ธนาคารเจ้าหนี้ ยึดเงินในบัญชี

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #6970 โดย jackTs

momolee เขียน: ถาม : โดนยึดเงินในบัญชีธนาคารกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นหนี้อยู่ สามหมื่นกว่าบาท เจ็บใจมาก เมื่อสอบถามผ่านไปยังศูนย์บัตรเครดิตกับได้รับคำตอบว่าทำตามข้อตกลงที่ได้ลงไว้ในใบสมัคร แต่เงินที่โอนเข้ามานี้เป็นเงินจำนวน 20,000.00 บาท ซึ่งต้องเอามาใช้ในการรักษาพ่อ และใช้ของตัวเองในการคลอดบุตร อยากถามผู้รู้ว่าทางธนาคารสามารถทำแบบนี้ได้ด้วยหรอ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฟ้องศาลเราอ่ะ


คำตอบโดย : นกกระจอกเทศ

เอาอย่างนี้ดีกว่า...เห็นไม่เข้าใจกันและยังมัวถกปัญหากัน แบบคลุมเคลือ ซะเป็นส่วนมาก
จะอธิบายให้ฟังตามนี้นะ

โดยตามหลักของกฏหมายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์อายัด เงินเดือน , เงินฝาก , หรือเงินใดๆ ของลูกหนี้ได้เลย...หากไม่มีการเซ็นต์ยินยอมของลูกหนี้เอาไว้ในสัญญา ดังนั้นก็ต้องใช้วิธีฟ้องร้องกันในชั้นศาล จนกว่า ศาลจะทำการ“พิพากษา”ให้ลูกหนี้(จำเลย)ต้องชดใช้หนี้ดังกล่าว...แล้วถ้าฝ่ายลูกหนี้ยังคงเพิกเฉยหรือดื้อแพ่งต่อคำพิพากษาของศาล ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ต้องเอาเอกสาร “คำพิพากษา” ของศาลฉบับนี้ ...ไปยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกว่า “กรมบังคดี” เพื่อให้ทำการ อายัดเงินเดือน , อายัดทรัพย์สิน , อายัดใดๆ ของลูกหนี้ที่ถือครองอยู่...โดยศาลจะไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องอีกต่อไปแล้ว เพราะหน้าที่ของศาลได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่มี “คำพิพากษา” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แล้วมันเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหนี้ มันอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้อย่างไร?...ทั้งๆที่เพิ่งหยุดจ่ายมาแค่ไม่กี่เดือน ยังไม่เคยโดนฟ้องเลย , ยังไม่เคยถูกพิพากษาเลย , ไม่เคยได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ของ “กรมบังคับคดี” เลยสักครั้ง...แล้วมันทำได้ด้วยหรือ?

จากประสบการใน “วงการหนี้” ที่ผ่านมาหลายปี...ยอมรับครับ ว่าเคยมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริง , หลายครั้ง , หลายหนที่ผ่านมา โดยการกระทำที่ละเมิกฏหมายของฝ่ายเจ้าหนี้ดังกล่าว จะกระทำการก็ต่อเมื่อเข้ากฏเกณฑ์เงื่อนไขดังต่อไปนี้

- ลูกหนี้คนนั้น เป็นหนี้แล้วไม่ยอมชำระ โดยที่ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินที่มีการรับโอนเงินเดือนของลูกหนี้ ผ่านระบบบัญชีของสถาบันการเงินนั้นๆ

- ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ (ไม่ยอมจ่ายหนี้) ตั้งแต่ประมาณ 2 – 3 เดือนขึ้นไป...ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต , บัตรกดเงินสด หรือหนี้สินเชื่อก็ตามแต่...มีสิทธิ์โดน “ดูด” เงินเดือน พร้อมทั้งเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชีทั้งหมด เพื่อนำไปหักชำระหนี้ที่ค้างอยู่ทันที


สถาบันการเงินที่มีการกระทำละเมิดกฏหมายแบบชั่วๆอย่างนี้...จากสถิติที่รวบรวมมาได้ ก็คือ ธนาคารที่ใช้สัญลักษณ์เป็นรูป “ดอกบัวเน่า ” ซึ่งจัดว่าเป็นสถาบันการเงิน ที่ครองแชมป์ความชั่วเช่นนี้เป็นอันดับหนึ่ง (ส่วนมากลูกหนี้จะ “โดน” แทบทุกราย ไม่เคยมีใครรอดเลยสักราย)
ส่วนสถิติที่รองลงมา...ก็จะเป็นสถาบันการเงินที่เป็นพวก ธนาคารไทยต่างๆ ที่ใช้ชื่อธนาคารแบบไทยๆ โดยคนไทย , เพื่อคนไทย , และก็ “ดูด” เงินเดือนของคนไทยด้วยกันเอง เพื่อเอาไปหักหนี้แบบไทยๆ เช่น ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์ และ TMB(ธ.ทหารไทยเดิม)...เป็นต้น

สำหรับสถาบันการเงินที่เป็นพวก ธนาคารต่างๆ ที่ใช้ชื่อธนาคารเป็นภาษาต่างชาติ โดยคนต่างชาติ , เพื่อคนไทย , แต่ก็ “ดูด” เงินเดือนของคนไทยเหมือนกัน...กลับพบว่ายังไม่เคยมีการแจ้งข้อมูลถึงการกระทำดังกล่าว...แต่!...อย่าเพิ่งชะล่าใจไป ที่ผมบอกไปว่า “ยังไม่เคยได้มีการแจ้งข้อมูลถึงการกระทำดังกล่าว”...ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะไม่เคยทำนะครับ เพียงแต่ว่าผมหมายถึงว่า "ยังไม่เคยได้รับแจ้งให้ทราบ" เท่านั้น...อาจจะเคยมีการทำไปแล้วแต่ไม่ได้มีการร้องเรียนมาที่ผมก็ได้ หรืออาจเป็นเพราะธนาคารต่างชาติพวกนี้ ไม่เป็นที่นิยมจากบริษัท"นายจ้าง"ในประเทศไทย ที่จะมอบหมายความไว้วางใจในการโอนเงินเดือนของ"ลูกจ้าง"ในบริษัทของตนเอง ให้ไปเข้าฝากในบัญชีของธนาคารต่างชาติเหล่านั้น ก็เป็นได้...จึงมักไม่ค่อยมีการร้องเรียนการกระทำละเมิดกฏหมายแบบชั่วๆเช่นนี้

มีบางคนถามว่า...อ้าว!...แล้วกระกระทำชั่วๆของฝ่ายเจ้าหนี้แบบนี้ มันเป็นการละเมิดกฏหมายชัดๆ แล้วมันไม่ผิดเหรอครับ? เพราะศาลก็ยังไม่ได้พิพากษาเลย แล้วอีกอย่าง การที่จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้นั้น...ตามกฏหมายเขาให้อายัดได้แค่ 30% ของเงินเดือนเท่านั้นนี่ครับ แถมผู้ที่จะสามารถออกคำสั่งให้อายัดได้ ก็คือ “กรมบังคับคดี” เท่านั้นไม่ใช่หรือครับ? ถ้าเป็นคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายเจ้าหนี้ , ศาล , ตำรวจ ฯลฯ...ก็ไม่มีอำนาจในการ “ออกคำสั่งอายัด” มิใช่เหรอครับ?...แล้วอย่างงี้ มันทำได้ยังไง?

อะแฮ่ม...ขออนุญาตตอบนะครับ...ที่คุณกล่าวถามมาทั้งหมดนั้น คุณเข้าใจถูกต้องหมดเลยครับตามข้อกฏหมาย

แต่เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่ว่า ไอ้ฝ่ายเจ้าหนี้มันเสือกไม่ยอมปฏิบัติตามข้อกฏหมายน่ะสิครับ...นี่แหละคือปัญหา

ถามว่าไอ้ฝ่ายเจ้าหนี้มันรู้ถึงข้อกฏหมายเหล่านี้ไหม?...แท้ที่จริงแล้ว มันรู้เสียยิ่งกว่ารู้ซะอีก แต่ตามสันดานเลวของมันที่คิดจะเอาแต่ได้อยู่ฝ่ายเดียว กลับคิดไปเองว่า “ตูก็รู้อยู่ว่าการกระทำแบบมันผิดกฏหมาย แต่ตูจะทำอ่ะ ใครจะทำไม? ก็ลูกหนี้อยากไม่จ่ายหนี้ตูเองนี่หว่า ตูก็ต้องใช้วิธีสกปรกแบบนี้แหละวะ ถ้าลูกหนี้อยากได้เงินเดือนที่ตูยึดเอาไว้คืน...ก็ไปฟ้องศาลเอาเองสิโว้ย”

ไอ้ความคิดชั่วๆแบบนี่แหละครับ ที่เป็นต้นตอของปัญหาเหล่านี้

ถามต่อไปอีกว่า...ก็ในเมื่อมันทำผิดกฏหมายอย่างนี้ เราสามารถฟ้องมันเพื่อเอาเงินเดือนที่มันยึดไว้คืน...จะทำได้ไหมครับ?
ขอตอบว่า...ได้สิครับ ฟ้องแล้วยังไงฝ่ายลูกหนี้ก็ชนะคดีอยู่แล้วแหละ...แต่ผู้ที่จะ“เจ็บตัว”มากกว่า ในระหว่างที่ฟ้อง จะเป็นฝ่าย “ลูกหนี้” เองนะครับ

ขอสมมุติเหตุการณ์แบบเข้าใจง่ายๆมาให้ดูซักตัวอย่างนึงก็แล้วกัน

นายพอเพียงทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง โดยบริษัทนี้ได้จ้างนายพอเพียงเป็นเงินเดือน 30,000 บาท และได้ให้นายพอเพียงไปเปิดบัญชีออมทรัพย์ของ ธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย เพื่อที่จะได้โอนเงินเดือนของนายพอเพียง ผ่านทางระบบธนาคารตามที่บริษัททั่วๆไปเขาทำกัน

นายพอเพียง เคยทำบัตรเครดิตไว้กับธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย และได้นำบัตรดังกล่าวไปใช้สอยต่างๆตามปกติ โดยนายพอเพียงได้มีการชำระหนี้ (เป็นการชำระแบบขั้นต่ำ หรือแบบผ่อนชำระ) กับทางบัตรเครดิตด้วยดีเสมอมา

แต่ต่อมาบริษัทที่นายพอเพียงทำงานอยู่ ประสพปัญหาสภาวะเศรษฐกิจ ทางบริษัทจึงจำเป็นต้องใช้มาตราการลดเงินเดือนของลูกจ้างประมาณ 30% เพื่อ ให้บริษัทสามารถประคองตัวอยู่รอดได้...ดังนั้น เงินเดือนของนายพอเพียงจึงถูกลดลงมาเหลือเพียง 20,000 บาท

เมื่อนายพอเพียงถูกลดเงินเดือนลงมา จึงส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้บัตรเครดิตของนายพอเพียงไปด้วย จนไม่สามารถชำระได้แม้กระทั่งการจ่ายขั้นต่ำ เพราะนายพอเพียงยังมีภาระที่ต้องผ่อนบ้านและรถยนต์ด้วย ดังนั้นนายพอเพียงจึงหยุดจ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตของธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย มาเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว โดยมีหนี้ค้างชำระในบัตรเครดิตเป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท

พอถึงเดือนที่ 4...ในวันเงินเดือนออก นายพอเพียงไปกดเงินที่ตู้ ATM กลับพบว่า “เงินในบัญชีเป็นศูนย์”...สอบถามได้ความว่าทางฝ่ายเจ้าหนี้ ก็คือธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย ได้ทำการ “ดูด” ยึดเงินที่มีอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ของ ธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย ไปชำระหนี้ของบัตรเครดิตซะจนหมดเกลี้ยงเลย

นายพอเพียงรีบโทรติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อขอให้โอนเงินกลับคืนมา...แต่คำตอบที่ได้ก็คือ “ทางธนาคารของเรา มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการดังกล่าวได้โดยถูกต้อง เพื่อไปหักชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ หากทางคุณพอเพียงคิดว่ามันไม่ยุติธรรม ก็ขอเชิญคุณพอเพียงไปฟ้องร้องต่อศาลได้เลย

หากนายพอเพียงนำเรื่องดังกล่าวนี้ ไปฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค ทางฝ่ายธนาคารมันก็ต้องฟ้องแย้ง(ฟ้องกลับ)แน่ๆ โดยกล่าวหาว่านายพอเพียงเป็นหนี้ค้างชำระในบัตรเรดิต เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท แล้วไม่ยอมจ่าย จึงขอให้ศาลช่วยพิพากษาให้นายพอเพียงชำระหนี้คืนให้ด้วย...ซึ่งแน่นอนครับ...ศาลท่านคงพิพากษาออกมาในแนวทางประมาณว่า “พิพากษาให้ทางธนาคารฯ คืนเงินที่ยึดมาโดยมิชอบด้วยกฏหมาย คืนให้กับนายพอเพียงตามจำนวนทั้งหมด โดยกำหนดให้ทางธนาคารต้องปฏิบัติตามคำสั่งพิพากษานี้ภายใน 15 วัน นับจากวันพิพากษา
และพิพากษาให้นายพอเพียงต้องชดใช้หนี้คืนให้กับทางธนาคารฯ เป็นเงินจำนวน 80,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ xx ต่อปี นับจากวันที่พิพากษานี้เป็นต้นไป โดยกำหนดให้นายพอเพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งพิพากษานี้ภายใน 15 วัน นับจากวันพิพากษาเช่นกัน”

จะเห็นได้ว่า หากนายพอเพียงนำเรื่องนี้ไปฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค ก็จะชนะคดีตามที่ศาลสั่ง...แต่สิ่งที่นายพอเพียงจะต้อง “เจ็บตัว” ก็คือ

- ช่วงที่นายพอเพียงโดนธนาคาร “ดูด” เงินออกไปจนเกลี้ยงบัญชี...นายพอเพียงจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเป็น ค่าผ่อนบ้าน , ค่าผ่อนรถ , ค่าน้ำ , ค่าไฟฟ้า , ค่าเดินทาง และค่ากินอยู่ต่างๆ (จะพูดว่า ตังค์จะ "แ-d-ก" ก็ยังไม่มีเลย ก็ว่าได้)...แล้วนายพอเพียงจะเอาเงินที่ไหน ไปจ่ายเป็นค่าจ้างทนายความ เพื่อฟ้องให้เป็นคดีความขึ้นสู่ศาลกันล่ะ?

- เนื่องจากคดีต่างๆ ที่รอการพิจารณาอยู่ในศาลผู้บริโภค มีปริมาณมากมายมหาศาล ณ.ปัจจุบัน หากนายพอเพียงนำเรื่องขึ้นฟ้องต่อศาล ก็จะต้องรอจนกว่าศาลจะพิจารณคดีให้เสร็จสิ้น จนกว่า“คำพิพากษา”จะออกมา...ซึ่งกว่าจะถึงกระบวนการนั้น...หากทางฝ่ายธนาคารแกล้งใช้วิธี “เตะถ่วงคดี” ให้มีการเลื่อนพิจารณาคดีออกไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในขั้นตอนการไกล่เกลี่ย หรือในขั้นตอนการสืบพยานก็ตาม...ก็จะทำให้การพิจารณาคดีนั้น ยืดเยื้อนานออกไปอีก อาจใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปีก็ได้

- ในระหว่างที่กระบวนการของศาลยังยืดเยื้ออยู่นี้ ทางธนาคาร กะ-ลุ๊ก-ปุ๊ก-ไทย มันก็ยังคงทำการ “ดูด” ยึดเงินเดือนในบัญชีออมทรัพย์ไปเรื่อยๆ ทุกๆเดือน (จนกว่าจะหมดหนี้ เงินต้น+ดอกเบี้ย) ดังนั้น...แค่มันดูดเงินเดือนของนายพอเพียงไปทุกๆเดือน เดือนละ 20,000 บาท เพียงแค่ 4 – 5 เดือนก็หมดหนี้ 80,000 บาท+ดอกเบี้ย แล้วล่ะครับ...แล้วในช่วง 4 – 5 เดือนที่ว่านี้...แล้วนายพอเพียงจะเอาตังค์ที่ไหน มาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการยังชีพในแต่ละเดือน


นี่แหละครับ...สิ่งที่ผมอยากจะอธิบายให้เห็นถึงความหมายที่ว่า...ลูกหนี้เองที่จะต้องเป็นฝ่าย “เจ็บตัว” มากกว่า


ตัวอย่าง : ผู้เป็นหนี้ ที่ถูกธนาคารกรุงเทพยึดเงินในบัญชี

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=3012&Itemid=29

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=6372&Itemid=29

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, ntps, Champcyber99

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.485 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena