ประกาศ!! ลูกหนี้เงินเดือนไม่เกิน2หมื่นอายัดเงินเดือนไม่ได้ เกณฑ์อายัดเงินเดือนปี60

6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97480 โดย Pickymaneerat
ขอความรู้เพิ่มเติมค่ะ

โดนอายัดตามกฎหมายใหม่แล้วค่ะ
หนังสือจากกรม่บังคับคดี แจ้งแค่ว่า รายได้จากเงินเดือน ให้คงเหลือให้ลูกหนี้ 20,000 บาท
ปัจจุบันเงินเดือน 41,000 บาท จึงโดนบังคับที่ 21,000 บาท

ไปแจ้งขอลดอายัดที่กรงบังคับคดี เจ้าพนักงานแจ้งระเบียบการขอลดอายัด กฎหมายใหม่ สามารถทำได้เพียง ครึ่งนึงของยอดอายัดเดิม คือจาก 21,000 บาท ลดลง 50% เหลือ 10,500 บาทค่ะ

โดยไม่ได้สนใจว่ายอดที่โดนบังคับคดีครั้งแรก เกิน 30% หรือไม่ แค่เหลือเงินให้เรา 20,000 นอกนั้นให้นำส่งเจ้าหนี้หมดค่ะ

ดิฉันอยากจะสอบถามว่า สุดท้ายแล้ว กฎหมายใหม่ กรมบังคับคดียังสนใจการบังคับอายัดเงินเดือน ต้องไม่เกิน 30% อยู่หรือไม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97574 โดย Jantreekookkai
ขอสอบถามคะ
ขณะนี้เงินเดือน 15000 บาท เจ้าหนี้แจ้งว่า จะส่งหนังสือไปยังกรมบังคับคดีเพื่ออายัดเงินเดือน แค่มาเห็นกระทู้ที่ว่า เงินเดือนไม่ถึง 20000 บาทตามกฏหมายใหม่ จะหักเงินเดือนไม่ได้
ในกรณี การอายัดเงินเดือน จะยึดถือตามวันที่ศาลพิพากษา หรือยึดถือตามวันที่เจ้าหนี้ไปยื่นขอต่อกรมบังคับคดีคะ


ขอบคุณมากคะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97575 โดย Noolek9828
ขออนุญาติสอบถามนะคะ คือถ้าเราโดนฟ้อง แล้วเราไม่มีจ่ายตามที่ศาลสั่ง เงินเดือนก็ไม่ถึง 20000 บาท แล้วที่นี้เจ้าหนี้จะทำยังไงกับเราต่อคะ คือเราไม่มีจ่ายขั้นต่ำเงินเดือนก็ไม่สามารถอายัดได้ เค้าจะสามารถยึดทรัพย์สินเราเช่น รถยนต์ ได้มั้ยคะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97577 โดย FFM

Noolek9828 เขียน: ขออนุญาติสอบถามนะคะ คือถ้าเราโดนฟ้อง แล้วเราไม่มีจ่ายตามที่ศาลสั่ง เงินเดือนก็ไม่ถึง 20000 บาท แล้วที่นี้เจ้าหนี้จะทำยังไงกับเราต่อคะ คือเราไม่มีจ่ายขั้นต่ำเงินเดือนก็ไม่สามารถอายัดได้ เค้าจะสามารถยึดทรัพย์สินเราเช่น รถยนต์ ได้มั้ยคะ


หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน จะเป็นอย่างไร
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97590 โดย Pheonix
ประชาชาติ ประชาชาติ
หน้าแรก
หุ้น-การเงิน
เศรษฐกิจ
เกาะกระแสโลก
พร็อพเพอร์ตี้
การตลาด
มอเตอร์ริ่ง
ไอซีที
ท่องเที่ยว
การเมือง
ซีเอสอาร์-เอชอาร์
ดีไลฟ์
SPINOFF
หน้าแรก เกาะกระแสโลก คำเตือนของไอเ...
TRENDING NOW
“กลุ่มทรู”ย้ำผู้นำเน็ตองค์กร เพิ่มเป้าโต7%ไม่หวั่นศก.ซบ
คนไทยทั่วทิศร่วมพระบรมศพ หนุนบุ๊กกิ้งโรงแรมทั่วกรุงเทพฯพุ่งสุดขีด
เตือนภัยคุกคาม “ไอโอที” ปิด 3 จุดเสี่ยงรับมือ “แฮกเกอร์”
กลับมาอีกครั้ง! บริษัทของเล่นในญี่ปุ่นผลิต “ทามาก็อต” ครบรอบ 20 ปี เพิ่มสีสัน-ขนาดเล็กลงกว่าเดิม...
ญี่ปุ่นซุ่มผุดคอมมิวนิตี้มอลล์ ขนแบรนด์เสริมทัพ-รุก CLMV
ปัดฝุ่น…กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช เอื้อบรรษัทข้ามชาติ “ผูกขาด” เมล็ดพันธุ์ ?
ดาวเรือง200ล้านดอกสะพรั่ง ประดับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง
คลื่น “แรงงานย้ายถิ่น” อาเซียน ตัวช่วยปั๊ม “เศรษฐกิจ” ขยายตัว
คำเตือนของไอเอ็มเอฟ ว่าด้วยปัญหา “หนี้ครัวเรือน”
“ฟาร์มดอนรัก” โมเดล ๙๑๐๑ ปัตตานี ดอกผลงอกเงย…เดินตามรอยพ่อ
Like
Follow
แนะนำข่าว
เกาะกระแสโลก
คำเตือนของไอเอ็มเอฟ ว่าด้วยปัญหา “หนี้ครัวเรือน”
วันที่ 11 ตุลาคม 2560 - 21:47 น.
82
SHARES

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) กำหนดจัดการประชุมใหญ่ประจำปี 2017 ระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ว่าการธนาคารกลางหรือแบงก์ชาติของแต่ละชาติเดินทางไปร่วมสมทบในการประชุมด้วย

ในอดีตการประชุมของไอเอ็มเอฟและเวิลด์แบงก์ ถือเป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ทั่วโลกจับตามอง ทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะแนวทางที่ไอเอ็มเอฟกำหนดออกมา ได้รับการรับฟังและนำไปปรับเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ กลายเป็นการกำหนดทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกไปโดยปริยาย

แต่ในระยะหลัง “ความขลัง” ดังกล่าวดูเหมือนจะลดน้อยถอยลงเรื่อย ๆ

ไม่เพียงเพราะ ไอเอ็มเอฟ จะถูกมองว่า ทำงานในลักษณะ “มัดมือชก” และ “กอดตำรา” โดยไม่คำนึงถึงสภาวะแวดล้อมจริงของแต่ละประเทศที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะสถานะของการเป็น “ที่พึ่งสุดท้าย” ที่สำคัญที่สุดของนานาประเทศหดหายไปมากในระยะหลัง เมื่อเกิดการรวมกลุ่มประเทศขึ้นตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แล้วจัดตั้งกองทุนร่วมกันขึ้นเพื่อ “ช่วยเหลือกันเอง” โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับเงื่อนไขสารพัดมากขึ้นเรื่อย ๆ


แม้ความสำคัญของไอเอ็มเอฟ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละประเทศ คำเตือนหรือข้อเสนอแนะและรายงานต่าง ๆ ที่คณะทำงานของไอเอ็มเอฟนำเสนอออกมาในแต่ละปี ก็ยังมีนัยสำคัญไม่น้อย ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศจะ “ฟัง” แล้วเก็บไป “ไตร่ตรอง” และ “ปฏิบัติตาม” มากน้อยแค่ไหน

ตามข้อมูลที่มีผู้ซึ่งมีส่วนรู้เห็นกับการเตรียมการเพื่อการประชุมครั้งนี้นำออกมาเผยแพร่ก่อนหน้านั้น แนวทางที่ไอเอ็มเอฟ เตรียมไว้เพื่อเสนอแนะต่อประเทศอื่นจะมุ่งเน้นไปที่การเตือนให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดการศึกษา, ฝึกอบรม และการเสริมสร้างผลิตภาพของแต่ละประเทศ ในขณะที่มีผู้สันทัดกรณีจำนวนหนึ่งเชื่อว่า

“คริสตีน ลาการ์ด” กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ จะเตือนให้ผู้ที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย ให้จับตาไปที่ระบบธนาคารเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในระบบเมื่อสถาบันการเงินจำนวนหนึ่ง “ออกนอกลู่นอกทาง” ที่ควรจะเป็นเหมือนในวิกฤตที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน

คล้ายคลึงกับที่ ลาการ์ด เคยแสดงทรรศนะไว้เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีบางคนได้เห็นรายงานหลักว่าด้วยระบบการเงินโลกที่จัดเตรียมไว้เผยแพร่ระหว่างการประชุม ซึ่งน่าสนใจอย่างมาก รายงานชิ้นนี้จัดทำโดย นิโก วัลคซ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำแผนกนโยบายการเงินการคลังของไอเอ็มเอฟ เนื้อหาหลักน่าสนใจมากเพราะพูดถึงปัญหาเรื่อง “หนี้สินครัวเรือน” เป็นสำคัญ

ระดับของหนี้ครัวเรือนนั้นสำคัญไม่น้อยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและโลก จำเป็นต้องควบคุมอยู่ในระดับที่เหมาะสม มากเกินไปก็จะกลายเป็นความเสี่ยงหนี้ครัวเรือน สำคัญเพราะเชื่อมโยงกับระดับการบริโภคภายในประเทศ ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการขยายตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของแต่ละประเทศ ระดับหนี้ครัวเรือนที่ต่ำมากเกินไป สะท้อนถึงความไม่เต็มใจที่จะจับจ่ายใช้สอย หรือลงทุนส่วนบุคคล ส่งผลกระทบต่อการผลิต ในที่สุดก็จะกระทบต่อค่าจ้างแรงงานและเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอหรือหดตัวลง



รายงานของไอเอ็มเอฟล่าสุด เตือนรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ว่าให้ระวัง อย่าพึ่งพาการบริโภคของประชาชนที่ถูกกระตุ้นหรือถูกสร้างขึ้นด้วย “หนี้ครัวเรือน” เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “ล่มสลายทางการเงินครั้งใหญ่” ตามมาในอีกไม่ช้า

ตามรายงานไอเอ็มเอฟระบุไว้ว่า เพียงแค่รัฐบาลใช้การบริโภคด้วยหนี้สินครัวเรือนเป็นหลักในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวชั่วระยะเวลาเพียง 2-3 ปี ก็สามารถเกิดวิกฤตการณ์การเงินได้แล้ว

“หนี้สินหล่อลื่นวงล้อเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลสามารถลงทุนใหญ่ ๆ ได้ในเวลานี้ อย่างเช่นการลงทุนซื้อบ้าน หรือลงทุนเพื่อการศึกษา โดยหยิบยืมมาจากรายได้ที่คาดหวังไว้ในอนาคต ในทางทฤษฎีดูดีทีเดียว แต่วิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกที่ผ่านมาแสดงไว้เป็นอุทธาหรณ์ว่า เมื่อใดที่หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเร็วเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย อันตรายจะเกิดขึ้นได้ทันทีเช่นกัน” นิโก วัลคซ์ ระบุไว้ในรายงาน

นักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟระบุว่า การขยับขึ้นของสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนทุก ๆ 1% ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตขึ้นในระบบธนาคารได้ 1% เช่นเดียวกัน “ซึ่งเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นที่สูงไม่น้อย หากคำนึงถึงว่า แม้จะอยู่เฉย ๆ โดยที่ไม่มีระดับหนี้เพิ่มขึ้นเลย ความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤตขึ้นก็อยู่ที่ 3.5% อยู่แล้ว”

รายงานของไอเอ็มเอฟชี้ว่า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากหนี้ครัวเรือนนั้นเกิดขึ้นกับ “เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย” สูงสุด เพราะมูลหนี้รวมดังกล่าวสูงกว่าหนี้ครัวเรือนอื่น ๆ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ ความต่างนี้สูงมากถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

แน่นอนทางแก้ไขย่อมหนีไม่พ้นการจำกัดการกู้ยืมหรือออกมาตรการควบคุมการปล่อยกู้ อาทิ เพิ่มสัดส่วนของเงินดาวน์ หรือเพิ่มสัดส่วนของรายได้ที่จะต้องใช้เพื่อการผ่อนชำระ เป็นต้น

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและการเงินที่เหมาะสมและสมดุลของรัฐบาลตามสภาพการณ์ในแต่ละประเทศ เพราะแน่นอนการทำเช่นนั้นย่อมกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างช่วยไม่ได้
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97664 โดย ดอกไม้สีขาว
ตอนนี้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้แล้วใช่มั้ยคะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #97936 โดย pandanoi
ค่ะ ตอนนี้โดนหักกมดเลนค่ะ จากเงินเดินสุทธิ 57,000หักจนเหลือ 20,000 แล้วฝ่าบุคคลก็จะหัก ประกันสังคม ภาษี เงินกองทุน ฌาปณกิจนี้ออกจาก 2หมื่น จนเหลือแค่ 14,000 กว่าบาทเองค่ะ เพราะกฏหมายใหม่นี่ล่ะค่ะ ตั้งตัวไม่ทันเดือนแรกโดนหักไป 4หมื่นกว่า ทรุดเลยค่ะ ใครโดนบ้างแล้วค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #97937 โดย pandanoi
ไม่สนค่ะ โดนด้วยเห,มือนกัน โหดมากค่ะ ลูกหนี้คงหมดปัญญาหาเงิน HC แล้วค่ะโดนหักเกลี้ยงแบบนี้
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #97945 โดย jackTs

pandanoi เขียน: ไม่สนค่ะ โดนด้วยเห,มือนกัน โหดมากค่ะ ลูกหนี้คงหมดปัญญาหาเงิน HC แล้วค่ะโดนหักเกลี้ยงแบบนี้


คุณสามารถไปทำเรื่องลดหย่อน เงินที่ต้องถูกสั่งให้อายัด ให้ลดลงมาเหลือครึ่งหนึ่ง(50%)ได้ครับ

เอกสารและวิธีการขอทำเรื่องลดหย่อน (ใช้วิธีพิจารณาเหมือนกับกฎหมายเดิมทุกประการ)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=28147&Itemid=64#28153

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: pandanoi
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #97964 โดย pandanoi
โทรไปที่กรมบังคับคดีแล้วค่ะ เค้าให้เตรียมเอกสารขอลดหย่อนมาค่ะ รบกวนถามอีกนิดนะค่ะ เราต้องเขียนไปไหมค่ะว่าจะขอลดเท่าไหร่ หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมบังคับคดีค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #97969 โดย jackTs

pandanoi เขียน: โทรไปที่กรมบังคับคดีแล้วค่ะ เค้าให้เตรียมเอกสารขอลดหย่อนมาค่ะ รบกวนถามอีกนิดนะค่ะ เราต้องเขียนไปไหมค่ะว่าจะขอลดเท่าไหร่ หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมบังคับคดีค่ะ


ในแบบฟอรฺ์ม"คำร้อง"ดังกล่าว มันบังคับให้ต้องเขียนตัวเลขลงไปอยู่แล้วครับ

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: pandanoi
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98161 โดย Pheonix
“อธิบดีกรมบังคับคดี” ปรับปรุงระบบเว็บไซต์ เพิ่ม "สายตรงผู้บริหาร" รับเรื่องราวร้องทุกข์ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง... เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 6 ม.ค.60 ท

อ่านข่าวต่อได้ที่: www.thairath.co.th/content/829745
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98165 โดย Pheonix
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (อังกฤษ: subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก
วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตก[1][2] และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549[3] และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
ธนาคารและสถาบันทางการเงินที่สำคัญทั่วโลกรายงานยอดการขาดทุนที่สูงกว่า 4.35 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[4][5] นอกจากนี้ การหาเงินทุนโดยการออกตราสารพาณิชย์ก็ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผลกระทบของวิกฤติซับไพรม์ในแง่มุมนี้สอดคล้องกับปัญหาสินเชื่อตึงตัว (Credit crunch) ความกังวลเรื่องความคล่องตัวทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งต้องแทรกแซงโดยการวางแผนฟื้นฟูบริษัททางการเงินเพื่อที่จะช่วยให้ผู้กู้ยืมที่น่าเชื่อถือสามารถยืมเงินได้ตามปกติ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98166 โดย Pheonix
ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย การให้บริการบัตรเครดิต ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 บัตรเครดิตมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 20,167,226 บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง 336,954.30 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ 67,390.86 ล้านบาท คิดไปอีก 5 ปี เป็นเงินดอกเบี้ยสะสมจำนวน 336,954.30 ล้านบาท รวมเงินต้นและดอกเบี้ยสะสมเป็นเงิน 673,908.60 ล้านบาท ถึงวันนั้น หนี้ครัวเรือนของคนไทยจะสูงมาก ประชาชนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร
ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 จำนวนบัญชีทั้งสิ้น 12.56 ล้านบัญชี มียอดสินเชื่อคงค้าง 344,318 ล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 28 ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ 96,409.04 ล้านบาท ถ้าระยะเวลาผ่านไป 5 ปี ดอกเบี้ยสะสมจะเป็นเงินมากถึง 482,045.20 ล้านบาท คิดเป็น 140% ของเงินต้นคงค้าง 344,318 ล้านบาท รวมเงินต้นและดอกเบี้ยสะสมเป็นเงินทั้งสิ้น 826,363.20 ล้านบาท คิดเป็น 240% ของเงินต้น ถึงวันนั้น เศรษฐกิจประเทศไทยคงเดินต่อไม่ได้ทุกอย่างคงจบ ทุนต่างชาติเอาค่าดอกเบี้ยจากประชาชนผู้บริโภคไปมาก ทำให้ไม่มีเงินไปบริโภค การคิดดอกเบี้ยร้อยละ 28 ปี ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2548 ถึงวันนี้ เป็นเวลา 12 ปี แล้ว คิดเป็นค่าดอกเบี้ยที่ผู้บริโภคต้องชำระมากถึง 336% (28% คูณ 12 เท่ากับ 336%) เศรษฐกิจของประเทศไทยถึงได้ฝืดเคืองมาก

สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลคือ สินเชื่อ Sub-prime ของประเทศไทย ทำให้หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยสูงมาก การอายัดเงินเดือน แล้วเหลือให้ลูกหนี้ 20,000 บาท ลูกหนี้ที่มีบ้านต้องผ่อน ก็จะไม่มีเงินไปผ่อน ดอกเบี้ยบ้าน 3.5% ถึง 5% ธนาคารจะปรับดอกเบี้ยไปเป็น 18% บ้านที่ถูกยึดขายที่กรมบังคับคดีจะมีจำนวนมหาศาล แต่กำลังซื้อของคนไม่มี ในทางเศรษฐศาสตร์ สินเชื่อใดได้ผลตอบแทนสูง คนปล่อยกู้ก็จะให้สินเชื่ออย่างง่าย ๆ ให้สินเชื่อบัตรและสินเชื่อบุคคลอย่างง่าย ๆ แถมมีกระเป๋า มีร่ม แจกให้อีกต่างหาก ลูกหนี้คือเหยื่อ ใครควรรับผิดชอบ เมื่อเศรษฐกิจของประเทศพังลงไป
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98372 โดย Eval
ถ้าเงินเดือน 37000 จะโดนอายัด 17000 ไปทั้งหมดใช่ไหมครับ ไม่คิด 30 % แล้วใช่ไหม :sweat:
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98373 โดย Pheonix

pandanoi เขียน: ค่ะ ตอนนี้โดนหักกมดเลนค่ะ จากเงินเดินสุทธิ 57,000หักจนเหลือ 20,000 แล้วฝ่าบุคคลก็จะหัก ประกันสังคม ภาษี เงินกองทุน ฌาปณกิจนี้ออกจาก 2หมื่น จนเหลือแค่ 14,000 กว่าบาทเองค่ะ เพราะกฏหมายใหม่นี่ล่ะค่ะ ตั้งตัวไม่ทันเดือนแรกโดนหักไป 4หมื่นกว่า ทรุดเลยค่ะ ใครโดนบ้างแล้วค่ะ


การทำอย่างนี้ของกรมบังคับจะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงแก่ชนชั้นกลางครับ ทำเช่นนี้จะทำให้คนชั้นกลางกลายเป็นคนจนครับ เพราะอะไรหรือครับ เพราะเงินเดือนขนาดนี้ จะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ถ้าอายัดแล้วเหลือให้ลูกหนี้ 20,000 บาท แค่กินให้อยู่รอดครับ เมื่อไม่ผ่อนบ้าน ดอกเบี้ยบ้านจะปรับขึ้นเป็น 18% ตายมั้ยละครับ กรมบังคับคดีจะมีบ้านรอการขายทอดตลาดอีกมหาศาลครับ กำลังซื้อของชนชั้นกลางหมดแล้วครับ ประเทศเดินต่อไปไม่ได้หรอกครับ ถ้ามั่นใจก็ทำต่อไปครับ แล้วจะเห็นครับ เศรษฐกิจประเทศไทยพังพินาศหมดครับ

เมื่อปี 2548 มีดอกเบี้ย 28% ออกมา อธิบดีกรมบังคับคดีสมัยนั้นท่านดีมากครับ ระเบียบอายัดไม่เกิน 30% เป็นระเบียบของกรมบังคับคดีเองครับ ไม่มีในกฎหมายครับ คนเงินเดือนมาก ก็จะมีค่าใช้จ่ายมาก จึงให้อายัดรายได้หรือเงินเดือน 30%
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98391 โดย jackTs

Eval เขียน: ถ้าเงินเดือน 37000 จะโดนอายัด 17000 ไปทั้งหมดใช่ไหมครับ ไม่คิด 30 % แล้วใช่ไหม


ถ้าตามกฎหมายใหม่แล้ว ก็ต้องขอตอบว่าใช่ครับ

ตัวอย่าง









หากลูกหนี้ต้องการขอ“ลดหย่อน”อายัดเงินเดือน

การขอลดหย่อนอายัดเงินเดือน ตามกฎหมายสามารถให้ขอลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 50%(ครึ่งหนึ่ง) ของจำนวนเงินที่ถูกคำสั่งให้อายัด

โดยลูกหนี้สามารถนำสลิปเงินเดือน เอกสารค่าใช้จ่ายต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ , ค่าไฟ , ค่าเช่าบ้านที่เป็นชื่อของตน หากมีบุตร ให้นำสำเนาสูติบัตรบุตรมาประกอบด้วย

ให้ลูกหนี้มาเขียนคำร้องขอลดการอายัดได้ที่กรมบังคับคดี แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะพิจารณาว่าสามารถลดอายัดให้ได้หรือไม่ หรือลดอายัดได้สูงสุดที่เท่าไหร่ต่อไป

การขอลดหย่อนนี้ : สามารถใช้ได้กับ ทั้งกฎหมายเดิม และกฎหมายใหม่


ไขข้อข้องใจ “การอายัดเงินเดือน”
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=28147&Itemid=64#28153


รบกวนขอคำแนะนำเกี่ยวกับการถูกอายัดเงินเดือน และการใส่ข้อมูลในรายการขอส่วนลดการอายัดเง
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=45577&Itemid=64#97584
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98410 โดย ZZZ
แบบนี้ สมมุติ ว่า มีรายได้ หลังหักภาษีแล้ว 38000 มีภาระผ่อนรถ 11200 ค่าใช้จ่าย ลูก + ภายในบ้าน 10000 ค่ากินข้าวตัวเอง + ค่าน้ำมันรถ 10000 ถ้าตามกฏหมาย หักแล้วให้เหลือแค่ 2 หมื่น ผมก็ไม่มีเงินไปจ่ายค่ารถ ก็ต้องเป็นหนี้ซ้ำเข้าไปอีก กฏหมายต้องการให้คนเป็นหนี้ซ้ำอีก ?
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98411 โดย ben10
ใครที่วางแผน จะให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือน คงต้องคิดหนักแล้วละครับ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98442 โดย BB13
ใช้วิธีอายัดเงินเดือน 30% มา 3 ใบไม่เคยขอลดหย่อน เหลือหมายใบสุดท้าย ฟ้องรวม 3 ใบ (J ซื้อหนี้ไป) กะจะใช้วิธีนี้อีกครั้งสงสัยต้องวิ่งลดหย่อนตั้งแต่ได้หมายวันแรกละเรา สู้ๆนะคะเพื่อนๆ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.993 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena