั้นเลื่อนนัดออกไปก่อน)

พอถึงคิวของผมศาลเรียกผมพร้อมทนายโจทย์ลุกขึ้นพร้อมทั้งอ่านข้อมูลและหันมาถามผมว่าเหตุใดถึงเลื่อน ผมก็อธิบายไปว่า ดอกเบีั้ยที่มีระบุไว้ในใบสมัครขอใช้สินเชื่อ ทางโจทย์ผิดเงื่อนไข คือเอกสารระบุดอกเบี้ยปีแรกไว้ที่ 10% แต่โจทย์กลับมาคิดดอกเบี้ยตั้งแต่ปีแรก 26% ศาลก็ถามกับทนายโจทย์ว่าทำไมไปคิดดอกเบี้ยเขาที่ 26% ทนายโจทย์บอกศาลว่าหากเป็นเช่นนี้ขอเลื่อนนัดเพื่อไปขอข้อมูลกับทางแบงค์อีกที ศาลก็อนุมัติให้เลื่อนนัดออกไปเป็นวันที่ 21 พ.ค. 57 นี้

ที่กล่าวมาเป็นเรื่่องราวคร่าวๆ แต่สิ่งที่ต้องการถามต่อไปมีดังนี้

1. การต่อสู้คดีนั้นเราต้องมีทนายความเองใช่ไหม หรือว่าเขียนแค่คำให้การแล้วไปยื่นก็ได้
2. อัตราดอกเบี้ยที่คิดมาที่ 26% /ปี นั้นเวลาศาลตัดสินท่านจะคิดเต็มที่ 26% หรือคิดแค่เพียง 16 % (ตอนสมัครขอสินเชื่อแบงค์คิดดอกเบี้ยมาที่ 16% ตลอดอายุสัญญา)

อันนี้เป็นข้อมูลใน 2 ข้อหลักที่ต้องการความชัดเจนครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52723 โดย jackTs

art2527 เขียน: 1. การต่อสู้คดีนั้นเราต้องมีทนายความเองใช่ไหม หรือว่าเขียนแค่คำให้การแล้วไปยื่นก็ได้

เคยอธิบายไว้แล้วครับ อยู่ในกระทู้นี้

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=9240&Itemid=64#9240



art2527 เขียน: 2. อัตราดอกเบี้ยที่คิดมาที่ 26% /ปี นั้นเวลาศาลตัดสินท่านจะคิดเต็มที่ 26% หรือคิดแค่เพียง 16 % (ตอนสมัครขอสินเชื่อแบงค์คิดดอกเบี้ยมาที่ 16% ตลอดอายุสัญญา)

หากคุณชนะคดีในกรณีนี้ ศาลจะพิพากษาให้ดอกเบี้ยทั้งหมดที่โจทก์คิดเอากับจำเลย
ต้องเป็น"โมฆะ"ทั้งหมด...โจทก์ไม่สามารถคิดเอาดอกเบี้ยจากจำเลยได้เลย
ทั้งนี้ ให้รวมไปถึงดอกเบี้ยในอดีต ที่จำเลยเคยผ่อนจ่ายชำระให้กับโจทก์ ในทุกงวดของอดีตที่ผ่านมาด้วย
จึงบังคับให้จำเลยชดใช้หนี้เพียงแค่เฉพาะเงินต้นที่คงเหลือจริงๆเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น

- จำเลยไปกู้สินเชื่อมาจากโจทก์ เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท

- จำเลยทำสัญญาผ่อนเป็นจำนวน 60 งวด(5ปี) โดยผ่อนจ่ายงวดละ 2,400 บาท (ในจำนวนเงิน 2,400 บาทนี้ ประกอบไปด้วย เงินต้น + ดอกเบี้ย รวมอยู่ในนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

- จำเลยได้ทำการผ่อนชำระค่างวดคืนแก่โจทก์ไปแล้ว ทั้งหมด 15งวด รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
2,400 บาท x 15 งวด = 36,000 บาท

หากศาลพิเคราะห์แล้วตัดสินว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่สัญญากำหนด หรือคิดยอดฟ้องเกินกว่าเงินต้นหรือเกินกว่าข้อเท็จจริง(เรียกง่ายๆว่า"ฟ้องโกง"นั่นแหละครับ)
ศาลจะพิพากษาให้ดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นโมฆะ โดยกำนดให้จำเลยต้องชดใช้หนี้เงินตามจำนวนดังนี้

หนี้เงินต้น 80,000 บาท ลบด้วย เงินที่จำเลยเคยผ่อนชำระไปแล้วทั้งหมด
80,000 บาท - 36,000 บาท = 44,000 บาท

และสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมศาล กับค่าทนายโจทก์ ศาลสั่งเป็นพับ(ไม่ต้องจ่าย)

หากจำเลยไม่มีเงินก้อนไปชำระคืนแก่โจทก์ ในจำนวนเงิน 44,000 บาทนี้ ภายใน 15 วัน
โจทก์สามารถคิดดอกเบี้ยกับจำเลยได้ ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี(เจ็ดจุดห้าต่อปี) ของเงินต้นจำนวน 44,000 บาท...ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชำระหนี้คืนแก่โจทก์เสร็จสิ้น...ไมว่าจะชำระด้วยวิธีการตกลงกันผ่อนต่อ หรือ ยึดทรัพย์/อายัดเงินเดือน ของจำเลยเพื่อการใช้หนี้ก็ตาม


แนวทางคำพิพากษา ก็จะออกมาประมาณนี้แหละครับ (ถ้าคุณชนะคดีนะ)


อ้อ!...แล้วก็กรุณาอย่าถามต่อนะครับ ว่าถ้าหากจำเลยอยากจะเขียนคำต่อสู้คดีด้วยตัวเอง(คำให้การจำเลย) ต้องเขียนอย่างไร?

เพราะคำถามแบบนี้ ก็เคย ถาม-ตอบ มาแล้วเช่นกัน

การเขียนตำให้การเพื่อสู้คดีทำอ​ย่างไร
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=5&id=28919&Itemid=64&view=topic#28983

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #52727 โดย art2527

นกกระจอกเทศ เขียน:

art2527 เขียน: 1. การต่อสู้คดีนั้นเราต้องมีทนายความเองใช่ไหม หรือว่าเขียนแค่คำให้การแล้วไปยื่นก็ได้

เคยอธิบายไว้แล้วครับ อยู่ในกระทู้นี้

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=9240&Itemid=64#9240



art2527 เขียน: 2. อัตราดอกเบี้ยที่คิดมาที่ 26% /ปี นั้นเวลาศาลตัดสินท่านจะคิดเต็มที่ 26% หรือคิดแค่เพียง 16 % (ตอนสมัครขอสินเชื่อแบงค์คิดดอกเบี้ยมาที่ 16% ตลอดอายุสัญญา)

หากคุณชนะคดีในกรณีนี้ ศาลจะพิพากษาให้ดอกเบี้ยทั้งหมดที่โจทก์คิดเอากับจำเลย
ต้องเป็น"โมฆะ"ทั้งหมด...โจทก์ไม่สามารถคิดเอาดอกเบี้ยจากจำเลยได้เลย
ทั้งนี้ ให้รวมไปถึงดอกเบี้ยในอดีต ที่จำเลยเคยผ่อนจ่ายชำระให้กับโจทก์ ในทุกงวดของอดีตที่ผ่านมาด้วย
จึงบังคับให้จำเลยชดใช้หนี้เพียงแค่เฉพาะเงินต้นที่คงเหลือจริงๆเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น

- จำเลยไปกู้สินเชื่อมาจากโจทก์ เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท

- จำเลยทำสัญญาผ่อนเป็นจำนวน 60 งวด(5ปี) โดยผ่อนจ่ายงวดละ 2,400 บาท (ในจำนวนเงิน 2,400 บาทนี้ ประกอบไปด้วย เงินต้น + ดอกเบี้ย รวมอยู่ในนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

- จำเลยได้ทำการผ่อนชำระค่างวดคืนแก่โจทก์ไปแล้ว ทั้งหมด 15งวด รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
2,400 บาท x 15 งวด = 36,000 บาท

หากศาลพิเคราะห์แล้วตัดสินว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือเกินกว่าที่สัญญากำหนด
ศาลจะพิพากษาให้ดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นโมฆะ โดยกำนดให้จำเลยต้องชดใช้หนี้เงินตามจำนวนดังนี้

หนี้เงินต้น 80,000 บาท ลบด้วย เงินที่จำเลยเคยผ่อนชำระไปแล้วทั้งหมด
80,000 บาท - 36,000 บาท = 44,000 บาท

หากจำเลยไม่มีเงินก้อนไปชำระคืนแก่โจทก์ ในจำนวนเงิน 44,000 บาทนี้ ภายใน 15 วัน
โจทก์สามารถคิดดอกเบี้ยกับจำเลยได้ ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี(เจ็ดจุดห้าต่อปี) ของเงินต้นจำนวน 44,000 บาท...ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชำระหนี้คืนแก่โจทก์เสร็จสิ้น...ไมว่าจะชำระด้วยวิธีการตกลงกันผ่อนต่อ หรือ ยึดทรัพย์/อายัดเงินเดือน ของจำเลยเพื่อการใช้หนี้ก็ตาม

สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายโจทก์ ศาลสั่งเป็นพับ(ไม่ต้องจ่าย)


แนวทางคำพิพากษา ก็จะออกมาประมาณนี้แหละครับ (ถ้าคุณชนะคดีนะ)


อ้อ!...แล้วก็กรุณาอย่าถามต่อนะครับ ว่าถ้าหากจำเลยอยากจะเขียนคำต่อสู้คดีด้วยตัวเอง(คำให้การจำเลย) ต้องเขียนอย่างไร?

เพราะคำถามแบบนี้ ก็เคย ถาม-ตอบ มาแล้วเช่นกัน

การเขียนตำให้การเพื่อสู้คดีทำอ​ย่างไร
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=5&id=28919&Itemid=64&view=topic#28983


ขอบคุณคุณนกกระจอกเทศ เป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.559 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena