สืบสานพระราชปณิธาน “ปรัชญาพอเพียงสู่หลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน”

6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97316 โดย Pheonix
สืบสานพระราชปณิธาน “ปรัชญาพอเพียงสู่หลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน”
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงวิชาการ“ปรัชญาพอเพียงสู่หลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน”น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรณอาคารศูนย์ประชุมวายุภักษ์โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์กรุงเทพมหานครซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายอันได้แก่มูลนิธิยุวสถิรคุณมูลนิธิมั่นพัฒนาและสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนงานในหลากหลายมิติ
โดยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงกล่าวปาฐกถาพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมงานและประทานรางวัลให้แก่เด็กนักเรียนที่ชนะการประกวดการจัดทำโครงการในหัวข้อ “ปรัชญาพอเพียงสู่หลักนิติธรรมจะสร้างประโยชน์สุขของมหาชนได้อย่างไร” ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมความประพฤติเด็กและเยาวชนให้อยู่ในกติกาของสังคมและกฎหมาย สามารถนำหลักปรัชญาพอเพียงและหลักนิติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ตลอดจนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมอันเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หลักนิติธรรมเพื่อสร้างประโยชน์สุขอย่างยั่งยืน โดยโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่โรงเรียนเชียงกลางประชาพัฒนา จังหวัดน่าน รองอันดับหนึ่ง โรงเรียนเทศบาลบ่อฝ้าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และรองอันดับสอง โรงเรียนหันคาพิทยาคม จังหวัดชัยนาทนอกจากนั้นยังทรงเป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างสี่หน่วยงานเครือข่ายในการพัฒนางานด้านต่างๆเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและประโยชน์สุขของประชาชน
ภายในงานประชุมเชิงวิชาการได้มีการฉายวีดิทัศน์ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “หลักปรัชญาพอเพียงสร้างภูมิคุ้มกันตนเองให้แก่เด็ก” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณและที่ปรึกษามูลนิธิมั่นพัฒนา ซึ่งมีใจความว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานให้คนไทย มีเป้าหมายอยากให้คนไทยที่อยู่ในภาวะปกติใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ แต่หากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเจอวิกฤติ ก็ยังทำให้คนไทยสามารถรับมือกับวิกฤติได้ด้วยความเสียหายน้อยที่สุดแล้วก็ฟื้นตัวเร็วที่สุด นั่นถือเป็นหลักของความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือวิธีสร้างภูมิคุ้มกันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความเข้มแข็งทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านวัตถุ ก็คือการเงิน การทอง ด้านสังคมได้แก่ สุขภาพ การมีคุณธรรมจริยธรรม และการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ การมีนโยบาย หรือยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมและ ด้านวัฒนธรรมได้แก่การมีวัฒนธรรมที่แข็งแรงส่วนที่สองคือเรื่องการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเล็ก ใหญ่ ส่วนบุคคล ส่วนบริษัทฯ หรือส่วนชุมชนนั้น ต้องตั้งอยู่บนความพอเพียง และทางสายกลาง ประกอบด้วย การตัดสินใจอย่างพอประมาณตามอัตภาพในขณะที่ตัดสินใจ การตัดสินใจบนเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ เช่น เหตุผลทางกฎหมาย เหตุผลทางด้านวิชาการ และเหตุผลทางด้านศีลธรรม ท้ายสุดการตัดสินใจนั้นกระทบกับความเข้มแข็งหรือว่าภูมิคุ้มกันที่สร้างไว้หรือไม่หากส่งผลกระทบมากแล้วเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ เพราะฉะนั้นการตัดสินใจโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะสอนให้เด็กผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งสามารถนำเอาเรื่องนี้ไปสอนเด็กในชั้นเรียนได้ส่วนที่สาม ก่อนที่จะนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ สิ่งจำเป็นเรื่องแรกคือ ต้องใช้ความรู้นำ ทั้งขั้นวางแผนและขั้นดำเนินการ และต้องรู้จริง เรื่องที่สอง ต้องฝึกจิตใจให้มีคุณธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญเป็นที่สุด อีกทั้งยังต้องมีความ ขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาและมีความรอบคอบ
ถ้าเยาวชนได้รับการอบรมเลี้ยงดูและปลูกฝังให้มี “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และกลายเป็นนิสัย ก็จะนำไปสู่การมีสังคมและประเทศที่เป็นอารยะ (Civilization) ซึ่งประกอบไปด้วย การที่ประชาชนมีศีลธรรม เกิดการยึดหลักนิติธรรม และการมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะช่วยสร้างความสามัคคี และก่อให้เกิดความสันติสุข
นอกจากนั้นภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุดโดยสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาและศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชนและสถาบันครอบครัวที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กมีความพอประมาณไม่ละเมิดสิทธิหรือเบียดเบียนผู้อื่นและใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสังคมเพื่อลดการเกิดอาชญากรรมที่เด็กเป็นผู้กระทำหรือตกเป็นผู้ถูกกระทำโดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเกิดสังคมที่มีหลักนิติธรรมในอนาคตศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณดำเนินงานมุ่งเน้นการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนให้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและความเข้มแข็งของสถานศึกษาพอเพียงตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายด้านการศึกษารวมทั้งขยายผลสู่ชุมชนเพื่อสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และสนองพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(TIJ)ได้ร่วมกับ ศูนย์ลูกหนี้และประชาชนผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม นำเสนอนิทรรศการ “รู้ทันหนี้ ด้วย The Choice เกมทางเลือก - ทางรอด” ซึ่งเป็นเป็นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและตระหนักคิดเรื่องการใช้จ่ายเงิน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเนื้อหาของเกมได้จำลองชีวิตของคนที่ตกเป็นเหยื่อหนี้นอกระบบในสังคมชนบทและสังคมเมือง โดยผู้เล่นจะได้เรียนรู้ “ทางเลือก” และ “ทางรอด” ในการใช้ชีวิตให้หลุดพ้นจากวังวนหนี้ รวมทั้งได้รับความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหนี้นอกระบบ ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรม และการดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมูลนิธิมั่นพัฒนาที่ดำเนินการศึกษา รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เชิงชุมชนพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน และพัฒนาชุมชนทางด้านจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(SEP for SDGs) ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลทั้งในระดับประเทศไทยและสากล

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97476 โดย Pheonix
เมื่อคนกลุ่มหนี้“เจนวาย”ก่อหนี้สูงถึง 2.13ล้านล้านบาท อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้น และนับจากนี้อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมไทย...ในวัยเกษียณ
กลุ่มคนเจนวาย เป็นช่วงที่เกิดในปี พ.ศ.2523-2538 หรืออายุประมาณ 22-35 ปี ซึ่งกลุ่มนี้เกิดมาในช่วงกระแสของการบริโภคนิยม มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟื่อย ไม่มีการวางแผนทางการเงิน และสามารถเข้าถึงช่องทางการเงินได้ง่าย..และสิ่งที่ตามมาคือ รายได้ไม่พอรายจ่าย จนทำให้สถานการณ์กลุ่มหนี้ในปัจุจันกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตในอนาคต

ข้อมูลบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร พบว่า ในไตรมาส 1/2560 คนเจนวาย 5.24 ล้านคน มีหนี้รวมกันสูงถึง 2.13 ล้านล้านบาท พบประวัติผิดนัดชำระหนี้ 1.1 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 29 ปี พบว่ามีหนี้สินต่อคนอยู่ที่ 150,000 บาท ในจำนวนนี้ 20% เป็นหนี้เสีย
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ นายสุรพล โอภาสเสถียร บอกว่า สาเหตุที่ทำให้คนเจนวาย มีหนี้เร็ว และยอดหนี้สูง เพราะ ไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนไปตามการเติบโตของสังคมเมือง โดยเฉพาะพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวเร่งพฤติกรรมการ ในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และช่องทางการเงินที่ง่ายที่สุดคือ บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ที่แต่ละธนาคาร ต่างก็แข่งออกโปรโมชั่นมากมายเพื่อตอบสนองลูกค้าในยุคปัจจุบัน
ตัวเลขล่าสุดของแบงก์ชาติ พบว่า หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงถึง 80% ของ จีดีพี ประเทศ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 3 สาเหตุหลักคือ 1.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ 2.มาตรการโครงการภาครัฐที่ผ่านมาไม่ว่าจะเรื่องรถ หรือบ้าน เป็นการกระตุ้นคนที่ไม่พร้อมให้ก่อหนี้ และ 3.การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ทำการตลาดเพื่อให้คนเข้าถึงง่าย และสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ให้กับลูกค้าในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านใบ ในจำนวนนี้ มี 1 ล้านใบหรือ 50% ออกให้คนเจนวาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการจับจ่ายใช้สอย
โดยตัวเลขหนี้สินต่อคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2554 ประชาชนมีหนี้ต่อคนเฉลี่ย 70,000 บาท และในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท และยังพบว่าในระบบเครดิตบูโรมีลูกหนี้ค้างชำระหนี้ 20 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากร 60 ล้านคน
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ บอกว่า “คนอายุน้อยไม่ใช่ร้อยล้าน แต่คนอายุน้อยมีหนี้เป็นล้าน หรือคนอายุน้อยเริ่มเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้เสียเร็วภาพต่อไปคือ คนอายุ 55 ปี อีก 5 ปีเกษียณรายได้จะต้องหายไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเขาควรจะมีหนี้ลดลง แต่กลับพบว่าหนี้ยังเยอะอยู่ดังนั้นชีวิตหลังเกษียณเรียกว่าถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีหนี้ ซึ่งเราไม่อยากเห็นภาพนั้น”
ขณะที่ ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ข้อมูลว่า คนเจนวายเป็นวัยที่เติบโตมากับกระแสการบริโภคนิยมกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายโดยขาดความระมัดระวัง ซึ่งส่วนใหญ่การก่อหนี้ของคนกลุ่มนี้นอกจากหนี้จากการบริโภค อุปโภคแล้ว ยังพบว่าความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ก็ทำให้การตัดสินใจเป็นหนี้เร็วและง่ายขึ้นด้วย
ดังนั้นคนเจนวาย จึงถือเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับความรู้ในเรื่องวินัยทางการเงินมากที่สุดเพื่อเตรียมการเข้าสู่วัยเกษียณมิเช่นนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในวันชราที่ต้องแบกรับทั้งภาระหนี้สินและการดูแลตนเองหลังเกษียณจากงานประจำ
ถ้าวันนี้ไม่เริ่มแก้ไขอย่างจริงจัง สิ่งที่จะเห็นในอนาคตคือ หนี้สินที่ตามไปถึงวัยเกษียณทำให้ภาวะ “แก่ไม่มีกิน” รุนแรงมากขึ้น
แชร์ข่าว : ที่มา หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #97495 โดย Pheonix
ของดีต้องบอกต่อ "เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับส่งเสด็จ" หนังสือดีมีคุณค่า โดยดร.ไสว บุญมา


ดร.ไสว บุญมา ได้เขียนหนังสือ "เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับส่งเสด็จ" ซึ่ง เพชร - ทิพย์สุวรรณ ตั้งอมรสุขสันต์ ผู้จัดการโครงการ ได้ระบุว่า ในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันและความขัดแย้งทวีสูงขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เราไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากความไม่พอเพียง หรือความต้องการที่มากเกินความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่เกินจำเป็น อำนาจที่มากเกินไป หรือแม้กระทั่งการบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น การกินอิ่มเกินพอดี การได้เรียนรู้พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง แม้จะเป็นแค่บางมิติ เช่น การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจระดับครอบครัวที่เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสานก็ตาม
สำหรับข้าพเจ้าแล้วคำว่าพอเพียงไม่ได้หมายถึงการพึ่งตนเองอย่างเดียว แต่หมายถึงการไม่โลภ ไม่ใช้เงินเกินตัว รวมถึงการใช้ชีวิตแบบประหยัดตามสถานภาพของเราตามแนวคิดของครอบครัวคนจีนที่ข้าพเจ้าเติบโตมา แม้จะเคยได้ยินหลายๆ คนกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางที่ชื่นชม และตั้งข้อสังเกตในทางปฏิบัติ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะถูกปิดกั้นด้วยความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นคำที่ฟังดูยิ่งใหญ่และซับซ้อน ทำให้การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องไกลตัว หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่ดีนัก
ด้วยเหตุนี้เมื่อ อ.ไสว บุญมา ทาบทามให้เป็นผู้ดูแลโครงการจัดทำหนังสือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเล่มนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ลังเลที่จะตอบรับเข้าร่วมงานและดูแลคัดเลือกคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อแนวคิดที่มีคุณค่านี้ให้กับคนรุ่นถัดๆ ไปในสังคมของเรา ในฐานะผู้จัดการโครงการข้าพเจ้ามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจำนวนมากจะมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อให้เกิดความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาวะของโลกยุคใหม่ และการดำเนินชีวิตในแนวพอเพียงจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ส่งต่อผ่านรุ่นสู่รุ่น ด้วยแนวคิดนี้น่าจะเป็นทางหนึ่งที่ทำให้ลดหรือบรรเทาความขัดแย้งอันมาจากความไม่พอเพียงในมิติต่างๆ เช่น ไม่พอเพียงในอำนาจวาสนา ไม่พอเพียงในปัจจัยทางวัตถุและจิตใจที่แสวงหาการยอมรับจากสังคมผู้คนรอบข้าง
หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นด้วยสำ นึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุด มิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และด้วยตระหนักในความสำคัญของการเผยแพร่แนวคิดอันประเสริฐยิ่งของพระองค์ ผู้ใดประสงค์จะจัดพิมพ์เพิ่มเพื่อแจกจ่ายในโอกาสต่าง ๆ จึงอาจทำ ได้โดยส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดพิมพ์ กลุ่มเป้าหมายและจำ นวนพิมพ์ไปให้คุณละอองดาว พรายงาม กรรมการและเลขานุการของมูลนิธินักอ่านบ้านนา โรงเรียนวัดพิกุลแก้ว ตำ บลพิกุลออก อำ เภอบ้านนา จังหวัด
นครนายก ๒๖๑๑๐
ดาวน์โหลดหนังสือฟรี
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุเทพธุรกิจ 7 ต.ค.60

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.955 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena