หนี้บัตร หลัก บัตรเสริม

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91758 โดย sanyajo
รบพี่ๆในเวฟบอร์ทครับ ใครมีความรู้เรื่องบัตรหลักกับบัตรเสริม บ้างครับ รบกวนข้อขอมูลหน่องครับ
คือ ผมเลิกกับแฟนแล้วหย่ากันแล้ว แต่บัตรหลักผมไม่มีการใช้งาน บัตรเสริมมีการใช้งานและไม่ยอมจ่ายเขามาน่าจะปีกว่าครับตามเอกสารที่ส่งมาหาผม พร้อมหมายฟ้องของสาร ติดต่อเจ้าตัวก็ไม่ได้ ผมจะทำไงดีครับ พอจะมีทางออกไม่ครับ แฟนใหม่ก็เริ่มจะไม่พอใจด้วยครับ รบกวนขอขอ้มูลและทางออกด้วยครับ :crying: :crying:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91764 โดย jackTs
.
หากบัตรเสริมเป็นหนี้แล้วไม่ยอมชำระ ตามกฏหมายบังคับให้ผู้ที่เป็นบัตรหลัก จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้ของบัตรเสริมทั้งหมด


แล้วถ้าบัตรเสริมไม่ยอมชำระหนี้จนถึงขั้นฟ้องศาลแล้ว เจ้าหนี้มันมักจะฟ้องรวมครับ โดยฟ้องผู้ที่ถือบัตรหลักให้เป็นจำเลยที่ 1.
และฟ้องบัตรเสริม ให้เป็นจำเลยที่ 2. (ตามกฏหมายราชกิจจานุเบกษา ที่เป็นประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เขียนกำหนดให้ผู้ที่ถือบัตรหลัก จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้ของบัตรเสริมทั้งหมดเพียงแต่ผู้เดียว)...ดังนั้น...ผู้ที่ถือบัตรหลัก จึงไม่สามารถสู้คดีในประเด็นนี้ได้เลยครับ




อ้างอิงข้อมูลจาก

ประกาศ ธปท. ที่ สนส. 16/2552
www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2552/ThaiPDF/25520176.pdf




หน้าที่ 2. ข้อ 5.1






หน้าที่ 3. ข้อ 5.2.1 (2)






ตัวอย่าง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง บัตรหลัก-บัตรเสริม

เค้าจะฟ้องใคร...พ่อผมเป็นบัตรหลักใช้วงเงินเดียวกันกับผม ผมเป็นบัตรเสริม
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=42792&Itemid=64#67916


เป็นหนี้บัตรเครดิต มีหมายศาลมา จำเลยที่ 1 ไม่สามารถไป
www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=5&id=4273&Itemid=64&view=topic


เล่าสู่กันฟังค่ะ ไปศาลมา 31 มค และรบกวนสอบถามค่ะ (อยู่ในด้านล่างๆของกระทู้)
www.debtclub.consumerthai.org/odebt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=3027#3050

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91808 โดย sanyajo
Replied by sanyajo on topic เป็นคนค้ำประกัน
เป็นคนค้ำประกันเงิน กยศ แต่เจ้าหนี้ไม่ใช้ แต่มีหนังสือส่งมาที่บ้านให้รัผิดชอหนี้ เราต้องจ่ายไม่ครับ (ค้ำให้แฟนเก่าครับ ตอนนี้หย่ากัน 2 ปีแล้วครับ มีเอกสารส่งมาที่บ้านครับต้องทำไง ดีครับ เครียดเลยครับ :say:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91816 โดย thanya8570
Replied by thanya8570 on topic เป็นคนค้ำประกัน
ผมก้อเหมือนกันครับ เพียงแต่ยังไม่มีจม.ฟ้องครับ เปลี่ยนคนคำ้จากพ่อแฟนมาเป็นเรา
ถ้าขอเปลี่ยนกลับจะได้ไหมหนอ :sweat:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91821 โดย jackTs

sanyajo เขียน: เป็นคนค้ำประกันเงิน กยศ แต่เจ้าหนี้ไม่ใช้ แต่มีหนังสือส่งมาที่บ้านให้รัผิดชอหนี้ เราต้องจ่ายไม่ครับ (ค้ำให้แฟนเก่าครับ ตอนนี้หย่ากัน 2 ปีแล้วครับ มีเอกสารส่งมาที่บ้านครับต้องทำไง ดีครับ เครียดเลยครับ


หากลูกหนี้ของ กยศ.ไม่ยอมชำระหนี้ กยศ.

กยศ.จะทำการยื่นฟ้องลูกหนี้ของ กยศ.ให้เป็นคดีความสู่ชั้นศาล โดยจะทำการฟ้องผู้ที่กู้เงินของ กยศ.ให้เป็นจำเลยที่ 1. และฟ้องผู้ค้ำประกันหนี้ของ กยศ.ให้เป็นจำเลยที่ 2. ขึ้นสู่คดีความของศาลไปด้วย

ซึ่งคำพิพากษาของศาล ส่วนมาก ศาลท่านจะพิพากษาออกมาว่า หากผู้กู้(จำเลยที่ 1.)ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ก็ให้ผู้ค้ำประกัน(จำเลยที่ 2.)ต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้แทนทั้งหมด
หากผู้คำประกัน(จำเลยที่ 2.)มีเงินเดือนหรือทรัพย์สิน ก็ให้ทาง กยศ.(โจทก์)สามารถไปทำเรื่องอายัดเงินเดือนหรือยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2. เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ด้วย
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91825 โดย Hippocrite
Replied by Hippocrite on topic เป็นคนค้ำประกัน

นกกระจอกเทศ เขียน:

sanyajo เขียน: เป็นคนค้ำประกันเงิน กยศ แต่เจ้าหนี้ไม่ใช้ แต่มีหนังสือส่งมาที่บ้านให้รัผิดชอหนี้ เราต้องจ่ายไม่ครับ (ค้ำให้แฟนเก่าครับ ตอนนี้หย่ากัน 2 ปีแล้วครับ มีเอกสารส่งมาที่บ้านครับต้องทำไง ดีครับ เครียดเลยครับ


หากลูกหนี้ของ กยศ.ไม่ยอมชำระหนี้ กยศ.

กยศ.จะทำการยื่นฟ้องลูกหนี้ของ กยศ.ให้เป็นคดีความสู่ชั้นศาล โดยจะทำการฟ้องผู้ที่กู้เงินของ กยศ.ให้เป็นจำเลยที่ 1. และฟ้องผู้ค้ำประกันหนี้ของ กยศ.ให้เป็นจำเลยที่ 2. ขึ้นสู่คดีความของศาลไปด้วย

ซึ่งคำพิพากษาของศาล ส่วนมาก ศาลท่านจะพิพากษาออกมาว่า หากผู้กู้(จำเลยที่ 1.)ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ก็ให้ผู้ค้ำประกัน(จำเลยที่ 2.)ต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้แทนทั้งหมด
หากผู้คำประกัน(จำเลยที่ 2.)มีเงินเดือนหรือทรัพย์สิน ก็ให้ทาง กยศ.(โจทก์)สามารถไปทำเรื่องอายัดเงินเดือนหรือยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2. เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ด้วย
.


ถามคุณนกกระจอกเทศนิดนึงครับ ผมเคยได้ยินว่ามีพรบ.เพื่อแก้ไขประมวลแพ่งและพาณิชย์ในปี 2557 เกี่ยวกับการไม่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเยี่ยงลูกหนี้ร่วม จึงอยากขอถามเป็นความรู้ดังนี้:-

1. จะมีผลย้อนหลังกับสัญญาค้ำประกันเก่าๆหรือไม่ อย่างไรครับ และเมื่อจะบังคับใช้ทางแพ่งโดยทั่วไปจะให้กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน หรือต้องย้อนกลับไปใช้กฎหมายเมื่อครั้งทำสัญญาฯ

2. กรณีกยศ.มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีมั้ยครับ และสัญญาค้ำประกันการกู้กับกยศ.อยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องเกี่ยวกับการค้ำประกัน ซึ่งระบุไว้ว่าไม่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือเปล่า?

ตอนกฎหมายออกมาใหม่ๆเห็นตื่นเต้นกันอยู่พักนึง ตอนนี้เงียบๆไปละ (^_-)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91840 โดย sanyajo
ขอบคุณ พี่นกกระจอกเทศ ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91841 โดย jackTs

Hippocrite เขียน: ถามคุณนกกระจอกเทศนิดนึงครับ ผมเคยได้ยินว่ามีพรบ.เพื่อแก้ไขประมวลแพ่งและพาณิชย์ในปี 2557 เกี่ยวกับการไม่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเยี่ยงลูกหนี้ร่วม จึงอยากขอถามเป็นความรู้ดังนี้:-

1. จะมีผลย้อนหลังกับสัญญาค้ำประกันเก่าๆหรือไม่ อย่างไรครับ


ตามหลักของกฏหมายแล้ว ห้ามมิให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงคดีใดๆ ที่ถูกศาลพิพากษาไปแล้วครับ

กฏหมายฉบับนี้ ตราออกมาเพื่อให้เกิดประโยชน์เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ในกรณีที่ที่ยังไม่ถูกฟ้องศาลเท่านั้น โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

สรุป หากลูกหนี้(ผู้กู้) ทำการผิดนัดชำระหนี้ ก่อนวันที่ 13/พ.ย./57 ก็จะไม่สามารถใช้กฏหมายฉบับนี้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ืและสู้คดีสำหรับผู้ค้ำประกันได้

แต่ถ้าผู้ค้ำประกันรายใด ที่ยังไม่ถูกฟ้องศาล(ให้เป็นจำเลยที่ 2.)มาจนถึงปัจจุบัน ก็สามารถนำกฏหมายฉบับนี้ ไปใช้ปกป้องสิทธิ์และสู้คดีในชั้นศาลได้เลย

ลองไปอ่านในไฟล์แนบดูสิครับ

บัญญัติไว้ อยู่ในมาตรา ๔ และมาตรา ๖

ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์: quarantee.pdf
ขนาดไฟล์:75 kb



ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์: New_quarantee.pdf
ขนาดไฟล์:69 kb




Hippocrite เขียน: และเมื่อจะบังคับใช้ทางแพ่งโดยทั่วไปจะให้กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน หรือต้องย้อนกลับไปใช้กฎหมายเมื่อครั้งทำสัญญาฯ


กฏหมายฉบับนี้ ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป(ตามวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)...หากลูกหนี้(ผู้กู้) เริ่มมีการผิดนัดชำระ(เบี้ยวหนี้) ตั้งแต่วันที่ 13/พ.ย./57 เป็นต้นไป...ก็สามารถใช้กฏหมายฉบับนี้ เพื่อการคุ้มครองผู้ค้ำประกันได้

แต่ถ้าหากลูกหนี้(ผู้กู้) เริ่มมีการผิดนัดชำระ(เบี้ยวหนี้) ก่อนถึงวันที่ 13/พ.ย./57...ก็จะไม่สามารถใช้กฏหมายฉบับนี้ เพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิ์ของผู้ค้ำประกันได้เลย



Hippocrite เขียน: 2. กรณีกยศ.มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีมั้ยครับ


มีครับ โดยใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์(ปพพ.) เฉกเช่นเดียวกับคดีแพ่งทั่วไป ซึ่งบังคับให้ผู้ค้ำประกันหนี้ จะต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้ของผู้กู้ทุกประการ ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง...ไปจนกว่าจะหมดหนี้



Hippocrite เขียน: และสัญญาค้ำประกันการกู้กับกยศ.อยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องเกี่ยวกับการค้ำประกัน ซึ่งระบุไว้ว่าไม่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือเปล่า?


มันขึ้นอยู่กับผู้กู้ครับ ว่าผู้กู้เริ่มทำการผิดนัดชำระหนี้(เบี้ยวหนี้) ก่อน - หรือหลัง ที่มีกฏหมายฉบับนี้ประกาศออกมามีผลบังคับใช้

แต่...ไม่รวมไปถึงหนี้ของ กยศ.นะครับ




เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น

โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏว่า เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงิน กำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนอง ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



เจตนารมณ์ของกฏหมายฉบับนี้ ไม่รวมถึงหนี้ประเภทเงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
เพราะหนี้ของ กยศ. ไม่จัดเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม(เจ้าหนี้) ที่คิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฏหมายกำหนด(ไม่ได้มีการขูดรีดดอกเบี้ยจากผู้กู้)
เนื่องจากเจ้าหนี้ของ กยศ.ก็คือหน่วยงานของภาครัฐฯ ที่ทำตามนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้กับเยาวชนคนไทย ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา จึงใด้จัดทำโครงการกู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมการศึกษาดังกล่าว โดยการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1บาทต่อปี แล้วให้เยาวชนผู้ที่กู้ ทำการผ่อนคืนเงินกู้ดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้จบการศึกษาและมีงานทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อีกทั้ง กยศ.มิได้ใช้อำนาจในการต่อรอง หรือความได้เปรียบในทางการเงินของผู้กู้ยืม ตามข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิในทางกฏหมาย

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Hippocrite

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91859 โดย Hippocrite
Replied by Hippocrite on topic เป็นคนค้ำประกัน
กระจ่างเลยครับ ขอบคุณ​คุณกระจอกเทศมากๆ (^_-)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91882 โดย sanyajo
รบกวนขอความรู้ครับพี่นกกระจอกเทศ

1 เราสามารถขอความอนุเคราะห์จากศาลได้ไม่ครับเรื่องหนี้บัตรหลัก บัตรเสริม ยังไงผมต้องแพ้อยู่ดี
2. ผมหย่ากับแฟน กันยายน 2557 ตอนนั้นหนี้ 30000 กว่าบาทครับ ตอนฟ้องยอด 59000 เกือบบ 60000
คือผมไม่ได้ติดต่อกันเลย 2 ปี เอกสารแจ้งหนี้จะส่งไปที่้บ้านเขา ครับเอกสารมาพร้อมหมายฟ้องเลยมาที่บ้านเลยครับ ถ้าเราจะขอความอนุเคราะห์จ่าย ส่วน 30000 ได้ไม่ครับ
3.จากที่หย่ากันแล้วผมก็เกิบเงิน ไปดาวรถใหม่ ส่งเดือนละ 9197 บบาท และจ่ายเงินยืม บริษัทอีก 10000
เงินเดือนผมก็หมอแล้วครับ ต้องจ่ายเงินบริษัทหมดก่อนครับถึงจะเริ่มจ่ายหนี้บัตรได้
4. ขึ้นศาลเราต้องเขียนคำร้องหรือเอกสารอะไรบ้างไม่ครับ

ขอบคุณครับ ต้องไปขึ้นศาลวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #91890 โดย jackTs

sanyajo เขียน: 1 เราสามารถขอความอนุเคราะห์จากศาลได้ไม่ครับเรื่องหนี้บัตรหลัก บัตรเสริม ยังไงผมต้องแพ้อยู่ดี


คุณไม่สามารถร้องขอความเมตตาต่อศาลได้ครับ เพราะตามกฏหมายแล้ว ได้มีการระบุให้บัตรหลักจะต้องรับผิดชอบในหนี้ของบัตรเสริมทั้งหมดเพียงแต่ผู้เดียวอยู่แล้ว



sanyajo เขียน: 2. ผมหย่ากับแฟน กันยายน 2557 ตอนนั้นหนี้ 30000 กว่าบาทครับ ตอนฟ้องยอด 59000 เกือบบ 60000
คือผมไม่ได้ติดต่อกันเลย 2 ปี เอกสารแจ้งหนี้จะส่งไปที่้บ้านเขา ครับเอกสารมาพร้อมหมายฟ้องเลยมาที่บ้านเลยครับ ถ้าเราจะขอความอนุเคราะห์จ่าย ส่วน 30000 ได้ไม่ครับ


ไม่ได้ครับ ...เพราะภายหลังจากที่คุณหย่ากับแฟนเก่าของคุณแล้ว คุณไม่ได้ทำเรื่องยกเลิกบัตรเสริม ภายหลังจากที่ทำการหย่าขาดกันแล้ว (อันนี้ เป็นความผิดพลาดของตัวคุณเองนะครับ...คุณต้ิองยอมรับความผิดในข้อนี้ด้วย)

ดังนั้น คุณจึงต้องรับผิดชอบกับหนี้จำนวนนี้ไปเต็มๆ ตามที่กฏหมายกำหนดเอาไว้ครับ



sanyajo เขียน: 3.จากที่หย่ากันแล้วผมก็เกิบเงิน ไปดาวรถใหม่ ส่งเดือนละ 9197 บบาท และจ่ายเงินยืม บริษัทอีก 10000
เงินเดือนผมก็หมอแล้วครับ ต้องจ่ายเงินบริษัทหมดก่อนครับถึงจะเริ่มจ่ายหนี้บัตรได้


วิธีแก้หนี้

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=179&Itemid=64&limitstart=0#214





sanyajo เขียน: 4. ขึ้นศาลเราต้องเขียนคำร้องหรือเอกสารอะไรบ้างไม่ครับ


หากคุณคิดจะสู้คดีว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ยเพียงประเด็นเดียว คุณจะต้องให้ผู้ที่ถือบัตรเสริม(จำเลยที่ 2.) ต้องเป็นฝ่ายที่ไปขึ้นศาลและสู้คดีที่ชั้นศาล โดยผู้ที่สู้คดี(จำเลยที่ 2.) จะต้องมีทนายความที่มีความรู้ความสามารถ เกี่ยวกับเรื่องคดีแพ่งของสถาบันการเงินที่เก่งมากๆๆๆๆๆ ด้วยนะครับ...ไม่งั้นก็เตรียมแพ้คดี และรับคำพิพากษาของศาลได้เลย

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=9240&Itemid=64




ความรู้ต่างๆ มีอยู่ในนี้หมดแล้ว

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20


.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.645 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena