หนี้เน่าแบงก์ไตรมาสแรก ทะลุ4แสนล้าน!! คุมเข้มอนุมัติสินเชื่อรายย่อย

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94418 โดย Pheonix
หนี้เน่าแบงก์ไตรมาสแรก ทะลุ4แสนล้าน!! คุมเข้มอนุมัติสินเชื่อรายย่อย
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 13 พ.ค. 2560 เวลา 19:30:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ธปท.ระบุเอ็นพีแอลไตรมาสแรกปี 60 ทะลุ 4 แสน ล. แบงก์กุมขมับหนี้เสียสินเชื่อบุคคลปีที่ผ่านมากระฉูด 37% หนี้เสียบ้านไม่น้อยหน้าโต 20% แบงก์สกรีนเข้ม ส่งผลยอดปฏิเสธให้กู้พุ่งเกือบทุกประเภท เคทีซีขยับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำเฟ้นลูกค้า ธปท.จับมือแบงก์หยุดวงจรหนี้รายย่อย จำกัดวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 3 เท่ารายได้

NPL แบงก์ Q1 ทะลุ 4 แสน ล.

ผู้สื่อข่าวรายงานข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ประกาศข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล ไตรมาสแรกปี 2560 ในส่วนยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPLs) พบว่าเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ เติบโตมากขึ้นมาอยู่ที่ 405,328 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.95% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 13% หรือ 47,246 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีเอ็นพีแอล 358,082 ล้านบาท หรือ 2.64% และเพิ่มขึ้น 18,743 ล้านบาท หรือ 4.84% จากไตรมาส 4/2559 เอ็นพีแอลอยู่ที่ 386,585 ล้านบาท หรือ 2.83% ต่อสินเชื่อรวม

หากดูผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อรายย่อยไตรมาสแรก และแนวโน้มไตรมาส 2 ของ ธปท.ที่รวบรวมความเห็นจากสถาบันการเงิน 54 แห่ง พบว่า แบงก์ส่วนใหญ่ยังคงเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อในสินเชื่อรายย่อยในไตรมาสแรก และต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 2 ปีนี้ หากดูในส่วนดัชนีการอนุมัติสินเชื่อรายย่อยพบว่าลดลงในสินเชื่อเกือบทุกหมวด อาทิ สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต รถยนต์ และสินเชื่อบัตรกดเงินสดต่าง ๆ

หนี้เสียสินเชื่อบุคคลพุ่ง 37%

ด้านนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) กล่าวว่า หากดูเอ็นพีแอล สินเชื่อรายย่อยในฐานข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า เอ็นพีแอลของสินเชื่อกลุ่มนี้เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อบุคคลที่เอ็นพีแอลที่พบหนี้เสียเติบโตกว่าทุกกลุ่ม โดย ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ 166,241 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37% จากสิ้นปีก่อน ส่วนสินเชื่อบ้านเอ็นพีแอลก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 126,479 ล้านบาท เติบโต 20.54% และบัตรเครดิตเอ็นพีแอลอยู่ที่ 53,593 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.83%

"แม้ข้อมูลเอ็นพีแอลในศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโรไตรมาสแรกปีนี้ยังไม่ออก แต่ก็คาดว่าเอ็นพีแอลรายย่อยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่ออย่างแน่นอน โดยเฉพาะเอ็นพีแอลใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิตบูโร ในกลุ่มสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยังพบการผิดนัดชำระหนี้ในกลุ่มเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง" นายสุรพลกล่าว

เคทีซีขยับเกณฑ์เพิ่มรายได้ขั้นต่ำ

ด้านนางสาวสุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทบัตรกรุงไทย หรือเคทีซี กล่าวว่า จากเอ็นพีแอลของสินเชื่อบุคคลที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบัน แบงก์ น็อนแบงก์มีการปรับมาตรการผู้กู้เพิ่มขึ้น เช่น การปรับฐานเงินเดือนของผู้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่งบางแห่งปรับขึ้นจาก 8,000 บาทเป็น 10,000 บาท เช่นเดียวกัน เคทีซี ที่ล่าสุดปรับฐานรายได้ผู้กู้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,000 บาท จากปีที่ผ่านมาใช้ฐานรายได้ขั้นต่ำ 10,000 บาทต่อเดือน เพื่อกรองกลุ่มผู้กู้ที่มีศักยภาพมากขึ้นเข้ามาในระบบของบริษัท อีกทั้งที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทส่วนใหญ่ภาระหนี้อยู่ระดับสูง ทำให้ศักยภาพในการชำระหนี้ลดลง

ขณะที่นางสาวณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส หรือกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทไม่ได้มีการปรับฐานเงินเดือนผู้กู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแบงก์ไม่อยากปิดโอกาสกับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เพราะบางรายก็มีหนี้ต่อรายได้ต่ำ และเป็นลูกค้าที่ดีต่อเนื่อง แต่ยอมรับว่า หากดูยอดการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่านมา กลุ่มที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 12,000 บาทผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากบริษัทค่อนข้างน้อย หรือมียอดผ่านการอนุมัติต่ำกว่า 30% หากเทียบกับกลุ่มเงินเดือนที่สูงกว่า 12,000 บาทที่มีค่าเฉลี่ยการอนุมัติเกิน 40%

"สินเชื่อบ้าน" หนี้เสียซ้ำสอง

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เรื่องเอ็นพีแอลของธนาคารในภาพรวมถือว่าไม่ได้มากที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ยอมรับว่าปัญหาเอ็นพีแอลมาจากเดิมมีการกระจายสินเชื่อในแต่ละอุตสาหกรรมน้อยเกินไป ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการปรับระบบกลไกทั้งหมดให้การปล่อยสินเชื่อมีคุณภาพมากขึ้น เช่น การใช้ระบบเตือนล่วงหน้า และระบบการอนุมัติสินเชื่อ ทำให้สินเชื่อที่เข้ามาใหม่เป็นเอ็นพีแอลน้อยลง

ทั้งนี้ เอ็นพีแอลของธนาคารส่วนใหญ่ยังมาจากเอสเอ็มอี ส่วนสินเชื่อรายย่อยเริ่มชะลอลง แต่ยังเห็นทิศทางว่ามีคนกลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำหลังปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้าน สำหรับแบงก์กรุงไทยคาดว่าเอ็นพีแอลจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางไตรมาส 2/2560

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เอ็นพีแอลของธนาคารกสิกรไทย ที่เข้ามาตั้งแต่ต้นปีส่วนใหญ่ยังมาจากลูกค้าเอสเอ็มอีที่กระจายตัวในหลายธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้เสียอีกครั้ง ซึ่งบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าเอสเอ็มอีจะเชื่อมโยงไปสินเชื่อหลายประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน และอื่น ๆ

"ลูกหนี้เอ็นพีแอลเรามีมาตรการช่วยเหลืออยู่แล้ว และแนะนำว่าลูกหนี้ที่มีปัญหาควรเข้ามาปรึกษาธนาคารแต่เนิ่น ๆ จะสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังควบคุมเอ็นพีแอลไว้ตามเป้าหมาย ซึ่งธรรมชาติแล้วเอ็นพีแอลจะปรับลดลงหลังจากเศรษฐกิจดีขึ้นประมาณ 9 เดือน ซึ่งธนาคารมองว่าสิ้นปีนี้เศรษฐกิจจะดีขึ้น" นางสาวขัตติยากล่าว

คุมเข้มการปล่อยสินเชื่อใหม่

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เอ็นพีแอลบัตรเครดิตของธนาคารในช่วง 4 เดือนแรกปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งก็สอดคล้องกับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นไม่มากเช่นกัน

"หนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลไตรมาสแรกอยู่ที่ 3.15% ถือว่าน้อย เพราะมีการปรับตัวตั้งแต่ปี 2558-2559 ที่มียอดสินเชื่อเข้ามาไม่มาก เพราะมีการคัดกรองลูกค้ามากขึ้น แต่ก็ส่งผลดีให้ปัจจุบันสินเชื่อส่วนบุคคลค่อนข้างมีคุณภาพ ซึ่งฐานลูกค้าเรากว่า 80-90% เป็นมนุษย์เงินเดือน ทำให้สามารถคุมความเสี่ยงได้ดี" นายฐากรกล่าว

นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ภาพรวมสินเชื่อรายย่อยของธนาคารกรุงเทพส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้าน ซึ่งที่ผ่านมามีการดูแลอย่างต่อเนื่อง การปล่อยสินเชื่อยังคงเคร่งครัด ส่งผลให้เอ็นพีแอลไม่เพิ่มขึ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันก็ทำให้ลูกค้าบางรายมีปัญหา แต่ปีนี้ก็น่าจะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะดีขึ้น

"ในส่วนของธนาคารยังคงดูเรื่องคุณภาพสินเชื่อเป็นหลัก โดยเน้นเจาะเซ็กเมนต์เฉพาะ เช่น โครงการบ้านจัดสรรที่แบงก์ร่วมมือสนับสนุนสินเชื่อโครงการ" นายทวีลาภกล่าว

ธปท.จับมือแบงก์หยุดหนี้รายย่อย

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาคธุรกิจการเงินจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ 3 ส่วน คือ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุน ซึ่งการทำระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นส่วนหนึ่ง 2) สร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบการเงิน อย่างสถาบันการเงินก็ต้องไม่รับความเสี่ยงเกินควร และ 3) ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการการเงินที่ถูกลง

ทั้งนี้ วันที่ 17 พ.ค.นี้ ธปท.จะลงนามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินรายย่อย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ และมีลูกหนี้หลายรายที่ต้องการการแก้ปัญหา ทาง ธปท.จึงเชิญสถาบันการเงินมาช่วยกันดูแล เพื่อทำให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้หลายทางหยุดวงจรการเป็นหนี้ได้

แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินกล่าวว่า จากนโยบายของ ธปท.ที่ต้องการคุมหนี้ครัวเรือน และลดปัญหาหนี้ในระยะยาว โดยเฉพาะการจำกัดการกู้สินเชื่อบุคคล และการถือครองบัตรเครดิต ตามฐานรายได้นั้นถือเป็นโจทย์สำคัญของ ธปท. เนื่องจากปัจจุบัน ธปท.เห็นความเสี่ยงจากเอ็นพีแอล ใน 2 กลุ่มนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเอ็นพีแอลในกลุ่มสินเชื่อบุคคล ที่มีเชิญชวนและการทำโฆษณาจากแบงก์และน็อนแบงก์ค่อนข้างมาก ทำให้เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ไม่มีศักยภาพเข้ามาในระบบ

จำกัดวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 3 เท่า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานเรื่องเกณฑ์คุมการปล่อยกู้ส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ระบุว่า จากที่ ธปท.มีแนวคิดวางกรอบการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต "สำหรับลูกค้ารายใหม่" โดยส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลจะจำกัดวงเงินสินเชื่อให้สูงสุดไม่เกิน 3 เท่า จากเดิม 5 เท่าต่อรายได้ ขณะที่บัตรเครดิตจะจำกัดจำนวนการถือครองบัตรเครดิต สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (เบื้องต้นคือ 30,000 บาทต่อเดือน) ให้ไม่เกิน 3 แห่ง พร้อมกับจำกัดวงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 3 เท่า จากเดิม 5 เท่าของรายได้ ตลอดจนดูแลการผ่อนชำระสินค้าของผู้บริโภคให้อยู่ในกลุ่มที่มีความจำเป็นเป็นหลัก มากกว่าการมุ่งใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าที่เกินความจำเป็น ทั้งหมดนี้สะท้อนความพยายามในการมุ่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดมาแตะระดับ 79.9% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2559

เป้าหมายของ ธปท. คือการดูแลการก่อหนี้ของประชากรเจนวาย (Gen Y) ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริง จึงเป็นแนวทางที่น่าจะช่วยลดการ "เพิ่มขึ้น" ของหนี้ครัวเรือนจากคนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้ ซึ่งกลุ่มคนเจนวายปัจจุบันมีประมาณ 14 ล้านคน หรือประมาณ 22% ของประชากรไทย

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94489 โดย Pheonix
สุนทรพจน์
ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
งานแถลงข่าว โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้)
ห้องประชุมภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันที่ 17 พฤษภาคม 2560
_______________________________________________________________________
ประธานสมาคมธนาคารไทย
ประธานสมาคมธนาคารนานาชาติ
ประธานกรรมการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จ ากัด
ท่านกรรมการผู้บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ
สื่อมวลชน ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราได้มาร่วมกันในวันนี้ เพื่อเปิดตัวโครงการคลินิกแก้หนี้โครงการนี้เป็นโครงสร้าง
พื้นฐานที่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาทั้งในระดับตัวลูกหนี้เอง ระดับครอบครัว และระบบ
สถาบันการเงินไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งสัญญาณเตือน และแสดงความเป็นห่วงเรื่องหนี้ครัวเรือนมาระยะหนึ่งแล้ว
แต่ถ้าเราแค่เตือนเท่านั้น ปัญหาที่มีอยู่จะไม่สามารถหมดไปได้ และเราก็เห็นว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาเรื่อง
หนี้ครัวเรือนกลับรุนแรงขึ้น
การแก้ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน มีหลายมิติที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ เรื่องแรกวินัยและความรู้ความเข้าใจ
ในการวางแผนทางการเงินของลูกหนี้ต้องระมัดระวังการใช้จ่ายไม่ให้จ่ายเงินเกินตัว มิติที่สองคือ
สถาบันการเงินเจ้าหนี้หรือผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อจะต้องน าเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบ
ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นหนี้เกินตัว การน าเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า
และ มีการควบคุมความเสี่ยงที่ดี
มิติที่สามซึ่งเป็นมิติที่ส าคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เมื่อลูกหนี้ติดอยู่ในวงจรหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นหนี้เสีย
แล้วควรจะมีทางออก ให้ลูกหนี้ที่สุจริต ตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมของตัวเอง สามารถที่จะออกจากวงจรหนี้ได้
และสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งจะน าไปสู่ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของครอบครัวได้ใหม่
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคล หรือโครงการคลินิกแก้หนี้ที่เราเปิดตัวในวันนี้ เป็นเฉพาะมิติที่สาม
ที่ผมได้กล่าวถึง เรายังต้องท างานร่วมกันต่อเนื่องส าหรับส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สอง
โครงการคลินิกแก้หนี้นี้เป็นความร่วมมือก้าวส าคัญระหว่าง สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ
บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ไข
ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาสังคมที่ส าคัญของประเทศ ในยุคปัจจุบันภาคครัวเรือน
มีความเปราะบางทางการเงิน เราทราบกันดีว่าภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงมีความผันผวนสูง ถ้าครัวเรือน
มีความเปราะบางทางการเงินก็จะส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งและเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและสังคมใน
ภาพรวม ในระดับลูกหนี้แต่ละคนแล้ว คนที่เป็นหนี้โดยเฉพาะหนี้เสีย มักจะมีความกังวล เครียด และไม่มีสมาธิใน
การประกอบกิจการหน้าที่ต่างๆ เป็นปัจจัยฉุดรั้งท าให้ไม่สามารถด าเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติและที่ส าคัญไม่
สามารถยกระดับศักยภาพของตัวเองได้
2
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
จากข้อมูลล่าสุดเราพบว่าหนี้ภาคครัวเรือนได้ปรับลดลงบ้างถ้าดูในภาพใหญ่ในระดับมหภาคในสิ้นปี 2558
หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 81.2 ของ GDP ปรับลดมาอยู่ที่ร้อยละ 79.9 ของ GDP ณ สิ้นปี2559แต่แม้จะหักส่วน
ที่กู้ไปประกอบธุรกิจประมาณร้อยละ 20 ต่อ GDPก็ยังนับว่าอยู่ในระดับสูงและมีหลายประเด็นที่น่ากังวล
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ได้ร่วมกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติท าการศึกษา big data analytics พบว่า
“คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้นมากเป็นหนี้นาน และมีหนี้มูลค่ามาก”กล่าวคือ
(1) คนไทยเริ่มเป็นหนี้เร็วขึ้น และเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย จากถังข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต
พบว่าครึ่งหนึ่งของคนอายุประมาณ 30 มีหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือ personal loan
และ/หรือหนี้บัตรเครดิต และถ้าดูคนไทยที่มีหนี้เสีย หรือมีหนี้ค้างช าระมากกว่า 90 วัน จะน่าตกใจที่พบว่า
ลูกหนี้ที่อยู่ช่วงอายุ29 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยท างานและอยู่ในช่วงวางรากฐานที่ส าคัญให้ครอบครัว เป็นลูกหนี้
ค้างช าระเกิน 90 วันมากถึงหนึ่งในห้า ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้นับรวมหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ หนี้กองทุน
ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีอัตราการผิดนัดช าระหนี้มากเช่นกัน ถ้ารวมตัวเลขนั้นเข้ามา ผมคิดว่าปัญหาจะ
ยิ่งน่าเป็นห่วง
(2) คนไทยเป็นหนี้นาน ปริมาณหนี้ต่อหัวเร่งขึ้นเร็วส าหรับคนในช่วงอายุประมาณปลาย 20 เข้า 30 ปี
และอยู่ในระดับใกล้เคียงระดับสูงสุดตลอดอายุการท างาน ที่ส าคัญระดับหนี้ไม่ได้ลดลงแม้จะเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ
สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงในชีวิต โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าสู่สังคมชราภาพมากขึ้น เราทราบกันดีว่าคนที่อายุใกล้
เกษียณต้องมีความพร้อมที่จะดูแลตัวเองในวันที่เกษียณได้และ
(3) คนไทยมีหนี้มูลค่ามากขึ้น ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต พบว่าค่ากลางหรือ median ของหนี้ต่อหัว
จาก 70,000 บาทในปี 2553 หรือ 7 ปีก่อน เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวมาอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท ณ สิ้นปี 2559
นอกจากนี้ คนที่มีหนี้ในระบบจากฐานข้อมูลบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติซึ่งรวมข้อมูลจากสถาบันการเงิน ยังมี
สถานะการเงินเปราะบาง ร้อยละ 16 ของคนที่มีหนี้ หรือประมาณ 3 ล้านคน มีหนี้ที่มีสถานะค้างช าระเกินกว่า 90 วัน
นั่นหมายถึงการเป็นหนี้เสียที่ต้องถูกเจ้าหนี้ติดตามทวงถามหรืออยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย
อาการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการขาดวินัยและการขาดทักษะในการบริหารจัดการเงิน และสะท้อนให้
เห็นว่าคนจ านวนไม่น้อยติดอยู่ในวงจรหนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข เพราะเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการเป็นหนี้
โดยเฉพาะหนี้เพื่อการบริโภคที่ไม่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตนั้น ยากที่เศรษฐกิจของเราจะเติบโตไปข้างหน้าได้
อย่างยั่งยืน
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ด้วยการตระหนักถึงความส าคัญของปัญหาเรื่องนี้สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ
ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจัดให้มี
โครงการคลินิกแก้หนี้ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน มี
โอกาสปลดภาระหนี้สินที่มีกับเจ้าหนี้หลายรายได้อย่างครบวงจรและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีบริษัทบริหาร
สินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) ท าหน้าที่เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ทั้งนี้หลายท่านคงสงสัยว่าท าไมเราต้องให้ความส าคัญกับการแก้ปัญหาที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย
การที่มีเจ้าหนี้หลายราย ลูกหนี้ต้องเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับแต่ละแห่งที่มีหลักเกณฑ์และมาตรฐาน
แตกต่างกัน ท าให้ประสบความส าเร็จได้ค่อนข้างยาก และที่ส าคัญเราต้องไม่ลืมว่าเงินที่ลูกหนี้น ามาช าระหนี้
3
เจ้าหนี้หลายรายนั้นต่างมาจากแหล่งรายได้ก้อนเดียวกัน การพิจารณาความสามารถในการช าระหนี้ จะต้อง
ดูภาระหนี้ทั้งหมด ไม่สามารถพิจารณาทีละรายเจ้าหนี้ได้ในโครงการนี้SAM จะท าหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รับช าระหนี้ รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง ให้ค าปรึกษาและให้ความรู้ ส่งเสริมให้ลูกหนี้ปรับพฤติกรรม
การใช้จ่ายเงินให้เหมาะสม เพื่อที่จะไม่ก่อภาระหนี้สินเกินตัวอีกในอนาคต
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
โครงการคลินิกแก้หนี้ ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะสามารถรักษาหนี้ทุกคนให้หายขาดได้เราเชื่อว่าเป็นหนึ่งใน
มาตรการที่จะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่สุจริตและมีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากแก้ไขปัญหา สามารถที่จะเริ่มต้นใหม่
ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ตามความสามารถในการช าระหนี้จริง
อย่างไรก็ดี สิ่งส าคัญที่จ าเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นควบคู่กันไป คือ การสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็น
ประโยชน์ของการออมการสร้างวินัยและการสร้างทักษะในการบริหารจัดการเงิน ทักษะในการวางแผนทางการเงิน
รวมทั้งปลูกฝังทัศนคติการด ารงชีวิตอย่างพอเพียง ควบคู่ไปกับ ที่สถาบันการเงินต้องด าเนินธุรกิจด้วยความ
รับผิดชอบ ให้บริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และพิจารณาการให้สินเชื่ออย่างรอบคอบ ไม่ให้สินเชื่อ
มากเกินควรและเกินความจ าเป็น ดังที่ผมได้กล่าวไว้ตอนต้น
โครงการคลินิกแก้หนี้ที่เราจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนนี้ ถือเป็นโครงการน าร่อง โดยช่วงแรกจะครอบคลุม
เฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน มีเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
และมีสถานะเป็นหนี้เสีย คือ ค้างช าระมากกว่า 90 วัน ก่อนวันที่ 1 พ.ค. 2560 จากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต
ในเบื้องต้นเราพบว่า อาจจะมีลูกหนี้ในกลุ่มนี้หลายแสนราย ยอดเงินรวมกันมากกว่า 100,000 ล้านบาท ทั้งที่
ยังอยู่ใน book ของสถาบันการเงินและที่สถาบันการเงินได้ write off ทางบัญชีไปแล้ว แต่ยังมีสิทธิ์ตามเก็บจาก
ลูกหนี้อยู่ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องแสดงเจตนาที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างวินัยในการใช้จ่าย ตลอด
ช่วง 5 ปีที่ร่วมโครงการจะไม่สามารถก่อหนี้ใหม่เพิ่มเติมได้ยกเว้นเกิดกรณีจ าเป็นตามที่ระบุไว้ในหลักเกณฑ์ของ
โครงการเมื่อด าเนินโครงการไประยะหนึ่งจะติดตามประเมินผลโครงการเพื่อปรับปรุงและพัฒนาโครงการอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเอาประโยชน์ของสังคมไทยเป็นที่ตั้ง
ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่
เข้าร่วมโครงการ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และบริษัทข้อมูลเครดิต ที่ตระหนักถึงปัญหาและความจ าเป็น
ของการจัดตั้งคลินิกแก้หนี้ขึ้น ซึ่งนอกจากจะให้โอกาสลูกหนี้แก้ไขปัญหาหนี้ในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับ
ครอบครัวของตัวเองแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนลุกลามจนกระทบต่อสังคมและเสถียรภาพ
ทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสะสมมานานและไม่สามารถแก้ไขได้ใน
ระยะเวลาอันสั้น โครงการคลินิกแก้หนี้จะไม่สามารถประสบความส าเร็จได้เลย ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ยอมเสียสละ
ผลประโยชน์บางส่วนมาร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันโครงการนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
สุดท้ายนี้ ผมขออัญเชิญพระราชด ารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สององค์
ซึ่งพระองค์ได้เคยพระราชทานเตือนสติชาวไทยไว้ว่า
“การกู้เงินที่น ามาใช้ในสิ่งที่ไม่ท ารายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อส าคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงินและท าให้มีรายได้
ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ”
1

1
พระราชด ารัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯเนื่องในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2540
4
อีกองค์หนึ่งที่ได้เคยรับสั่งไว้ว่า
“การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว
ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้นยังจะ
เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”
2
ขอบคุณมากครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #94496 โดย Pheonix
ธนาคารแห่งประเทศไทยจับมือธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง และ บบส. เปิดตัว คลินิกแก้หนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนในทุกธนาคารรวมกันวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาทจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 7 คาดระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศลดลง



วันที่ 17 พ.ค.60--นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ร่วมกับนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย นายดาเรน บัคลีย์ ประธานสมาคมธนาคารนานาชาติ และ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ประธานกรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือ บสส.(SAM) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันของตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง และ บบส. เพื่อเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน หรือ คลินิกแก้หนี้ โดยเริ่มในส่วนของธนาคารพาณิชย์ก่อน



ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อมุ่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ด้อยคุณภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยโครงการนำร่องจะเริ่มต้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ครอบคลุมเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิตที่ไม่มีหลักประกันของธนาคารพาณิชย์และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งมีสถานะหนี้เสียค้างชำระเกิน 3 เดือนก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 กำหนดให้ลูกหนี้ที่สุจริตสมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดย บสส. จะเป็นหน่วยงานกลางแก้ปัญหาหนี้แทนเจ้าหนี้สถาบันการเงินและบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจการเงิน




สำหรับคุณสมบัติลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีเงินเดือนประจำ อายุไม่เกิน 65 ปีมีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันเกิน 3 เดือน ยอดหนี้เงินต้นค้างชำระรวมของทุกธนาคาร 2 แห่งขึ้นไปรวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท และไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี นอกจากนี้ต้องเต็มใจไม่ก่อหนี้เพิ่มในระยะ 5 ปี ซึ่งประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับจะได้รับการลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือนและคิดอัตราดอกเบี้นต่อเดือนไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี ถูกรวมหนี้และผ่อนชำระในที่เดียวไม่ถูกทวงถามจากเจ้าหนี้หลายราย



ส่วนลูกหนี้ในส่วนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ นอนแบงก์ ยังไม่สามารถดำเนินได้เนื่องจากติดกฏหมายบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่บริหารหนี้เสียได้เฉพาะของธนาคารพาณิชย์ ขณะนี้กำลังเร่งแก้ไขกฏหมายและกฤษฎีกากำลังพิจารณาความรอบคอบ จะดำเนินการได้หลังจากแก้ไขกฏฏหมายครอบคลุมหนี้นอนแบงก์แล้ว

ข้อมูลล่าสุดพบว่าคนไทยเริ่มเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยในช่วงอายุ 30 ปีครึ่งหนึ่ง เป็นหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภค และ บัตรเครดิตและ ที่น่าตกใจพบว่าช่วงอายุ 29 ปีซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานและเริ่มสร้างครอบครัวเป็นหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนมากถึง 1 ใน 5 ของลูกหนี้ช่วงอายุ 29 ปีทั้งหมด หนี้ส่วนนี้ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ และ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่วนค่าเฉลี่ยของหนี้ต่อหัวสิ้นปี 2559 อยู่ที่ 1 แสน 5 หมื่นบาท เพิ่มจากสิ้นปี 2553 อยู่ที่ 7 หมื่นบาท ในจำนวนคนไทยที่เป็นหนี้ 21 ล้านคนมีคนที่เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนจำนวน 3 ล้านคน สำหรับยอดหนี้ครัวเรือนสิ้นปีที่แล้วปรับลดลงเหลือร้อยะ 79.9 ต่อจีดีพี



ส่วนมาตรการปรับเงื่อนไขการให้สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ที่ลดลงเงินจาก 5 เท่าของรายได้เหลือ 3 เท่าตามที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้อยู่ระหว่างศึกษาและจะประกาศใช้เมื่อได้ข้อสรุปสมบูรณ์แล้ว

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #94614 โดย Pheonix
คิกออฟ "คลินิกแก้หนี้" บสส.จัด One Stop Service
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 22 พ.ค. 2560 เวลา 18:55:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คิกออฟไปเมื่อ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา สำหรับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน หรือ "คลินิกแก้หนี้" โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส. หรือ SAM) เพื่อให้เป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ลดลง

"ล่าสุดหนี้ครัวเรือนได้ปรับลดลงบ้าง จาก 81.2% ของ GDP ณ สิ้นปี 2558 มาอยู่ที่ 79.9% ณ สิ้นปี 2559 และถึงแม้ว่าจะหักส่วนที่กู้ไปประกอบธุรกิจประมาณ 20% ออกไป ก็ยังนับว่าสูงอยู่" นี่เป็นคำกล่าวของ "วิรไท สันติประภพ" ผู้ว่าการ ธปท. ในวันเปิดโครงการ

โดย "วิรไท" กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยให้ลูกหนี้กลุ่มนี้มีโอกาสปลดภาระหนี้สินที่มีกับเจ้าหนี้หลายรายได้อย่าง "ครบวงจร" และเป็น "มาตรฐานเดียวกัน" ซึ่งครอบคลุมเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน คลินิกแก้หนี้ จะเปิดให้บริการเฉพาะลูกหนี้รายบุคคลที่มีเงินเดือนประจำ อายุไม่เกิน 65 ปี ซึ่งมีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน

ติดค้างจ่ายเกินกว่า 3 เดือน (90 วัน) กับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคาร 2 แห่งขึ้น โดยมีหนี้ค้างรวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือถูกตีตราเป็น "หนี้เสีย" ก่อนวันที่ 1 พ.ค. 2560

เมื่อดูข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) พบว่า ลูกหนี้ที่เข้าข่ายโครงการนี้มีจำนวนลูกหนี้กว่า 5 แสนราย ยอดหนี้รวมกว่า 1 แสนล้านบาท สำหรับกรณีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว จะ “ไม่เข้า” เงื่อนไขตามโครงการนี้ ดังนั้น ลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไขจึงอาจไม่ถึง 5 แสนราย

“วิรไท” กล่าวเชื่อมั่นว่า เมื่อทำโครงการนี้จะไม่นำมาสู่การเกิดพฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้ (Moral Hazard) ได้ อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า คลินิกแก้หนี้จะขยายไปให้บริการแก่เจ้าหนี้น็อนแบงก์ (สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์) ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เพื่อเปิดทางให้บริการกลุ่มน็อนแบงก์ได้

ด้านแม่งานสำคัญ “ผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ” ประธานกรรมการ บสส. ซึ่งเป็นตัวกลางสำคัญของการให้บริการคลินิกแก้หนี้ กล่าวว่า ทาง บสส.จะเป็น “One Stop Service” ที่เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ การเจรจาหารือ การพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ การปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน

สำหรับผู้ที่เข้ามารักษาคลินิกแก้หนี้แห่งนี้จะมีข้อดี คือ ได้รับการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ด้านอัตราดอกเบี้ยกู้ อยู่ที่ 4-7% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี และลูกหนี้แต่ละรายจะจ่ายดอกเบี้ยตามระดับรายได้ ได้แก่ รายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท (ต่อเดือน) จะคิดดอกเบี้ย 4%, รายได้ 3-5 หมื่นบาท คิดดอกเบี้ย 5%, รายได้ 5 หมื่นบาท -1 แสนบาท คิดดอกเบี้ย 6% และรายได้มากกว่า 1 แสนบาท จะคิดดอกเบี้ยสูงสุดที่ 7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลหรือดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่มาก แต่ว่าในช่วง 5 ปีแรกที่เข้าโครงการนี้ ลูกหนี้จะถูก “ห้ามก่อหนี้ใหม่เพิ่ม” เว้นแต่ว่าลูกหนี้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้หมดก่อน 5 ปี จะทำการทบทวนให้ลูกหนี้สามารถก่อหนี้ใหม่ได้

“พวกหนี้เก่าในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยคงค้าง ค่าปรับเก่า พวกนี้เราจะไม่นำมาคิดเลย ไม่มีการเก็บ ถ้าคุณอยู่จนตลอดโครงการ คือวงเงิน 2 ล้านบาท นี่คือเงินต้นอย่างเดียว แต่ถ้าอยู่แค่ครึ่งค่อนทาง ก็ต้องคิดดอกเบี้ยเก่า ค่าปรับเก่ากลับมาด้วย” ประธานกรรมการ บสส.กล่าวและว่า

โครงการนี้เปิดดำเนินการในปีแรก บสส.คาดว่าน่าจะมีลูกหนี้เข้ามาแก้ไขปัญหาจำนวนหลักพันราย จริง ๆ คงไม่รู้แน่ชัดได้ว่าจะมีเข้ามากี่ราย เพราะคนที่เข้ามาแล้วไม่เข้าเงื่อนไข ก็ต้องตกไป อย่างไรก็ตาม บสส.จะมีการเก็บชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร.ติดต่อไว้ หากอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และลูกหนี้เข้าข่ายดังกล่าว บสส.จะได้ติดต่อกลับไปได้

สำหรับลูกหนี้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถเดินเข้ามาหา บสส.ได้ ซึ่งมีเปิดให้บริการสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และอีก 4 จังหวัดตามภูมิภาค คือ สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก และขอนแก่น หรือใช้วิธี โทร.เข้าไป โดยเจ้าหน้าที่ บสส.จะช่วยลูกหนี้ในการกรอกเอกสาร หรือลูกหนี้สามารถกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.debtclinicbysam.com หรือ www.คลินิกแก้หนี้.com หรือจะติดต่อทางโทรศัพท์ 20 คู่สายได้เอง

ฟากแบงก์เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ นำโดย “ปรีดี ดาวฉาย” ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย
มั่นใจว่าโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาลูกหนี้ได้แบบองค์รวม โดยแบงก์เจ้าหนี้ก็ต้องยอมเสียสละเพื่อสังคม โดยยอมปรับลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ต่าง ๆ ให้ลูกหนี้ และมาจ่ายบริการติดตามหนี้ให้แก่ บสส. โดย บสส.คิดค่าธรรมเนียมในอัตราสูงสุดไม่เกิน 7% ของวงเงินที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ได้ แต่ขณะเดียวกันแบงก์ก็ไม่ต้องมามีต้นทุนติดตามหนี้เอง ทางด้านลูกหนี้ที่เข้าโครงการนี้ มีโอกาสได้เลื่อนขึ้นเป็นลูกหนี้ชั้นดีในอนาคตได้ด้วย

“ในช่วงเริ่มต้นอาจยังแก้หนี้ไม่ได้ทั้งหมด หรืออาจมีข้อติดขัดอยู่บ้าง จึงอยากให้แต่ละธนาคารช่วยกันอธิบายให้ลูกหนี้เข้าใจและรายงานถึงปัญหา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ในส่วนของธนาคารกสิกรไทย ปัจจุบันมีลูกหนี้ที่มีเข้าข่ายราว 7 หมื่นราย มูลหนี้ราว 3,000-4,000 ล้านบาท”

ส่วนธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คาดจะมีลูกหนี้ที่เข้าข่ายราว 1 หมื่นราย มูลหนี้เกือบ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คลินิกแก้หนี้ ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะสามารถรักษาหนี้ทุกคนให้หายขาดได้ แต่เป็นหนึ่งในมาตรการที่จะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่สุจริตและมีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากแก้ไขปัญหา สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ นี่คือคำกล่าวย้ำของผู้ว่าการแบงก์ชาติ ต้องการกล่าวย้ำให้ลูกหนี้เข้าใจ เพราะโอกาสดี ๆ ในการคืนชีพ “เครดิตทางการเงิน” ขึ้นอยู่กับตัวลูกหนี้ปฏิบัติเองเป็นสำคัญ



ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.801 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena