ต้องขึ้นศาล 3 พ.ค. 60 นี้แล้วครับ (KTC)

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94150 โดย Aiizte
สวัสดีครับพี่ๆทุกคน

ผมมีหนี้บัตรเครดิต+บัตรกดเงินสดของเคทีซี ยอดฟ้องอยู่ที่ 9x,xxx และได้รับหมายศาลเรียกตัวให้ไปขึ้นศาลในวันพรุ่งนี้ คือวันที่ 3 พ.ค. 60 ปัจจุบันผมว่างงานเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ และไม่มีทรัพย์สินอื่นใด
ด้วยความที่เครียดจัดจนเมื่อคืนนอนไม่หลับ ลุกขึ้นมากลางดึกเปิดอ่านกระทู้ต่างๆที่มีเรื่องคล้ายกับเรื่องของตัวเอง ยิ่งอ่านยิ่งได้ความรู้ ยิ่งอ่านยิ่งโล่งใจมากขึ้นเรื่อยๆ อ่านจนถึงเช้าเลยทีเดียว จนตอนนี้ไม่เครียดแล้วครับ แต่ยังแอบหวั่นๆกับเล่ห์เหลี่ยมของทนายฝายโจทย์ ผมจึงใคร่ขอรบกวนพี่ๆ ช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

เท่าที่อ่านจากกระทู้อื่น กรณีแบบผม คือ ว่างงาน ไม่มีทรัพย์สิน ถือว่าค่อนข้างได้เปรียบเจ้าหนี้ในตอนนี้ ถูกต้องไหมครับ และแน่นอนทนายโจทย์จะต้องยื่นข้อเสนอต่างๆเพื่อให้ผมยอมชำระ ซึ่งตอนนี้ผมยังไม่พร้อม ซึ่งผมก็ต้องปฏิเสธไป พอศาลท่านขึ้นพิจารณาคดี ขั้นตอนนี้ผมยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าไร คือศาลท่านก็จะถามว่าทำไมถึงไม่ยอมไกล่เกลี่ย ให้ผมเรียนศาลไปตามจริงถึงเหตุผลที่ยังไม่พร้อมชำระ แล้วต่อจากนั้นล่ะครับ ผมต้องทำอย่างไรต่อ?? ในส่วนตัวเข้าใจว่า ศาลท่านก็จะตัดสินให้ชำระหนี้ภายในกำหนด หากยังเพิกเฉย โจทย์ก็จะยื่นเรื่องบังคับคดีต่อไป ซึ่งผมไม่มีทรัพย์สินใดๆ ก็ไม่ต้องเป็นกังวล ระหว่างนั้นเมื่อมีเงินก้อนพร้อมเมื่อใดค่อยติดต่อขอ H/C เพื่อปิดหนี้.. ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ หากตกหล่นตรงไหนรบกวนพี่ๆชี้แนะด้วยนะครับ เพราะพรุ่งนี้ไปศาลคนเดียวกลัวจะตื่นสนามอยู่เหมือนกัน

ขอบคุณมากครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94151 โดย orathai
เราก็หยุดจ่าย Ktc มา 2 งวดแล้วเหมือนกัน เมื่อเช้าก็มีเจ้าหน้าที่โทรมาบอกให้จ่ายภายในวันที่5พ.ค.2560 นี้ ถ้าไม่จ่ายก็จะดำเนินการให้ฝ่ายกฎหมาย เดียวต่อไปคงโดนฟ้อง เหมือนกัน

เป็นกำลังใจให้คุณ Aiizte ค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94152 โดย supattra2524
รอฟังด้วยค่ะ คิดว่าของเราก็น่าจะไม่นานนี้เพราะค้างมา 6-7 เดือนละ เอาใจช่วยนะคะ ^^

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94153 โดย Aiizte

orathai เขียน: เราก็หยุดจ่าย Ktc มา 2 งวดแล้วเหมือนกัน เมื่อเช้าก็มีเจ้าหน้าที่โทรมาบอกให้จ่ายภายในวันที่5พ.ค.2560 นี้ ถ้าไม่จ่ายก็จะดำเนินการให้ฝ่ายกฎหมาย เดียวต่อไปคงโดนฟ้อง เหมือนกัน

เป็นกำลังใจให้คุณ Aiizte ค่ะ


เป็นกำลังใจให้เช่นกันนะครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94154 โดย Aiizte

supattra2524 เขียน: รอฟังด้วยค่ะ คิดว่าของเราก็น่าจะไม่นานนี้เพราะค้างมา 6-7 เดือนละ เอาใจช่วยนะคะ ^^


ผมหยุดจ่ายไปประมาณ 6 เดือนครับก็ได้รับหมายศาล

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94158 โดย HH.s
ตอนนี้หยุดจ่ายไป 2 เดือนไม่อยากให้มีวันที่ต้องไปขึ้นศาลเลยค่ะ ถึงจะเคยอ่านว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่เราไม่อยากให้ไปถึงขั้นนั้น อยากลองปรับโครงสร้างหนี้ดู แต่ไม่รู้KTC จะยอมรึป่าว เป็นหนี้พอๆกับเจ้าของกระทู้เลยค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94159 โดย Aiizte

HH.s เขียน: ตอนนี้หยุดจ่ายไป 2 เดือนไม่อยากให้มีวันที่ต้องไปขึ้นศาลเลยค่ะ ถึงจะเคยอ่านว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่เราไม่อยากให้ไปถึงขั้นนั้น อยากลองปรับโครงสร้างหนี้ดู แต่ไม่รู้KTC จะยอมรึป่าว เป็นหนี้พอๆกับเจ้าของกระทู้เลยค่ะ


เป็นกำลังใจให้นะครับ..

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94163 โดย kichanchai

HH.s เขียน: ตอนนี้หยุดจ่ายไป 2 เดือนไม่อยากให้มีวันที่ต้องไปขึ้นศาลเลยค่ะ ถึงจะเคยอ่านว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่เราไม่อยากให้ไปถึงขั้นนั้น อยากลองปรับโครงสร้างหนี้ดู แต่ไม่รู้KTC จะยอมรึป่าว เป็นหนี้พอๆกับเจ้าของกระทู้เลยค่ะ


การปรับโครงสร้างเหมาะกับมีเจ้าหนี้ไม่มากเจ้านะครับ และคิดว่าในระยะเวลาอันสั้นยังไม่มีเงิน HC ได้แน่นอน แต่ถ้าคุณมีหลายเจ้าจะปรับทุกเจ้าอาจจะไม่จบตลอดรอดฝั่งนะครับ คือถ้าไปไม่รอด จะทำให้เสียเวลา เสียเงิน การจ่ายถ้าผิดนัดก็จะไม่ช่วยอะไรเลยหนี้แทบจะไม่ลดลงเลย แป๊บเดียวกับมาเท่าเดิม

เอาใจช่วยนะครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94166 โดย Pheonix
ข้อ ๑. ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๑ ความว่า มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้อสัญญา” หมายความว่า ข้อตกลง ความตกลง และความยินยอม รวมทั้งประกาศ และคำแจ้งความเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดด้วย
“ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อให้ได้มา ซึ่งทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้น และให้หมายความรวมถึงผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้กระทำเพื่อการค้าด้วย “ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อจัดให้ซึ่งทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญานั้นต้องเป็นไปเพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นเป็นทางค้าปกติของตน “สัญญาสำเร็จรูป” หมายความว่า สัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการกำหนดข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะทำในรูปแบบใด ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน มาตรา ๔ ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝาก ที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝาก ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น
ข้อตกลงที่มีลักษณะ หรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่า ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น (๒) ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมหรือสัญญาที่ใช้บังคับอยู่มีพื้นฐานมาจากเสรีภาพของบุคคล ตามหลักของความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา รัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ซี่งมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าถือโอกาสอาศัยหลักดังกล่าวเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอำนาจต่อรองทางเศรฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ซี่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่สงบสุขในสังคม สมควรที่รัฐจะกำหนดกรอบของการใช้หลักความศักดิ์สิทธิของการแสดงเจตนาและเสรีภาพของบุคคล เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุขในสังคมดังกล่าว โดยกำหนดแนวทางให้แก่ศาล เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าข้อสัญญาหรือข้อตกลงใดที่ไม่เป็นธรรม และให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น ศุภสรณ์ / อภิสิทธิ์ ผู้จัดทำ ๒๑/๐๓/๒๕๔๖
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๒ “ดอกเบี้ย” หมายความว่า (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ เพื่อการที่ได้ใช้เงินของโจทก์ จึงเป็นดอกเบี้ยตามพจนานุกรม ที่โจทก์กำหนดเรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ ๒. ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔ ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือในสัญญาสำเร็จรูป ที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น
ข้อตกลงที่มีลักษณะ หรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่า ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น (๒) ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามคำฟ้องข้อ ๓. เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ จำเลยได้ยื่นขอสมัครสินเชื่อพร้อมใช้ เคทีซี ไว้กับโจทก์ โดยโจทก์ได้อนุมัติเงินกู้ให้จำเลยในวงเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี คิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ ๑๑ ต่อปี รวมกันเป็นอัตราร้อยละ ๒๖ ต่อปี ซึ่งเป็นดอกเบี้ยตามพจนานุกรมทั้งสิ้น จึงเป็นข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นข้อตกลงที่ถือได้ว่า ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป ได้เปรียบจำเลยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔
ข้อ ๓. ทำให้โจทก์ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร จึงจำเป็นต้องคำนวณดังนี้
ตารางที่ ๑ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ย ๑๕% ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ๑๑% ผ่อนชำระขั้นต่ำ ๓% ของยอดเงินคงค้างทั้งสิ้นแต่ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ บาท (ตามประกาศโจทก์) สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๓ ปรากฏว่า จำเลยผ่อนชำระรวม ๓๘๔ เดือน รวมจำนวนเงินที่จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสิ้น ๕๒๑,๙๒๗.๔๔ บาท (๓๔๗.๙๕% ของเงินต้น) นำไปชำระดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นเงิน ๒๑๔,๕๗๓.๕๒ บาท (๑๔๓.๐๕% ของเงินต้น) นำไปชำระค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ ๑๑ ต่อปี เป็นเงิน ๑๕๗,๓๕๓.๙๒ บาท (๑๐๔.๙๐% ของเงินต้น) นำไปชำระเงินต้นจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑๐๐% ของเงินต้น) รวมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๗๑,๙๒๗.๔๔ บาท (๒๔๗.๙๕% ของเงินต้น)
ตารางที่ ๒ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ย ๑๕% ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ๐.๐๐% ผ่อนชำระขั้นต่ำ ๓% ของยอดเงินคงค้างทั้งสิ้นแต่ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ บาท (ตามประกาศโจทก์) สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๔ ปรากฏว่า จำเลยผ่อนชำระรวม ๑๙๗ เดือน รวมจำนวนเงินที่จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสิ้น ๒๕๓,๐๑๖.๔๘ บาท (๑๖๘.๖๘% ของเงินต้น) นำไปชำระดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นเงิน ๑๐๓,๐๑๖.๔๘ บาท (๖๘,๖๘% ของเงินต้น) นำไปชำระค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ ๐ ต่อปี เป็นเงิน ๐.๐๐ บาท (๐.๐๐% ของเงินต้น) นำไปชำระเงินต้นจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑๐๐% ของเงินต้น)
เปรียบเทียบ ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นเงิน ๑๐๓,๐๑๖.๔๘ บาท (๑๐๐%) กับดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ ๒๖ ต่อปี เป็นเงิน ๓๗๑,๙๒๗.๔๔ บาท คิดเป็นร้อยละ ๓๖๑.๐๔% ของดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบจำเลยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔ ข้อ ๔. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม มาตรา ๑๐ ในการวินิจฉัยว่าข้อสัญญาจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ทั้งปวง รวมทั้ง (๑) ความสุจริต อำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใข ความสันทัดจัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง
(๒) ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
(๓) เวลาและสถานที่ในการทำสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา
(๔) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยขอกราบเรียนว่า เมื่อได้พิจารณาถึงความสุจริต อำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ความสันทัดจัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่นระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ โจทก์มีเหนือกว่าจำเลยทุกประการ มีความสันทัดจัดเจนทางการเงินและในการทำสัญญา ด้วยมีบุคลากรทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในทางการเงินและกฎหมายเพื่อร่างข้อตกลงดังกล่าว หรือทางเลือกของจำเลยในการทำสัญญาประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทใดก็มีข้อตกลงในการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินแบบเดียวกัน จำเลยจึงมีทางเลือกน้อยกว่า ทางได้เสียของคู่สัญญา โจทก์เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินได้เองฝ่ายเดียว แม้จะอยู่ภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อของโจทก์แล้ว ทางได้เสียของโจทก์ดีกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินดังกล่าว จำเลยในฐานะผู้บริโภคต้องรับภาระที่หนักกว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร
(๔) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
ภาระของโจทก์ในการทำธุรกิจ พิจารณาจากดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นต้นทุนการให้สินเชื่อ ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดาของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๕ ธนาคารกรุงไทย กำหนดให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน แก่ผู้ฝากเงิน อัตราร้อยละ ๑.๓๐ ต่อปี โจทก์เป็นบริษัทในเครืองธนาคารกรุงไทย โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ ๑.๓๐ ต่อปี ต้นทุนเงินให้กู้ยืมเงิน คิดเป็นเงินจำนวน ๑,๙๕๐ บาท (๑๕๐,๐๐๐ คูณ ๑.๓๐ หาร ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๙๕๐) เป็นต้นทุนเงินให้กู้ยืมที่น้อยมาก จำเลยต้องรับภาระที่หนักกว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและเป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป เป็นอย่างมาก จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและตามสมควรแก่กรณีเท่านั้น ตามพระราชบนัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔
ข้อ ๕. ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพัน์ ๒๕๖๐ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๖ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น ๑๒.๑๙ ล้านบัญชี มียอดสินเชื่อคงค้าง ๓๓๑,๔๒๑ ล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๙๒,๗๙๗.๘๘ ล้านบาท ถ้าระยะเวลาผ่านไป ๕ ปี ดอกเบี้ยสะสมจะเป็นเงินมากถึง ๔๖๓,๙๘๙.๔๐ ล้านบาท คิดเป็น ๑๔๐% ของเงินต้นคงค้าง ๓๓๑,๔๒๑ ล้านบาท ถึงวันนั้น ทุกอย่างคงจบ เพราะประชาชนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร ทุนต่างชาติเอาเงินของประชาชนผู้บริโภคไปค่อนข้างมาก การคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ ปี ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ ๑๒ ปี คิดเป็นดอกเบี้ยที่ประชาชนผู้บริโภคต้องจ่ายมากถึง ๓๓๖% (๒๘ คูณ ๑๒ เท่ากับ ๓๓๖%) เศรษฐกิจของประเทศไทยถึงได้ฝืดเคืองมาก
ข้อ ๖. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๑๓ ความว่า อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๔ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๕ ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๓ ข้อ ๒. อำนาจตามกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๘ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๕๘(เรื่องสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) โจทก์ให้จำเลยกู้เงินจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นเงิน ๑๐๓,๐๑๖.๔๘ บาท (๑๐๐%) กับดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินร้อยละ ๒๖ ต่อปี เป็นเงิน ๓๗๑,๙๒๗.๔๔ บาท คิดเป็นร้อยละ ๓๖๑.๐๔% ของดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี จึงเป็นการประกอบกิจการค้าขายที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยและไม่ผาสุกแก่สาธารณชนเป็นอันมาก จึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ดังกล่าวได้
ข้อ ๗. ตามสำเนาใบแจ้งการใช้จ่ายบัตรเครดิต เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๗ จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ จำนวนเงิน ๑๙,๖๔๐ บาท โจทก์แจ้งยอดเงินชำระขั้นต่ำจำนวน ๑๘,๑๖๓.๗๒ บาท ชำระเงินภายในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ ปรากฏว่า จำเลยผิดนัดไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์เลย และตามสำเนาใบแจ้งบัญชีสินเชื่อ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๑ จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จำนวนเงิน ๔,๔๐๖.๒๓ บาท โจทก์แจ้งยอดเงินชำระขั้นต่ำจำนวน ๔,๓๖๕.๔๙ บาท ชำระเงินภายในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ปรากฏว่า จำเลยผิดนัด ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์เลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า คู่สัญญาไม่ประสงค์ที่จะทำสัญญากันอีกต่อไป สัญญาจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ และวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในสัญญาผูกพันจำเลยอีกไม่ได้ โจทก์จำเลยต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม วรรคสี่ การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โจทก์จึงเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๒ การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ถ้าคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิกแล้ว ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน ของธนาคารกรุงไทย โจทก์เป็นบริษัทในเครือธนาคารกรุงไทย อัตราร้อยละ ๑.๓๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ ๑๓.๗๐ ต่อปี (๑๕ ลบ ๑.๓๐ เท่ากับ ๑๓.๗๐) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำร้อยละ ๑.๓๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๑,๐๕๓.๘๕ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๑๓.๗๐ หาร ๑.๓๐ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๐๕๓.๘๕) จึงเป็นกำไรขั้นต้นที่สูงมาก ไม่ใช่ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๒ การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น จำเลยจึงกราบขอประทานศาลท่านได้โปรดเมตตา เพื่อให้จำเลยสามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94201 โดย Aiizte
ขอบคุณทุกคำแนะนำและทุกกำลังใจนะครับ ตอนนี้มาถึงศาลแล้วครับ นั่งรออยู่หน้าห้องพิจารณาคดี


#ใจเต้นรัวๆๆ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94202 โดย Aiizte
คุยกับทนายเมื่อสักครู่ สรุปคือให้ศาลตัดสินไปก่อน จากนั้นทนายกับจนท.หน้าบัลลังก์ บอกให้เรากลับเลยก็ได้ หรือถ้าอยากอยู่รอศาลก็ไม่เป็นไร แต่โดยส่วนใหญ่จำเลยจะไม่อยู่ฟัง

ผมลังเลนิดหน่อย แต่ก็เลือกที่จะอยู่รอศาลครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94205 โดย AlexanderErk
อยู่เน้อ ห้ามกลับ เราต้องอยู่ให้ศาลตัดสินครับ อ่านกระทู้เก่าๆได้เลยครับ มีหลายๆคนแล้วที่โดนทนายฝ่ายโจทย์หลอกให้กลับบ้านก่อน

วันที่ 17 นี้ผมจะขึ้นศาลเป็นครั้งที่สองแล้ว ตกงานมานานแล้วเหมือนกัน ไม่ต้องกังวลอะไรแล้ว

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94211 โดย Aiizte

AlexanderErk เขียน: อยู่เน้อ ห้ามกลับ เราต้องอยู่ให้ศาลตัดสินครับ อ่านกระทู้เก่าๆได้เลยครับ มีหลายๆคนแล้วที่โดนทนายฝ่ายโจทย์หลอกให้กลับบ้านก่อน

วันที่ 17 นี้ผมจะขึ้นศาลเป็นครั้งที่สองแล้ว ตกงานมานานแล้วเหมือนกัน ไม่ต้องกังวลอะไรแล้ว


ครับ ผมก็ตั้งใจจะอยู่รอศาล แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เจอ ซึ่งผมเองก็มึนๆ งงๆ เหมือนกัน..
ในห้องพิจารณาผมมีเพื่อนร่วมห้องอีก1คน รายนี้โดนไฟแนนซ์ฟ้อง ซึ่งพี่เค้าตกลงกับโจทย์ขอเลื่อนนัดออกไป ระหว่างนั้นเราทั้ง 2 คน ก็นั่งรอศาล ส่วน จนท.หน้าบัลลังก์ ก็พิมพ์ๆแก้ๆเอกสารอยู่พักใหญ่ และหลังจากที่เอาเอกสารให้ทนายตรวจทานแล้ว พี่แกก็ถือเอกสารเดินเข้าเดินออกห้องอยู่ 3-4 รอบ แล้วทนายโจทย์ทั้ง2คน ก็ลุกใส่ครุย ซึ่งน่าจะเป็นสัญญานบอกให้รู้ว่าศาลกำลังจะขึ้นบัลลังก์ จากนั้นพี่จนท.ก็ถือเอกสารกลับเข้ามาในห้องพร้อมกับยื่นเอกสารนั้นให้กับทนายทั้ง2คน ทนายโจทย์ของผมถามว่า "เซ็นได้เลยหรอ?" จนท.พยักหน้าตอบ แล้วทนายก็ถือเอกสารเดินมาหาผม แล้วก็อ่านข้อความในเอกสารให้ฟัง ข้อความคร่าวๆประมาณว่า โจทย์และจำเลยได้มาศาลตามที่ศาลนัด โดยที่จำเลยงดให้การใดๆ และยินยอมให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน บลาๆๆๆๆ.... ท้ายสุด ทนายบอกว่าจะจัดส่งคำพิพากษาไปให้ที่บ้าน ภายในระยะเวลา...วัน แล้วก็ให้ผมเซ็นชื่อท้ายเอกสาร ผมก็เซ็นไปด้วยความงงๆ แล้วทนายก็บอกเรียบร้อยแล้ว กลับได้เลย... อ้อ พี่ร่วมห้องอีกคนก็ได้เซ็นเหมือนกัน สรุปผมเซ็นอะไรไปเนี่ย!! รบกวนผู้รู้ชี้แนะทีครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94222 โดย AlexanderErk
ศาลไม่มาหรือครับ สรุปแล้ว ก็ถ้าตอนเราให้ศาลตัดสินแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะให้เราเซ็นยอมรับข้อตกลงของศาลนะครับ ว่าเรายอมรับและทำตามที่ศาลตัดสิน เนื้อหาที่สรุปคืออยู่หน้าแรกนะครับ เท่าที่ผมจำได้เมื่อปีก่อน
ถ้าไม่อยากรอคำพิพากษาก็สัก 1 อาทิตย์ไปขอคัดลอกได้ครับ ที่ศาลนั่นแหละครับ แต่เห็นบางคนบอกว่า 3 วันก็ไปขอได้แล้ว ผมมไม่เคยขอนะ แต่จะมีเจ้าหน้าที่เอาไปให้ที่บ้าน หลังจากที่เราไปศาลสัก 3 เดือนได้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94235 โดย rainy2016
ถ้าได้รับคำพิพากษาแล้ว ช่วยอัพเดท ข้อมูลด้วยนะคะ อยากรู้อัตราดอกเบี้ยที่ศาลตัดสิน 10% หรือ 15% และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย..ขอบคุณค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94237 โดย kichanchai

rainy2016 เขียน: ถ้าได้รับคำพิพากษาแล้ว ช่วยอัพเดท ข้อมูลด้วยนะคะ อยากรู้อัตราดอกเบี้ยที่ศาลตัดสิน 10% หรือ 15% และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย..ขอบคุณค่ะ


อืม ตามเข้าใจของผมนะครับ เมื่อให้ศาลตัดสิน หากเราไม่ได้สู้คดี ส่วนมากตัดสินตามเจ้าหนี้ฟ้อง คือให้จ่ายทั้งหมดตามเจ้าหนี้ฟ้องไม่มีผ่อนนะครับ และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ โดนหมด ต่อมากถ้าไม่จ่าย ขั้นตอนต่อไป ก็บังคับคดี สืบหาทรัพย์ หรืออายัติเงินเดือน

ส่วนเรื่่อง ดอกเบี้ย 10% หรือ 15% การผ่อน จำนวนงวด และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย ส่วนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการทำยอมที่ศาล เราตกลงกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องให้ศาลตัดสินนะครับ ซึ่งขั้นตอนนี้ผมก็เคยทำยอม และขอให้ศาลท่านเมตตาได้ ค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ค่าทนาย บอกกับทางทนายเจ้าหนี้ขอให้ตัดออก

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94267 โดย AlexanderErk

kichanchai เขียน:

rainy2016 เขียน: ถ้าได้รับคำพิพากษาแล้ว ช่วยอัพเดท ข้อมูลด้วยนะคะ อยากรู้อัตราดอกเบี้ยที่ศาลตัดสิน 10% หรือ 15% และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย..ขอบคุณค่ะ


อืม ตามเข้าใจของผมนะครับ เมื่อให้ศาลตัดสิน หากเราไม่ได้สู้คดี ส่วนมากตัดสินตามเจ้าหนี้ฟ้อง คือให้จ่ายทั้งหมดตามเจ้าหนี้ฟ้องไม่มีผ่อนนะครับ และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ โดนหมด ต่อมากถ้าไม่จ่าย ขั้นตอนต่อไป ก็บังคับคดี สืบหาทรัพย์ หรืออายัติเงินเดือน

ส่วนเรื่่อง ดอกเบี้ย 10% หรือ 15% การผ่อน จำนวนงวด และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย ส่วนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการทำยอมที่ศาล เราตกลงกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องให้ศาลตัดสินนะครับ ซึ่งขั้นตอนนี้ผมก็เคยทำยอม และขอให้ศาลท่านเมตตาได้ ค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ค่าทนาย บอกกับทางทนายเจ้าหนี้ขอให้ตัดออก


ของ Tesco อันที่ผมขึ้นศาลเมื่อปีก่อน ศาลตัดสินให้จ่ายดอกที่ 12% ตัดดอกที่เกินมาตั้งแต่หยุดครับ แต่ไม่ได้บอกว่าจ่ายทีเดียว จากนั้นก็มีพนักงานจากบริษัทที่ฟ้องเราโทรมาเจรจาครับว่าจ่ายขั้นต่ำ 2000 ต่อเดือนอะไรแบบนี้ไหวไหม น่าจะเป็นรายๆไปบางคนไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆคือ จ่ายหมด ไม่มีลดเงินต้น

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94355 โดย kichanchai

AlexanderErk เขียน:

kichanchai เขียน:

rainy2016 เขียน: ถ้าได้รับคำพิพากษาแล้ว ช่วยอัพเดท ข้อมูลด้วยนะคะ อยากรู้อัตราดอกเบี้ยที่ศาลตัดสิน 10% หรือ 15% และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย..ขอบคุณค่ะ


อืม ตามเข้าใจของผมนะครับ เมื่อให้ศาลตัดสิน หากเราไม่ได้สู้คดี ส่วนมากตัดสินตามเจ้าหนี้ฟ้อง คือให้จ่ายทั้งหมดตามเจ้าหนี้ฟ้องไม่มีผ่อนนะครับ และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ โดนหมด ต่อมากถ้าไม่จ่าย ขั้นตอนต่อไป ก็บังคับคดี สืบหาทรัพย์ หรืออายัติเงินเดือน

ส่วนเรื่่อง ดอกเบี้ย 10% หรือ 15% การผ่อน จำนวนงวด และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย ส่วนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการทำยอมที่ศาล เราตกลงกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องให้ศาลตัดสินนะครับ ซึ่งขั้นตอนนี้ผมก็เคยทำยอม และขอให้ศาลท่านเมตตาได้ ค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ค่าทนาย บอกกับทางทนายเจ้าหนี้ขอให้ตัดออก


ของ Tesco อันที่ผมขึ้นศาลเมื่อปีก่อน ศาลตัดสินให้จ่ายดอกที่ 12% ตัดดอกที่เกินมาตั้งแต่หยุดครับ แต่ไม่ได้บอกว่าจ่ายทีเดียว จากนั้นก็มีพนักงานจากบริษัทที่ฟ้องเราโทรมาเจรจาครับว่าจ่ายขั้นต่ำ 2000 ต่อเดือนอะไรแบบนี้ไหวไหม น่าจะเป็นรายๆไปบางคนไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆคือ จ่ายหมด ไม่มีลดเงินต้น


หลังศาลตัดสินแล้ว ก็คงแล้วแต่เจ้าหนี้ละครับว่าจะเอายังไงต่อ ยอมให้ทยอยผ่อน หรือบังคังคดี แต่ Tesco ใจดีนะให้ทยอยผ่อนได้อีก

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94373 โดย AlexanderErk

kichanchai เขียน:

AlexanderErk เขียน:

kichanchai เขียน:

rainy2016 เขียน: ถ้าได้รับคำพิพากษาแล้ว ช่วยอัพเดท ข้อมูลด้วยนะคะ อยากรู้อัตราดอกเบี้ยที่ศาลตัดสิน 10% หรือ 15% และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย..ขอบคุณค่ะ


อืม ตามเข้าใจของผมนะครับ เมื่อให้ศาลตัดสิน หากเราไม่ได้สู้คดี ส่วนมากตัดสินตามเจ้าหนี้ฟ้อง คือให้จ่ายทั้งหมดตามเจ้าหนี้ฟ้องไม่มีผ่อนนะครับ และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ โดนหมด ต่อมากถ้าไม่จ่าย ขั้นตอนต่อไป ก็บังคับคดี สืบหาทรัพย์ หรืออายัติเงินเดือน

ส่วนเรื่่อง ดอกเบี้ย 10% หรือ 15% การผ่อน จำนวนงวด และค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ยกหรือต้องจ่าย ส่วนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการทำยอมที่ศาล เราตกลงกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องให้ศาลตัดสินนะครับ ซึ่งขั้นตอนนี้ผมก็เคยทำยอม และขอให้ศาลท่านเมตตาได้ ค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ค่าทนาย บอกกับทางทนายเจ้าหนี้ขอให้ตัดออก


ของ Tesco อันที่ผมขึ้นศาลเมื่อปีก่อน ศาลตัดสินให้จ่ายดอกที่ 12% ตัดดอกที่เกินมาตั้งแต่หยุดครับ แต่ไม่ได้บอกว่าจ่ายทีเดียว จากนั้นก็มีพนักงานจากบริษัทที่ฟ้องเราโทรมาเจรจาครับว่าจ่ายขั้นต่ำ 2000 ต่อเดือนอะไรแบบนี้ไหวไหม น่าจะเป็นรายๆไปบางคนไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆคือ จ่ายหมด ไม่มีลดเงินต้น


หลังศาลตัดสินแล้ว ก็คงแล้วแต่เจ้าหนี้ละครับว่าจะเอายังไงต่อ ยอมให้ทยอยผ่อน หรือบังคังคดี แต่ Tesco ใจดีนะให้ทยอยผ่อนได้อีก


ไม่รู้เหมือนกันครับ เพราะตอนนั้นที่ผมไปฟัง มี KTC สองคนครับโดนฟ้อง ก็ตัดสินแบบเดียวกัน คิดว่าคงจะเป็นรายๆไป ศาลคงช่วยเท่าที่ช่วยได้ ที่เห็นคือให้ตัดดอกที่เกิน แต่ไม่ได้เจอบอกจ่ายทีเดียว

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.882 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena